พัฒนาคนพัฒนาชาติ:แข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ

แสดงความคิดเห็น

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  (กพร.)

ธีรพล ขุนเมือง

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จัดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ทุกๆ 2 ปี โดยจัดไปแล้ว 7 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ซึ่งจะ จัดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2560 ณ อาคาร 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

มีสาขาที่ทำการแข่งขันจำนวน 20 สาขา ประกอบด้วย 1.สาขาถักนิตติ้ง 2.สาขาประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ 3.สาขาเย็บปักถักร้อย 4.สาขาออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ 5.สาขาถักโครเชต์ 6.สาขาวาดภาพระบายสีน้ำ 7.สาขาออกแบบเว็บเพจ 8.สาขาออกแบบโปสเตอร์ 9.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีระดับพื้นฐาน 10.สาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับพื้นฐาน 11.สาขาสานตะกร้า 12.สาขาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 13.สาขาพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด 14.สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 15.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ 16.สาขาประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา 17.สาขาระบายสีบนผ้าไหม 18.สาขาออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 19.สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ และ 20. สาขาออกแบบคาแร็กเตอร์

การจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการเป็นการสร้างโอกาส ส่งเสริมให้คนพิการได้พัฒนาทักษะในวิชาชีพของตนเองให้เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างการยอมรับที่แสดงถึงศักยภาพคนพิการรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คน ส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำเพราะเป็นกำลังแรงงานสำคัญ เป็นไปตามวาระปฏิรูปเร่งด่วน 1 ใน 8 ข้อของกระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ กพร.ได้เพิ่มสาขาที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อให้มีความพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAD) ซึ่งเป็นสาขาที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ผู้แข่งขันต้องมีความรู้ในด้านการอ่านแบบ เขียนแบบ พร้อมแสดงผล สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ เป็นสาขาที่ผู้เข้าแข่งขันต้องมีความรู้ด้านการถ่ายภาพ การตกแต่งภาพ และการจัดเตรียมสตูดิโอพร้อมออกแบบการถ่ายภาพ ซึ่งสาขานี้สามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถใช้ภาพถ่ายที่ออกแบบและตกแต่งแล้วไปเป็นส่วนประกอบในการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการทำแพ็กเกจจิ้งได้อีกด้วย สำหรับสาขาออกแบบคาแร็กเตอร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวการ์ตูน ตัวหนังสือ ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหวใช้ประกอบกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอหรือการโฆษณา เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการแข่งขันจะทำการแข่งขันฝีมือคนพิการตั้งแต่ระดับภาคเพื่อคัดเลือกเข้าแข่งขันในระดับชาติต่อไป

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน มีสัญชาติไทย เป็นคนพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ ความพิการฉบับที่ 2 สำหรับผู้ที่สนใจต้องการร่วมประลองฝีมือในครั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามและ สมัครได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2245-4035

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/bmnd/2553043

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 พ.ย.59
วันที่โพสต์: 18/11/2559 เวลา 15:01:45 ดูภาพสไลด์โชว์ พัฒนาคนพัฒนาชาติ:แข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ธีรพล ขุนเมือง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จัดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ทุกๆ 2 ปี โดยจัดไปแล้ว 7 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ซึ่งจะ จัดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2560 ณ อาคาร 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีสาขาที่ทำการแข่งขันจำนวน 20 สาขา ประกอบด้วย 1.สาขาถักนิตติ้ง 2.สาขาประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ 3.สาขาเย็บปักถักร้อย 4.สาขาออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ 5.สาขาถักโครเชต์ 6.สาขาวาดภาพระบายสีน้ำ 7.สาขาออกแบบเว็บเพจ 8.สาขาออกแบบโปสเตอร์ 9.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีระดับพื้นฐาน 10.สาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับพื้นฐาน 11.สาขาสานตะกร้า 12.สาขาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 13.สาขาพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด 14.สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 15.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ 16.สาขาประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา 17.สาขาระบายสีบนผ้าไหม 18.สาขาออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 19.สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ และ 20. สาขาออกแบบคาแร็กเตอร์ การจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการเป็นการสร้างโอกาส ส่งเสริมให้คนพิการได้พัฒนาทักษะในวิชาชีพของตนเองให้เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างการยอมรับที่แสดงถึงศักยภาพคนพิการรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คน ส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำเพราะเป็นกำลังแรงงานสำคัญ เป็นไปตามวาระปฏิรูปเร่งด่วน 1 ใน 8 ข้อของกระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ กพร.ได้เพิ่มสาขาที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อให้มีความพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAD) ซึ่งเป็นสาขาที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ผู้แข่งขันต้องมีความรู้ในด้านการอ่านแบบ เขียนแบบ พร้อมแสดงผล สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ เป็นสาขาที่ผู้เข้าแข่งขันต้องมีความรู้ด้านการถ่ายภาพ การตกแต่งภาพ และการจัดเตรียมสตูดิโอพร้อมออกแบบการถ่ายภาพ ซึ่งสาขานี้สามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถใช้ภาพถ่ายที่ออกแบบและตกแต่งแล้วไปเป็นส่วนประกอบในการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการทำแพ็กเกจจิ้งได้อีกด้วย สำหรับสาขาออกแบบคาแร็กเตอร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวการ์ตูน ตัวหนังสือ ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหวใช้ประกอบกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอหรือการโฆษณา เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการแข่งขันจะทำการแข่งขันฝีมือคนพิการตั้งแต่ระดับภาคเพื่อคัดเลือกเข้าแข่งขันในระดับชาติต่อไป คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน มีสัญชาติไทย เป็นคนพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ ความพิการฉบับที่ 2 สำหรับผู้ที่สนใจต้องการร่วมประลองฝีมือในครั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามและ สมัครได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2245-4035 ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/bmnd/2553043

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...