สมาคมสมาพันธ์เครือข่ายเด็กและสตรีหูหนวกไทย...พัฒนาศักยภาพของตนเอง
เมื่อวันที่ 27 พค. 56 พนมวรรณ บุญเต็ม นายกสมาคมสมาพันธ์เครือข่ายเด็กและสตรีหูหนวกไทยเปิดเผยว่า ได้นำผู้แทนสมาคมฯ 11 คนเข้าประชุมหารือที่องค์กรคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัญหาสำคัญที่หารือ คือ สตรีหูหนวกจำนวนมาก (ทั่วประเทศประมาณ 500,000 คน) ต้องการช่องทางที่จะทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีเครือข่ายที่สามารถให้ความช่วยเหลือเมื่อถูกละเมิดสิทธิ รวมถึงคุ้มครองสิทธิทางการเมืองในด้านต่างๆ ที่พวกเขามักถูกหลงลืมและเข้าไม่ถึงการได้รับสิทธินั้นๆ
ข้อสรุปจากการหารือที่ต้องการ คือ ขอความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายเพื่อร่วมทำงานกับเครือข่ายสตรีหูหนวก 255 คน โดยจะขอให้นางวิสา เบ็ญจะมโน. รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาจัดเวทีสาธารณะ (100 คน) ให้สตรีหูหนวกได้มารับฟังข้อเสนอแนะขององค์กรต่างๆ ที่ทำงานต่อต้านและคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ การถูกกระทำความรุนแรง และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เช่น องค์กรด้านกฎหมาย สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะผู้หญิง แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้หญิง องค์กรที่ทำงานด้านสุขภาวะผู้หญิง มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิปวีณา หงสกุล บ้านพักฉุกเฉิน กรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และรองผู้ว่า กทม. ด้านคนพิการ เป็นต้น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ และกลไกการทำงานร่วมกัน
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พนมวรรณ บุญเต็ม นายกสมาคมสมาพันธ์เครือข่ายเด็กและสตรีหูหนวก เมื่อวันที่ 27 พค. 56 พนมวรรณ บุญเต็ม นายกสมาคมสมาพันธ์เครือข่ายเด็กและสตรีหูหนวกไทยเปิดเผยว่า ได้นำผู้แทนสมาคมฯ 11 คนเข้าประชุมหารือที่องค์กรคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปัญหาสำคัญที่หารือ คือ สตรีหูหนวกจำนวนมาก (ทั่วประเทศประมาณ 500,000 คน) ต้องการช่องทางที่จะทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีเครือข่ายที่สามารถให้ความช่วยเหลือเมื่อถูกละเมิดสิทธิ รวมถึงคุ้มครองสิทธิทางการเมืองในด้านต่างๆ ที่พวกเขามักถูกหลงลืมและเข้าไม่ถึงการได้รับสิทธินั้นๆ ข้อสรุปจากการหารือที่ต้องการ คือ ขอความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายเพื่อร่วมทำงานกับเครือข่ายสตรีหูหนวก 255 คน โดยจะขอให้นางวิสา เบ็ญจะมโน. รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาจัดเวทีสาธารณะ (100 คน) ให้สตรีหูหนวกได้มารับฟังข้อเสนอแนะขององค์กรต่างๆ ที่ทำงานต่อต้านและคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ การถูกกระทำความรุนแรง และการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เช่น องค์กรด้านกฎหมาย สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะผู้หญิง แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้หญิง องค์กรที่ทำงานด้านสุขภาวะผู้หญิง มูลนิธิผู้หญิง มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิปวีณา หงสกุล บ้านพักฉุกเฉิน กรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และรองผู้ว่า กทม. ด้านคนพิการ เป็นต้น ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ และกลไกการทำงานร่วมกัน
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)