เอสแคป ยกย่ององค์กรเอื้อเฟื้อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

มีชัย วีระไวทยะ,อานันท์ ปันยารชุน, ดร.โนลีน เฮเซอร์ และ ดร.เตช บุนนาค ร่วมงานมอบรางวัล “ESCAP–Sasakawa” ยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ. เพื่อส่งเสริมสิทธิ และโอกาสของผู้พิการในสังคม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ร่วมกับ มูลนิธินิปปอน และ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก จัดให้มีการมอบรางวัล “ESCAP-Sasakawa” ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ และเป็นการขานรับทศวรรษแห่งผู้พิการในทวีปเอเชียแปซิฟิก ระหว่างปี 2556-2565 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นายมีชัย วีระไวทยะ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเร็วๆนี้

ดร.โน ลีน เฮเซอร์ เลขาธิการยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า การที่เราให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้พิการนั้นเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาและจะเป็นการช่วยพาเขาออกจากความยากจน และให้เขาได้รับรู้ถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมด้วย ด้าน นันดา ไกรฤกษ์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาสังคม ยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า กลุ่มผู้ทุพพลภาพ ถือเป็นกลุ่มคนที่อาจจะไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร และคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ว่า คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีศักยภาพและอยู่ในสัดส่วนจำนวนมาก ถึงร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมดทั่วโลก และในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคิดเป็นจำนวน 650 ล้านคน ยูเอ็นเอสแคปเห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีศักยภาพที่องค์กรและธุรกิจต่างๆ ควรหันมาให้ความสนใจ ไม่เพียงมอบโอกาสและโครงสร้างพื้นฐาน มอบสิทธิความเท่าเทียมให้กับพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและผลกำไรทางธุรกิจให้แก่บริษัทต่างๆด้วย นี่คือประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับและอยากกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต่างๆ หันมาใส่ใจผู้ทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น โดยรางวัลนี้จะจัดต่อเนื่องไปเป็นเวลา 10 ปี ตลอดทศวรรษแห่งผู้พิการ

นัน ดา ไกรฤกษ์ จากยูเอ็นเอสแคป (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรที่ได้รับรางวัล ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ มร.ไอแซค จอร์จ,มาดูมิตา ปูริ และ มร.จักดีพ ธาคราล. การมอบรางวัลครั้งนี้ คัดจากบริษัทที่สมัครเข้ามาทั้งสิ้นประมาณ 70 บริษัท จาก 58 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติ ได้แก่ บริษัท ไวโปร จำกัด ซึ่ง ให้คำปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์สด้านไอทีระดับโลก จากประเทศอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนทั้งพนักงานที่พิการอยู่แล้วและเกิดความพิการระหว่างการทำ งาน ซึ่ง มร.ไอแซค จอร์จ ผู้บริหาร กล่าวว่า บริษัทเราเน้นการจ้างงานผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2552 และได้พัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อโอกาสต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันเรามีพนักงานผู้พิการทั้งสิ้น 450 คน

ส่วนผู้ชนะรางวัล ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ ซึ่ง มร.จักดีพ ธาคราล ผู้จัดการทั่วไปกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวนถึง 13% โดยทำงานในแผนกต่างๆ ทั้งส่วนงานต้อนรับ แผนกครัว ทำความสะอาดห้องพัก ฯลฯ และเราตั้งใจที่จะเพิ่มจำนวนให้เป็น 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า สุดท้ายเป็นรางวัลประเภทผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ บริษัท Trash to Cash จำกัด บริษัทที่นำขยะมาทำให้เกิดประโยชน์จากประเทศอินเดีย ซึ่ง มาดูมิตา ปูริ ผู้บริหารกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวน 65% ส่วนพนักงานอื่นๆ ก็เป็นคนยากจน ได้รับการศึกษาน้อย โดยเรามองว่าเราไม่ได้เป็นธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาล แต่เรามีแนวคิดที่จะทำธุรกิจที่ยั่งยืน.

ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/388666

(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 12/12/2556 เวลา 04:57:08 ดูภาพสไลด์โชว์ เอสแคป ยกย่ององค์กรเอื้อเฟื้อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มีชัย วีระไวทยะ,อานันท์ ปันยารชุน, ดร.โนลีน เฮเซอร์ และ ดร.เตช บุนนาค ร่วมงานมอบรางวัล “ESCAP–Sasakawa” ยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ.เพื่อส่งเสริมสิทธิ และโอกาสของผู้พิการในสังคม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ร่วมกับ มูลนิธินิปปอน และ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก จัดให้มีการมอบรางวัล “ESCAP-Sasakawa” ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ และเป็นการขานรับทศวรรษแห่งผู้พิการในทวีปเอเชียแปซิฟิก ระหว่างปี 2556-2565 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นายมีชัย วีระไวทยะ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเร็วๆนี้ ดร.โน ลีน เฮเซอร์ เลขาธิการยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า การที่เราให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้พิการนั้นเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาและจะเป็นการช่วยพาเขาออกจากความยากจน และให้เขาได้รับรู้ถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมด้วย ด้าน นันดา ไกรฤกษ์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาสังคม ยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า กลุ่มผู้ทุพพลภาพ ถือเป็นกลุ่มคนที่อาจจะไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร และคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ว่า คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีศักยภาพและอยู่ในสัดส่วนจำนวนมาก ถึงร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมดทั่วโลก และในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคิดเป็นจำนวน 650 ล้านคน ยูเอ็นเอสแคปเห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีศักยภาพที่องค์กรและธุรกิจต่างๆ ควรหันมาให้ความสนใจ ไม่เพียงมอบโอกาสและโครงสร้างพื้นฐาน มอบสิทธิความเท่าเทียมให้กับพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและผลกำไรทางธุรกิจให้แก่บริษัทต่างๆด้วย นี่คือประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับและอยากกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต่างๆ หันมาใส่ใจผู้ทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น โดยรางวัลนี้จะจัดต่อเนื่องไปเป็นเวลา 10 ปี ตลอดทศวรรษแห่งผู้พิการ นัน ดา ไกรฤกษ์ จากยูเอ็นเอสแคป (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรที่ได้รับรางวัล ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ มร.ไอแซค จอร์จ,มาดูมิตา ปูริ และ มร.จักดีพ ธาคราล. การมอบรางวัลครั้งนี้ คัดจากบริษัทที่สมัครเข้ามาทั้งสิ้นประมาณ 70 บริษัท จาก 58 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติ ได้แก่ บริษัท ไวโปร จำกัด ซึ่ง ให้คำปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์สด้านไอทีระดับโลก จากประเทศอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนทั้งพนักงานที่พิการอยู่แล้วและเกิดความพิการระหว่างการทำ งาน ซึ่ง มร.ไอแซค จอร์จ ผู้บริหาร กล่าวว่า บริษัทเราเน้นการจ้างงานผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2552 และได้พัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อโอกาสต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันเรามีพนักงานผู้พิการทั้งสิ้น 450 คน ส่วนผู้ชนะรางวัล ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ ซึ่ง มร.จักดีพ ธาคราล ผู้จัดการทั่วไปกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวนถึง 13% โดยทำงานในแผนกต่างๆ ทั้งส่วนงานต้อนรับ แผนกครัว ทำความสะอาดห้องพัก ฯลฯ และเราตั้งใจที่จะเพิ่มจำนวนให้เป็น 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า สุดท้ายเป็นรางวัลประเภทผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ บริษัท Trash to Cash จำกัด บริษัทที่นำขยะมาทำให้เกิดประโยชน์จากประเทศอินเดีย ซึ่ง มาดูมิตา ปูริ ผู้บริหารกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวน 65% ส่วนพนักงานอื่นๆ ก็เป็นคนยากจน ได้รับการศึกษาน้อย โดยเรามองว่าเราไม่ได้เป็นธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาล แต่เรามีแนวคิดที่จะทำธุรกิจที่ยั่งยืน. ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/388666 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...