คนพิการจี้ต่อมสำนึก “ราชการไทย” ไม่ทำตาม กม.-ไม่อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ

แสดงความคิดเห็น

ผู้เข้าร่วมเสวนา“สานหัวใจคนไม่ยอมแพ้”

อุบลราชธานี - สื่อสร้างสุขตั้งวงถกยูนิเวอร์แซลดีไซน์คนพิการ โดยนายกสมาคมคนพิการจวกราชการไทยไร้สำนึกอำนวยความสะดวกคนพิการ แม้มีกฎหมายระบุชัดยังดื้อรั้น แนะคนพิการรวมตัวเรียกร้องสิทธิผ่านศาลปกครองขณะที่คนพิการร้องขอถนน-ทางลาดสำหรับรถเข็นพร้อมห้องน้ำ

วันที่ 28 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารอุบลชาติ สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี ภายใต้การสนับสนุนของ USAID ร่วมกับสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ศาสนจักรพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย สโมสรโรตารี่มูลริเวอร์ภาค 3340 และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือจ.อุบลราชธานี จัดเสวนา“สานหัวใจคนไม่ยอมแพ้”

โดยนายกมล หอมกลิ่น ผู้ดำเนินรายการ ถามนายสมศักดิ์ เหมแก้ว ผู้แทนคนพิการถึงการใช้ชีวิตในสังคมที่ผ่านมาว่าได้รับการอำนวยความสะดวกจาก ภาครัฐมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งนายสมศักดิ์เล่าประสบการณ์ที่เป็นคนพิการมากว่า 9 ปีว่า อุปสรรคสำหรับคนพิการคือ ใจจะสู้หรือไม่ ถ้าใจสู้คิดว่าไม่มีอุปสรรคในการใช้ชีวิต

แต่สิ่งที่ต้องการสะท้อนคือ อยากให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกให้คนพิการออกมาสู่สังคมภายนอกอย่างสะดวก เช่น ทำทางลาดในห้องน้ำ ยานพาหนะที่มีการออกแบบรับส่งคนพิการเป็นการเฉพาะ เพราะการเดินทางมาร่วมรายการวันนี้ตนต้องใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นพาหนะ เดินทางจากช่องเม็ก อ.สิรินธร ระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร เนื่องจากต้องการให้คนพิการทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน สะท้อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ความต้องการของคนพิการ

ด้านนายวิสุทธิ์ ศิวประภากร ประธานชมรมคนพิการไทยใจอาสา สะท้อนถึงแนวคิดของราชการไทยว่าไม่มีความจริงใจในการสนับสนุนคนพิการ ดูได้จากเบี้ยเลี้ยงคนพิการ รัฐบาลจ่ายให้เพียงเดือนละ 500 บาท ทั้งที่คนพิการมีค่าใช้จ่ายมากกว่าคนทั่วไป ทั้งค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล จึงอยากให้คนพิการออกมาเรียกร้องสิทธิที่ควรได้ให้มากขึ้นและเดินออกมาสู่สังคมอย่างมั่นใจโดยไม่ต้องอายว่าเป็นคนพิการด้วย

ขณะที่ พ.ต.ศิริชัย ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล กล่าวว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการ คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์ โดยเนื้อหาระบุชัดเจนให้หน่วยงานของรัฐ ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทบวง กรม กระทรวง มีหน้าที่ช่วยเหลือคนพิการ โดยจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าติดต่อกับหน่วยงานหรือทำตัวให้มีมารยาทกับคนพิการ

แต่ที่ผ่านมาพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้ความสำคัญ โดยถ้าคิดเป็นสัดส่วนคือ 60:40 มีการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้แค่ 60% ประการสำคัญคือ การมีมารยาทระหว่างให้บริการ เพราะผู้พิการมักพบสีหน้าไม่พอใจของเจ้าหน้าที่ระหว่างให้บริการ หรือเวลาคนพิการเดินทางมาถึงช้ากว่าที่นัดหมายไว้ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะแสดงความไม่พอใจผ่านสีหน้าทันที

และยังพบว่าแม้คณะรัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม อำนวยความสะดวกให้คนพิการ โดยตามสถานที่ราชการสำคัญ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ ต้องจัดทำทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ หรือห้องน้ำสำหรับคนพิการ แต่ข้าราชการไทยดื้อไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี จึงต้องการให้คนพิการรู้ถึงสิทธิของตนเอง เพราะกฎหมายอนุญาตให้สามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ในกรณีภาครัฐไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย และมีความเห็นว่าเบี้ยเลี้ยงยังชีพที่รัฐจ่ายให้คนพิการเพียงเดือนละ 500 บาท อยู่ในเกณฑ์ต่ำเกินกว่าความจริงมาก

เพราะในประเทศฟิลิปปินส์ที่มีเศรษฐกิจไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก แต่รัฐกำหนดจ่ายช่วยเหลือคนพิการถึงเดือนละ 30,000 บาท หรือในสหรัฐอเมริกาให้สวัสดิการคนพิการเกือบทุกอย่าง เช่น ค่าเดินทาง และสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงปีละ 300-500 เหรียญสหรัฐ ตามเขตการปกครองของมลรัฐแต่ละแห่ง แต่ประเทศไทยให้เบี้ยเลี้ยงคนพิการเท่าเพียงเศษเงินเท่านั้น

พ.ต.ศิริชัยกล่าวว่า สาเหตุที่คนพิการในประเทศไทยไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐ เพราะคนพิการรู้ถึงสิทธิของตัวเองเพียงร้อยละ 50% โดยส่วนใหญ่เป็นคนพิการที่มีความรู้ และอาศัยอยู่ในตัวเมือง ส่วนคนพิการที่อยู่ในชนบทไม่รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาส เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกัน ที่ผ่านมาเคยเสนอองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้ทำงานเรื่องนี้แต่พบว่าการทำงานของอบต.ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้บริหารแต่ละแห่ง

ทั้งนี้ กลุ่มคนพิการจะเข้มแข็งได้ต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ มีความเสียสละ มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือตนเองก่อนขยายไปช่วยเหลือคนอื่น โดยเริ่มจากการรวมตัวกันเป็นชมรม จัดระเบียบภายในชมรม ทำการศึกษาปัญหาความต้องการของคนพิการแต่ละแห่ง ก่อนจะยื่นเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมคนพิการจึงจะได้รับความสนใจจากสังคมภายนอก

นางตรึงเนตร พรรณดวงเนตร ผู้ปกครองสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงปัญหาของคนพิการและการให้บริการว่า สถานฟื้นฟูแห่งนี้มีบทบาทช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ก่อนจะให้การฝึกฝนอาชีพตามที่คนพิการถนัดและมีความต้องการ แต่ยอมรับว่าการทำงานที่ผ่านมามีข้อจำกัดมากมาย แต่คิดอย่างเดียวคือ ทำอย่างไรให้คนพิการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีอาชีพ มีรายได้ของตนเอง เมื่อเห็นคนพิการแต่ละรุ่นที่ก้าวเข้ามาแล้วกลับออกไปสู่สังคมภายนอกมีความเปลี่ยนแปลงด้านการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนก็รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นอย่างนั้น

ขณะที่นายกิจจา เตชะศิริธนะกุล ประธานฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์สโมสรโรตารีมูลริเวอร์ ซึ่งมีบทบาทช่วยเหลือคนพิการในจังหวัดระบุว่า ที่ผ่านมาสโมสรเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ได้ระดมทุนเพื่อจัดหารถวีลแชร์ให้ผู้พิการเป็นระยะ เพราะคนพิการควรได้รับสิทธิในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากซึ่งรัฐควรให้การสนับสนุนส่งเสริมอย่างมาก

ทั้งนี้ หลังจบการเสวนา สโมสรโรตารีมูลริเวอร์ได้มอบรถวีลแชร์แก่คนพิการ 50 คัน โดยการเสวนาครั้งนี้สามารถชมเทปรายการย้อนหลังได้ที่สร้างสุขแชนเนล วีเคเบิลทีวี โสภณเคเบิลทีวี ราชธานีเคเบิลทีวี และทางทีวีดาวเทียม Next step ช่องของดีประเทศไทย รวมทั้งสถานีวิทยุ Clean radio FM 92.50 MHz อุบลราชธานี

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspxNewsID=9560000134415 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56

ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 29/10/2556 เวลา 04:45:56 ดูภาพสไลด์โชว์ คนพิการจี้ต่อมสำนึก “ราชการไทย” ไม่ทำตาม กม.-ไม่อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้เข้าร่วมเสวนา“สานหัวใจคนไม่ยอมแพ้” อุบลราชธานี - สื่อสร้างสุขตั้งวงถกยูนิเวอร์แซลดีไซน์คนพิการ โดยนายกสมาคมคนพิการจวกราชการไทยไร้สำนึกอำนวยความสะดวกคนพิการ แม้มีกฎหมายระบุชัดยังดื้อรั้น แนะคนพิการรวมตัวเรียกร้องสิทธิผ่านศาลปกครองขณะที่คนพิการร้องขอถนน-ทางลาดสำหรับรถเข็นพร้อมห้องน้ำ วันที่ 28 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารอุบลชาติ สถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี ภายใต้การสนับสนุนของ USAID ร่วมกับสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล ศาสนจักรพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย สโมสรโรตารี่มูลริเวอร์ภาค 3340 และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือจ.อุบลราชธานี จัดเสวนา“สานหัวใจคนไม่ยอมแพ้” โดยนายกมล หอมกลิ่น ผู้ดำเนินรายการ ถามนายสมศักดิ์ เหมแก้ว ผู้แทนคนพิการถึงการใช้ชีวิตในสังคมที่ผ่านมาว่าได้รับการอำนวยความสะดวกจาก ภาครัฐมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งนายสมศักดิ์เล่าประสบการณ์ที่เป็นคนพิการมากว่า 9 ปีว่า อุปสรรคสำหรับคนพิการคือ ใจจะสู้หรือไม่ ถ้าใจสู้คิดว่าไม่มีอุปสรรคในการใช้ชีวิต แต่สิ่งที่ต้องการสะท้อนคือ อยากให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกให้คนพิการออกมาสู่สังคมภายนอกอย่างสะดวก เช่น ทำทางลาดในห้องน้ำ ยานพาหนะที่มีการออกแบบรับส่งคนพิการเป็นการเฉพาะ เพราะการเดินทางมาร่วมรายการวันนี้ตนต้องใช้รถจักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นพาหนะ เดินทางจากช่องเม็ก อ.สิรินธร ระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร เนื่องจากต้องการให้คนพิการทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน สะท้อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ความต้องการของคนพิการ ด้านนายวิสุทธิ์ ศิวประภากร ประธานชมรมคนพิการไทยใจอาสา สะท้อนถึงแนวคิดของราชการไทยว่าไม่มีความจริงใจในการสนับสนุนคนพิการ ดูได้จากเบี้ยเลี้ยงคนพิการ รัฐบาลจ่ายให้เพียงเดือนละ 500 บาท ทั้งที่คนพิการมีค่าใช้จ่ายมากกว่าคนทั่วไป ทั้งค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล จึงอยากให้คนพิการออกมาเรียกร้องสิทธิที่ควรได้ให้มากขึ้นและเดินออกมาสู่สังคมอย่างมั่นใจโดยไม่ต้องอายว่าเป็นคนพิการด้วย ขณะที่ พ.ต.ศิริชัย ทรัพย์ศิริ นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล กล่าวว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับคนพิการ คือ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ทันต่อเหตุการณ์ โดยเนื้อหาระบุชัดเจนให้หน่วยงานของรัฐ ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทบวง กรม กระทรวง มีหน้าที่ช่วยเหลือคนพิการ โดยจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าติดต่อกับหน่วยงานหรือทำตัวให้มีมารยาทกับคนพิการ แต่ที่ผ่านมาพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้ความสำคัญ โดยถ้าคิดเป็นสัดส่วนคือ 60:40 มีการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้แค่ 60% ประการสำคัญคือ การมีมารยาทระหว่างให้บริการ เพราะผู้พิการมักพบสีหน้าไม่พอใจของเจ้าหน้าที่ระหว่างให้บริการ หรือเวลาคนพิการเดินทางมาถึงช้ากว่าที่นัดหมายไว้ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะแสดงความไม่พอใจผ่านสีหน้าทันที และยังพบว่าแม้คณะรัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม อำนวยความสะดวกให้คนพิการ โดยตามสถานที่ราชการสำคัญ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ ต้องจัดทำทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ หรือห้องน้ำสำหรับคนพิการ แต่ข้าราชการไทยดื้อไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี จึงต้องการให้คนพิการรู้ถึงสิทธิของตนเอง เพราะกฎหมายอนุญาตให้สามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้ในกรณีภาครัฐไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย และมีความเห็นว่าเบี้ยเลี้ยงยังชีพที่รัฐจ่ายให้คนพิการเพียงเดือนละ 500 บาท อยู่ในเกณฑ์ต่ำเกินกว่าความจริงมาก เพราะในประเทศฟิลิปปินส์ที่มีเศรษฐกิจไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก แต่รัฐกำหนดจ่ายช่วยเหลือคนพิการถึงเดือนละ 30,000 บาท หรือในสหรัฐอเมริกาให้สวัสดิการคนพิการเกือบทุกอย่าง เช่น ค่าเดินทาง และสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงปีละ 300-500 เหรียญสหรัฐ ตามเขตการปกครองของมลรัฐแต่ละแห่ง แต่ประเทศไทยให้เบี้ยเลี้ยงคนพิการเท่าเพียงเศษเงินเท่านั้น พ.ต.ศิริชัยกล่าวว่า สาเหตุที่คนพิการในประเทศไทยไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐ เพราะคนพิการรู้ถึงสิทธิของตัวเองเพียงร้อยละ 50% โดยส่วนใหญ่เป็นคนพิการที่มีความรู้ และอาศัยอยู่ในตัวเมือง ส่วนคนพิการที่อยู่ในชนบทไม่รู้ถึงสิทธิของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาส เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกัน ที่ผ่านมาเคยเสนอองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้ทำงานเรื่องนี้แต่พบว่าการทำงานของอบต.ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้บริหารแต่ละแห่ง ทั้งนี้ กลุ่มคนพิการจะเข้มแข็งได้ต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ มีความเสียสละ มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือตนเองก่อนขยายไปช่วยเหลือคนอื่น โดยเริ่มจากการรวมตัวกันเป็นชมรม จัดระเบียบภายในชมรม ทำการศึกษาปัญหาความต้องการของคนพิการแต่ละแห่ง ก่อนจะยื่นเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมคนพิการจึงจะได้รับความสนใจจากสังคมภายนอก นางตรึงเนตร พรรณดวงเนตร ผู้ปกครองสถานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี กล่าวถึงปัญหาของคนพิการและการให้บริการว่า สถานฟื้นฟูแห่งนี้มีบทบาทช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ก่อนจะให้การฝึกฝนอาชีพตามที่คนพิการถนัดและมีความต้องการ แต่ยอมรับว่าการทำงานที่ผ่านมามีข้อจำกัดมากมาย แต่คิดอย่างเดียวคือ ทำอย่างไรให้คนพิการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีอาชีพ มีรายได้ของตนเอง เมื่อเห็นคนพิการแต่ละรุ่นที่ก้าวเข้ามาแล้วกลับออกไปสู่สังคมภายนอกมีความเปลี่ยนแปลงด้านการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนก็รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นอย่างนั้น ขณะที่นายกิจจา เตชะศิริธนะกุล ประธานฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์สโมสรโรตารีมูลริเวอร์ ซึ่งมีบทบาทช่วยเหลือคนพิการในจังหวัดระบุว่า ที่ผ่านมาสโมสรเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ได้ระดมทุนเพื่อจัดหารถวีลแชร์ให้ผู้พิการเป็นระยะ เพราะคนพิการควรได้รับสิทธิในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เท่าเทียมกับคนปกติทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากซึ่งรัฐควรให้การสนับสนุนส่งเสริมอย่างมาก ทั้งนี้ หลังจบการเสวนา สโมสรโรตารีมูลริเวอร์ได้มอบรถวีลแชร์แก่คนพิการ 50 คัน โดยการเสวนาครั้งนี้สามารถชมเทปรายการย้อนหลังได้ที่สร้างสุขแชนเนล วีเคเบิลทีวี โสภณเคเบิลทีวี ราชธานีเคเบิลทีวี และทางทีวีดาวเทียม Next step ช่องของดีประเทศไทย รวมทั้งสถานีวิทยุ Clean radio FM 92.50 MHz อุบลราชธานี ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspxNewsID=9560000134415 ASTV ผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...