สสส. ประกาศ “ปฏิญญา ภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ พ.ศ. 2556 – 2557”

แสดงความคิดเห็น

	ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สุขภาพในทศวรรษต่อไป”

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพกว่า 300 องค์กร ร่วมจัดเวที “สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” เนื่องในโอกาสที่ สสส. ดำเนินงานครบรอบปีที่ 12 โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 5,000 คน

	ผู้เข้าร่วมงาน สสส.สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ไบเทคบางนา ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สุขภาพในทศวรรษต่อไป” ว่า การทำงานเรื่องสุขภาพในทศวรรษต่อไป มี 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม และจริยธรรมปัญญา ต้องทำให้ครบทุกมิติ จึงจะส่งผลให้ประเทศไทยน่าอยู่ได้ ซึ่ง สสส. มีตัวอย่างของกิจกรรมจำนวนมากที่ดำเนินการใน 4 มิติดังกล่าว ดังนั้น ต้องถอดบทเรียนกระบวนการดำเนินงานของแต่ละมิติโดยเครือข่ายต่างๆ พร้อมทั้งนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ

	พิธีปิด สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ไบเทคบางนา ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวต่อว่า “สสส. และคนทำงานด้านสุขภาพควรยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 ประการ ได้แก่ 1)ทำงานอย่างผู้รู้จริง 2)ไม่ติดตำราแต่คำนึงถึงภูมิสังคม 3)ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเอง 4)ทำจากเล็กไปใหญ่ แต่ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้องทำให้ง่าย 5)ประหยัดเรียบง่ายและเกิดประโยชน์สูงสุด และ 6)จิตใจบริสุทธิ์ ทั้งนี้ ถ้ายึดหลักการทำงานเหล่านี้ได้จะสร้างความสุขจากการได้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพราะสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูง ประชาชนควรได้รับบริการสุขภาพที่เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อช่วยเหลือคนจนมากกว่าคนรวย เพราะงบประมาณของประเทศมีจำกัด

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การจัดเวที “สานงาน เสริมพลังฯ” ในระหว่าง 2 วัน ได้นำไปสู่หลักคิดให้ สสส. และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันประกาศ “ปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ” ด้วยการแสดงเจตจำนงร่วมกันขับเคลื่อนและรณรงค์ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างต่อเนื่อง และผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบสูง โดยมีนโยบาย ที่นำไปสู่เป้าหมาย “ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” 4 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะที่สามารถขยายผล จนส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของทุกคน 2)มีข้อตกลงร่วมในการยกระดับนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้เป็นนโยบายสาธารณะในทุกระดับ 3)ขยายภาคีใหม่ ที่มีการกระจายตัวของพื้นที่ มีความหลากหลายของแนวทางการทำงาน และ 4)เปิดพื้นที่ทางความคิด และเปิดพื้นที่ทางกายภาพในการทำงานร่วมกันและกันมากขึ้น

	การเสวนาห้องย่อย สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ไบเทคบางนา ทพ.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สสส.และภาคี จะร่วมดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะ พ.ศ. 2556-2557 รวม 6 เรื่องหลัก ได้แก่ 1)สร้างเสริมสุขภาวะอย่างสร้างสรรค์ตลอดทุกช่วงวัยให้เป็นวัฒนธรรมสุขภาพ และสร้างจิตสำนึกพลเมืองโดยเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน และภาคีเครือข่าย ให้สามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเอง มีภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง ฉลาดรู้ทันสื่อและสุขภาพ 2)ผสานเครือข่ายในทุกระดับมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงหลักและพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ ผสานเครือข่ายในทุกระดับมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่สำคัญ เช่น บุหรี่ สุรา อุบัติภัย โรคอ้วน ท้องไม่พร้อม ความรุนแรงทางเพศ และพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ เช่น โภชนา และอาหารปลอดภัย กิจกรรมทางกาย สุขภาพจิต โดยกลั่นความรู้ ประสบการณ์ เชื่อมโยงภารกิจ สร้างเสริมสมรรถนะและภาวะแวดล้อมในครอบครัว องค์กร และชุมชนในทุกระดับ 3)ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยเสริมสร้างพลังท้องถิ่นในการสร้างการเรียนรู้ และสร้างเป็นพลเมือง รักษาฐานทรัพยากร หนุนเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหารทั่วท้องถิ่นไทย ใช้ทุนและศักยภาพของผู้นำท้องถิ่นในการลดปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดทุกขภาวะ 4)ขยายแนวร่วมในการสร้างกลไก ขยายโอกาส หนุนเสริมสังคมที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีความเสมอภาค มีภราดรภาพและเป็นธรรม โดยมุ่งกระตุ้นให้เกิดระบบสวัสดิการทางสังคมมั่นคงและโอกาสที่เท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขาดโอกาส เช่น ผู้หญิง คนพิการ ผู้สูงอายุ แรงงาน เกษตรกร คนยากไร้กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล คนไร้บ้าน และกลุ่มหลากหลายทางเพศ ฯลฯ 5)ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาวะแก่เด็ก และเยาวชน เพื่อสร้างคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนทุกกลุ่ม ทุกสถานะ สามารถอยู่รอดอย่างปลอดภัยในสังคมตลอดจนเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ มีพลังที่จะร่วมสร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต และ6) ร่วมแรง ร่วมใจ ทำให้ทุกชุมชนท้องถิ่นเป็นเมืองสื่อสร้างสรรค์ ที่มีสื่อดี พื้นที่ดี ภูมิคุ้มกันที่ดี ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สื่อด้วยตนเอง ใช้สื่ออย่างฉลาดเท่าทัน มีพื้นที่ทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เสริมปัญญา และสานทุนวัฒนธรรมในท้องถิ่น (สสส / ASTVผู้จัดการออนไลน์ / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 พ.ค.56)

ที่มา: สสส / ASTVผู้จัดการออนไลน์ / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 31/05/2556 เวลา 03:38:30 ดูภาพสไลด์โชว์ สสส. ประกาศ “ปฏิญญา ภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ พ.ศ. 2556 – 2557”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สุขภาพในทศวรรษต่อไป” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพกว่า 300 องค์กร ร่วมจัดเวที “สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” เนื่องในโอกาสที่ สสส. ดำเนินงานครบรอบปีที่ 12 โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 5,000 คน ผู้เข้าร่วมงาน สสส.สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ไบเทคบางนา ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “สุขภาพในทศวรรษต่อไป” ว่า การทำงานเรื่องสุขภาพในทศวรรษต่อไป มี 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม และจริยธรรมปัญญา ต้องทำให้ครบทุกมิติ จึงจะส่งผลให้ประเทศไทยน่าอยู่ได้ ซึ่ง สสส. มีตัวอย่างของกิจกรรมจำนวนมากที่ดำเนินการใน 4 มิติดังกล่าว ดังนั้น ต้องถอดบทเรียนกระบวนการดำเนินงานของแต่ละมิติโดยเครือข่ายต่างๆ พร้อมทั้งนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ พิธีปิด สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ไบเทคบางนา ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวต่อว่า “สสส. และคนทำงานด้านสุขภาพควรยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 ประการ ได้แก่ 1)ทำงานอย่างผู้รู้จริง 2)ไม่ติดตำราแต่คำนึงถึงภูมิสังคม 3)ช่วยเขาเพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเอง 4)ทำจากเล็กไปใหญ่ แต่ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กต้องทำให้ง่าย 5)ประหยัดเรียบง่ายและเกิดประโยชน์สูงสุด และ 6)จิตใจบริสุทธิ์ ทั้งนี้ ถ้ายึดหลักการทำงานเหล่านี้ได้จะสร้างความสุขจากการได้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพราะสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูง ประชาชนควรได้รับบริการสุขภาพที่เป็นมาตรฐานกลาง เพื่อช่วยเหลือคนจนมากกว่าคนรวย เพราะงบประมาณของประเทศมีจำกัด ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การจัดเวที “สานงาน เสริมพลังฯ” ในระหว่าง 2 วัน ได้นำไปสู่หลักคิดให้ สสส. และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันประกาศ “ปฏิญญาภาคีสร้างเสริมสุขภาวะ” ด้วยการแสดงเจตจำนงร่วมกันขับเคลื่อนและรณรงค์ให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างต่อเนื่อง และผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบสูง โดยมีนโยบาย ที่นำไปสู่เป้าหมาย “ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่” 4 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะที่สามารถขยายผล จนส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของทุกคน 2)มีข้อตกลงร่วมในการยกระดับนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้เป็นนโยบายสาธารณะในทุกระดับ 3)ขยายภาคีใหม่ ที่มีการกระจายตัวของพื้นที่ มีความหลากหลายของแนวทางการทำงาน และ 4)เปิดพื้นที่ทางความคิด และเปิดพื้นที่ทางกายภาพในการทำงานร่วมกันและกันมากขึ้น การเสวนาห้องย่อย สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ณ ไบเทคบางนา ทพ.กฤษดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สสส.และภาคี จะร่วมดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะ พ.ศ. 2556-2557 รวม 6 เรื่องหลัก ได้แก่ 1)สร้างเสริมสุขภาวะอย่างสร้างสรรค์ตลอดทุกช่วงวัยให้เป็นวัฒนธรรมสุขภาพ และสร้างจิตสำนึกพลเมืองโดยเพิ่มขีดความสามารถของประชาชน และภาคีเครือข่าย ให้สามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเอง มีภูมิคุ้มกันปัจจัยเสี่ยง ฉลาดรู้ทันสื่อและสุขภาพ 2)ผสานเครือข่ายในทุกระดับมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงหลักและพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ ผสานเครือข่ายในทุกระดับมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่สำคัญ เช่น บุหรี่ สุรา อุบัติภัย โรคอ้วน ท้องไม่พร้อม ความรุนแรงทางเพศ และพัฒนาปัจจัยเสริมสุขภาพ เช่น โภชนา และอาหารปลอดภัย กิจกรรมทางกาย สุขภาพจิต โดยกลั่นความรู้ ประสบการณ์ เชื่อมโยงภารกิจ สร้างเสริมสมรรถนะและภาวะแวดล้อมในครอบครัว องค์กร และชุมชนในทุกระดับ 3)ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยเสริมสร้างพลังท้องถิ่นในการสร้างการเรียนรู้ และสร้างเป็นพลเมือง รักษาฐานทรัพยากร หนุนเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางอาหารทั่วท้องถิ่นไทย ใช้ทุนและศักยภาพของผู้นำท้องถิ่นในการลดปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดทุกขภาวะ 4)ขยายแนวร่วมในการสร้างกลไก ขยายโอกาส หนุนเสริมสังคมที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีความเสมอภาค มีภราดรภาพและเป็นธรรม โดยมุ่งกระตุ้นให้เกิดระบบสวัสดิการทางสังคมมั่นคงและโอกาสที่เท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขาดโอกาส เช่น ผู้หญิง คนพิการ ผู้สูงอายุ แรงงาน เกษตรกร คนยากไร้กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล คนไร้บ้าน และกลุ่มหลากหลายทางเพศ ฯลฯ 5)ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาวะแก่เด็ก และเยาวชน เพื่อสร้างคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนทุกกลุ่ม ทุกสถานะ สามารถอยู่รอดอย่างปลอดภัยในสังคมตลอดจนเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ มีพลังที่จะร่วมสร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต และ6) ร่วมแรง ร่วมใจ ทำให้ทุกชุมชนท้องถิ่นเป็นเมืองสื่อสร้างสรรค์ ที่มีสื่อดี พื้นที่ดี ภูมิคุ้มกันที่ดี ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สื่อด้วยตนเอง ใช้สื่ออย่างฉลาดเท่าทัน มีพื้นที่ทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ เสริมปัญญา และสานทุนวัฒนธรรมในท้องถิ่น (สสส / ASTVผู้จัดการออนไลน์ / มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 พ.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...