วงเสวนาสื่อสร้างสุขอุบลระอุ คนพิการจวกรัฐ-ท้องถิ่นเมินจัดสวัสดิการรถสาธารณะ
อุบลราชธานี – สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี เชิญกรมการขนส่ง-อบจ.-หอการค้า ถกรถเมล์คุณภาพ รถรางสาธารณะ สร้างคุณภาพชีวิตการเดินทางยุคน้ำมันแพง ระบุตรงกันนโยบายรัฐคือปัญหาใหญ่ทำให้รถสาธารณะไม่ได้คุณภาพ ด้านคนพิการสะท้อนสังคมรถสาธารณะไม่ต้อนรับ เรียกร้องจัดบริการอำนวยประโยชน์อย่างจริงจัง
เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุบลราชธานี ว่า สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเสด ประเทศไทย จัดเวทีถกรถโดยสารสาธารณะคุณภาพเพื่อคนเมืองอุบล ความฝันหรือความจริง โดยเชิญตัวแทนกรมการขนส่งทางบก หอการค้า และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ร่วมเวทีเพื่อหาช่องทางสร้างคุณภาพชีวิตในการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ
มีนายกมล หอมกลิ่น ผู้ดำเนินรายการ ถามนายพรชัย โควสุรัตน์ นายก อบจ. กรณีรับผิดชอบสถานีขนส่งในจังหวัด และนโยบายพัฒนาระบบการขนส่งในอนาคต ซึ่งนายพรชัยตอบว่า อบจ.มีหน้าที่ดูแลสถานีขนส่งรวม 3 แห่ง ที่เป็นปัญหามาก คือ สถานีขนส่งในตัวจังหวัด ที่สถานที่คับแคบไม่สอดคล้องกับปริมาณรถโดยสารที่มีจำนวนมากกว่า อบจ.จึงมีนโยบายสร้างสถานีขนส่งแห่งใหม่ แบ่งเป็นโซนเหนือ และโซนใต้ของจังหวัด เพื่อรองรับปริมาณรถยนต์โดยสารทั้งสองทิศทาง และใช้เป็นที่รองรับรถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาทำการขนถ่ายสินค้าแทนการเข้าตัวเมือง เพื่อลดปัญหาการแออัดด้านจราจร ซึ่งปัจจุบัน อบจ.มีงบประมาณใช้ก่อสร้างสถานีขนส่งขนาดใหญ่ทั้ง 2 แห่ง แต่ติดขัดเรื่องพื้นที่ซึ่งเป็นของหน่วยงานอื่น จึงอยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่อยู่
นายพรชัยกล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพรถโดยสารประจำทางในเขตเทศบาลนคร อุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ ซึ่งมีให้บริการวันละกว่า 260 คัน ว่าต้องมีระยะเวลาการเดินรถตามเวลาชัดเจน รวดเร็ว เพื่อขนส่งประชาชนเดินทางได้ในเวลารวดเร็ว ลดปัญหาการนำรถส่วนตัวมาวิ่งบนถนน พร้อมทั้งต้องแก้กฎหมาย เพราะมีเอกชนพร้อมเข้ามาลงทุน แต่กฎหมายไม่เปิดช่องให้หน่วยงานท้องถิ่นจัดการได้เอง สำหรับค่าโดยสารประชาชนต้องจ่ายตามความเป็นจริง เพื่อจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ และเชื่อว่าประชาชนยินดีจ่ายหากการบริการมีคุณภาพจริง
นายกมลสอบถามถึงการทำรถรางไฟฟ้า เชื่อมระหว่างตัวเมืองเทศบาลวารินชำราบ และเทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่ง อบจ.กำลังผลักดันเป็นเพียงความฝันหรือเป็นจริงได้ ซึ่งนายพรชัยตอบว่า เกิดขึ้นจริงแน่นอน แต่ไม่สามารถทำให้ครบได้ทุกเส้นทาง เพราะมีปัญหาถนนไม่เพียงพอ จึงจะสร้างในถนนสายหลักเพื่อช่วยระบายผู้โดยสารในอนาคตอันใกล้นี้
ขณะที่นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กล่าวถึงปัญหาการให้บริหารของรถโดยสารในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ว่ามีลักษณะแตกต่างกันตามกายภาพของแต่ละจังหวัด สมัยก่อนกรุงเทพฯ มีรถเมล์ขาวนายเลิศ ซึ่งมีการบริหารจัดการซ่อมบำรุงและปลดระวางรถเก่าปีละ 10% แต่หลังปี 2518 รัฐบาลเอารถเมล์สาธารณะมาทำเอง โดยใช้วิธีกู้เงินมาลงทุน แต่ไม่มีแผนการจัดระบบขนส่งเหมือนเอกชน ทำให้รถเมล์ถูกใช้ไปจนหมดสภาพกว่า 10 ปี จึงมีการปลดระวางกันครั้งหนึ่งทำให้บริการไม่มีคุณภาพเกิดอันตรายบ่อยครั้ง
แต่ในส่วนของภูมิภาคขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการจัดระบบการขนส่ง แต่กลับส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถส่วนบุคคล ทำให้เกิดปัญหามีถนนไม่พอกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนต้องแก้ปัญหาระยะเวลาและเส้นทางเดินรถกันเอง ทางแก้ คือ ต้องมีการศึกษาพื้นที่ตามโครงสร้างของเมือง สอบถามชุมชนต้องการให้มีรถโดยสารแล่นผ่านกันอย่างไรเพื่อให้เดินทางไปทำงานกันทันเวลา
“หากมีการบริหารจัดการดีจะทำให้ระยะเวลาการเดินด้วยรถโดยสาร สาธารณะลดลง มีเวลาเหลืออยู่กับครอบครัวมากขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้มีสุขภาพดี เพราะไม่ต้องทนรับสภาพอากาศที่มีแต่ควันพิษบนท้องถนน แต่ทั้งนี้จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน และเก็บผลตอบแทนคืน การให้บริการรถฟรีไม่ได้สร้างประโยชน์และคุณภาพให้ผู้ใช้บริการมีแต่แย่ลงทุกวัน ถ้าให้บริการดี ถึงที่หมายตามกำหนดเวลา ประชาชนยินดีจ่ายและผู้ลงทุนก็คุ้มค่า และไม่จำเป็นต้องสร้างถนนเพิ่มเพราะคนจะจอดรถไว้ที่บ้านแล้วหันมาใช้รถโดยสารสาธารณะกันเอง”
นายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และผู้ประกอบการรถโดยสารในจังหวัด กล่าวว่า ปัญหาที่คนใช้รถโดยสารน้อยกว่ารถส่วนตัว เพราะมีปัญหาเรื่องเส้นทางเดินรถ และไม่มีที่พักผู้โดยสาร รวมทั้งป้ายจอดรถรับส่งชัดเจน ยอมรับว่าโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะขณะนี้ ทำให้ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารไม่เข้มแข็ง อนาคตต้องมีจุดจอดในถนนสายหลักให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นจุดกระจายผู้โดยสารส่งต่อกันเป็นทอดๆ
หากมีระบบขนส่งดีมีคุณภาพจริง คนไม่ต้องการขับรถมาทำงานเอง เพราะนั่งรถโดยสารประหยัดเงิน ไม่ต้องเสี่ยงขับรถมาประสบอุบัติเหตุ และอนาคตน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนสำคัญในการเดินทางจะมีราคาแพงกว่าทุกวันนี้อีกหลายเท่าตัว รถโดยสารสาธารณะจึงมีความจำเป็น สำหรับรถส่วนบุคคล มีความสำคัญคือ ใช้งานพาครอบครัวไปเที่ยวในวันหยุด พร้อมเห็นว่าจำนวนรถโดยสารประจำทางที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือจำนวนเที่ยวของรถที่แล่นออกมารับผู้โดยสาร ต้องมีความต่อเนื่อง ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน
“รัฐบาลต้องสนับสนุนโดยลดภาษีโภคภัณฑ์ลง จะทำให้รถถูกลงจากปกติคันละ 2-3 แสนบาท ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนรถให้บริการคันใหม่ได้เรื่อยๆ ทำให้รถมีประสิทธิภาพขณะนำออกให้บริการ ส่วนราคาค่าโดยสารให้เป็นไปตามความเป็นจริงของกลไกการตลาด เมื่อคนขับมีรายได้ต่ำ ก็จำเป็นต้องวิ่งแข่งขันกันรับผู้โดยสารให้เร็ว ให้ได้มาก เพื่อให้คุ้มกับการลงทุน จึงไม่ควรแปลกใจที่เห็นรถโดยสารขับแข่งขันกันด้วยความเร็วเพราะเมื่อเงินไม่พอใช้ก็ต้องเร่งทำเที่ยวให้ทันค่าส่งงวดรถ”
สำหรับผู้เข้าร่วมฟังเสวนา โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการได้สะท้อนภาพการได้รับบริการว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ทั่วกรุงเทพมหานคร มีรถแท็กซี่ให้บริการคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์เพียง 50 คัน จะเดินทางไปไหนต้องโทรศัพท์จองล่วงหน้าถึง 3 วัน ส่วนในภูมิภาคยังมีไม่ให้บริการ เมื่อเรียกรถจะใช้บริการได้รับการปฏิเสธเพราะคนขับเกรงรถวีลแชร์ทำให้เบาะรถเสียหาย
จึงขอเรียกร้องให้จังหวัดอุบลราชธานี มีรถแท็กซี่ที่มีระบบกลไกให้บริการคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์ได้สะดวก สำหรับจุดขึ้นลงรถโดยสาร ต้องทำทางให้คนพิการที่นั่งรถวีลแชร์เข้าไปใช้บริการได้ด้วย ขณะเดียวกันยังมีผู้ฟังสะท้อนมารยาทของคนขับรถโดยสารประจำทางที่สูบบุหรี่ คุยโทรศัพท์ระหว่างขับรถ และปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปในระยะทางสั้นๆ
โดยเฉพาะสถานีขนส่งรถประจำทาง ท่าอากาศยาน มีมาเฟียผูกขาดไม่ให้รถจากภายนอกเข้าไปจอดรับผู้โดยสาร ทำให้ไม่มีการแข่งขันด้านราคา ผู้โดยสารตกเป็นเหยื่อถูกเรียกเก็บค่าโดยสารแพงกว่าที่กรมการขนส่งกำหนดไว้ด้วย
สำหรับเวทีปัญหารถโดยสารสาธารณะโดยสื่อสร้างสุขครั้งนี้ สามารถชมเทปบันทึกภาพย้อนหลังได้ที่สร้างสุขแชนแนล วีเคเบิ้ลทีวี sangsook.net โสภณเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม nextstep ช่อง ของดีประเทศไทย รายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM 102.75 Mhz Cleanradio 92.5 Mhz
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055118 (ขนาดไฟล์: 166)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มคนพิการเรียกร้องให้รัฐ-ท้องถิ่นจัดบริการสาธารณะให้คนพิการสามารถเข้าถึงได้สะดวก อุบลราชธานี – สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี เชิญกรมการขนส่ง-อบจ.-หอการค้า ถกรถเมล์คุณภาพ รถรางสาธารณะ สร้างคุณภาพชีวิตการเดินทางยุคน้ำมันแพง ระบุตรงกันนโยบายรัฐคือปัญหาใหญ่ทำให้รถสาธารณะไม่ได้คุณภาพ ด้านคนพิการสะท้อนสังคมรถสาธารณะไม่ต้อนรับ เรียกร้องจัดบริการอำนวยประโยชน์อย่างจริงจัง เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุบลราชธานี ว่า สื่อสร้างสุขอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การยูเสด ประเทศไทย จัดเวทีถกรถโดยสารสาธารณะคุณภาพเพื่อคนเมืองอุบล ความฝันหรือความจริง โดยเชิญตัวแทนกรมการขนส่งทางบก หอการค้า และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)ร่วมเวทีเพื่อหาช่องทางสร้างคุณภาพชีวิตในการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ มีนายกมล หอมกลิ่น ผู้ดำเนินรายการ ถามนายพรชัย โควสุรัตน์ นายก อบจ. กรณีรับผิดชอบสถานีขนส่งในจังหวัด และนโยบายพัฒนาระบบการขนส่งในอนาคต ซึ่งนายพรชัยตอบว่า อบจ.มีหน้าที่ดูแลสถานีขนส่งรวม 3 แห่ง ที่เป็นปัญหามาก คือ สถานีขนส่งในตัวจังหวัด ที่สถานที่คับแคบไม่สอดคล้องกับปริมาณรถโดยสารที่มีจำนวนมากกว่า อบจ.จึงมีนโยบายสร้างสถานีขนส่งแห่งใหม่ แบ่งเป็นโซนเหนือ และโซนใต้ของจังหวัด เพื่อรองรับปริมาณรถยนต์โดยสารทั้งสองทิศทาง และใช้เป็นที่รองรับรถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาทำการขนถ่ายสินค้าแทนการเข้าตัวเมือง เพื่อลดปัญหาการแออัดด้านจราจร ซึ่งปัจจุบัน อบจ.มีงบประมาณใช้ก่อสร้างสถานีขนส่งขนาดใหญ่ทั้ง 2 แห่ง แต่ติดขัดเรื่องพื้นที่ซึ่งเป็นของหน่วยงานอื่น จึงอยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่อยู่ วงเสวนาถกรถเมล์คุณภาพ รถรางสาธารณะ สร้างคุณภาพชีวิตการเดินทางยุคน้ำมันแพง นายพรชัยกล่าวถึงการเพิ่มประสิทธิภาพรถโดยสารประจำทางในเขตเทศบาลนคร อุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ ซึ่งมีให้บริการวันละกว่า 260 คัน ว่าต้องมีระยะเวลาการเดินรถตามเวลาชัดเจน รวดเร็ว เพื่อขนส่งประชาชนเดินทางได้ในเวลารวดเร็ว ลดปัญหาการนำรถส่วนตัวมาวิ่งบนถนน พร้อมทั้งต้องแก้กฎหมาย เพราะมีเอกชนพร้อมเข้ามาลงทุน แต่กฎหมายไม่เปิดช่องให้หน่วยงานท้องถิ่นจัดการได้เอง สำหรับค่าโดยสารประชาชนต้องจ่ายตามความเป็นจริง เพื่อจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ และเชื่อว่าประชาชนยินดีจ่ายหากการบริการมีคุณภาพจริง นายกมลสอบถามถึงการทำรถรางไฟฟ้า เชื่อมระหว่างตัวเมืองเทศบาลวารินชำราบ และเทศบาลนครอุบลราชธานี ซึ่ง อบจ.กำลังผลักดันเป็นเพียงความฝันหรือเป็นจริงได้ ซึ่งนายพรชัยตอบว่า เกิดขึ้นจริงแน่นอน แต่ไม่สามารถทำให้ครบได้ทุกเส้นทาง เพราะมีปัญหาถนนไม่เพียงพอ จึงจะสร้างในถนนสายหลักเพื่อช่วยระบายผู้โดยสารในอนาคตอันใกล้นี้ ขณะที่นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการสำนักแผนความปลอดภัย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กล่าวถึงปัญหาการให้บริหารของรถโดยสารในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ว่ามีลักษณะแตกต่างกันตามกายภาพของแต่ละจังหวัด สมัยก่อนกรุงเทพฯ มีรถเมล์ขาวนายเลิศ ซึ่งมีการบริหารจัดการซ่อมบำรุงและปลดระวางรถเก่าปีละ 10% แต่หลังปี 2518 รัฐบาลเอารถเมล์สาธารณะมาทำเอง โดยใช้วิธีกู้เงินมาลงทุน แต่ไม่มีแผนการจัดระบบขนส่งเหมือนเอกชน ทำให้รถเมล์ถูกใช้ไปจนหมดสภาพกว่า 10 ปี จึงมีการปลดระวางกันครั้งหนึ่งทำให้บริการไม่มีคุณภาพเกิดอันตรายบ่อยครั้ง แต่ในส่วนของภูมิภาคขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการจัดระบบการขนส่ง แต่กลับส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถส่วนบุคคล ทำให้เกิดปัญหามีถนนไม่พอกับจำนวนรถที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนต้องแก้ปัญหาระยะเวลาและเส้นทางเดินรถกันเอง ทางแก้ คือ ต้องมีการศึกษาพื้นที่ตามโครงสร้างของเมือง สอบถามชุมชนต้องการให้มีรถโดยสารแล่นผ่านกันอย่างไรเพื่อให้เดินทางไปทำงานกันทันเวลา “หากมีการบริหารจัดการดีจะทำให้ระยะเวลาการเดินด้วยรถโดยสาร สาธารณะลดลง มีเวลาเหลืออยู่กับครอบครัวมากขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้มีสุขภาพดี เพราะไม่ต้องทนรับสภาพอากาศที่มีแต่ควันพิษบนท้องถนน แต่ทั้งนี้จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน และเก็บผลตอบแทนคืน การให้บริการรถฟรีไม่ได้สร้างประโยชน์และคุณภาพให้ผู้ใช้บริการมีแต่แย่ลงทุกวัน ถ้าให้บริการดี ถึงที่หมายตามกำหนดเวลา ประชาชนยินดีจ่ายและผู้ลงทุนก็คุ้มค่า และไม่จำเป็นต้องสร้างถนนเพิ่มเพราะคนจะจอดรถไว้ที่บ้านแล้วหันมาใช้รถโดยสารสาธารณะกันเอง” นายนิมิต สิทธิไตรย์ ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และผู้ประกอบการรถโดยสารในจังหวัด กล่าวว่า ปัญหาที่คนใช้รถโดยสารน้อยกว่ารถส่วนตัว เพราะมีปัญหาเรื่องเส้นทางเดินรถ และไม่มีที่พักผู้โดยสาร รวมทั้งป้ายจอดรถรับส่งชัดเจน ยอมรับว่าโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะขณะนี้ ทำให้ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารไม่เข้มแข็ง อนาคตต้องมีจุดจอดในถนนสายหลักให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นจุดกระจายผู้โดยสารส่งต่อกันเป็นทอดๆ หากมีระบบขนส่งดีมีคุณภาพจริง คนไม่ต้องการขับรถมาทำงานเอง เพราะนั่งรถโดยสารประหยัดเงิน ไม่ต้องเสี่ยงขับรถมาประสบอุบัติเหตุ และอนาคตน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนสำคัญในการเดินทางจะมีราคาแพงกว่าทุกวันนี้อีกหลายเท่าตัว รถโดยสารสาธารณะจึงมีความจำเป็น สำหรับรถส่วนบุคคล มีความสำคัญคือ ใช้งานพาครอบครัวไปเที่ยวในวันหยุด พร้อมเห็นว่าจำนวนรถโดยสารประจำทางที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือจำนวนเที่ยวของรถที่แล่นออกมารับผู้โดยสาร ต้องมีความต่อเนื่อง ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน “รัฐบาลต้องสนับสนุนโดยลดภาษีโภคภัณฑ์ลง จะทำให้รถถูกลงจากปกติคันละ 2-3 แสนบาท ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนรถให้บริการคันใหม่ได้เรื่อยๆ ทำให้รถมีประสิทธิภาพขณะนำออกให้บริการ ส่วนราคาค่าโดยสารให้เป็นไปตามความเป็นจริงของกลไกการตลาด เมื่อคนขับมีรายได้ต่ำ ก็จำเป็นต้องวิ่งแข่งขันกันรับผู้โดยสารให้เร็ว ให้ได้มาก เพื่อให้คุ้มกับการลงทุน จึงไม่ควรแปลกใจที่เห็นรถโดยสารขับแข่งขันกันด้วยความเร็วเพราะเมื่อเงินไม่พอใช้ก็ต้องเร่งทำเที่ยวให้ทันค่าส่งงวดรถ” สำหรับผู้เข้าร่วมฟังเสวนา โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการได้สะท้อนภาพการได้รับบริการว่า ยังมีความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ทั่วกรุงเทพมหานคร มีรถแท็กซี่ให้บริการคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์เพียง 50 คัน จะเดินทางไปไหนต้องโทรศัพท์จองล่วงหน้าถึง 3 วัน ส่วนในภูมิภาคยังมีไม่ให้บริการ เมื่อเรียกรถจะใช้บริการได้รับการปฏิเสธเพราะคนขับเกรงรถวีลแชร์ทำให้เบาะรถเสียหาย จึงขอเรียกร้องให้จังหวัดอุบลราชธานี มีรถแท็กซี่ที่มีระบบกลไกให้บริการคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์ได้สะดวก สำหรับจุดขึ้นลงรถโดยสาร ต้องทำทางให้คนพิการที่นั่งรถวีลแชร์เข้าไปใช้บริการได้ด้วย ขณะเดียวกันยังมีผู้ฟังสะท้อนมารยาทของคนขับรถโดยสารประจำทางที่สูบบุหรี่ คุยโทรศัพท์ระหว่างขับรถ และปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปในระยะทางสั้นๆ โดยเฉพาะสถานีขนส่งรถประจำทาง ท่าอากาศยาน มีมาเฟียผูกขาดไม่ให้รถจากภายนอกเข้าไปจอดรับผู้โดยสาร ทำให้ไม่มีการแข่งขันด้านราคา ผู้โดยสารตกเป็นเหยื่อถูกเรียกเก็บค่าโดยสารแพงกว่าที่กรมการขนส่งกำหนดไว้ด้วย สำหรับเวทีปัญหารถโดยสารสาธารณะโดยสื่อสร้างสุขครั้งนี้ สามารถชมเทปบันทึกภาพย้อนหลังได้ที่สร้างสุขแชนแนล วีเคเบิ้ลทีวี sangsook.net โสภณเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม nextstep ช่อง ของดีประเทศไทย รายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน FM 102.75 Mhz Cleanradio 92.5 Mhz ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000055118
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)