เศรษฐศาสตร์ มธ.ชี้ กสทช... กำหนดเนื้อหาดูถูกคนพิหาร ทำให้อับอาย ตลกขบขัน

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศภายในห้องประชุมการนำเสนอรายงานหัวข้อประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ต่อการจัดสรรช่องรายการ ทีวีดิจิตอลธุรกิจ

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในการนำเสนอรายงานหัวข้อประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ต่อการจัดสรรช่องรายการ ทีวีดิจิตอลธุรกิจว่า ประเภทช่องรายการธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องการสร้างความหลากหลายในเนื้อหาและสนับสนุนให้เกิดรายการบางประเภทที่มีคุณภาพดี เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่ได้รับความนิยม เช่น รายการข่าวสารสาระและรายการเด็ก เนื่องจากรายการเหล่านี้มีศักยภาพทางธุรกิจต่ำกว่ารายการบันเทิง ซึ่งกลไกตลาดอาจไม่สามารถสร้างรายการที่มีคุณภาพดีในมุมมองของสังคมได้ ซึ่งวิธีการแบ่งประเภทช่องเป็นการแก้ปัญหาในเชิงปริมาณเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาทางคุณภาพได้ เพราะผู้ประกอบการช่องรายการข่าวและรายการเด็กยังต้องผลิตรายการที่สร้างผล กำไรสูงสุด ขณะที่สังคมกลับมีต้นทุนในการอุดหนุนให้เกิดช่องรายการเหล่านี้ผ่านราคา ประมูลใบอนุญาตที่ถูกกว่า หรือนิยามว่า รายการเด็ก และรายการข่าว มีความคลุมเครือ และกระบวนการตรวจสอบและการรับผิดไม่แข็งแรง สังคมจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพไม่สอดคล้องกับราคาที่จ่ายไป

อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า สิ่งที่ กสทช. จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการแบ่งประเภทช่อง คือ ให้ความสำคัญกับการนิยามกระบวนการและการตรวจสอบเนื้อหา จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การวางกรอบคุณสมบัติรายการที่ช่องรายการต้องมีการผลิตสำหรับกลุ่มผู้ชมที่ มีศักยภาพในการสร้างรายได้โฆษณาต่ำ เช่น รายการสำหรับเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน รายการสารคดีและสาระความรู้ที่ส่งเสริมความเข้าใจและประสบการณ์ 2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับความหลากหลายของรายการ เช่น กำหนดโควตาการออกอากาศสำหรับรายการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของรายการนั้นๆ 3.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาของโฆษณาสำหรับรายการเด็ก เช่น ประเภทสินค้าที่เหมาะสมกับโฆษณาที่เหมาะกับรายการเด็ก ข้อกำหนดเกี่ยวกับโฆษณาแฝง การมอบรางวัลในรายการเด็ก และ 4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในการออกอากาศที่ชัดเจน เช่น การดูถูก ทำให้อับอาย ตลกขบขัน และเหยียดหยามกลุ่มคนจากพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา รวมถึงความพิการทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/345387 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 19/05/2556 เวลา 02:53:57 ดูภาพสไลด์โชว์ เศรษฐศาสตร์ มธ.ชี้ กสทช...  กำหนดเนื้อหาดูถูกคนพิหาร ทำให้อับอาย ตลกขบขัน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศภายในห้องประชุมการนำเสนอรายงานหัวข้อประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ต่อการจัดสรรช่องรายการ ทีวีดิจิตอลธุรกิจ เมื่อวันที่ 17 พ.ค. นายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวในการนำเสนอรายงานหัวข้อประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ต่อการจัดสรรช่องรายการ ทีวีดิจิตอลธุรกิจว่า ประเภทช่องรายการธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องการสร้างความหลากหลายในเนื้อหาและสนับสนุนให้เกิดรายการบางประเภทที่มีคุณภาพดี เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่ได้รับความนิยม เช่น รายการข่าวสารสาระและรายการเด็ก เนื่องจากรายการเหล่านี้มีศักยภาพทางธุรกิจต่ำกว่ารายการบันเทิง ซึ่งกลไกตลาดอาจไม่สามารถสร้างรายการที่มีคุณภาพดีในมุมมองของสังคมได้ ซึ่งวิธีการแบ่งประเภทช่องเป็นการแก้ปัญหาในเชิงปริมาณเท่านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาทางคุณภาพได้ เพราะผู้ประกอบการช่องรายการข่าวและรายการเด็กยังต้องผลิตรายการที่สร้างผล กำไรสูงสุด ขณะที่สังคมกลับมีต้นทุนในการอุดหนุนให้เกิดช่องรายการเหล่านี้ผ่านราคา ประมูลใบอนุญาตที่ถูกกว่า หรือนิยามว่า รายการเด็ก และรายการข่าว มีความคลุมเครือ และกระบวนการตรวจสอบและการรับผิดไม่แข็งแรง สังคมจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพไม่สอดคล้องกับราคาที่จ่ายไป อาจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า สิ่งที่ กสทช. จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการแบ่งประเภทช่อง คือ ให้ความสำคัญกับการนิยามกระบวนการและการตรวจสอบเนื้อหา จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การวางกรอบคุณสมบัติรายการที่ช่องรายการต้องมีการผลิตสำหรับกลุ่มผู้ชมที่ มีศักยภาพในการสร้างรายได้โฆษณาต่ำ เช่น รายการสำหรับเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน รายการสารคดีและสาระความรู้ที่ส่งเสริมความเข้าใจและประสบการณ์ 2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับความหลากหลายของรายการ เช่น กำหนดโควตาการออกอากาศสำหรับรายการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และเวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของรายการนั้นๆ 3.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาของโฆษณาสำหรับรายการเด็ก เช่น ประเภทสินค้าที่เหมาะสมกับโฆษณาที่เหมาะกับรายการเด็ก ข้อกำหนดเกี่ยวกับโฆษณาแฝง การมอบรางวัลในรายการเด็ก และ 4.ข้อกำหนดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในการออกอากาศที่ชัดเจน เช่น การดูถูก ทำให้อับอาย ตลกขบขัน และเหยียดหยามกลุ่มคนจากพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา รวมถึงความพิการทั้งด้านกายภาพและด้านจิตใจ ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/345387

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...