กสธ.จัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

โลโก้กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและป้องกันความพิการ กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ และการป้องกันความพิการ โดยมีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ และโครงการหรือระบบงาน รวมทั้ง การกำกับ ติดตามประเมินผลระบบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ ตลอดจนการประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนและการดำเนินงานในหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย

คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้แทนจากทุกประเภทความพิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย รวมประมาณ ๓๐ คน

พญ.ดารณี สุวพันธ์  ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ได้กล่าวว่า เนื่องจากการดูแลสุขภาพด้านคนพิการนั้น ยังไม่มีการจัดทำเป็นแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นองค์รวม ดังนั้น จึงต้องทำแผนดูแลสุขภาพคนพิการระดับชาติ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิตรับผิดชอบหลักด้านการดูแลสุขภาพจิตของคนพิการ กรมการแพทย์โดยศูนย์สิรินธรฯดูแลรับผิดชอบหลักด้านความพิการทางการเคลื่อน ไหวหรือทางร่างกาย รวมถึงการบริการดูแลสุขภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท เช่น การจัดบริการฝึกอบรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนตาบอด และการสอนภาษามือให้คนหูหนวก เป็นต้น ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบให้โรงพยาบาลราชวิถี จัดตั้งคณะอนุกรรมการดูแลสุขภาพคนพิการทางการได้ยิน

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑)สถานการณ์ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพของคนพิการทุกประเภท และ๒)การพิจารณาประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พิจารณาต่อไป

นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาและสิ่งควรพิจารณาเพื่อจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนตาบอด มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการให้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ ๒๖ รายการ ตามสิทธิคนพิการด้านการฟืนฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ตามที่ระบุในพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเฉพาะ สิทธิใดที่ยังไม่ได้ให้บริการ หรือจัดบริการแล้วแต่คนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ หรือจัดบริการแล้วแต่ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง เป็นต้น ๒) การบริหารจัดการที่เป็นระบบและยั่งยืน พัฒนาโครงสร้างการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นระบบ ยั่งยืน และจัดให้มีนักวิชาชีพอย่างเพียงพอ และ๓)การมีส่วนร่วมของคนพิการ โดยทุกกระบวนการดำเนินงานของแผนฯ ควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมโดยตรง เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสุขภาพได้จริง

ส่วน พญ.ดารณี กล่าวว่า การป้องกันสายตาเลือนรางยังไม่ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด เนื่องจากพบว่ามีนักเรียนในโรงเรียนทั่วไปประมาณร้อยละ ๕ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จึงต้องมีการคัดกรองเด็กและวางแผนการรักษาต่อไป เพื่อป้องกันความพิการ

ผู้แทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้นำเสนอความเห็นว่า ปัญหาหลักของคนหูหนวกคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลด้านสุขภาพ และการมีล่ามภาษามือไม่เพียงพอ นอกจากนั้น การสื่อสารที่เหมาะสำหรับคนทั่วไปมักใช้คำที่ยากสำหรับคนหูหนวก ทำให้คนหูหนวกไม่เข้าใจ จึงขาดความรู้ด้านสุขภาพ สิทธิด้านสุขภาพของคนหูหนวก รวมถึงไม่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นอะไร ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ทำให้ไม่กล้าที่จะไปรับบริการ เป็นต้น ฉะนั้น ควรจัดทำข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ สำรวจสาเหตุและการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับคนหูหนวกแก่ครอบครัวและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อให้มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนหูหนวก

ผู้แทนสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมประชุม ระบุว่า ปัญหาหลักและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว รวม ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ได้จริง และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการซ้อน ๒)การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิคนพิการ โดยสามารถเชื่อมโยง/บูรณาการสิทธิต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะกรณีที่คนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการ และไม่สามารถใช้สิทธิคนพิการเพราะต้องใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งไม่ครอบคลุมเท่ากับสิทธิคนพิการ และ๓)สนับสนุนระบบดูแลสุขภาพคนพิการรุนแรง โดยเฉพาะการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการต่างๆ บริการดูแลสุขภาวะ และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการมากขึ้น หรือความพิการซ้อน

ผู้แทนสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต กล่าวว่า คนพิการทางจิตไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยทางจิต และการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับคนพิการ โดยขอให้มีการดำเนินการ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดยาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนทั่วไป ๒)การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทางจิต ไม่ให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมกีดกั้นหรือรังเกียจคนพิการทางจิต ๓)การส่งเสริมสุขภาวะทางกายและจิตของคนพิการและครอบครัว เพื่อลดภาวะความเครียด และ๔)การมีส่วนร่วมของคนพิการและครอบครัว เพื่อให้คนพิการทางจิตได้เข้าถึงและประโยชน์จากแผนฯ ได้จริง

ผู้แทนสมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้ห็ข้อเสนอต่อการทำแผนฯ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาคนพิการทางสติปัญญา รวมถึงการฝึกดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับคนพิการทางสติปัญญา ๒)การคัดกรองคนพิการ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและพัฒนาได้อย่างได้เหมาะสม ๓)การจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆทันทีที่พบความพิการ และ๔)การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริการส่วนใหญ่จะมีเฉพาะช่วงวัยเด็ก แต่ไม่มีบริการเมื่อเป็นเด็กโต ทำให้คนพิการทางสติปัญญาเป็นภาระต่อครอบครัวและขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับคนพิการทางการเรียนรู้ และผู้เข้าร่วมประชุม มีข้อเสนอต่อแผนฯ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้สามารถคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีความคุมเครือ ไม่ชัดเจน และยากต่อการคัดกรอง เช่น บางคนอาจจะไม่อยากเรียน หรือเป็นเพียงพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นคนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆ โดยควรจัดทำแบบคัดกรองที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งทางด้านการศึกษาและการแพทย์ ๒)การให้ความรู้กับครอบครัว บุคลากร และสังคม เพื่แให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ ๓)การหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) ได้กล่าวว่า มีนโยบายแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบาย เช่น บุคคลออทิสติกมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา แต่พบว่ามักถูกปฏิเสธจากสถานศึกษา หรือให้เรียนได้เพียง ๑ วัน/สัปดาห์ และถูกให้ออกจากสถานศึกษาเมื่อเด็กโต จึงขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริการที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ รวมถึงการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับบุคคลออทิสติก ทั้งที่มีกำหนดอยู่ในบัญชียาหลัก แต่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่จัดยาให้ตามบัญชีหลัก ข้อเสนอต่อแผนฯ มี ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการที่จำเป็นอย่างครบวงจรและทั่วถึง โดยจัดให้มีสถานที่บริการบุคคลออทิสติกอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่ง ๒)การจัดบริการให้ความรู้แก่ครอบครัว บุคลากรและชุมชน เพื่อให้มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อบุคคลออทิสติก โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ควรสามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เหมาะสมแก่คนพิการและครอบครัว ๓)แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเป็นบุคคลออทิสติก และ ๔)การจัดทำชุดสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมพัฒนาการแก่ครอบครัว ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดบริการให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องแล้ว ๔๐ หน่วยงาน โดยต้องผ่านการอบรมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น จึงควรจัดให้ครอบครัวเพื่อให้สามารถนำไปใช้ฝึกกับบุคคลออทิสติกได้โดยตรง (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ ส.ค.๕๖)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ ส.ค.๕๖
วันที่โพสต์: 9/08/2556 เวลา 02:51:19 ดูภาพสไลด์โชว์ กสธ.จัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้กระทรวงสาธารณสุขคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและป้องกันความพิการ กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ และการป้องกันความพิการ โดยมีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ และโครงการหรือระบบงาน รวมทั้ง การกำกับ ติดตามประเมินผลระบบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ ตลอดจนการประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนและการดำเนินงานในหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้แทนจากทุกประเภทความพิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย รวมประมาณ ๓๐ คน พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ได้กล่าวว่า เนื่องจากการดูแลสุขภาพด้านคนพิการนั้น ยังไม่มีการจัดทำเป็นแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นองค์รวม ดังนั้น จึงต้องทำแผนดูแลสุขภาพคนพิการระดับชาติ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิตรับผิดชอบหลักด้านการดูแลสุขภาพจิตของคนพิการ กรมการแพทย์โดยศูนย์สิรินธรฯดูแลรับผิดชอบหลักด้านความพิการทางการเคลื่อน ไหวหรือทางร่างกาย รวมถึงการบริการดูแลสุขภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท เช่น การจัดบริการฝึกอบรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนตาบอด และการสอนภาษามือให้คนหูหนวก เป็นต้น ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบให้โรงพยาบาลราชวิถี จัดตั้งคณะอนุกรรมการดูแลสุขภาพคนพิการทางการได้ยิน สำหรับการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑)สถานการณ์ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพของคนพิการทุกประเภท และ๒)การพิจารณาประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พิจารณาต่อไป นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาและสิ่งควรพิจารณาเพื่อจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนตาบอด มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการให้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ ๒๖ รายการ ตามสิทธิคนพิการด้านการฟืนฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ตามที่ระบุในพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเฉพาะ สิทธิใดที่ยังไม่ได้ให้บริการ หรือจัดบริการแล้วแต่คนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ หรือจัดบริการแล้วแต่ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง เป็นต้น ๒) การบริหารจัดการที่เป็นระบบและยั่งยืน พัฒนาโครงสร้างการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นระบบ ยั่งยืน และจัดให้มีนักวิชาชีพอย่างเพียงพอ และ๓)การมีส่วนร่วมของคนพิการ โดยทุกกระบวนการดำเนินงานของแผนฯ ควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมโดยตรง เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสุขภาพได้จริง ส่วน พญ.ดารณี กล่าวว่า การป้องกันสายตาเลือนรางยังไม่ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด เนื่องจากพบว่ามีนักเรียนในโรงเรียนทั่วไปประมาณร้อยละ ๕ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จึงต้องมีการคัดกรองเด็กและวางแผนการรักษาต่อไป เพื่อป้องกันความพิการ ผู้แทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้นำเสนอความเห็นว่า ปัญหาหลักของคนหูหนวกคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลด้านสุขภาพ และการมีล่ามภาษามือไม่เพียงพอ นอกจากนั้น การสื่อสารที่เหมาะสำหรับคนทั่วไปมักใช้คำที่ยากสำหรับคนหูหนวก ทำให้คนหูหนวกไม่เข้าใจ จึงขาดความรู้ด้านสุขภาพ สิทธิด้านสุขภาพของคนหูหนวก รวมถึงไม่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นอะไร ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ทำให้ไม่กล้าที่จะไปรับบริการ เป็นต้น ฉะนั้น ควรจัดทำข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ สำรวจสาเหตุและการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับคนหูหนวกแก่ครอบครัวและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อให้มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนหูหนวก ผู้แทนสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมประชุม ระบุว่า ปัญหาหลักและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว รวม ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ได้จริง และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการซ้อน ๒)การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิคนพิการ โดยสามารถเชื่อมโยง/บูรณาการสิทธิต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะกรณีที่คนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการ และไม่สามารถใช้สิทธิคนพิการเพราะต้องใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งไม่ครอบคลุมเท่ากับสิทธิคนพิการ และ๓)สนับสนุนระบบดูแลสุขภาพคนพิการรุนแรง โดยเฉพาะการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการต่างๆ บริการดูแลสุขภาวะ และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการมากขึ้น หรือความพิการซ้อน ผู้แทนสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต กล่าวว่า คนพิการทางจิตไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยทางจิต และการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับคนพิการ โดยขอให้มีการดำเนินการ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดยาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนทั่วไป ๒)การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทางจิต ไม่ให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมกีดกั้นหรือรังเกียจคนพิการทางจิต ๓)การส่งเสริมสุขภาวะทางกายและจิตของคนพิการและครอบครัว เพื่อลดภาวะความเครียด และ๔)การมีส่วนร่วมของคนพิการและครอบครัว เพื่อให้คนพิการทางจิตได้เข้าถึงและประโยชน์จากแผนฯ ได้จริง ผู้แทนสมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้ห็ข้อเสนอต่อการทำแผนฯ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาคนพิการทางสติปัญญา รวมถึงการฝึกดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับคนพิการทางสติปัญญา ๒)การคัดกรองคนพิการ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและพัฒนาได้อย่างได้เหมาะสม ๓)การจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆทันทีที่พบความพิการ และ๔)การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริการส่วนใหญ่จะมีเฉพาะช่วงวัยเด็ก แต่ไม่มีบริการเมื่อเป็นเด็กโต ทำให้คนพิการทางสติปัญญาเป็นภาระต่อครอบครัวและขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับคนพิการทางการเรียนรู้ และผู้เข้าร่วมประชุม มีข้อเสนอต่อแผนฯ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้สามารถคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีความคุมเครือ ไม่ชัดเจน และยากต่อการคัดกรอง เช่น บางคนอาจจะไม่อยากเรียน หรือเป็นเพียงพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นคนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆ โดยควรจัดทำแบบคัดกรองที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งทางด้านการศึกษาและการแพทย์ ๒)การให้ความรู้กับครอบครัว บุคลากร และสังคม เพื่แให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ ๓)การหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) ได้กล่าวว่า มีนโยบายแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบาย เช่น บุคคลออทิสติกมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา แต่พบว่ามักถูกปฏิเสธจากสถานศึกษา หรือให้เรียนได้เพียง ๑ วัน/สัปดาห์ และถูกให้ออกจากสถานศึกษาเมื่อเด็กโต จึงขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริการที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ รวมถึงการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับบุคคลออทิสติก ทั้งที่มีกำหนดอยู่ในบัญชียาหลัก แต่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่จัดยาให้ตามบัญชีหลัก ข้อเสนอต่อแผนฯ มี ๔ เรื่อง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...