สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย กับ ก้าวย่างของปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน

แสดงความคิดเห็น

โลโก้ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AIHR) และภาพบรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย”

สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ได้จัดการประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ ๒๗-๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมสิริวารีน โรงแรมบัดดี้ ออเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมประมาณ ๔๐ คน

เมื่อเริ่มประชุม สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียได้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษาและกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อเสริมพลังการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยได้นำเสนอหลักคิดที่สำคัญ เช่น “สิทธิมนุษยชนศึกษา” เป็นกระบวนการต่อเนื่องซึ่งประชาชนเป็นศูนย์กลางในการเรียกร้องการยอมรับสิทธิของตนและความยุติธรรม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และสามารถตัดสินใจในเรื่องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่ส่งผลต่อสังคมและชีวิตของตน

บรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” ต่อจากนั้น ได้นำเสนอผลจากการเก็บข้อมูลขององค์กรที่นำเรื่องสิทธิมนุษยชนไปใช้ในการปฏิบัติงานด้วยการสัมภาษณ์การดำเนินงานขององค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนในทุกภูมิภาคทั้ง ภาค เหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติรวม ๓๒ องค์กร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ โดยได้แบ่งองค์กรตามลักษณะการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามประเภทแห่งสิทธิ เช่น สิทธิในที่ดิน ป่าไม้ และทรัพยากร สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ (ชนเผ่าพื้นเมือง) สิทธิในการมีส่วนร่วม: สนับสนุนการตระหนักรู้ สร้างสำนึกที่ดี และสร้างพลเมืองที่ตื่นตัว สิทธิในการตรวจสอบระดับนโยบาย สิทธิเด็ก สิทธิผู้สูงอายุ สิทธิคนพิการ สิทธิที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาวะ สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสิทธิของแรงงานข้ามชาติและเหยื่อจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น

บรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” ส่วนประเด็นในการสัมภาษณ์ มีเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจแนวทางการทำงานและการเสริมพลังต่อกลุ่มเป้าหมายของแต่ละองค์กร อันนำไปสู่การปฏิรูปบรรทัดฐานการดำเนินงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามเจตนารมณ์ที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ตลอดจนพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้กับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์เรื่อง ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและความท้าทายของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อไปในอนาคต ผู้แทนเครือข่ายองค์กรภาค เอกชนที่เข้าร่วมประชุม ได้กำหนด “กลยุทธ์เพื่อการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน” เช่น การใช้กฎหมายหรือการดำเนินงานด้านคดียุทธศาสตร์ การผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบาย การดำเนินงานร่วมกับภาครัฐในระดับต่างๆ การสร้างความตระหนักรู้กับกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการติดตามสถานการสิทธิมนุษยชน โดยใช้กลไกสิทธิมนุษยชนระดับ ประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ ซึ่งจะได้นำไปเสนอกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้พิจารณาบรรจุกลยุทธดังกล่าวในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ ๓ ด้วย

ผู้บรรยายในการประชุมโต๊ะกลม  เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” นอกจากนั้น ที่ประชุมได้สรุปประเด็นปัญหาแก้ไขในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ๑) ประชาชนทั่วไปไม่เข้าใจ และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนทั้งโดยรวมและเฉพาะประเด็น จึงมีเจตคติแง่ลบต่อสิทธิมนุษยชน ๒) ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเรื่อง ชนเผ่า และความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ ๓) ความสัมพันธ์ และการปฏิบัติงานร่วมกับกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ๔) การรวบรวมข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ ๕) การส่งผ่านความรู้ให้คนรุ่นใหม่ และ ๖)การหาทุน เพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

สำหรับข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญ เช่น ๑) สร้างเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงานรูปแบบเครือข่ายโดยเชื่อมโยงและบูรณาการบทบาทของแต่ละองค์กร พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ๒) ให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้เรื่อง “สิทธิมนุษยชนศึกษา” ที่ทันสมัยและเป็นสากล เพื่อเผยแพร่ทางสื่อมวลชน และบรรจุในหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับชั้นเรียน ๓) พัฒนาหลักสูตรด้านกฎหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนที่ถูกต้องและทันสมัย ๔) ส่งเสริมผู้ทรงคุณวุฒิ และมีประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนให้ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางพัฒนาบทบาทการดำเนินงานของแต่ละองค์กร ๕) เสริมพลังความเข้มแข็งให้กับประชาชนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของตนเอง ๖) ส่งเสริมให้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนได้รับการรับฟังและแก้ไขจากภาคส่วนต่างๆ ๗) พัฒนากระบวนการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้นำไปสู่การกำหนดนโยบาย กฎหมาย และแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ๘) กำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้และการตีความทางกฎหมาย และ ๙) สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในระดับภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น

อนึ่ง มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยซึ่งให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ทั้งด้านสนับสนุนการกำหนดนโยบาย การยกร่างกฎหมายและแผนงาน การเผยแพร่ความรู้และสร้างเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อสิทธิมนุษยชนแก่คนพิการและครอบครัว รวมถึงบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง การติดตามและผลักดันการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการรับเรื่องร้องเรียนจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือถูกเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับคนพิการและประสานเพื่อการแก้ปัญหา เป็นต้น ได้เสนอที่ประชุมว่า พร้อมจะประสานและร่วมดำเนินงานกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับคนพิการ รวมทั้ง เสนอต่อสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียว่าจะประสาน “สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของเครือข่ายคนพิการให้ร่วมเป็นเครือข่ายฯ กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ องค์กรกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มไร้สัญชาติแสดงความประสงค์จะร่วมกับเครือข่ายคนพิการ ยกร่าง และผลักดันการบังคับใช้ ร่าง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล พ.ศ. ….ด้วย

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๘ เม.ย. ๒๕๕๖
วันที่โพสต์: 29/04/2556 เวลา 03:05:20 ดูภาพสไลด์โชว์  สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย กับ ก้าวย่างของปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AIHR) และภาพบรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ได้จัดการประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ ๒๗-๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมสิริวารีน โรงแรมบัดดี้ ออเรียลทอล ริเวอร์ไซด์ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมประมาณ ๔๐ คน เมื่อเริ่มประชุม สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียได้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนศึกษาและกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อเสริมพลังการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยได้นำเสนอหลักคิดที่สำคัญ เช่น “สิทธิมนุษยชนศึกษา” เป็นกระบวนการต่อเนื่องซึ่งประชาชนเป็นศูนย์กลางในการเรียกร้องการยอมรับสิทธิของตนและความยุติธรรม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และสามารถตัดสินใจในเรื่องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่ส่งผลต่อสังคมและชีวิตของตน บรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย”ต่อจากนั้น ได้นำเสนอผลจากการเก็บข้อมูลขององค์กรที่นำเรื่องสิทธิมนุษยชนไปใช้ในการปฏิบัติงานด้วยการสัมภาษณ์การดำเนินงานขององค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนในทุกภูมิภาคทั้ง ภาค เหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในระดับท้องถิ่นและระดับชาติรวม ๓๒ องค์กร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕ โดยได้แบ่งองค์กรตามลักษณะการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามประเภทแห่งสิทธิ เช่น สิทธิในที่ดิน ป่าไม้ และทรัพยากร สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ (ชนเผ่าพื้นเมือง) สิทธิในการมีส่วนร่วม: สนับสนุนการตระหนักรู้ สร้างสำนึกที่ดี และสร้างพลเมืองที่ตื่นตัว สิทธิในการตรวจสอบระดับนโยบาย สิทธิเด็ก สิทธิผู้สูงอายุ สิทธิคนพิการ สิทธิที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาวะ สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสิทธิของแรงงานข้ามชาติและเหยื่อจากการค้ามนุษย์ เป็นต้น บรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย” ส่วนประเด็นในการสัมภาษณ์ มีเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจแนวทางการทำงานและการเสริมพลังต่อกลุ่มเป้าหมายของแต่ละองค์กร อันนำไปสู่การปฏิรูปบรรทัดฐานการดำเนินงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามเจตนารมณ์ที่ระบุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ตลอดจนพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้กับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์เรื่อง ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและความท้าทายของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนต่อไปในอนาคต ผู้แทนเครือข่ายองค์กรภาค เอกชนที่เข้าร่วมประชุม ได้กำหนด “กลยุทธ์เพื่อการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน” เช่น การใช้กฎหมายหรือการดำเนินงานด้านคดียุทธศาสตร์ การผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบาย การดำเนินงานร่วมกับภาครัฐในระดับต่างๆ การสร้างความตระหนักรู้กับกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการติดตามสถานการสิทธิมนุษยชน โดยใช้กลไกสิทธิมนุษยชนระดับ ประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ ซึ่งจะได้นำไปเสนอกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้พิจารณาบรรจุกลยุทธดังกล่าวในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ ๓ ด้วย ผู้บรรยายในการประชุมโต๊ะกลม เรื่อง “อุปสรรคและความท้าทาย ของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาในประเทศไทย”นอกจากนั้น ที่ประชุมได้สรุปประเด็นปัญหาแก้ไขในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ๑) ประชาชนทั่วไปไม่เข้าใจ และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนทั้งโดยรวมและเฉพาะประเด็น จึงมีเจตคติแง่ลบต่อสิทธิมนุษยชน ๒) ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเรื่อง ชนเผ่า และความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ ๓) ความสัมพันธ์ และการปฏิบัติงานร่วมกับกับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ๔) การรวบรวมข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ ๕) การส่งผ่านความรู้ให้คนรุ่นใหม่ และ ๖)การหาทุน เพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญ เช่น ๑) สร้างเสริมความเข้มแข็งในการดำเนินงานรูปแบบเครือข่ายโดยเชื่อมโยงและบูรณาการบทบาทของแต่ละองค์กร พร้อมทั้งสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ๒) ให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้เรื่อง “สิทธิมนุษยชนศึกษา” ที่ทันสมัยและเป็นสากล เพื่อเผยแพร่ทางสื่อมวลชน และบรรจุในหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับชั้นเรียน ๓) พัฒนาหลักสูตรด้านกฎหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนที่ถูกต้องและทันสมัย ๔) ส่งเสริมผู้ทรงคุณวุฒิ และมีประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนให้ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางพัฒนาบทบาทการดำเนินงานของแต่ละองค์กร ๕) เสริมพลังความเข้มแข็งให้กับประชาชนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของตนเอง ๖) ส่งเสริมให้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนได้รับการรับฟังและแก้ไขจากภาคส่วนต่างๆ ๗) พัฒนากระบวนการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้นำไปสู่การกำหนดนโยบาย กฎหมาย และแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ๘) กำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้และการตีความทางกฎหมาย และ ๙) สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในระดับภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น อนึ่ง มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยซึ่งให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ทั้งด้านสนับสนุนการกำหนดนโยบาย การยกร่างกฎหมายและแผนงาน การเผยแพร่ความรู้และสร้างเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อสิทธิมนุษยชนแก่คนพิการและครอบครัว รวมถึงบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง การติดตามและผลักดันการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการรับเรื่องร้องเรียนจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือถูกเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับคนพิการและประสานเพื่อการแก้ปัญหา เป็นต้น ได้เสนอที่ประชุมว่า พร้อมจะประสานและร่วมดำเนินงานกับเครือข่ายสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับคนพิการ รวมทั้ง เสนอต่อสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียว่าจะประสาน “สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นองค์กรแม่ของเครือข่ายคนพิการให้ร่วมเป็นเครือข่ายฯ กับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ องค์กรกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มไร้สัญชาติแสดงความประสงค์จะร่วมกับเครือข่ายคนพิการ ยกร่าง และผลักดันการบังคับใช้ ร่าง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล พ.ศ. ….ด้วย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...