มหัศจรรย์ความรัก "เมื่อฉันมีลูกพิการ"

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศผู้เข้าร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

"วินาทีแรกที่รู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ หัวใจสำคัญคือการให้กำลังใจตัวเอง ครอบครัว ร่วมให้กำลังใจซึ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเพราะถ้าเราไม่มีกำลังใจยืนหยัดต่อสู้เราจะไม่มีแรงมากพอในการช่วยเหลือลูก"

คำกล่าวของแม่นก แม่ผู้มีหัวใจนักสู้ให้กับน้อง "ลูกหิน" ลูกชายที่ป่วยพิการด้วยโรคหินปูนเกาะสมอง พร้อมกล่าวต่อว่าการมีลูกพิการทำให้ได้เรียนรู้ถึงความอดทนของจิตใจตัวเอง ที่อ่อนแออดทนต่อความยากลำบากที่ต้องเลี้ยงลูกที่ไม่ปกติเหมือนคนอื่น

ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. จัดเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีคุณแม่หัวใจแกร่ง "แม่นก" นางเสาวภา ธีระปรีชากุล ประธานศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรักที่ยิ่งใหญ่ของ "แม่" ที่มีลูกพิการ พร้อมด้วย

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก เพื่อแบ่งปันความรู้ให้คุณแม่ที่มีลูกพิการนำไปปรับใช้กับลูกของตนเอง รศ.นพ.อดิ ศักดิ์แนะแนวทางการดูแลเด็กพิการให้มีสุขภาพทางกายและใจที่ดี สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขว่า ลำพังการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดย โรงพยาบาลอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือและประสานงานเข้าด้วยกัน ทั้งแนวทางทฤษฎีและปฏิบัติ เชื่อมโยงให้เด็กพิการมีส่วนร่วมในสังคม ทำให้ครอบครัวแข็งแกร่งมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น

แม่นก เสาวภา กล่าวว่า การจะเลี้ยงลูกพิการให้รอดได้ สิ่งแรกพ่อแม่ต้องยอมรับความจริงและพร้อมที่จะพัฒนา ความเป็นแม่ที่มีลูกพิการทางสมองระดับ 5 คือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตลอดชีวิต เป็นเรื่องที่ยากมากในการดูแลเด็กพิการทางสมอง ซึ่งจะมีอาการและโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และด้วยความรักลูกมาก จะทำอย่างไรให้ลูกอยู่รอดอย่างปลอดภัยและมีความสุข ให้ลูกมีความทุกข์น้อยที่สุด เมื่อเรามีลูกพิการซึ่งขอเรียกว่า"เด็กพิเศษ"เราจึงต้องเลี้ยงดูเขาเป็นพิเศษด้วยการมอบความรักให้เต็มที่

แม่นกกล่าวต่อว่า ถึงวันนี้ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นกช่วยอบรมครอบครัวที่มีลูกพิการทางสมอง แล้วกว่า 60 ครอบครัว มีสมาชิก 12 ครอบครัว อาสาสมัคร 10 คน และกำลังสร้างอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือเด็กพิการรุนแรง เพราะตระหนักดีว่าในวันนี้ที่พ่อแม่ยังแข็งแรง สามารถเลี้ยงลูกได้ แต่ถ้าวันหนึ่งพ่อแม่แก่ เจ็บ และตายไป ใครจะเลี้ยงลูก ซึ่งได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากภาคเอกชน องค์กรหน่วยงานที่มีน้ำใจ เช่น องค์กรคาร่า ประเทศออสเตรเลีย ที่มาช่วยสร้างอาสาสมัครในประเทศไทยให้เป็นมืออาชีพอย่างปลอดภัย การจัดค่ายเรียนรู้ศาสตร์โดสะโฮกับวิทยากรญี่ปุ่น เพื่อฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้

บรรยากาศผู้เข้าร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

รวมถึงการจัดพิมพ์หนังสือ "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากโรงพิมพ์ บริษัท จีแอลโอ เมนโน่ จำกัด จำนวน 2,000 เล่ม แจกฟรีให้กับแม่ที่มีลูกพิการทางสมอง รวมถึงผู้ที่ต้องการเป็นอาสาสมัครทั่วประเทศ ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก โทร.08-1432-7801 และมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวฐาณิชชาลิ้มพานิช08-9481-0972

สำหรับ เนื้อหาในหนังสือ "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เกิดจากการนำความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดของแม่นกและแม่คนอื่นๆ ในศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก กว่า 10 ปี จาก 12 ครอบครัวที่มีลูกเป็นเด็กพิการ รวมเข้าด้วยกัน เนื้อหาสาระสำคัญ อาทิ ทำใจอย่างไร...วินาทีแรกที่รู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ, ถ้าเรามีลูกพิการทางสมอง ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง, หัวใจสำคัญของการ มีลูกพิการ, สำลัก...ปัญหายอดฮิตของเด็กพิเศษ,กายภาพถึง..ลูกก็สบายฯลฯ

แม่นก กล่าวว่า "อยากให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษทุกคน เพราะหัวใจสำคัญของการดูแลเด็กพิเศษคือครอบครัว พ่อแม่ของเด็กพิเศษต้องมีความสามารถพิเศษ เป็นทั้งครู นักจัดการ นักปฐมพยาบาล และอื่นๆ อีกมากมายเพื่อการอยู่รอดของลูก เพราะลูกคือสิ่งมีค่าที่สุดของพ่อแม่ แม้ลูกพิการทางกายแต่ใจหนูไม่พิการ เราจึงรวมตัวกันสู้เพื่อลูกทำให้ลูกมีความสุขและเป็นเด็กโชคดีที่สุดในโลกที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อกับแม่"

"หัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งเพื่อต้องการปรับความคิดเปลี่ยนทัศนคติใหม่ อย่ามองว่าการมีลูกเป็นเด็กพิการคือปัญหา หยุดความทุกข์ ความเศร้าและอายที่มีลูกพิการ แต่จงมองว่า เขาคือ "เด็กพิเศษ" ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ"

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVE14TVRBMU5nPT0= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ต.ค.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 1/11/2556 เวลา 04:46:10 ดูภาพสไลด์โชว์ มหัศจรรย์ความรัก "เมื่อฉันมีลูกพิการ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศผู้เข้าร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง \"มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ\" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี "วินาทีแรกที่รู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ หัวใจสำคัญคือการให้กำลังใจตัวเอง ครอบครัว ร่วมให้กำลังใจซึ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเพราะถ้าเราไม่มีกำลังใจยืนหยัดต่อสู้เราจะไม่มีแรงมากพอในการช่วยเหลือลูก" คำกล่าวของแม่นก แม่ผู้มีหัวใจนักสู้ให้กับน้อง "ลูกหิน" ลูกชายที่ป่วยพิการด้วยโรคหินปูนเกาะสมอง พร้อมกล่าวต่อว่าการมีลูกพิการทำให้ได้เรียนรู้ถึงความอดทนของจิตใจตัวเอง ที่อ่อนแออดทนต่อความยากลำบากที่ต้องเลี้ยงลูกที่ไม่ปกติเหมือนคนอื่น ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. จัดเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีคุณแม่หัวใจแกร่ง "แม่นก" นางเสาวภา ธีระปรีชากุล ประธานศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรักที่ยิ่งใหญ่ของ "แม่" ที่มีลูกพิการ พร้อมด้วย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก เพื่อแบ่งปันความรู้ให้คุณแม่ที่มีลูกพิการนำไปปรับใช้กับลูกของตนเอง รศ.นพ.อดิ ศักดิ์แนะแนวทางการดูแลเด็กพิการให้มีสุขภาพทางกายและใจที่ดี สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขว่า ลำพังการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดย โรงพยาบาลอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือและประสานงานเข้าด้วยกัน ทั้งแนวทางทฤษฎีและปฏิบัติ เชื่อมโยงให้เด็กพิการมีส่วนร่วมในสังคม ทำให้ครอบครัวแข็งแกร่งมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น แม่นก เสาวภา กล่าวว่า การจะเลี้ยงลูกพิการให้รอดได้ สิ่งแรกพ่อแม่ต้องยอมรับความจริงและพร้อมที่จะพัฒนา ความเป็นแม่ที่มีลูกพิการทางสมองระดับ 5 คือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตลอดชีวิต เป็นเรื่องที่ยากมากในการดูแลเด็กพิการทางสมอง ซึ่งจะมีอาการและโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และด้วยความรักลูกมาก จะทำอย่างไรให้ลูกอยู่รอดอย่างปลอดภัยและมีความสุข ให้ลูกมีความทุกข์น้อยที่สุด เมื่อเรามีลูกพิการซึ่งขอเรียกว่า"เด็กพิเศษ"เราจึงต้องเลี้ยงดูเขาเป็นพิเศษด้วยการมอบความรักให้เต็มที่ แม่นกกล่าวต่อว่า ถึงวันนี้ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นกช่วยอบรมครอบครัวที่มีลูกพิการทางสมอง แล้วกว่า 60 ครอบครัว มีสมาชิก 12 ครอบครัว อาสาสมัคร 10 คน และกำลังสร้างอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือเด็กพิการรุนแรง เพราะตระหนักดีว่าในวันนี้ที่พ่อแม่ยังแข็งแรง สามารถเลี้ยงลูกได้ แต่ถ้าวันหนึ่งพ่อแม่แก่ เจ็บ และตายไป ใครจะเลี้ยงลูก ซึ่งได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากภาคเอกชน องค์กรหน่วยงานที่มีน้ำใจ เช่น องค์กรคาร่า ประเทศออสเตรเลีย ที่มาช่วยสร้างอาสาสมัครในประเทศไทยให้เป็นมืออาชีพอย่างปลอดภัย การจัดค่ายเรียนรู้ศาสตร์โดสะโฮกับวิทยากรญี่ปุ่น เพื่อฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ บรรยากาศผู้เข้าร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง \"มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ\" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงการจัดพิมพ์หนังสือ "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากโรงพิมพ์ บริษัท จีแอลโอ เมนโน่ จำกัด จำนวน 2,000 เล่ม แจกฟรีให้กับแม่ที่มีลูกพิการทางสมอง รวมถึงผู้ที่ต้องการเป็นอาสาสมัครทั่วประเทศ ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก โทร.08-1432-7801 และมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวฐาณิชชาลิ้มพานิช08-9481-0972 สำหรับ เนื้อหาในหนังสือ "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เกิดจากการนำความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดของแม่นกและแม่คนอื่นๆ ในศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก กว่า 10 ปี จาก 12 ครอบครัวที่มีลูกเป็นเด็กพิการ รวมเข้าด้วยกัน เนื้อหาสาระสำคัญ อาทิ ทำใจอย่างไร...วินาทีแรกที่รู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ, ถ้าเรามีลูกพิการทางสมอง ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง, หัวใจสำคัญของการ มีลูกพิการ, สำลัก...ปัญหายอดฮิตของเด็กพิเศษ,กายภาพถึง..ลูกก็สบายฯลฯ แม่นก กล่าวว่า "อยากให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษทุกคน เพราะหัวใจสำคัญของการดูแลเด็กพิเศษคือครอบครัว พ่อแม่ของเด็กพิเศษต้องมีความสามารถพิเศษ เป็นทั้งครู นักจัดการ นักปฐมพยาบาล และอื่นๆ อีกมากมายเพื่อการอยู่รอดของลูก เพราะลูกคือสิ่งมีค่าที่สุดของพ่อแม่ แม้ลูกพิการทางกายแต่ใจหนูไม่พิการ เราจึงรวมตัวกันสู้เพื่อลูกทำให้ลูกมีความสุขและเป็นเด็กโชคดีที่สุดในโลกที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อกับแม่" "หัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งเพื่อต้องการปรับความคิดเปลี่ยนทัศนคติใหม่ อย่ามองว่าการมีลูกเป็นเด็กพิการคือปัญหา หยุดความทุกข์ ความเศร้าและอายที่มีลูกพิการ แต่จงมองว่า เขาคือ "เด็กพิเศษ" ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ" ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVE14TVRBMU5nPT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...