อบจ.สระแก้วผุดโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ปลอดตาบอดจากต้อกระจก
- บรรยากาศงานแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก ที่ห้องประชุมสระแก้ว
- กลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมงานแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก
- กลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมงานแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก
การช่วยเหลือประชาชนถือเป็นหน้าที่หลักของนักการเมืองที่ดี ที่พึงกระทำโดยไม่มีการเลือกข้างหนึ่งข้างใด ทั้งนี้หากได้ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุถือว่าเป็นเรื่องที่ได้บุญอย่างมาก เกี่ยวกับการช่วยเหลือต่างๆ เมื่อเร็วๆนี้ นายทรงยศ เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) สระแก้ว นพ.สมยศ ศรีจารนัย แพทย์สาธารณสุข จ.สระแก้ว นพ.เมธ โชคชัยชาญ ปธ.คณะกรรมการที่ปรึกษาความร่วมมือและแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก ที่ห้องประชุมสระแก้ว
นายทรงยศ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยประสบปัญหาสูญเสียการมองเห็นจากโรคของดวงตา โดยเฉพาะโรคต้อกระจกที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตาบอดทำให้เกิดการสูญเสีย โดย จ.สระแก้ว มีผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคต้อกระจกจำนวนมากอาศัยอยู่ในชนบท ขาดโอกาสเข้าถึงบริการที่เหมาะสมทำให้โรคลุกลามจนสูญเสียการมองเห็น จนเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จ.สระแก้ว มีผู้ป่วยโรคต้อกระจกสามารถเข้าถึงบริการน้อยมาก เป็นอันดับที่ 1 ของภาคตะวันออก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ
สาเหตุหลัก คือ จักษุแพทย์ไม่เพียงพอผู้ป่วยยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อสภาวะของโรค การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการผ่าตัดต้อกระจก และการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม ประกอบกับปัญหาค่าใช้จ่ายของครอบครัวรวมทั้งการไม่สะดวกในการเดินทางไปรับการตรวจ ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนในพื้นที่ชนบทห่างไกลไม่ได้รับการเข้าถึงบริการเพื่อรักษาจึงเป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็น
ด้วยความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน อบจ.สระแก้ว จึงได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จ.สระแก้ว และรพ.ศุภมิตรสุพรรณบุรี รพ.ศุภมิตรเสนา จัดทำโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก ระยะแรกจะดำเนินการในพื้นที่อำเภอที่ห่างไกล การเข้าถึงบริการโรคตาไม่สะดวก 2 อำเภอได้แก่ อ.ตาพระยา และ อ.คลองหาด โดยประสานให้ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลคัดกรองผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งอ.ตาพระยา และอ.คลองหาด ดำเนินการไปแล้ว เมื่อได้ผู้ป่วยสาธารณสุขจังหวัดจะจัดทำใบส่งตัวให้ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะจัดพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วยไปผ่าตัดที่ศุภมิตรสุพรรณบุรี โดยต้องพักค้างคืน ก่อนที่จะเดินทางกลับในอีกวัน หลังจากนั้นจะมีการตรวจติดตามผลหลังการรักษา 7 วัน และ 30 วัน และ สปสช.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าเลนส์แก้วตาเทียมให้ทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิน
ด้านนายแพทย์สมยศ กล่าวว่า โรคต้อกระจกเป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตาที่มีความขุ่นเกิดขึ้นทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลงภาพที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจน เกิดอาการที่เรียกว่า “ตามัว” จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีอาการปวดตา ถ้าปล่อยไว้นานอาการตามัวจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงขั้นมองเห็นเป็นเพียงเงาเคลื่อนไหว ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัดอาจเกิดอาการแทรกซ้อน ทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือ ตาบอด ในที่สุด
สำหรับการรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัดหรือสลายต้อกระจก และใส่เลนส์แก้วตาเทียม เพื่อปรับสายตาให้เห็นเป็นปกติ การทรวงสาธารณสุข และสปสช.กำหนดให้ต้องคัดกรองโรคตาในประชาชนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปให้ได้ร้อยละ 80 และให้ผู้ป่วยต้อกระจกที่มีอาการรุนแรงได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน ร้อยละ 85
ในส่วนของผู้ป่วยตาต้อกระจกชนิดอาการไม่รุนแรงได้รับการผ่าตัดเฉลี่ยไม่เกิน 90 วัน ในขณะที่ปัจจุบัน จ.สระแก้ว มีจักษุแพทย์เพียงคนเดียว และมีจักษุแพทย์มาออกหน่วยที่สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศเป็นระยะๆ ทำให้ไม่สามารถรักษาคนไข้ได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ยังเข้าไม่ถึงสถานบริการ อาจเนื่องจากความยากจนทำให้ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกมืดมาตลอด หลังจากโครงการนี้ได้เริ่มไประยะหนึ่งข้อมูล ณ วันที่ 12 มี.ค.ปรากฏว่ามีจำนวนผู้มารับการตรวจคัดกรองทั้งหมด 1,592 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก 427 คน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้มาคัดกรอง
ส่วน นพ.เมธ กล่าวว่า ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคนอายุมากกว่า 60 ปี ประมาณร้อยละ 10 มีสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมตามวัย และเป็นต้อกระจกทุกคนแล้วแต่จะมากน้อยแค่ไหน จากปัญหาผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการตรวจรักษาได้ เมื่อ สปสช.เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนภาครัฐเพื่อร่วมภารกิจให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการ มูลนิธิศุภมิตรจึงได้เข้าร่วมโครงการผ่าตัดต้อกระจกให้ผู้ป่วยในชนบทมานานเกือบ 10 ปี มีผู้ป่วยรับบริการไปแล้วกว่า 1 แสนราย
นางบุญมา ดุรยับ อายุ 66 ปี เปิดเผยถึงความรู้สึกหลังการผ่าตัดต้อกระจกว่า “รู้สึกดีใจเหมือนเกิดใหม่ หลังจากที่ตามองไม่เห็นมากว่า 2 ปี แต่ไม่ได้ไปรักษาที่ไหน เนื่องจากต้องเลี้ยงหลานอยู่กับบ้านไม่มีเงิน ไม่มีคนพาไป หลังจากทราบข่าวก็มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพาไปตรวจ และผ่าตัดกลับมา ตอนนี้ตากลับมามองเห็นได้ตามเดิมทำให้ใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกสบายขึ้น” สุพจน์ กิตติวรเมธี
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(บรรยากาศงานแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก ที่ห้องประชุมสระแก้ว) (กลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมงานแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก) (กลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมงานแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก) การช่วยเหลือประชาชนถือเป็นหน้าที่หลักของนักการเมืองที่ดี ที่พึงกระทำโดยไม่มีการเลือกข้างหนึ่งข้างใด ทั้งนี้หากได้ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุถือว่าเป็นเรื่องที่ได้บุญอย่างมาก เกี่ยวกับการช่วยเหลือต่างๆ เมื่อเร็วๆนี้ นายทรงยศ เทียนทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) สระแก้ว นพ.สมยศ ศรีจารนัย แพทย์สาธารณสุข จ.สระแก้ว นพ.เมธ โชคชัยชาญ ปธ.คณะกรรมการที่ปรึกษาความร่วมมือและแถลงข่าวโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก ที่ห้องประชุมสระแก้ว นายทรงยศ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยประสบปัญหาสูญเสียการมองเห็นจากโรคของดวงตา โดยเฉพาะโรคต้อกระจกที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตาบอดทำให้เกิดการสูญเสีย โดย จ.สระแก้ว มีผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคต้อกระจกจำนวนมากอาศัยอยู่ในชนบท ขาดโอกาสเข้าถึงบริการที่เหมาะสมทำให้โรคลุกลามจนสูญเสียการมองเห็น จนเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จ.สระแก้ว มีผู้ป่วยโรคต้อกระจกสามารถเข้าถึงบริการน้อยมาก เป็นอันดับที่ 1 ของภาคตะวันออก และอยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ สาเหตุหลัก คือ จักษุแพทย์ไม่เพียงพอผู้ป่วยยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อสภาวะของโรค การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการผ่าตัดต้อกระจก และการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม ประกอบกับปัญหาค่าใช้จ่ายของครอบครัวรวมทั้งการไม่สะดวกในการเดินทางไปรับการตรวจ ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนในพื้นที่ชนบทห่างไกลไม่ได้รับการเข้าถึงบริการเพื่อรักษาจึงเป็นสาเหตุให้สูญเสียการมองเห็น ด้วยความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน อบจ.สระแก้ว จึงได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จ.สระแก้ว และรพ.ศุภมิตรสุพรรณบุรี รพ.ศุภมิตรเสนา จัดทำโครงการรวมใจ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ปลอดตาบอดจากต้อกระจก ระยะแรกจะดำเนินการในพื้นที่อำเภอที่ห่างไกล การเข้าถึงบริการโรคตาไม่สะดวก 2 อำเภอได้แก่ อ.ตาพระยา และ อ.คลองหาด โดยประสานให้ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลคัดกรองผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งอ.ตาพระยา และอ.คลองหาด ดำเนินการไปแล้ว เมื่อได้ผู้ป่วยสาธารณสุขจังหวัดจะจัดทำใบส่งตัวให้ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะจัดพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วยไปผ่าตัดที่ศุภมิตรสุพรรณบุรี โดยต้องพักค้างคืน ก่อนที่จะเดินทางกลับในอีกวัน หลังจากนั้นจะมีการตรวจติดตามผลหลังการรักษา 7 วัน และ 30 วัน และ สปสช.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าเลนส์แก้วตาเทียมให้ทั้งหมด โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิน ด้านนายแพทย์สมยศ กล่าวว่า โรคต้อกระจกเป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตาที่มีความขุ่นเกิดขึ้นทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลงภาพที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจน เกิดอาการที่เรียกว่า “ตามัว” จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีอาการปวดตา ถ้าปล่อยไว้นานอาการตามัวจะมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงขั้นมองเห็นเป็นเพียงเงาเคลื่อนไหว ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษาด้วยการผ่าตัดอาจเกิดอาการแทรกซ้อน ทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือ ตาบอด ในที่สุด สำหรับการรักษาทำได้ด้วยการผ่าตัดหรือสลายต้อกระจก และใส่เลนส์แก้วตาเทียม เพื่อปรับสายตาให้เห็นเป็นปกติ การทรวงสาธารณสุข และสปสช.กำหนดให้ต้องคัดกรองโรคตาในประชาชนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปให้ได้ร้อยละ 80 และให้ผู้ป่วยต้อกระจกที่มีอาการรุนแรงได้รับการผ่าตัดภายใน 30 วัน ร้อยละ 85 ในส่วนของผู้ป่วยตาต้อกระจกชนิดอาการไม่รุนแรงได้รับการผ่าตัดเฉลี่ยไม่เกิน 90 วัน ในขณะที่ปัจจุบัน จ.สระแก้ว มีจักษุแพทย์เพียงคนเดียว และมีจักษุแพทย์มาออกหน่วยที่สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศเป็นระยะๆ ทำให้ไม่สามารถรักษาคนไข้ได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ยังเข้าไม่ถึงสถานบริการ อาจเนื่องจากความยากจนทำให้ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกมืดมาตลอด หลังจากโครงการนี้ได้เริ่มไประยะหนึ่งข้อมูล ณ วันที่ 12 มี.ค.ปรากฏว่ามีจำนวนผู้มารับการตรวจคัดกรองทั้งหมด 1,592 คน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก 427 คน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของผู้มาคัดกรอง ส่วน นพ.เมธ กล่าวว่า ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคนอายุมากกว่า 60 ปี ประมาณร้อยละ 10 มีสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมตามวัย และเป็นต้อกระจกทุกคนแล้วแต่จะมากน้อยแค่ไหน จากปัญหาผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการตรวจรักษาได้ เมื่อ สปสช.เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนภาครัฐเพื่อร่วมภารกิจให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่เข้าไม่ถึงบริการ มูลนิธิศุภมิตรจึงได้เข้าร่วมโครงการผ่าตัดต้อกระจกให้ผู้ป่วยในชนบทมานานเกือบ 10 ปี มีผู้ป่วยรับบริการไปแล้วกว่า 1 แสนราย นางบุญมา ดุรยับ อายุ 66 ปี เปิดเผยถึงความรู้สึกหลังการผ่าตัดต้อกระจกว่า “รู้สึกดีใจเหมือนเกิดใหม่ หลังจากที่ตามองไม่เห็นมากว่า 2 ปี แต่ไม่ได้ไปรักษาที่ไหน เนื่องจากต้องเลี้ยงหลานอยู่กับบ้านไม่มีเงิน ไม่มีคนพาไป หลังจากทราบข่าวก็มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพาไปตรวจ และผ่าตัดกลับมา ตอนนี้ตากลับมามองเห็นได้ตามเดิมทำให้ใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกสบายขึ้น” สุพจน์ กิตติวรเมธี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)