กิจกรรมสร้างสรรค์"บำบัด"เด็กสมาธิสั้น

แสดงความคิดเห็น

เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กไฮเปอร์ หรือเด็กสมาธิสั้น ที่ต้องรับบทหนักในการเอาใจใส่ดูแล มีความเข้าใจและความอดทนอย่างมากในการรักษาและบำบัดโรคสมาธิสั้นอย่างถูก วิธี เพื่อให้ลูกรักสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการ "กิจกรรมบำบัด กับเด็กสมาธิสั้น" ขึ้น เพื่อชวนคุณพ่อคุณแม่และผู้สนใจร่วมเรียนรู้วิธีการใช้กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ สุพรรษา ตาใจ ผู้ช่วยอาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคสมาธิสั้น หรือกลุ่มอาการเด็กสมาธิสั้น เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กอายุก่อน 7 ปี โดยอาการของโรคสมาธิสั้นนี้หากเป็นแล้วจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเรียน การเล่น ขาดสมาธิ ทำให้ว่อกแว่ก อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น วู่วาม หรือทำอะไรโดยไม่ทันได้คิด ดังนั้น เด็กไม่ได้แกล้งซน แกล้งไม่เชื่อฟัง หรือขาดความรับผิดชอบ แต่มันเป็นอาการผิดปกติการทำงานของสมองทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

การดูแลลูกสมาธิสั้นสำคัญที่สุดพ่อ แม่ต้องมีทัศนคติต่อเด็กในทางบวก โดยเด็กสมาธิสั้นสามารถรักษาได้ด้วยการ ผสมผสาน อาทิ การรักษาทางยา จะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีสมาธิดีขึ้น ดูสงบมากขึ้น ซนน้อยลง และควบคุมตัวเองได้มากขึ้น การรักษาทางการศึกษา และการรักษาด้วยกิจกรรมบำบัด พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู สามารถช่วยรักษาเด็กสมาธิสั้นได้มาก โดยจะต้องเรียนรู้วิธีจัดการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กโดยที่ไม่ควรใช้การลงโทษเพราะเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลและเด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น

กิจกรรมบำบัดหากเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กหรือแรกพบจะให้ผลดีที่สุด การกระตุ้นต้องทำด้วยกิจกรรมบำบัดที่ให้ความสุขกับเด็ก เด็กรู้สึกสนุกสนาน ในการทำกิจกรรมกระตุ้นนั้นๆ ไม่กดดัน ไม่บีบบังคับ และยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับตัวเด็ก และต้องทำเป็นประจำทุกวันจนเกิดความเคยชิน ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถทำให้เด็กได้โดยไม่จำเป็นต้องไปทำกิจกรรมบำบัดตามโรงพยาบาล เสมอไป แต่เด็กต้องมีความพร้อมและมีความสุขในการทำกิจกรรม

เด็กสมาธิสั้น ที่มีปัญหาการรับรู้ทางสายตา กิจกรรมที่ใช้ อาทิ การปิดไฟ ใช้ไฟฉายส่องไปที่ฝาผนัง ให้เด็กใช้ไฟฉายอีกดวงฉายตามไปที่จุดที่พ่อแม่ฉาย, ให้หาสิ่งของมีสีสันที่วางบนพื้น, ใช้การเป่าลูกโป่ง หรือลูกแก้วที่มีหลายสี แล้วให้เด็กหยิบลูกแก้วหรือลูกโป่งตามสีที่บอก ปัญหาการได้ยิน ควรใช้กิจกรรมให้ฟังเสียงในทิศทางต่างๆ กัน และให้เด็กบอกว่าเสียงดังมาจากด้านไหน, เล่นเกมทายเสียง ทั้งทำให้ดังและเบา หรือผสมเสียงให้แยกให้ออกว่าเป็นเสียงอะไร

ปัญหาการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ เด็กสมาธิสั้นควรฝึกกิจกรรม ที่ต้องออกแรง ผลัก ดัน ดึง คลาน ยกของหนักๆ กระโดดแทมโพลีน โหนราว ไต่ราวกลางแจ้ง หรือปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ควรฝึกการวิ่งแล้วหมุนตัวกลับไปมา กระโดดเชือก เดินเป็นวงกลม วงรี ปัญหาการรับรสและการได้กลิ่น ควรฝึกให้เด็กหลับตาดม ชิมและบอกชื่อขนมหรือ อาหาร ควรเริ่มจากขนมหรืออาหารที่ลูกชอบก่อน หรือดมดอกไม้ ผลไม้ และปัญหาการสัมผัส เพิ่มการรับความรู้สึกของระบบการรับสัมผัส จากกิจกรรมที่ร่างกายได้มีโอกาสสัมผัสพื้นผิวที่หลากหลายทั้งหยาบหรืออ่อน นุ่ม เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ทราย ดินน้ำมัน หญ้า พรม ฟองน้ำ เดินบนทราย เดินบนหญ้า เดินบนดินเดินบนแผ่นไม้และเดินบนกระเบื้องปูพื้น

นอกจากนี้ พ่อแม่ควรเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเองและสมาธิในการทำกิจกรรมของเด็ก ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ กิจกรรมใบงานที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ การปลูกต้นไม้ การอ่านหนังสือ การเล่นดนตรี การออกกำลังกาย รวมถึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการรักษาโรคสมาธิสั้นด้วย อาทิ จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม โดยไม่ให้มีสิ่งเร้ารบกวนเด็กมากเกินไป จัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ข้าวของไม่เกะกะ พยายามไม่ให้มีบรรยากาศวุ่นวายสับสน เสียงดัง จนเด็กรวบรวมสมาธิไม่ได้ รวมทั้งหากจะพาไปเที่ยวก็ไม่ควรพาไปในที่ที่วุ่นวาย และช่วยเสริมสร้างวินัยในตัวเด็ก เช่น การจัดระเบียบชีวิตประจำวันให้มีตารางเวลาตารางงานโดยต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เด็กปรับตัวได้

เมื่อทำการบำบัดและ รักษาเด็กสมาธิสั้นก็มีโอกาสที่หายได้ หรือมีอาการดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องทานยา แต่เด็กบางคนอาจจะยังมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ระดับหนึ่ง ซนน้อยลง ปรับตัวเข้ากับงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักได้ ขณะที่เด็กบางคนยังมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่ ซึ่งทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคม จึงต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องต่อไป.

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/220314/87844 (ขนาดไฟล์: 167)

บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 22/03/2557 เวลา 03:38:22

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กไฮเปอร์ หรือเด็กสมาธิสั้น ที่ต้องรับบทหนักในการเอาใจใส่ดูแล มีความเข้าใจและความอดทนอย่างมากในการรักษาและบำบัดโรคสมาธิสั้นอย่างถูก วิธี เพื่อให้ลูกรักสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการ "กิจกรรมบำบัด กับเด็กสมาธิสั้น" ขึ้น เพื่อชวนคุณพ่อคุณแม่และผู้สนใจร่วมเรียนรู้วิธีการใช้กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้นอย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ สุพรรษา ตาใจ ผู้ช่วยอาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคสมาธิสั้น หรือกลุ่มอาการเด็กสมาธิสั้น เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กอายุก่อน 7 ปี โดยอาการของโรคสมาธิสั้นนี้หากเป็นแล้วจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเรียน การเล่น ขาดสมาธิ ทำให้ว่อกแว่ก อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น วู่วาม หรือทำอะไรโดยไม่ทันได้คิด ดังนั้น เด็กไม่ได้แกล้งซน แกล้งไม่เชื่อฟัง หรือขาดความรับผิดชอบ แต่มันเป็นอาการผิดปกติการทำงานของสมองทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ การดูแลลูกสมาธิสั้นสำคัญที่สุดพ่อ แม่ต้องมีทัศนคติต่อเด็กในทางบวก โดยเด็กสมาธิสั้นสามารถรักษาได้ด้วยการ ผสมผสาน อาทิ การรักษาทางยา จะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีสมาธิดีขึ้น ดูสงบมากขึ้น ซนน้อยลง และควบคุมตัวเองได้มากขึ้น การรักษาทางการศึกษา และการรักษาด้วยกิจกรรมบำบัด พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู สามารถช่วยรักษาเด็กสมาธิสั้นได้มาก โดยจะต้องเรียนรู้วิธีจัดการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กโดยที่ไม่ควรใช้การลงโทษเพราะเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลและเด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น กิจกรรมบำบัดหากเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กหรือแรกพบจะให้ผลดีที่สุด การกระตุ้นต้องทำด้วยกิจกรรมบำบัดที่ให้ความสุขกับเด็ก เด็กรู้สึกสนุกสนาน ในการทำกิจกรรมกระตุ้นนั้นๆ ไม่กดดัน ไม่บีบบังคับ และยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับตัวเด็ก และต้องทำเป็นประจำทุกวันจนเกิดความเคยชิน ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถทำให้เด็กได้โดยไม่จำเป็นต้องไปทำกิจกรรมบำบัดตามโรงพยาบาล เสมอไป แต่เด็กต้องมีความพร้อมและมีความสุขในการทำกิจกรรม เด็กสมาธิสั้น ที่มีปัญหาการรับรู้ทางสายตา กิจกรรมที่ใช้ อาทิ การปิดไฟ ใช้ไฟฉายส่องไปที่ฝาผนัง ให้เด็กใช้ไฟฉายอีกดวงฉายตามไปที่จุดที่พ่อแม่ฉาย, ให้หาสิ่งของมีสีสันที่วางบนพื้น, ใช้การเป่าลูกโป่ง หรือลูกแก้วที่มีหลายสี แล้วให้เด็กหยิบลูกแก้วหรือลูกโป่งตามสีที่บอก ปัญหาการได้ยิน ควรใช้กิจกรรมให้ฟังเสียงในทิศทางต่างๆ กัน และให้เด็กบอกว่าเสียงดังมาจากด้านไหน, เล่นเกมทายเสียง ทั้งทำให้ดังและเบา หรือผสมเสียงให้แยกให้ออกว่าเป็นเสียงอะไร ปัญหาการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ เด็กสมาธิสั้นควรฝึกกิจกรรม ที่ต้องออกแรง ผลัก ดัน ดึง คลาน ยกของหนักๆ กระโดดแทมโพลีน โหนราว ไต่ราวกลางแจ้ง หรือปัญหาการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ควรฝึกการวิ่งแล้วหมุนตัวกลับไปมา กระโดดเชือก เดินเป็นวงกลม วงรี ปัญหาการรับรสและการได้กลิ่น ควรฝึกให้เด็กหลับตาดม ชิมและบอกชื่อขนมหรือ อาหาร ควรเริ่มจากขนมหรืออาหารที่ลูกชอบก่อน หรือดมดอกไม้ ผลไม้ และปัญหาการสัมผัส เพิ่มการรับความรู้สึกของระบบการรับสัมผัส จากกิจกรรมที่ร่างกายได้มีโอกาสสัมผัสพื้นผิวที่หลากหลายทั้งหยาบหรืออ่อน นุ่ม เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ทราย ดินน้ำมัน หญ้า พรม ฟองน้ำ เดินบนทราย เดินบนหญ้า เดินบนดินเดินบนแผ่นไม้และเดินบนกระเบื้องปูพื้น นอกจากนี้ พ่อแม่ควรเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเองและสมาธิในการทำกิจกรรมของเด็ก ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ กิจกรรมใบงานที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ การปลูกต้นไม้ การอ่านหนังสือ การเล่นดนตรี การออกกำลังกาย รวมถึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการรักษาโรคสมาธิสั้นด้วย อาทิ จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม โดยไม่ให้มีสิ่งเร้ารบกวนเด็กมากเกินไป จัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ข้าวของไม่เกะกะ พยายามไม่ให้มีบรรยากาศวุ่นวายสับสน เสียงดัง จนเด็กรวบรวมสมาธิไม่ได้ รวมทั้งหากจะพาไปเที่ยวก็ไม่ควรพาไปในที่ที่วุ่นวาย และช่วยเสริมสร้างวินัยในตัวเด็ก เช่น การจัดระเบียบชีวิตประจำวันให้มีตารางเวลาตารางงานโดยต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เด็กปรับตัวได้ เมื่อทำการบำบัดและ รักษาเด็กสมาธิสั้นก็มีโอกาสที่หายได้ หรือมีอาการดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องทานยา แต่เด็กบางคนอาจจะยังมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ระดับหนึ่ง ซนน้อยลง ปรับตัวเข้ากับงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนักได้ ขณะที่เด็กบางคนยังมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่ ซึ่งทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคม จึงต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องต่อไป. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/220314/87844 บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...