กทม.ออกแบบกรุงเทพฯ เพื่อทุกคน...รวมถึงคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)

เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๖ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้จัดสัมมนาวิชาการ โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในระดับสากล ภายใต้แนวคิดออกแบบกรุงเทพฯ เพื่อทุกคน หรือ “ Design Bangkok…Design for all” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน รวมถึงคนพิการตามหลักการออกแบบที่เป็นธรรมหรือเป็นสากล (Universal Design : UD) เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างเสมอภาค ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งผู้แทนหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน นิสิต-นักศึกษา คนพิการ และผู้สนใจประมาณ ๒๐๐ คน

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า โครงการฯ นี้ มุ่งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในสังคม จึงได้มอบหมายให้สำนักการโยธาจัดให้ความรู้และสร้างความตระหนักกับหน่วยงานต่างๆ และเร่งดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อปรับสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะ ที่พักอาศัย พื้นที่การค้า และพื้นที่สัญจร ให้เด็ก สตรีมีครรภ์ คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละคนและปลอดภัย เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งโอกาสของทุกคน” ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนตาม “นโยบาย ๑๐+๖ ของ กทม.” ทั้งนี้ กทม.ได้ดำเนินการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่อาคารและหน่วยงานในสังกัดของกทม.เรียบร้อยแล้ว และจะติดตั้งลิฟต์ในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มขึ้นอีก ๗๔ ตัว ภายในปี ๒๕๕๗

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคนหรือ UD เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร สถานที่ และอื่นๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยยึดหลัก ๗ ประการ ได้แก่ ๑)ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียม ๒)มีความยึดหยุ่นในการใช้งาน อุปกรณ์ปรับเปลี่ยนได้ เช่น ปรับระดับสูงต่ำ และความกว้างได้ เป็นต้น ๓)ใช้งานง่าย ๔)มีสัญลักษณ์คนพิการที่เห็นได้ชัดเจน ๕)ลดอันตราย/มีความปลอดภัย ๖)มีความสะดวกในการใช้ ไม่ต้องออกแรงมาก และ๗) จัดให้มีพื้นที่ว่างตามความเหมาะสม

ขณะนี้ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างมาก เช่น ประเทศแถบยุโรปได้ร่วมตัวกันจัดประกวดเมืองที่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ( Access City Award ) โดยต้องครอบคลุมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะใน ๔ เรื่องหลัก ได้แก่ ๑)สภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นและพื้นที่สาธารณะ ๒)การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ๓)สารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ และ๔) การอำนวยความสะดวกและและบริการสาธารณะ

สำหรับประเทศไทย กฎหมายได้ให้สิทธิหน่วยงานนำค่าใช้จ่ายจากการปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ไปลดหย่อนภาษีได้ ๒ เท่าของค่าใช้จ่าย ส่วนหน่วยงานรัฐสามารถนำงบประมาณเหลือจ่ายไปใช้จัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ได้

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ได้กล่าวว่า ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยน แปลงเกี่ยวกับการจัดปรับสภาพแวดล้อม และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการอย่างรวดเร็ว เพราะในขณะนี้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ เร่งดำเนินการในทุกระดับ เช่น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนโยบายว่า “คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ” กทม.ก็เร่งพัฒนาสู่มหานครในฝันของทุกคน แต่ฝากให้กทม.ช่วยปรับขอบถนน/ฟุตบาทให้เป็นทางลาด และจัดปรับทางเท้า เพื่อรองรับรถเมล์ที่เป็นชานต่ำ จึงขอให้ทุกหน่วยงานติดตาม ตรวจสอบการจัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม

รศ.มานพ พงศทัต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดปรับสภาพแวดล้อมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยกัน โดยต้องมองไปข้างหน้า ว่า ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ และคนพิการสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด โดยการปรับคนให้เข้ากับเมืองทุกเมือง หรือปรับเมืองให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ ควรเริ่มเลือกจุดนำรองและพัฒนาในทุกด้าน เพื่อปรับเป็นต้นแบบก่อน เช่น ถนนย่านเยาวราช ซึ่งเป็นถนนที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และเป็นที่รู้จักกันทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ตลอดจนการปรับทางเดินเชื่อมต่อรถไฟฟ้า หรือสกาย วอคค์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเดินทางได้สะดวกและปลอดภัย

นายกฤษณะ ละไล  บรรณาธิการข่าวอารยสถาปัตย์  และผู้ร่วมเสวนา

นายกฤษณะ ละไล บรรณาธิการข่าวอารยสถาปัตย์ กล่าวเน้นว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคน ไม่เฉพาะคนพิการจะต้องช่วยกันจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่เป็นภาระกับผู้อื่น ทั้งนี้ การจัดปรับสถานที่ และการออกแบบสู่อารยสถาปัตย์มีองค์ประกอบหลัก ๓ ประการ ได้แก่ ความสะดวก ปลอดภัย และความเป็นธรรม

นายธนศักดิ์ สาคริการนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามซานิทารีแวร์ จำกัด กล่าวว่า ทุกคนมีโอกาสพิการ และเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องเตรียมจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้คนทุกวัยทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง ใช้ได้จริง ใช้ง่าย สวยงาม และปลอดภัย อันจะส่งผลให้ผู้ใช้มีความสุข (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ก.ย.๕๖)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ก.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 7/09/2556 เวลา 03:23:15 ดูภาพสไลด์โชว์ กทม.ออกแบบกรุงเทพฯ เพื่อทุกคน...รวมถึงคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๖ สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ได้จัดสัมมนาวิชาการ โครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในระดับสากล ภายใต้แนวคิดออกแบบกรุงเทพฯ เพื่อทุกคน หรือ “ Design Bangkok…Design for all” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน รวมถึงคนพิการตามหลักการออกแบบที่เป็นธรรมหรือเป็นสากล (Universal Design : UD) เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างเสมอภาค ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งผู้แทนหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน นิสิต-นักศึกษา คนพิการ และผู้สนใจประมาณ ๒๐๐ คน นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า โครงการฯ นี้ มุ่งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในสังคม จึงได้มอบหมายให้สำนักการโยธาจัดให้ความรู้และสร้างความตระหนักกับหน่วยงานต่างๆ และเร่งดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อปรับสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะ ที่พักอาศัย พื้นที่การค้า และพื้นที่สัญจร ให้เด็ก สตรีมีครรภ์ คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละคนและปลอดภัย เพื่อให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งโอกาสของทุกคน” ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนตาม “นโยบาย ๑๐+๖ ของ กทม.” ทั้งนี้ กทม.ได้ดำเนินการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกที่อาคารและหน่วยงานในสังกัดของกทม.เรียบร้อยแล้ว และจะติดตั้งลิฟต์ในสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มขึ้นอีก ๗๔ ตัว ภายในปี ๒๕๕๗ รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคนหรือ UD เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร สถานที่ และอื่นๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยยึดหลัก ๗ ประการ ได้แก่ ๑)ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียม ๒)มีความยึดหยุ่นในการใช้งาน อุปกรณ์ปรับเปลี่ยนได้ เช่น ปรับระดับสูงต่ำ และความกว้างได้ เป็นต้น ๓)ใช้งานง่าย ๔)มีสัญลักษณ์คนพิการที่เห็นได้ชัดเจน ๕)ลดอันตราย/มีความปลอดภัย ๖)มีความสะดวกในการใช้ ไม่ต้องออกแรงมาก และ๗) จัดให้มีพื้นที่ว่างตามความเหมาะสม ขณะนี้ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างมาก เช่น ประเทศแถบยุโรปได้ร่วมตัวกันจัดประกวดเมืองที่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ( Access City Award ) โดยต้องครอบคลุมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะใน ๔ เรื่องหลัก ได้แก่ ๑)สภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นและพื้นที่สาธารณะ ๒)การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ๓)สารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ และ๔) การอำนวยความสะดวกและและบริการสาธารณะ สำหรับประเทศไทย กฎหมายได้ให้สิทธิหน่วยงานนำค่าใช้จ่ายจากการปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ไปลดหย่อนภาษีได้ ๒ เท่าของค่าใช้จ่าย ส่วนหน่วยงานรัฐสามารถนำงบประมาณเหลือจ่ายไปใช้จัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ได้ ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ได้กล่าวว่า ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยน แปลงเกี่ยวกับการจัดปรับสภาพแวดล้อม และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการอย่างรวดเร็ว เพราะในขณะนี้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ เร่งดำเนินการในทุกระดับ เช่น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนโยบายว่า “คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ” กทม.ก็เร่งพัฒนาสู่มหานครในฝันของทุกคน แต่ฝากให้กทม.ช่วยปรับขอบถนน/ฟุตบาทให้เป็นทางลาด และจัดปรับทางเท้า เพื่อรองรับรถเมล์ที่เป็นชานต่ำ จึงขอให้ทุกหน่วยงานติดตาม ตรวจสอบการจัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม รศ.มานพ พงศทัต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การจัดปรับสภาพแวดล้อมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยกัน โดยต้องมองไปข้างหน้า ว่า ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ และคนพิการสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด โดยการปรับคนให้เข้ากับเมืองทุกเมือง หรือปรับเมืองให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ ควรเริ่มเลือกจุดนำรองและพัฒนาในทุกด้าน เพื่อปรับเป็นต้นแบบก่อน เช่น ถนนย่านเยาวราช ซึ่งเป็นถนนที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และเป็นที่รู้จักกันทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ตลอดจนการปรับทางเดินเชื่อมต่อรถไฟฟ้า หรือสกาย วอคค์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเดินทางได้สะดวกและปลอดภัย นายกฤษณะ ละไล บรรณาธิการข่าวอารยสถาปัตย์ และผู้ร่วมเสวนา นายกฤษณะ ละไล บรรณาธิการข่าวอารยสถาปัตย์ กล่าวเน้นว่า ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคน ไม่เฉพาะคนพิการจะต้องช่วยกันจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่เป็นภาระกับผู้อื่น ทั้งนี้ การจัดปรับสถานที่ และการออกแบบสู่อารยสถาปัตย์มีองค์ประกอบหลัก ๓ ประการ ได้แก่ ความสะดวก ปลอดภัย และความเป็นธรรม นายธนศักดิ์ สาคริการนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามซานิทารีแวร์ จำกัด กล่าวว่า ทุกคนมีโอกาสพิการ และเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องเตรียมจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้คนทุกวัยทุกกลุ่มสามารถเข้าถึง ใช้ได้จริง ใช้ง่าย สวยงาม และปลอดภัย อันจะส่งผลให้ผู้ใช้มีความสุข (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ก.ย.๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...