‘อาคารใจดี’ การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
จากการสำรวจโดยสำนักงานสำรวจประชากรแห่งชาติ ในปัจจุบันพบว่าเมืองไทยมีผู้พิการอยู่ประมาณ 2 ล้านคน คาดการณ์ในอนาคตจะมีคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 10 ล้านคน พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวในงานเสวนา ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์ (Universal design) ในงานสถาปนิก’56 ว่า “เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตอนนี้มีผู้พิการอยู่ 7 ประเภท โดยสถิติสูงสุด 40% เป็นผู้พิการทางร่างกาย และรองลงมาคือผู้พิการทางการได้ยิน 16% ซึ่งเราสามารถพบเห็นผู้พิการประเภทนี้ได้ในสังคม พวกเขาจะใช้ชีวิตประจำวันเหมือนคนทั่วไป ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือบางอาคารยังไม่มีการจัดการให้ผู้พิการอย่างชัดเจน จึงอยากฝากสถาปนิกให้ช่วยคิด ออกแบบอาคารสถานที่ให้กับผู้พิการให้เหมาะสมมากขึ้น เพื่อให้เขาได้ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป”
นอกจากผู้พิการแล้ว ผู้สูงอายุก็ยังเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการการใส่ใจออกแบบอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตได้เฉกเช่นคนปกติ ซึ่งเป็นสิทธิความเท่าเทียมกันที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับสินิทธ์ บุญญสิทธิ์ วิศวโยธาเชี่ยวชาญ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า “กฎกระทรวงได้มีการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ 2548 ซึ่งใช้อย่างเป็นทางการกับทุกอาคารที่สร้างหลัง พ.ศ.2548 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคคลผู้พิการ รวมถึงคนชรา สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตามอาคารในเมืองไทยบางอาคารยังไม่มี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษา และฝากถึงสถาปนิกทุกท่านควรช่วยกันคิด ออกแบบ ให้คนเหล่านี้สามารถเข้าไปใช้อาคารได้อย่างปลอดภัยด้วย”
เพราะตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว สมาคมสถาปนิกสยาม จึงได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดทำโครงการคัดเลือกอาคารเพื่อมอบตราสัญลักษณ์ “อาคารใจดี” ขึ้น โดยอาคารที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นอาคารที่ออกแบบให้เหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย ลักษณะสภาพร่างกายอย่างเท่าเทียมกันทั้งคนปกติและผู้พิการ
สำหรับปีแรกอาคารที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาและได้รับรางวัล 2 อาคารคือ อาคารสำนักงานเทศบาล ตำบลสำโรงเหนือ และ โรงแรมเอ-วัน พัทยา บีช รีสอร์ทขณะเดียวกัน ก็ได้มีการจัดทำโครงการประกวดตราสัญลักษณ์อาคารใจดีขึ้น โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ได้ร่วมมือกับสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มีผู้สนใจส่งแบบเข้าประกวดกว่า 200 แบบ โดยคณะทำงานได้คัดเลือกผลงานของ พงศธร โชลิตกุล ให้เป็นผู้ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์ พ.ต.ท.ดร.บัณฑิต ประดับสุข อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า จากนี้ไปคณะทำงานจะทำการรณรงค์และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นอาคารเก่า และที่กำลังจะก่อสร้างอาคารให้มีการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้พื้นที่ครอบคลุมคนทุกเพศวัย ตั้งแต่สามารถรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้อ่อนวัยทุกเพศ ทุกการศึกษา ให้สามารถเข้าไปใช้อาคารได้อย่างปลอดภัย สะดวก และเสมอภาคกันในสังคม เพื่อเป็นต้นแบบและแรงกระตุ้นให้เจ้าของอาคารเข้าร่วมโครงการฯและร่วมปรับ ปรุงระบบต่างๆให้เอื้อกับการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับการออกแบบเพื่อคนทั้ง มวล
ทั้งนี้ในส่วนของอาคารเก่าหากยังไม่สามารถรองรับคนได้ทุกเพศวัยก็สามารถ ปรับปรุงให้เอื้อกับการเข้าไปใช้อาคารของคนทุกวัยได้ อาทิ มีป้ายบอกทางแก่คนแก่ ผู้พิการ จัดพื้นที่สำหรับคนสูงอายุ หรือมีป้ายสัญลักษณ์การเข้าใช้พื้นที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
“อย่าไปมองว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาส ต้องมองว่า เขาก็คือคนในสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกับคนทั่วไป แค่เราคนปกติช่วยกันคิด และทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่พวกเขาเล็กๆน้อยๆ เขาจะได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ” พญ.ดารณี กล่าวสรุป.artical@dailynews.co.th
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/950/203491 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อประชาสัมพันธ์การคัดเลือกอาคารเพื่อมอบตราสัญลักษณ์ “อาคารใจดี” และภาพภายในตัวโรงแรม A-ONE จากการสำรวจโดยสำนักงานสำรวจประชากรแห่งชาติ ในปัจจุบันพบว่าเมืองไทยมีผู้พิการอยู่ประมาณ 2 ล้านคน คาดการณ์ในอนาคตจะมีคนพิการเพิ่มขึ้นอีก 10 ล้านคน พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวในงานเสวนา ยูนิเวอร์แซล ดีไซน์ (Universal design) ในงานสถาปนิก’56 ว่า “เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ตอนนี้มีผู้พิการอยู่ 7 ประเภท โดยสถิติสูงสุด 40% เป็นผู้พิการทางร่างกาย และรองลงมาคือผู้พิการทางการได้ยิน 16% ซึ่งเราสามารถพบเห็นผู้พิการประเภทนี้ได้ในสังคม พวกเขาจะใช้ชีวิตประจำวันเหมือนคนทั่วไป ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือบางอาคารยังไม่มีการจัดการให้ผู้พิการอย่างชัดเจน จึงอยากฝากสถาปนิกให้ช่วยคิด ออกแบบอาคารสถานที่ให้กับผู้พิการให้เหมาะสมมากขึ้น เพื่อให้เขาได้ใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป” ตึก อาคารที่ออกแบบเพื่อคนทั้งมวลนอกจากผู้พิการแล้ว ผู้สูงอายุก็ยังเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการการใส่ใจออกแบบอาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้พวกเขาสามารถดำเนินชีวิตได้เฉกเช่นคนปกติ ซึ่งเป็นสิทธิความเท่าเทียมกันที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับสินิทธ์ บุญญสิทธิ์ วิศวโยธาเชี่ยวชาญ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า “กฎกระทรวงได้มีการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ 2548 ซึ่งใช้อย่างเป็นทางการกับทุกอาคารที่สร้างหลัง พ.ศ.2548 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคคลผู้พิการ รวมถึงคนชรา สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตามอาคารในเมืองไทยบางอาคารยังไม่มี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษา และฝากถึงสถาปนิกทุกท่านควรช่วยกันคิด ออกแบบ ให้คนเหล่านี้สามารถเข้าไปใช้อาคารได้อย่างปลอดภัยด้วย” ภายในลิฟต์ที่มีราวจับ ที่คนนั่งรถวีลแชร์หรือคนตาบอดจับและใช้งานได้สะดวกเพราะตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว สมาคมสถาปนิกสยาม จึงได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดทำโครงการคัดเลือกอาคารเพื่อมอบตราสัญลักษณ์ “อาคารใจดี” ขึ้น โดยอาคารที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นอาคารที่ออกแบบให้เหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย ลักษณะสภาพร่างกายอย่างเท่าเทียมกันทั้งคนปกติและผู้พิการ ทางลาดภายในตัวอาคารสำหรับรถวีลแชร์สำหรับปีแรกอาคารที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาและได้รับรางวัล 2 อาคารคือ อาคารสำนักงานเทศบาล ตำบลสำโรงเหนือ และ โรงแรมเอ-วัน พัทยา บีช รีสอร์ทขณะเดียวกัน ก็ได้มีการจัดทำโครงการประกวดตราสัญลักษณ์อาคารใจดีขึ้น โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ได้ร่วมมือกับสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ห้องน้ำที่ออกแบบเพื่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าใช้ได้อย่างสะดวกมีผู้สนใจส่งแบบเข้าประกวดกว่า 200 แบบ โดยคณะทำงานได้คัดเลือกผลงานของ พงศธร โชลิตกุล ให้เป็นผู้ชนะการประกวดตราสัญลักษณ์ พ.ต.ท.ดร.บัณฑิต ประดับสุข อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า จากนี้ไปคณะทำงานจะทำการรณรงค์และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นอาคารเก่า และที่กำลังจะก่อสร้างอาคารให้มีการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้พื้นที่ครอบคลุมคนทุกเพศวัย ตั้งแต่สามารถรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้อ่อนวัยทุกเพศ ทุกการศึกษา ให้สามารถเข้าไปใช้อาคารได้อย่างปลอดภัย สะดวก และเสมอภาคกันในสังคม เพื่อเป็นต้นแบบและแรงกระตุ้นให้เจ้าของอาคารเข้าร่วมโครงการฯและร่วมปรับ ปรุงระบบต่างๆให้เอื้อกับการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับการออกแบบเพื่อคนทั้ง มวล เก้าอี้นั่งภายในโรงแรมที่ออกแบบมาเพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์สามารถขยับลงจากวีลแชร์มานั่งเองได้ทั้งนี้ในส่วนของอาคารเก่าหากยังไม่สามารถรองรับคนได้ทุกเพศวัยก็สามารถ ปรับปรุงให้เอื้อกับการเข้าไปใช้อาคารของคนทุกวัยได้ อาทิ มีป้ายบอกทางแก่คนแก่ ผู้พิการ จัดพื้นที่สำหรับคนสูงอายุ หรือมีป้ายสัญลักษณ์การเข้าใช้พื้นที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ “อย่าไปมองว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาส ต้องมองว่า เขาก็คือคนในสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกับคนทั่วไป แค่เราคนปกติช่วยกันคิด และทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่พวกเขาเล็กๆน้อยๆ เขาจะได้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ” พญ.ดารณี กล่าวสรุป.artical@dailynews.co.th ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/950/203491
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)