คอนเทนต์ยังน่าห่วง กังวลเนื้อหาเว็บผู้บริโภคไม่ได้มาตรฐาน

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความเห็นในโครงการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภค

เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2556 จากที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น ในโครงการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์นายวีรศักดิ์ ตั้งพูลพันธุ์ ประธานสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สาขากรุงเทพมหานคร หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้พิการสามารถเข้าถึงข่าวสารและค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยเหลือ ทั้งยังสามารถติดตามข้อมูลได้จากทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ขณะเดียวกันการเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ในปัจจุบันก็เปิดกว้างมากขึ้น แม้ว่าเว็บไซต์ต่างๆ จะนิยมทำภาพกราฟฟิกและไม่มีตัวหนังสืออธิบาย ทำให้เครื่องมือช่วยอ่านไม่สามารถอ่านให้ทราบได้ว่าเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ อะไรจึงอาจทำให้พลาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ

ตัวแทนกลุ่มอธิบายผลงานจากการแบ่งกลุ่มย่อยแบบวิธีการ Interactive Personas ของกลุ่มที่ 1 ประธาน สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สาขากรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ที่ กสทช. กำลังจะจัดทำขึ้นนี้ อยากให้เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้พร้อมมีคอนเทนต์ที่ดี ในส่วนของอุปกรณ์การเข้าถึงคอนเทนต์นั้นก็ยังเป็นปัญหา เพราะผู้พิการไม่ได้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ทุกคน ขณะเดียวกันผู้พิการหลายคนก็ใช้งานไม่เป็นด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดอบรมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ผู้พิการ ก็อยากให้มีการสนับสนุนในการจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อการใช้งานควบคู่กัน ด้วย

นางสาวสายใจ อดทน กลุ่มอิสระ สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ครอบครัวและชุมชน หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า การเข้าถึงเว็บไซต์ในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ในการใช้งานสาระความรู้ โดยพบว่าการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นสาระบันเทิงนั้นสามารถเข้าถึงและเป็นที่รู้จักมากกว่า นอกจากนี้เว็บไซต์ที่เป็นสาระความรู้บางประเภทก็ไม่เปิดให้เข้าถึงคอนเทนต์ ได้ฟรี ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านโอกาสในการเข้าถึง จึงควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะกับเว็บไซต์สาระความรู้ให้ มากกว่าสาระบันเทิง

"ข้อจำกัดในการเข้าถึงเว็บไซต์ในปัจจุบันไม่ใช่ ปัญหาด้านเทคโนโลยี เพราะประเทศไทยมีพร้อมทั้งอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ แต่ปัญหาคือความรู้ในการเข้าถึง เราไม่รู้ว่าจะเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างไรหรือข้อมูลนั้นอยู่ส่วนไหน ขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่กลับรู้ว่าจะติดตามศิลปินดาราได้จากเว็บไหนหรือใช้โซเชียลมีเดียอะไร"

นางสาวสายใจ ตัวแทนกลุ่มอธิบายผลงานจากการแบ่งกลุ่มย่อยแบบวิธีการ Interactive Personas ของกลุ่มที่ 2 นางสาวสายใจ กล่าวอีกว่า ส่วนการเข้าถึงเทคโนโลยีของชาวบ้านหรือเกษตรกรนั้น ก็อยากให้พิจารณาความสำคัญในส่วนดังกล่าวอย่างแท้จริง เพราะเชื่อว่าแม้จะมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้งานแต่ปัจจุบันก็ยังมี ปัญหาและทำให้ไม่เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างแท้จริง และไม่อยากให้คิดว่าชาวนาไม่มีสิทธิ์ใช้งานเว็บไซต์

ตัวแทนกลุ่มอิสระ กล่าวด้วยว่า อยากให้เว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคที่ กสทช. กำลังจะจัดตั้งนี้มีรูปแบบที่สามารถรองรับการเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์อย่างแท้จริง และมีคอนเทนต์ที่เหมาะสมให้เลือกเข้าถึงได้ เนื่องจากผู้บริโภคมีระดับเทคโนโลยีแตกต่างกัน บางคนอาจใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า หรือใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/345973 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 21/05/2556 เวลา 03:23:33 ดูภาพสไลด์โชว์ คอนเทนต์ยังน่าห่วง กังวลเนื้อหาเว็บผู้บริโภคไม่ได้มาตรฐาน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความเห็นในโครงการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภค เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2556 จากที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น ในโครงการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์นายวีรศักดิ์ ตั้งพูลพันธุ์ ประธานสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สาขากรุงเทพมหานคร หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้พิการสามารถเข้าถึงข่าวสารและค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วยเหลือ ทั้งยังสามารถติดตามข้อมูลได้จากทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ขณะเดียวกันการเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ในปัจจุบันก็เปิดกว้างมากขึ้น แม้ว่าเว็บไซต์ต่างๆ จะนิยมทำภาพกราฟฟิกและไม่มีตัวหนังสืออธิบาย ทำให้เครื่องมือช่วยอ่านไม่สามารถอ่านให้ทราบได้ว่าเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ อะไรจึงอาจทำให้พลาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ตัวแทนกลุ่มอธิบายผลงานจากการแบ่งกลุ่มย่อยแบบวิธีการ Interactive Personas ของกลุ่มที่ 1ประธาน สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สาขากรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ ที่ กสทช. กำลังจะจัดทำขึ้นนี้ อยากให้เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้พร้อมมีคอนเทนต์ที่ดี ในส่วนของอุปกรณ์การเข้าถึงคอนเทนต์นั้นก็ยังเป็นปัญหา เพราะผู้พิการไม่ได้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ทุกคน ขณะเดียวกันผู้พิการหลายคนก็ใช้งานไม่เป็นด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดอบรมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ผู้พิการ ก็อยากให้มีการสนับสนุนในการจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อการใช้งานควบคู่กัน ด้วย นางสาวสายใจ อดทน กลุ่มอิสระ สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ครอบครัวและชุมชน หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า การเข้าถึงเว็บไซต์ในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ในการใช้งานสาระความรู้ โดยพบว่าการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นสาระบันเทิงนั้นสามารถเข้าถึงและเป็นที่รู้จักมากกว่า นอกจากนี้เว็บไซต์ที่เป็นสาระความรู้บางประเภทก็ไม่เปิดให้เข้าถึงคอนเทนต์ ได้ฟรี ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านโอกาสในการเข้าถึง จึงควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะกับเว็บไซต์สาระความรู้ให้ มากกว่าสาระบันเทิง "ข้อจำกัดในการเข้าถึงเว็บไซต์ในปัจจุบันไม่ใช่ ปัญหาด้านเทคโนโลยี เพราะประเทศไทยมีพร้อมทั้งอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ แต่ปัญหาคือความรู้ในการเข้าถึง เราไม่รู้ว่าจะเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างไรหรือข้อมูลนั้นอยู่ส่วนไหน ขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่กลับรู้ว่าจะติดตามศิลปินดาราได้จากเว็บไหนหรือใช้โซเชียลมีเดียอะไร" นางสาวสายใจ ตัวแทนกลุ่มอธิบายผลงานจากการแบ่งกลุ่มย่อยแบบวิธีการ Interactive Personas ของกลุ่มที่ 2 นางสาวสายใจ กล่าวอีกว่า ส่วนการเข้าถึงเทคโนโลยีของชาวบ้านหรือเกษตรกรนั้น ก็อยากให้พิจารณาความสำคัญในส่วนดังกล่าวอย่างแท้จริง เพราะเชื่อว่าแม้จะมีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการใช้งานแต่ปัจจุบันก็ยังมี ปัญหาและทำให้ไม่เกิดการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างแท้จริง และไม่อยากให้คิดว่าชาวนาไม่มีสิทธิ์ใช้งานเว็บไซต์ ตัวแทนกลุ่มอิสระ กล่าวด้วยว่า อยากให้เว็บไซต์สำหรับผู้บริโภคที่ กสทช. กำลังจะจัดตั้งนี้มีรูปแบบที่สามารถรองรับการเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์อย่างแท้จริง และมีคอนเทนต์ที่เหมาะสมให้เลือกเข้าถึงได้ เนื่องจากผู้บริโภคมีระดับเทคโนโลยีแตกต่างกัน บางคนอาจใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่า หรือใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/345973

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...