สสค.ดึงระบบดูแลเด็กกรณีศึกษาแม่ฮ่องสอนมาใช้ที่ภูเก็ตหลังดูแลเด็กให้เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น

ทีมผู้พัฒนาระบบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 พ.ค. ที่โรงเรียนสตรีภูเก็ต ได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องของการปฏิรูปการเรียนรู้ ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทีมผู้พัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นที่ทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการนำระบบดูแลเด็กรายกรณีที่พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยนเรศวร และที่มีการใช้งานอยู่จริงที่แม่ฮ่องสอนกับผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานของ สสค.เพื่อนำมาศึกษา และนำมาใช้ที่ภูเก็ต

ทางคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต จึงได้มีการนัดหมาย ทาง สสค. และทีมผู้พัฒนาระบบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร มาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันดังกล่าว โดยมีนายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม และมี ดร.ประสงค์ สังข์ไชย ที่ปรึกษา สสค. นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน นักวิชาการ สสค. น.ส.สมใจ สุวรรณศุพภนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ทีมผู้พัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน นักวิชาการ สสค.กล่าวว่า ในส่วนของทาง สสค.ได้ประชุมร่วมกับทางคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัด ภูเก็ต เรื่องของการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยทางจังหวัดภูเก็ต เป็นเจ้าภาพ เบื้องต้นทางจังหวัดเห็นว่า การที่มีข้อมูลเบื้องต้นของเด็กและเยาวชนทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้การวางแผนนโยบายสอดคล้องตรงกับปัญหา ดังนั้น การมีฐานข้อมูลจึงเป็นงานชิ้นแรกที่จำเป็นต่อการทำงาน โดยทาง สสค.ทำงานวิจัยร่วมกับทีมมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งผ่านการทดสอบการใช้งานจริงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมาระยะหนึ่งแล้ว ในการดูแลเด็กที่ด้อยโอกาส และเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนอกระบบการศึกษา

ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การนำผลสำเร็จจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาประยุกต์ใช้กับจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ ก็เพื่อนำมาดูแลทางด้านเยาวชนของภูเก็ต เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการดูแลได้อย่างที่ควรจะเป็น เป็นเรื่องของการลงทุนเพื่ออนาคตของคนภูเก็ต ซึ่งจากการรายงานของนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ทราบว่า ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด มีปัญหาซ้อนปัญหา ซึ่งทางภูเก็ตเองต้องค้นหาปัญหาตรงนี้ให้เจอก่อน และตอนนี้ก็อยู่ในช่วงของการศึกษาเพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาให้ถูกต้องตรงกับปัญหาจริงๆ

“ปัญหาแต่ละจังหวัด ตัวกลุ่มปัญหาแตกต่างกัน ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีปัญหาเรื่องของเด็กยากจน รวมถึงเด็กพิการ ด้อยโอกาส ส่วนภูเก็ตไม่ใช่อย่างนั้น กลุ่มของภูเก็ตมีปัญหาของแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ เด็กในพื้นที่ชุมชนแออัด ส่วนนี้เป็นปัญหาเฉพาะ ซึ่งในภูเก็ตแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ เพราะภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในขณะนี้ คือ การหาข้อมูลของเด็ก และเยาวชนกลุ่มนี้ เพื่อที่ทาง สสค.หาตัวเด็กให้เจอ และทาง สสค.จะดูแลเด็กในกลุ่มต่างๆ อย่างไรบ้าง นี่คือการทำงานชิ้นแรกเพื่อหาข้อมูลของเด็กกลุ่มนี้” นายพัฒนะพงษ์ กล่าวในที่สุด

ขอบคุณ http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062062 (ขนาดไฟล์: 185)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 25/05/2556 เวลา 02:38:38 ดูภาพสไลด์โชว์ สสค.ดึงระบบดูแลเด็กกรณีศึกษาแม่ฮ่องสอนมาใช้ที่ภูเก็ตหลังดูแลเด็กให้เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทีมผู้พัฒนาระบบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 พ.ค. ที่โรงเรียนสตรีภูเก็ต ได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องของการปฏิรูปการเรียนรู้ ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทีมผู้พัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นที่ทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ สืบเนื่องจากคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการนำระบบดูแลเด็กรายกรณีที่พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยนเรศวร และที่มีการใช้งานอยู่จริงที่แม่ฮ่องสอนกับผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานของ สสค.เพื่อนำมาศึกษา และนำมาใช้ที่ภูเก็ต ทางคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต จึงได้มีการนัดหมาย ทาง สสค. และทีมผู้พัฒนาระบบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร มาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันดังกล่าว โดยมีนายบัณฑูร ทองตัน ประธานคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุม และมี ดร.ประสงค์ สังข์ไชย ที่ปรึกษา สสค. นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน นักวิชาการ สสค. น.ส.สมใจ สุวรรณศุพภนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ทีมผู้พัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน นักวิชาการ สสค.กล่าวว่า ในส่วนของทาง สสค.ได้ประชุมร่วมกับทางคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาจังหวัด ภูเก็ต เรื่องของการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยทางจังหวัดภูเก็ต เป็นเจ้าภาพ เบื้องต้นทางจังหวัดเห็นว่า การที่มีข้อมูลเบื้องต้นของเด็กและเยาวชนทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้การวางแผนนโยบายสอดคล้องตรงกับปัญหา ดังนั้น การมีฐานข้อมูลจึงเป็นงานชิ้นแรกที่จำเป็นต่อการทำงาน โดยทาง สสค.ทำงานวิจัยร่วมกับทีมมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งผ่านการทดสอบการใช้งานจริงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมาระยะหนึ่งแล้ว ในการดูแลเด็กที่ด้อยโอกาส และเป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนอกระบบการศึกษา ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การนำผลสำเร็จจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาประยุกต์ใช้กับจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ ก็เพื่อนำมาดูแลทางด้านเยาวชนของภูเก็ต เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการดูแลได้อย่างที่ควรจะเป็น เป็นเรื่องของการลงทุนเพื่ออนาคตของคนภูเก็ต ซึ่งจากการรายงานของนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ทราบว่า ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด มีปัญหาซ้อนปัญหา ซึ่งทางภูเก็ตเองต้องค้นหาปัญหาตรงนี้ให้เจอก่อน และตอนนี้ก็อยู่ในช่วงของการศึกษาเพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาให้ถูกต้องตรงกับปัญหาจริงๆ “ปัญหาแต่ละจังหวัด ตัวกลุ่มปัญหาแตกต่างกัน ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีปัญหาเรื่องของเด็กยากจน รวมถึงเด็กพิการ ด้อยโอกาส ส่วนภูเก็ตไม่ใช่อย่างนั้น กลุ่มของภูเก็ตมีปัญหาของแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ เด็กในพื้นที่ชุมชนแออัด ส่วนนี้เป็นปัญหาเฉพาะ ซึ่งในภูเก็ตแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ เพราะภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การแก้ไขปัญหาในขณะนี้ คือ การหาข้อมูลของเด็ก และเยาวชนกลุ่มนี้ เพื่อที่ทาง สสค.หาตัวเด็กให้เจอ และทาง สสค.จะดูแลเด็กในกลุ่มต่างๆ อย่างไรบ้าง นี่คือการทำงานชิ้นแรกเพื่อหาข้อมูลของเด็กกลุ่มนี้” นายพัฒนะพงษ์ กล่าวในที่สุด ขอบคุณ… http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062062

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...