ลุยสร้าง! “อัจฉริยะออทิสซึม” สาธิต มข.ระดมสมองครั้งใหญ่เปิดโลกออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

ศูนย์วิจัยออทิสติก มข. จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม”

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ศูนย์วิจัยออทิสติก มข. จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม” เผยตัวเลขเด็กออทิสติกมีแนวโน้มเพิ่มเฉพาะภาคอีสานเท่าที่เปิดเผยมีมากกว่า4,000คน

อ.พรมณี หาญหัก รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ (ศูนย์วิจัยออทิสติก) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับภาคีเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิสซึมจังหวัดขอนแก่น กำหนดจัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 10 ภายใต้หัวเรื่อง 4 กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป เพื่อสร้างอัจฉริยะออทิสซึม โดยงานจะจัดขึ้นในวันพุธที่27เม.ย.นี้ที่คณะศึกษาศาสตร์มข.

ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม”

การจัดงานเปิดโลกออทิสติกดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกให้แก่ ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร นักสหวิชาชีพ และบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจทั่วไป และจะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก อันจะนำไปสู่การผลักดัน และกระตุ้นให้เกิดการช่วยเหลือบุคลที่มีภาวะออทิสซึมแบบบูรณการด้วย4กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป

ภายในงานจะมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนานาชาติ เพื่อให้สอดคล้องต่อการเริ่มเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งได้เชิญ Pro.Dr.Marie-Pierre Fortier ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเรียนรวม จากมหาวิทยาลัยควิเบค ประเทศแคนนาดา เป็น Keynote Speaker ในหัวข้อ “Inclusive Education : Successful of Integration Autistic Spectrum Disorder into Inclusive classes in Canada”

นอกจากนี้ ยังได้เชิญวิทยากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ การศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีภาวะออทิสซึ่มในระดับประเทศของเมืองไทย มาร่วมเสวนาในช่วงเช้า และให้ความรู้ในห้องสัมมนาย่อยในช่วงบ่าย “กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมประชุมสัมมนาจะประกอบด้วย บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลบุคคลออทิสติกจากหน่วยงานทางการแพทย์ และสาธารณสุข บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นิสิตนักศึกษาตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจในทุกภูมิภาคตลอดจนชาวต่างประเทศ”อ.พรมณีกล่าวและว่า

สำหรับกลุ่มบุคคลออทิสติก หรือเด็กออทิสติกนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้พิการ เรียกกันว่าเด็กพิเศษมากกว่า เพราะเด็กที่มีอาการดังกล่าวจำนวนไม่น้อยที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีไอคิวสูง บางคนมีความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ บางคนเก่งด้านคณิตศาสตร์ หรือบางคนก็เรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ได้เร็วมากกว่าเด็กปกติ ดังนั้น การดูแลการบำบัดเด็กออทิสติกเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ปกครอง หรือครูบาอาจารย์ต้องไม่มองข้ามเพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาส่งเสริมเด็กกลุ่มนี้ให้ถูกจุด

ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีเด็กออทิสติกในความดูแล 17 คน ทั้งหมดเรียนร่วมชั้นกับเพื่อนนักเรียนปกติ แต่ทางศูนย์จะจัดอาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญให้การดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพัฒนาการของแต่ละคนก็เป็นที่น่าพอใจ ล่าสุด มีเด็กออทิสติกของศูนย์ฯ สามารถสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ 2 คน สอบได้ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาควิชาภาษาจีนธุรกิจและพัฒนาสังคม

“แนวโน้มตัวเลขเด็กออทิสติกในไทยยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า เด็กคลอดออกมาแล้วมีอาการออทิสติกมีสาเหตุจากปัจจัยใด เฉพาะภาคอีสานเท่าที่ทราบเบื้องต้น มีเด็กออทิสติกประมาณ 4,000 คน ยังไม่นับรวมกับเด็กออทิสติกที่ไม่ได้รับการเปิดเผยอีกจำนวนหนึ่ง” อ.พรมณีให้ความเห็น

ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม”

ด้าน อ.พวงทอง พูลเรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครอง หรือครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กออทิสติก หากมีความเข้าใจในอาการของเด็กพิเศษกลุ่มนี้แล้วจะช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีพัฒนาการการเรียนรู้ตามความสามารถที่เขามีอยู่ได้เร็วขึ้น หลายคนถึงขั้นได้เป็นอัจฉริยะออทิสซึม

สำหรับศูนย์วิจัยออทิสติก คณะศึกษาศาสตร์ มข.ได้ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 12 ปี ทำการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระดับอนุบาล ประถม มัธยม และระดับอุดมศึกษา รวมทั้งถ่ายโอนสู่การอาชีพ และโรงเรียนอื่นนอกรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากได้รับการช่วยเหลืออย่างเข้มข้นภายในศูนย์วิจัยออทิสติก

หลังจากมีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการคณะศึกษาศาสตร์ และการออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยออทิสติกปัจจุบันจึงพัฒนามาเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ และเพื่อขยายงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการศึกษาให้แก่ประชากรออทิสติกกลุ่มดังกล่าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น การขับเคลื่อนด้วย 4 กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนออทิสติกที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความพร้อมในทุกๆ ด้านที่จะขับเคลื่อนกลไกทางการศึกษาให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทางการศึกษาที่สอดคล้องต่อความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000041519 (ขนาดไฟล์: 166)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 เม.ย.59
วันที่โพสต์: 27/04/2559 เวลา 13:24:09 ดูภาพสไลด์โชว์ ลุยสร้าง! “อัจฉริยะออทิสซึม” สาธิต มข.ระดมสมองครั้งใหญ่เปิดโลกออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศูนย์วิจัยออทิสติก มข. จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม” ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ศูนย์วิจัยออทิสติก มข. จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม” เผยตัวเลขเด็กออทิสติกมีแนวโน้มเพิ่มเฉพาะภาคอีสานเท่าที่เปิดเผยมีมากกว่า4,000คน อ.พรมณี หาญหัก รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ (ศูนย์วิจัยออทิสติก) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับภาคีเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะออทิสซึมจังหวัดขอนแก่น กำหนดจัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ครั้งที่ 10 ภายใต้หัวเรื่อง 4 กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป เพื่อสร้างอัจฉริยะออทิสซึม โดยงานจะจัดขึ้นในวันพุธที่27เม.ย.นี้ที่คณะศึกษาศาสตร์มข. ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม” การจัดงานเปิดโลกออทิสติกดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกให้แก่ ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร นักสหวิชาชีพ และบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจทั่วไป และจะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก อันจะนำไปสู่การผลักดัน และกระตุ้นให้เกิดการช่วยเหลือบุคลที่มีภาวะออทิสซึมแบบบูรณการด้วย4กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป ภายในงานจะมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนานาชาติ เพื่อให้สอดคล้องต่อการเริ่มเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งได้เชิญ Pro.Dr.Marie-Pierre Fortier ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเรียนรวม จากมหาวิทยาลัยควิเบค ประเทศแคนนาดา เป็น Keynote Speaker ในหัวข้อ “Inclusive Education : Successful of Integration Autistic Spectrum Disorder into Inclusive classes in Canada” นอกจากนี้ ยังได้เชิญวิทยากรผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ การศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีภาวะออทิสซึ่มในระดับประเทศของเมืองไทย มาร่วมเสวนาในช่วงเช้า และให้ความรู้ในห้องสัมมนาย่อยในช่วงบ่าย “กลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมประชุมสัมมนาจะประกอบด้วย บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลบุคคลออทิสติกจากหน่วยงานทางการแพทย์ และสาธารณสุข บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง นิสิตนักศึกษาตลอดจนประชาชนผู้ที่สนใจในทุกภูมิภาคตลอดจนชาวต่างประเทศ”อ.พรมณีกล่าวและว่า สำหรับกลุ่มบุคคลออทิสติก หรือเด็กออทิสติกนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้พิการ เรียกกันว่าเด็กพิเศษมากกว่า เพราะเด็กที่มีอาการดังกล่าวจำนวนไม่น้อยที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีไอคิวสูง บางคนมีความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ บางคนเก่งด้านคณิตศาสตร์ หรือบางคนก็เรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ได้เร็วมากกว่าเด็กปกติ ดังนั้น การดูแลการบำบัดเด็กออทิสติกเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ปกครอง หรือครูบาอาจารย์ต้องไม่มองข้ามเพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาส่งเสริมเด็กกลุ่มนี้ให้ถูกจุด ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีเด็กออทิสติกในความดูแล 17 คน ทั้งหมดเรียนร่วมชั้นกับเพื่อนนักเรียนปกติ แต่ทางศูนย์จะจัดอาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญให้การดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพัฒนาการของแต่ละคนก็เป็นที่น่าพอใจ ล่าสุด มีเด็กออทิสติกของศูนย์ฯ สามารถสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ 2 คน สอบได้ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาควิชาภาษาจีนธุรกิจและพัฒนาสังคม “แนวโน้มตัวเลขเด็กออทิสติกในไทยยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า เด็กคลอดออกมาแล้วมีอาการออทิสติกมีสาเหตุจากปัจจัยใด เฉพาะภาคอีสานเท่าที่ทราบเบื้องต้น มีเด็กออทิสติกประมาณ 4,000 คน ยังไม่นับรวมกับเด็กออทิสติกที่ไม่ได้รับการเปิดเผยอีกจำนวนหนึ่ง” อ.พรมณีให้ความเห็น ผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ เปิดโลกออทิสติก ระดมสมองแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ หวังช่วยกันสร้าง “อัจฉริยะออทิสซึม” ด้าน อ.พวงทอง พูลเรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครอง หรือครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็กออทิสติก หากมีความเข้าใจในอาการของเด็กพิเศษกลุ่มนี้แล้วจะช่วยส่งเสริมให้พวกเขามีพัฒนาการการเรียนรู้ตามความสามารถที่เขามีอยู่ได้เร็วขึ้น หลายคนถึงขั้นได้เป็นอัจฉริยะออทิสซึม สำหรับศูนย์วิจัยออทิสติก คณะศึกษาศาสตร์ มข.ได้ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 12 ปี ทำการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระดับอนุบาล ประถม มัธยม และระดับอุดมศึกษา รวมทั้งถ่ายโอนสู่การอาชีพ และโรงเรียนอื่นนอกรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากได้รับการช่วยเหลืออย่างเข้มข้นภายในศูนย์วิจัยออทิสติก หลังจากมีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการคณะศึกษาศาสตร์ และการออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยออทิสติกปัจจุบันจึงพัฒนามาเป็นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ และเพื่อขยายงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการศึกษาให้แก่ประชากรออทิสติกกลุ่มดังกล่าวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั้น การขับเคลื่อนด้วย 4 กลไกหลักตามออทิสติกโรดแมป จึงเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนออทิสติกที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความพร้อมในทุกๆ ด้านที่จะขับเคลื่อนกลไกทางการศึกษาให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทางการศึกษาที่สอดคล้องต่อความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มีประสิทธิภาพ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000041519

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...