เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวถึง สถานการณ์และแนวโน้มของคนเป็นของคนเป็นออทิสติกว่า ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 35 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยคาดว่ามีประมาณ 3.7 แสนคน และจากสถิติปี 2555 เฉลี่ยเด็กไทยใน 1,000 คน พบว่าเป็นออทิสติกถึง 6 คน ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จากการประกาศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 กำหนดให้บุคคลออทิสติกเป็นประเภทความพิการด้วย เพื่อจะได้รับสิทธิบริการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กลับพบว่ามีคนเป็นออทิสติกมาแสดงตนขอมีบัตรประจำตัวผู้พิการประมาณ 4,000 รายเท่านั้น

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้เป็นออทิสติกมาลงทะเบียนน้อยคาดว่าเกิดจาก 3 เหตุผลหลัก คือ 1.เอกสารรับรองความพิการของกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังคงระบุรวมบุคคลออทิสติกไว้ในกลุ่มความพิการทางจิตใจ ซึ่งทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน 2.ผู้ปกครองยังไม่รู้สิทธิ หรือยังมีมุมมองกับคำว่าพิการไม่ชัดเจน บางคนอาจมองว่าเป็นการตีตราเด็ก จึงไม่นำเด็กเข้าระบบ และ 3.แพทย์ยังมีความลังเลในการวินิจฉัยรับรองว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพ

“จากการเข้าร่วมประชุจัดทำแผนสนับสนุนการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการและทุกคนในสังคมเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว และหวังว่าจะได้รับการพิจารณาในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ที่จะมีขึ้นในช่วงของการจัดกิจกรรมคิกออฟ เปลี่ยนภาระเป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน เพื่อผลักดัน กฎหมายคนพิการให้มีความชัดเจน และพัฒนาระบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า บุคคลออทิสติกจะเห็นชัดในช่วงวัยเด็กอายุ 3-4 ขวบหากพบเด็กมีปัญหาทั้ง 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านปฏิพันธ์ทางสังคม ด้านภาษาและการสื่อสาร และด้านพฤติกรรมและอารมณ์ให้สันนิษฐานได้ว่า เด็กอาจเป็นออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้สำเร็จ คือ การฝึกกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้อง โดยผู้ปกครองจะต้องยอมรับและเข้าใจ และแนะนำให้ผู้ปกครองใช้หลัก 4.อ. คือ อดทน อบอุ่น เอาใจใส่ ให้โอกาสเพื่อเป็นแนวทางในการฝึก

สำหรับระดับอาการออทิสติก จำแนกได้ 3 ระดับ คือ 1.ระดับกลุ่มที่มีอาการน้อย (Mild autism) หรือ กลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง จะมีพัฒนาการทางภาษาดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังมีความบกพร่องในทักษะทางด้านสังคม การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอื่น 2.ระดับกลุ่มที่มีอาการปลานกลาง (Moderate autism) ในกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา การสื่อสาร ทักษะทางด้านสังคม และการช่วยเหลือตัวเอง ตลอดจนมีปัญหาพฤติกรรมกระตุ้นตนเอง 3.ระดับที่มีอาการรุนแรง (Severe autism) ในกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าเกือบทุกด้าน และอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญญาอ่อน รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่รุนแรง

นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมูลนิธิออทิสติกไทยมีศูนย์ส่งเสริมทักษะบุคคลออทิสติกจำนวน 8 แห่ง และในปี 2556 มีแผนขยายเพิ่มอีก 12 แห่ง โดยสามารถช่วยฝึกเด็กออทิสติกได้ปีละกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาระบบบริการแก่เด็กและบุคคลออทิสติก เช่น โครงการห้องเรียนคู่ขนาดในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การจัดตั้งศูนย์การเรียนออทิสติกไทย(กศน.)

อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ตระหนักรู้ออทิสติกโลก(World Autism Awareness Day : WAAD) มูลนิธิออทิสติกไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จะร่วมกันจัดงานสัปดาห์วันออทิสติกโลก เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญและดูแลบุคคลออทิสติก ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องออทิสติกระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน ณ โรงแรมทีเคพาเลช ถนนแจ้งวัฒนะ

ที่มา: คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 4/04/2556 เวลา 05:01:17

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวถึง สถานการณ์และแนวโน้มของคนเป็นของคนเป็นออทิสติกว่า ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 35 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยคาดว่ามีประมาณ 3.7 แสนคน และจากสถิติปี 2555 เฉลี่ยเด็กไทยใน 1,000 คน พบว่าเป็นออทิสติกถึง 6 คน ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จากการประกาศของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 กำหนดให้บุคคลออทิสติกเป็นประเภทความพิการด้วย เพื่อจะได้รับสิทธิบริการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กลับพบว่ามีคนเป็นออทิสติกมาแสดงตนขอมีบัตรประจำตัวผู้พิการประมาณ 4,000 รายเท่านั้น นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้เป็นออทิสติกมาลงทะเบียนน้อยคาดว่าเกิดจาก 3 เหตุผลหลัก คือ 1.เอกสารรับรองความพิการของกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังคงระบุรวมบุคคลออทิสติกไว้ในกลุ่มความพิการทางจิตใจ ซึ่งทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน 2.ผู้ปกครองยังไม่รู้สิทธิ หรือยังมีมุมมองกับคำว่าพิการไม่ชัดเจน บางคนอาจมองว่าเป็นการตีตราเด็ก จึงไม่นำเด็กเข้าระบบ และ 3.แพทย์ยังมีความลังเลในการวินิจฉัยรับรองว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพ “จากการเข้าร่วมประชุจัดทำแผนสนับสนุนการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการและทุกคนในสังคมเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว และหวังว่าจะได้รับการพิจารณาในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ที่จะมีขึ้นในช่วงของการจัดกิจกรรมคิกออฟ เปลี่ยนภาระเป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน เพื่อผลักดัน กฎหมายคนพิการให้มีความชัดเจน และพัฒนาระบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป” นายชูศักดิ์ กล่าว นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า บุคคลออทิสติกจะเห็นชัดในช่วงวัยเด็กอายุ 3-4 ขวบหากพบเด็กมีปัญหาทั้ง 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านปฏิพันธ์ทางสังคม ด้านภาษาและการสื่อสาร และด้านพฤติกรรมและอารมณ์ให้สันนิษฐานได้ว่า เด็กอาจเป็นออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้สำเร็จ คือ การฝึกกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้อง โดยผู้ปกครองจะต้องยอมรับและเข้าใจ และแนะนำให้ผู้ปกครองใช้หลัก 4.อ. คือ อดทน อบอุ่น เอาใจใส่ ให้โอกาสเพื่อเป็นแนวทางในการฝึก สำหรับระดับอาการออทิสติก จำแนกได้ 3 ระดับ คือ 1.ระดับกลุ่มที่มีอาการน้อย (Mild autism) หรือ กลุ่มออทิสติกที่มีศักยภาพสูง จะมีพัฒนาการทางภาษาดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังมีความบกพร่องในทักษะทางด้านสังคม การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอื่น 2.ระดับกลุ่มที่มีอาการปลานกลาง (Moderate autism) ในกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าทางด้านภาษา การสื่อสาร ทักษะทางด้านสังคม และการช่วยเหลือตัวเอง ตลอดจนมีปัญหาพฤติกรรมกระตุ้นตนเอง 3.ระดับที่มีอาการรุนแรง (Severe autism) ในกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าเกือบทุกด้าน และอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญญาอ่อน รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่รุนแรง นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมูลนิธิออทิสติกไทยมีศูนย์ส่งเสริมทักษะบุคคลออทิสติกจำนวน 8 แห่ง และในปี 2556 มีแผนขยายเพิ่มอีก 12 แห่ง โดยสามารถช่วยฝึกเด็กออทิสติกได้ปีละกว่า 1,000 คน นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาระบบบริการแก่เด็กและบุคคลออทิสติก เช่น โครงการห้องเรียนคู่ขนาดในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การจัดตั้งศูนย์การเรียนออทิสติกไทย(กศน.) อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ตระหนักรู้ออทิสติกโลก(World Autism Awareness Day : WAAD) มูลนิธิออทิสติกไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จะร่วมกันจัดงานสัปดาห์วันออทิสติกโลก เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญและดูแลบุคคลออทิสติก ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องออทิสติกระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน ณ โรงแรมทีเคพาเลช ถนนแจ้งวัฒนะ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...