ทีม ม.มหาสารคาม เจ๋ง คว้า 3 รางวัล แข่งนวัตกรรมฯ เพื่อคนพิการ ครั้งที่ 2

แสดงความคิดเห็น

ทีมเม็คคาเอ็มเอสยู ตัวแทนจาก ม.มหาสารคาม คว้า 3 รางวัล การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่ 2

ทีมเม็คคาเอ็มเอสยู ตัวแทนจาก ม.มหาสารคาม คว้า 3 รางวัล ได้แก่รางวัลชนะเลิศ รางวัลพิเศษ Seagate Award และรางวัลพิเศษ User Award ประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2

บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดการการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่2

เนื่องจากเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนพิการมากขึ้น ทั้งด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การเดินทาง การสื่อสาร การศึกษาและสันทนาการ ดังนั้น “การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2” จึงเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยโจทย์การประกวดในปีนี้มุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น ให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองกิจกรรมการแข่งขันเป็นการจำลองสถานการณ์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการเห็น ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีหยิบวัตถุที่หล่นพื้น สถานีหลบหลีกสิ่งกีดขวาง สถานีอ่านป้ายรถโดยสารและสถานีการเลือกสีเสื้อผ้า ในการแข่งขันรอบคัดเลือก มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 21 ทีมจาก 12 สถาบันการศึกษา คัดเหลือ 10 ทีมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทีมที่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 20,000 บาท

นายสุชาครีย์ เลวรรณ์ หัวหน้าทีมชนะเลิศ (ที่ 3 จากซ้าย) พร้อมอุปกรณ์การแข่งขัน เดินเข้าสู่สนามประลองฝีมือ ทั้งนี้ ในการแข่งขันทุกสถานี ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกปิดตา แล้วใช้นวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 4 สถานี

ในการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะถูกปิดตา ในสถานีการหยิบวัตถุที่หล่นพื้น ซึ่งจำลองสถานการณ์เมื่อของหล่นพื้น ไม่ว่าจะเป็นเงินเหรียญ ธนบัตร หรือของชิ้นเล็กๆ อย่างปากกา สไตลัส โดยผู้แข่งขันต้องระบุได้ว่าเป็นวัตถุอะไรและสามารถหยิบได้อย่างถูกต้อง สถานีการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ผู้แข่งขันจะต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถช่วยให้เดินหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างปลอดภัย สถานีการอ่านป้ายรถโดยสาร เป็นการจำลองเมื่อผู้บกพร่องทางการเห็นยืนรอรถเมล์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลิตอุปกรณ์ที่สามารถระบุสายรถเมล์และจุดหมายที่ถูกต้อง และสถานีการเลือกสีเสื้อผ้า จะให้ผู้แข่งขันเลือกประเภทและสีเสื้อผ้าตามที่กำหนด

นางสาวศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการโรงงานเทพารักษ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการสนับสนุนการประกวดนวัตกรรมฯ ว่า ซีเกทสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้พัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการช่วยเหลือสังคมรวมทั้งการวิจัยและพัฒนา ซึ่งนอกจากซีเกทจะสนับสนุนการแข่งขันด้วยงบประมาณ 2.4 ล้านบาทแล้ว ทีมวิศวกรของซีเกทเองยังได้มีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์และกติกาการแข่งขัน รวมถึงยังได้ร่วมเป็นทีมงานจัดและคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ ซีเกทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะมีนวัตกรรมที่ทำให้ผู้บกพร่องทางการเห็นสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น รวมทั้งผลักดันให้เกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีต้นแบบสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็นต่อไป

ทีมเม็คคาเอ็มเอสยู (MechaMSU) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คว้า 3 รางวัลใหญ่จากการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2 ดังนี้

1. รางวัลชนะเลิศ ซึ่งนอกจากได้รับรางวัลถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมทุนการศึกษา 150,000 บาทแล้วยังได้รับโอกาสในการเดินทางไปดูงานด้านหุ่นยนต์ที่ประเทศเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ทางทีมจะปรับปรุงศักยภาพของผลงานนวัตกรรมและเข้าร่วมการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการในงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่ 10 (10th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology–i-CREATe)ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้

2. รางวัลพิเศษ Seagate Award และทุนการศึกษา 60,000 บาท รางวัลนี้มาจากการลงคะแนนของคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเป็นผู้บริหารและวิศวกรของซีเกท หลักเกณฑ์ในการตัดสินคือเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานง่ายทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีเทคนิคทางด้านวิศวกรรมมีการดีไซน์และใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่

3. รางวัลพิเศษ User Award และทุนการศึกษา 60,000 บาท ซึ่งมาจากการลงคะแนนของผู้บกพร่องทางการเห็นโดยมีเกณฑ์การตัดสิน เช่น น้ำหนักเบา ความง่ายในการใช้งาน และความแม่นยำในการทำงาน

สำหรับสมาชิกในทีมประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมแม็คคาเอ็มเอสยู อาจารย์คเณศ ถุงออด สมาชิกประกอบด้วยนักศึกษา 3 คนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเมคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่ นายสุชาครีย์ เลวรรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นายรวิรุจ บุตโคษา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ นางสาวนิลาวัลย์ หมีกุละ นักศึกษาชั้นปีที่ 2

นายสุชาครีย์ เลวรรณ์ หรือ ป๊อป หัวหน้าทีมแม็คคาเอ็มเอสยู กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ทีมสามารถคว้า 3 รางวัลจากการแข่งขันคือ การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานและการแข่งขันในแต่ละสถานี นอกจากนี้ หลักการทำงานของเครื่องมือมีด้วยกัน 2 ส่วนคือระบบเซ็นเซอร์สแกนซึ่งใช้กับสถานีหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบริเวณหน้าอกจะเป็นตัวระบุว่า ข้างหน้ามีสิ่งกีดขวางหรือไม่ เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้ว่าควรไปในทิศทางใด ส่วนกล้องเว็บแคมจะใช้ในการอ่านสี อ่านข้อความบนรถเมล์และอ่านชนิดวัตถุ โดยกล้องเว็บแคมเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลทั้งสีและตัวอักษร ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่าข้อความหรือสีที่อ่านคืออะไร โดยมีการแสดงผลผ่านลำโพงเล็กๆ คอยให้เสียงเป็นภาษาไทยแก่ผู้บกพร่องทางการเห็น

นอกจากนี้ ทีมมหิดล บีเอ็มอี 01 (Mahidol BME 01) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้รับทุนการศึกษา 100,000 บาทในรางวัลรองชนะเลิศ ส่วนทีมไอนอยด์ (iNoid) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมพร้อมทุนการศึกษา80,000บาท

บรรยากาศการแข่งขันในสถานีหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถช่วยให้เดินหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างปลอดภัย

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอบคุณคณะผู้จัดการประกวดนวัตกรรมฯ กล่าวว่า มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขอขอบคุณบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่ร่วมกันจัดการประกวดนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บกพร่องทางการเห็น ซึ่งทางมูลนิธิฯจะนำนวัตกรรมที่ผู้เข้าแข่งขันได้สร้างสรรค์ขึ้นไปใช้ต่อยอดเพื่อประโยชน์ของผู้บกพร่องทางการเห็นต่อไป.

รองศาสตราจารย์ ดร. สัญญา มิตรเอม นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการจัดประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ว่า เป็นที่น่ายินดีที่การแข่งขันในปีนี้ มีทีมเยาวชนไทยสมัครเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 21 ทีมจาก 12 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเชื่อมั่นว่านอกจากเยาวชนที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับประสบการณ์จากการลงสนามแข่งขันจริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์กับทีมอื่นๆ เพื่อพัฒนาผลงานของพวกเขาให้นำไปใช้งานได้จริงต่อไป

รศ.ดร.ภูดิส ลักษณะเจริญ ประธานจัดการแข่งขันและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า โจทย์การแข่งขันในปีนี้ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากมีการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งผู้บกพร่องทางการเห็นต้องประสบในแต่ละวัน ซึ่งจากผลงานของผู้เข้าแข่งขันในปีนี้ ผมเชื่อว่าเด็กไทยของเรามีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนาอุปกรณ์เหล่านี้ต่อไปให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บกพร่องทางการเห็นได้อย่างเต็มที่ต่อไปในอนาคต.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/597185

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 30/03/2559 เวลา 10:45:03 ดูภาพสไลด์โชว์ ทีม ม.มหาสารคาม เจ๋ง คว้า 3 รางวัล แข่งนวัตกรรมฯ เพื่อคนพิการ ครั้งที่ 2

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทีมเม็คคาเอ็มเอสยู ตัวแทนจาก ม.มหาสารคาม คว้า 3 รางวัล การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่ 2 ทีมเม็คคาเอ็มเอสยู ตัวแทนจาก ม.มหาสารคาม คว้า 3 รางวัล ได้แก่รางวัลชนะเลิศ รางวัลพิเศษ Seagate Award และรางวัลพิเศษ User Award ประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2 บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดการการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่2 เนื่องจากเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนพิการมากขึ้น ทั้งด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การเดินทาง การสื่อสาร การศึกษาและสันทนาการ ดังนั้น “การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2” จึงเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาได้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยโจทย์การประกวดในปีนี้มุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น ให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองกิจกรรมการแข่งขันเป็นการจำลองสถานการณ์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการเห็น ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีหยิบวัตถุที่หล่นพื้น สถานีหลบหลีกสิ่งกีดขวาง สถานีอ่านป้ายรถโดยสารและสถานีการเลือกสีเสื้อผ้า ในการแข่งขันรอบคัดเลือก มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 21 ทีมจาก 12 สถาบันการศึกษา คัดเหลือ 10 ทีมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทีมที่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 20,000 บาท นายสุชาครีย์ เลวรรณ์ หัวหน้าทีมชนะเลิศ (ที่ 3 จากซ้าย) พร้อมอุปกรณ์การแข่งขัน เดินเข้าสู่สนามประลองฝีมือ ทั้งนี้ ในการแข่งขันทุกสถานี ผู้เข้าแข่งขันจะต้องถูกปิดตา แล้วใช้นวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 4 สถานี ในการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะถูกปิดตา ในสถานีการหยิบวัตถุที่หล่นพื้น ซึ่งจำลองสถานการณ์เมื่อของหล่นพื้น ไม่ว่าจะเป็นเงินเหรียญ ธนบัตร หรือของชิ้นเล็กๆ อย่างปากกา สไตลัส โดยผู้แข่งขันต้องระบุได้ว่าเป็นวัตถุอะไรและสามารถหยิบได้อย่างถูกต้อง สถานีการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ผู้แข่งขันจะต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถช่วยให้เดินหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างปลอดภัย สถานีการอ่านป้ายรถโดยสาร เป็นการจำลองเมื่อผู้บกพร่องทางการเห็นยืนรอรถเมล์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลิตอุปกรณ์ที่สามารถระบุสายรถเมล์และจุดหมายที่ถูกต้อง และสถานีการเลือกสีเสื้อผ้า จะให้ผู้แข่งขันเลือกประเภทและสีเสื้อผ้าตามที่กำหนด นางสาวศิริรัตน์ เอี่ยวผดุง รองประธานฝ่ายปฏิบัติการโรงงานเทพารักษ์ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการสนับสนุนการประกวดนวัตกรรมฯ ว่า ซีเกทสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้พัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการช่วยเหลือสังคมรวมทั้งการวิจัยและพัฒนา ซึ่งนอกจากซีเกทจะสนับสนุนการแข่งขันด้วยงบประมาณ 2.4 ล้านบาทแล้ว ทีมวิศวกรของซีเกทเองยังได้มีส่วนร่วมในการกำหนดโจทย์และกติกาการแข่งขัน รวมถึงยังได้ร่วมเป็นทีมงานจัดและคณะกรรมการตัดสินการแข่งขันอีกด้วย นอกจากนี้ เรายังซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ ซีเกทหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะมีนวัตกรรมที่ทำให้ผู้บกพร่องทางการเห็นสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น รวมทั้งผลักดันให้เกิดนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีต้นแบบสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็นต่อไป ทีมเม็คคาเอ็มเอสยู (MechaMSU) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คว้า 3 รางวัลใหญ่จากการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2 ดังนี้ 1. รางวัลชนะเลิศ ซึ่งนอกจากได้รับรางวัลถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมทุนการศึกษา 150,000 บาทแล้วยังได้รับโอกาสในการเดินทางไปดูงานด้านหุ่นยนต์ที่ประเทศเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ทางทีมจะปรับปรุงศักยภาพของผลงานนวัตกรรมและเข้าร่วมการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการในงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการครั้งที่ 10 (10th International Convention on Rehabilitation Engineering and Assistive Technology–i-CREATe)ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ 2. รางวัลพิเศษ Seagate Award และทุนการศึกษา 60,000 บาท รางวัลนี้มาจากการลงคะแนนของคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งเป็นผู้บริหารและวิศวกรของซีเกท หลักเกณฑ์ในการตัดสินคือเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานง่ายทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มีเทคนิคทางด้านวิศวกรรมมีการดีไซน์และใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ 3. รางวัลพิเศษ User Award และทุนการศึกษา 60,000 บาท ซึ่งมาจากการลงคะแนนของผู้บกพร่องทางการเห็นโดยมีเกณฑ์การตัดสิน เช่น น้ำหนักเบา ความง่ายในการใช้งาน และความแม่นยำในการทำงาน สำหรับสมาชิกในทีมประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาของทีมแม็คคาเอ็มเอสยู อาจารย์คเณศ ถุงออด สมาชิกประกอบด้วยนักศึกษา 3 คนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเมคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่ นายสุชาครีย์ เลวรรณ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นายรวิรุจ บุตโคษา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ นางสาวนิลาวัลย์ หมีกุละ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 นายสุชาครีย์ เลวรรณ์ หรือ ป๊อป หัวหน้าทีมแม็คคาเอ็มเอสยู กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ทีมสามารถคว้า 3 รางวัลจากการแข่งขันคือ การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานและการแข่งขันในแต่ละสถานี นอกจากนี้ หลักการทำงานของเครื่องมือมีด้วยกัน 2 ส่วนคือระบบเซ็นเซอร์สแกนซึ่งใช้กับสถานีหลบหลีกสิ่งกีดขวาง โดยเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบริเวณหน้าอกจะเป็นตัวระบุว่า ข้างหน้ามีสิ่งกีดขวางหรือไม่ เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้ว่าควรไปในทิศทางใด ส่วนกล้องเว็บแคมจะใช้ในการอ่านสี อ่านข้อความบนรถเมล์และอ่านชนิดวัตถุ โดยกล้องเว็บแคมเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลทั้งสีและตัวอักษร ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่าข้อความหรือสีที่อ่านคืออะไร โดยมีการแสดงผลผ่านลำโพงเล็กๆ คอยให้เสียงเป็นภาษาไทยแก่ผู้บกพร่องทางการเห็น นอกจากนี้ ทีมมหิดล บีเอ็มอี 01 (Mahidol BME 01) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้รับทุนการศึกษา 100,000 บาทในรางวัลรองชนะเลิศ ส่วนทีมไอนอยด์ (iNoid) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมพร้อมทุนการศึกษา80,000บาท บรรยากาศการแข่งขันในสถานีหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องประดิษฐ์อุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถช่วยให้เดินหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างปลอดภัย นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอบคุณคณะผู้จัดการประกวดนวัตกรรมฯ กล่าวว่า มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขอขอบคุณบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่ร่วมกันจัดการประกวดนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บกพร่องทางการเห็น ซึ่งทางมูลนิธิฯจะนำนวัตกรรมที่ผู้เข้าแข่งขันได้สร้างสรรค์ขึ้นไปใช้ต่อยอดเพื่อประโยชน์ของผู้บกพร่องทางการเห็นต่อไป. รองศาสตราจารย์ ดร. สัญญา มิตรเอม นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการจัดประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ว่า เป็นที่น่ายินดีที่การแข่งขันในปีนี้ มีทีมเยาวชนไทยสมัครเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 21 ทีมจาก 12 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเชื่อมั่นว่านอกจากเยาวชนที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับประสบการณ์จากการลงสนามแข่งขันจริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์กับทีมอื่นๆ เพื่อพัฒนาผลงานของพวกเขาให้นำไปใช้งานได้จริงต่อไป รศ.ดร.ภูดิส ลักษณะเจริญ ประธานจัดการแข่งขันและตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า โจทย์การแข่งขันในปีนี้ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากมีการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งผู้บกพร่องทางการเห็นต้องประสบในแต่ละวัน ซึ่งจากผลงานของผู้เข้าแข่งขันในปีนี้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...