บริจาคหนังสืออักษรเบรลล์ มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย บริจาคหนังสืออักษรเบรลล์ ผู้ที่สนใจติดต่อขอรับได้ที่
1.มูลนิธิพัฒนคนพิการไทย เลขที่ 23 ชั้น 2 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 0-2281-9280 แผนที่ https://goo.gl/maps/jn2bC3PSetAb5ct37 (ขนาดไฟล์: 0 )
2.ติดต่อมาที่ อีเมล office@tddf.or.th
3.โทร.0-2281-9280
หนังสือ คือ ดวงตา มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
หนังสืออักษรเบรลล์
อายุ 0 - 3 ปี หนังสืออักษรเบรลล์ เรื่อง ตั้งไข่ล้ม
: มอบให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูตาบอดอ่าน ท่อง ร้อง เล่นกับเด็ก อายุ 0 - 3 ปี
อายุ 4 - 6 ปี หนังสืออักษรเบรลล์ เรื่อง
- กระต๊าก กระต๊ก
- กุ๊กไก่เป็นหวัด
- กระจิบท้องเสีย
: มอบให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูตาบอดคนละ 1 เล่ม เพื่ออ่าน ท่อง ร้อง เล่นกับเด็ก อายุ 4 - 6 ปี
อายุ 7 - 9 ปี หนังสืออักษรเบรลล์ เรื่อง
- ขอบคุณ
- เจ้าชายกบ
- สโนไวท์
- หนูน้อยหมวกแดง
: มอบให้เด็ก และเยาวชนตาบอดคนละ 1 เล่ม
อายุ 10 - 12 ปี หนังสืออักษรเบรลล์ เรื่อง
- ยาย กะ ตา
- ดาวเหงากับดอกไม้กลางคืน
- ตะวันแจ่มใสกับดอกไม้ร่าเริง
: มอบให้เด็ก และเยาวชนตาบอดคนละ 1 เล่ม
อายุ 13 - 15 ปี หนังสืออักษรเบรลล์ เรื่อง
- ดาวลูกไก่
- กำเนิดพระสังข์
- กำเนิดหนุมาน
: มอบให้เด็ก และเยาวชนตาบอดคนละ 1 เล่ม
2. มอบหนังสืออักษรเบรลล์ให้ทุกกลุ่มเป้าหมาย
3. ให้ความรู้
- องค์กร และคนทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มเป้าหมาย
- ผู้สนใจทั่วไป
4. จัดกิจกรรม
- อ่านได้ อ่านดี อ่านทุกวี่ทุกวัน
- Reading Hero
- อ่าน ท่อง ร้อง เล่า และเล่น
- อ่าน ร้องทำนองไทย
5. ลงเยี่ยม ให้กำลังใจกลุ่มเป้าหมาย องค์กร และคนทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย
6. สรุปผลการดำเนินงานเพื่อนำเสนอสู่สาธารณะ และผลักดันเชิงนโยบาย
ผลที่คาดว่าจะเกิด
1. ได้หนังสืออักษรเบรลล์ และหนังสือ จำนวน 14 เรื่อง เพื่อมอบให้ครอบครัว เด็ก และเยาวชนกลุ่มพิการ
ทางสายตา
2. เด็ก และเยาวชนกลุ่มพิการทางสายตา มีความสุขจากในโลกหนังสือ สู่โลกแห่งชีวิตจริง
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาเด็ก และครอบครัวนำไปขยายผล
วัตถุประสงค์
จัดทำหนังสืออักษรเบรลล์ และจัดหาหนังสือ จำนวน 14 เรื่อง เพื่อมอบให้ครอบครัวเด็ก และเยาวชนกลุ่มพิการทางสายตา
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 4,400 คน แยกเป็น
1. พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 0 -5 ปี ที่พิการทางสายตา
2. เด็กและเยาวซนวัยเรียน 6 - 15 ปี
3. สถานศึกษา องค์กรพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนกลุ่มพิการทางสายตา
ด้วยความเชื่อว่า..
หนังสือ คือ ขุมทรัพย์ทางปัญญา การเปิดหนังสือจึงถือเป็นการเปิดโลก
แต่ในความเป็นจริงแล้วหนังสือส่วนใหญ่จัดพิมพ์ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้สำหรับคนตาดี มีเพียงหนังสือบางเล่มที่ได้จัดทำเป็นอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา จึงเป็นเรื่องยากที่ผู้พิการทางสายตาที่จะมีโอกาสได้เข้าถึงจินตนาการจากหนังสือด้วยตนเอง ต้องคอยให้คนมาเล่าเรื่อง บรรยายภาพจากหนังสือให้ฟัง
ปี 2550 มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ร่วมกับ สมาคมคนตาบอดแห่งประทศไทยเลือกหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก เรื่อง กระต่ายตื่นตูม เขียนโดย ตุ๊บปอง มาจัดทำเป็นหนังสือแฝด Twin Book ที่มีภาพตัวอักษร และอักษรเบรลล์อยู่ในเล่มเดียวกัน เป็นเล่มแรกของประเทศไทย จากนั้นมีการจัดทำเพิ่มอีก 3 เรื่อง คือ กาดำกับหงส์ก๋งกิงท้องผูก และ อีเล้เค้งโค้ง ทำให้คนสายตาปกติ และคนพิการทางสายตาอ่านหนังนั่นหมายถึง แม่ที่พิการทางสายตา สามารถอ่านหนังสือร่วมกับลูกที่สายตาปกติได้ หรือลูกที่พิการทางสายตาสามารถอ่านหนังสือเล่มเดียวกับแม่ที่มีสายตาปกติได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เป็นทางเลือกใหม่ของสังคมไทย
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ รายงาน ณ เดือนมีนาคม 2565 ว่าประเทศไทย มีผู้พิการทางสายตา จำนวน 186,701 คน โดยมี เด็กปฐมวัย 0 -5 ปี จำนวน 232 คน เด็กและเยาวชนวัยเรียน 6 - 14 ปี จำนวน 1,703 คน วัยรุ่น 15 - 21 ปี จำนวน 2,731 คน
จากแนวความคิด และการปฏิบัติ กอปรกับข้อมูลดังกล่าว ปี 2566 มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็กตั้งใจทำ กิจกรรม "หนังสือ คือ ดวงตา" ด้วยการจัดทำหนังสืออักษรเบรลล์ มอบให้เด็ก เยาวชน และกลุ่มพิการทาง สายตา เพื่อสร้างความรู้ คู่ความรัก และถักทอความสุขจากในโลกหนังสือ สู่โลกแห่งชีวิตจริง ด้วยเชื่อมั่นว่า หนังสืออักษรเบรลล์ จะเปิดดวงตาที่พร่าหม่นมืดมนของเด็กและเยาวชนให้เห็นโลกด้วยความสดใสไปกับการแสวงหา กระทั่งเกิดความหวังในชีวิตมากขึ้น