ยูเอ็นมอบรางวัล ธุรกิจเอื้อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

ยูเอ็นมอบรางวัล ธุรกิจเอื้อคนพิการ

นับเป็นข่าวดีของผู้ทุพพลภาพหรือผู้พิการที่สหประชาชาติหรือยูเอ็นประกาศส่งเสริมทศวรรษแห่งผู้พิการในทวีปเอเชียแปซิฟิกระหว่างปี 2556-2565 เนื่องด้วยปัจจุบันมีจำนวนประชากรพิการในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกถึง 15% ของประชากรทั้งหมด หรือคิดเป็น 650 ล้านคน

ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ยูเอ็นจัดให้มีการมอบรางวัล “ESCAP-Sasakawa Award” ครั้งแรกที่ประเทศไทย ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลกรุงเทพฯ โดยความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสแคป) มูลนิธินิปปอนและศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก มุ่งหวังจะชื่นชมและยกย่ององค์กรต่างๆ ที่มีการดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการโดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตไทยแห่งสหประชาชาติ นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมนุม นางนันดา ไกรฤกษ์ ผู้อำนวยการแผนกพัฒนาสังคม ของยูเอ็นเอสเคป นางโนลีนเฮเซอร์ เลขาธิการยูเอ็นเอสเคป ร่วมงาน

มีชัย-อานันท์ นายมีชัยเผยถึงการเป็นหนึ่งใน 3 กรรมการตัดสินใจว่า ที่ผ่านมาผู้พิการมักถูกมองข้าม ฉะนั้นผู้ชนะที่ได้รับรางวัลนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมเปลี่ยนแปลงแนวคิดสังคมที่มีต่อผู้พิการ ว่าผู้พิการก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตทั้งสินค้าและบริการได้ เป็นการสร้างแรงผลักดันให้สังคมเอื้อเฟื้อต่อผู้พิการ ปราศจากอคติ ซึ่งเริ่มได้จากหน่วยธุรกิจ จากนั้นค่อยขยายไประดับประเทศและนานาชาติ

นายอานันท์เผยว่า จากประสบการณ์ส่วนตัว ภรรยาของตนเองก็ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตนเองได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงความท้าทายและยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะการต้องใช้รถวีลแชร์นั้นทำให้ภรรยาไม่สามารถมีความสุขกับสิ่งเล็กๆ ที่คนทั่วไปสามารถทำได้ การเดินทางไปท่องเที่ยว ไปจับจ่ายซื้อของเอง หรือแม้แต่การไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ก็ถือเป็นเรื่องลำบาก

สำหรับผลการคัดเลือกธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการเป็นเลิศ 3 สาขา จากองค์กรของรัฐและเอกชน 70 แห่ง จาก 58 ประเทศ มีดังนี้ 1.รางวัลสาขาองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติ ได้แก่ บริษัทไวโปร จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านที่ปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์สไอทีระดับโลก สัญชาติอินเดียเป็นโมเดลการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะเติบโตในหน้าที่การงานเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะกับพนักงานผู้พิการ โดยมีการจ้างงานผู้พิการอยู่ทั้งสิ้น 450 คน คิดเป็นร้ายละ 3 ของพนักงานทั้งหมด

ผู้พิการ 2.รางวัลสาขาองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศ คือ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้เซ็นเตอร์ ประเทศสิงคโปร์ และ 3.รางวัลสาขาผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ คือบริษัท แทรซ ทู แคช จำกัด ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชยเป็นของ บริษัทยัม เรสเทอรองต์ อินเตอร์เนชั่นนัล ประเทศไทย จำกัด เจ้าของธุรกิจแฟรนไชล์ชื่อดัง เช่น เคเอฟซี พิซซ่า ฮัท เป็นต้น โดยบริษัท ยัมฯ มีโครงการ “วี เฮียร์ เอฟรี่ดรีม” ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการได้ทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะมอบความเท่าเทียมให้ทุกชีวิต

ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56
วันที่โพสต์: 18/12/2556 เวลา 08:01:58 ดูภาพสไลด์โชว์ ยูเอ็นมอบรางวัล ธุรกิจเอื้อคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ยูเอ็นมอบรางวัล ธุรกิจเอื้อคนพิการ นับเป็นข่าวดีของผู้ทุพพลภาพหรือผู้พิการที่สหประชาชาติหรือยูเอ็นประกาศส่งเสริมทศวรรษแห่งผู้พิการในทวีปเอเชียแปซิฟิกระหว่างปี 2556-2565 เนื่องด้วยปัจจุบันมีจำนวนประชากรพิการในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกถึง 15% ของประชากรทั้งหมด หรือคิดเป็น 650 ล้านคน ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ยูเอ็นจัดให้มีการมอบรางวัล “ESCAP-Sasakawa Award” ครั้งแรกที่ประเทศไทย ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลกรุงเทพฯ โดยความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสแคป) มูลนิธินิปปอนและศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก มุ่งหวังจะชื่นชมและยกย่ององค์กรต่างๆ ที่มีการดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการโดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตไทยแห่งสหประชาชาติ นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมนุม นางนันดา ไกรฤกษ์ ผู้อำนวยการแผนกพัฒนาสังคม ของยูเอ็นเอสเคป นางโนลีนเฮเซอร์ เลขาธิการยูเอ็นเอสเคป ร่วมงาน มีชัย-อานันท์ นายมีชัยเผยถึงการเป็นหนึ่งใน 3 กรรมการตัดสินใจว่า ที่ผ่านมาผู้พิการมักถูกมองข้าม ฉะนั้นผู้ชนะที่ได้รับรางวัลนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมเปลี่ยนแปลงแนวคิดสังคมที่มีต่อผู้พิการ ว่าผู้พิการก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตทั้งสินค้าและบริการได้ เป็นการสร้างแรงผลักดันให้สังคมเอื้อเฟื้อต่อผู้พิการ ปราศจากอคติ ซึ่งเริ่มได้จากหน่วยธุรกิจ จากนั้นค่อยขยายไประดับประเทศและนานาชาติ นายอานันท์เผยว่า จากประสบการณ์ส่วนตัว ภรรยาของตนเองก็ต้องใช้รถเข็นวีลแชร์ช่วง 2-3 ปีให้หลังมานี้ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตนเองได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงความท้าทายและยากลำบากในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะการต้องใช้รถวีลแชร์นั้นทำให้ภรรยาไม่สามารถมีความสุขกับสิ่งเล็กๆ ที่คนทั่วไปสามารถทำได้ การเดินทางไปท่องเที่ยว ไปจับจ่ายซื้อของเอง หรือแม้แต่การไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ก็ถือเป็นเรื่องลำบาก สำหรับผลการคัดเลือกธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการเป็นเลิศ 3 สาขา จากองค์กรของรัฐและเอกชน 70 แห่ง จาก 58 ประเทศ มีดังนี้ 1.รางวัลสาขาองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติ ได้แก่ บริษัทไวโปร จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านที่ปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์สไอทีระดับโลก สัญชาติอินเดียเป็นโมเดลการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะเติบโตในหน้าที่การงานเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะกับพนักงานผู้พิการ โดยมีการจ้างงานผู้พิการอยู่ทั้งสิ้น 450 คน คิดเป็นร้ายละ 3 ของพนักงานทั้งหมด ผู้พิการ 2.รางวัลสาขาองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศ คือ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้เซ็นเตอร์ ประเทศสิงคโปร์ และ 3.รางวัลสาขาผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ คือบริษัท แทรซ ทู แคช จำกัด ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชยเป็นของ บริษัทยัม เรสเทอรองต์ อินเตอร์เนชั่นนัล ประเทศไทย จำกัด เจ้าของธุรกิจแฟรนไชล์ชื่อดัง เช่น เคเอฟซี พิซซ่า ฮัท เป็นต้น โดยบริษัท ยัมฯ มีโครงการ “วี เฮียร์ เอฟรี่ดรีม” ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการได้ทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะมอบความเท่าเทียมให้ทุกชีวิต ขอบคุณ...มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ธ.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...