พก.เปิดตัว CBR Guidelines...การฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่

แสดงความคิดเห็น

เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.)ได้จัดงานแนะนำ “CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทย” ณ โรงแรมเดอะสุโกศล เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านคนพิการที่เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการและองค์กรเครือข่ายการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (Community-Based Rehabilitation : CBR) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) เป็นต้น รวมประมาณ ๑๐๐ คน

Ms Karen Heinicke-Motsch ผู้อำนวยการแผนพัฒนาโครงการระหว่างประเทศซีบีเอ็ม สหรัฐอเมริกา (Christoffel Blindenmission : CBM) ได้กล่าวว่า เมื่อปี ๒๕๔๖ ได้มีการทบทวนการทำงานตามแนวคิด ในระดับประเทศทั่วโลกจาก ๘๔ ประเทศ และในปี๒๕๔๗ ได้จัดทำข้อตกลงตามแนวงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่ (CBR Guidelines) และได้เริ่มตีพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้ได้มีการแปลเป็นภาษาประเทศต่างๆ ประมาณ ๘ ภาษา รวมทั้งฉบับภาษาไทย

ทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่ ประกอบด้วย ๕ มิติ ได้แก่ ๑)ด้านสุขภาพ ได้แก่ การสนับสนุน ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลทางการแพทย์ ฟื้นฟู และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ๒)ด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๓)ด้านความเป็นอยู่ ได้แก่ การพัฒนาทักษะ การประกอบกิจการของตนเอง การจ้างงาน การจัดการเงินและการป้องกันทางสังคม ๔)สังคม ได้แก่ การช่วยเหลือตนเองในระดับบุคคล ความสัมพันธ์ในครอบครัว วัฒนธรรมและศิลปะ การสันทนาการ การพักผ่อน กีฬา และความยุติธรรม และ๕)ด้านการเสริมพลัง ได้แก่ การรณรงค์และการสื่อสาร การปรับเปลี่ยนสถานภาพของชุมชน การมีส่วนร่วมทางการเมือง การขับเคลื่อนกลุ่มพึ่งตนเองและองค์กรด้านคนพิการ

Ms Karen ได้กล่าวอีกว่า เมื่อปี ๒๕๒๑ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ริเริ่มแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนหลังจากการประชุมนานาชาติ International Conference on Primary Health Care และการประกาศปฏิญญาอัลมาอตา เนื่องจากประชากรโลกอย่างน้อยร้อยละ๑๐ เป็นคนพิการ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพน้อยที่สุด มีความเสี่ยงสูงสุด และมักถูกกีดกัน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ การศึกษาและโอกาสในด้านอื่นๆ ดังนั้น งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ในช่วงเริ่มต้นจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ช่วยให้คนพิการเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในด้านต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น

ต่อมาในปี ๒๕๔๖ ที่กรุงเฮลซิงกิ ได้มีข้อเสนอจากการประชุม International consultation to review CBR ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการประกาศจุดยืนการทำงานCBRร่วมกัน ระหว่างองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ WHO โดยในปี ๒๕๔๗ ได้สนับสนุนให้ใช้แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน กับเรื่องต่างๆเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นจริงได้อย่างมีศักยภาพ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities หรือ CRPD) และการออกกฎหมายระดับชาติที่ตระหนักถึงคนพิการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแบบครบวงจรโดยมีชุมชนเป็นฐาน

นางมยุรี ผิวสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พก. กล่าวว่า ประเทศไทยได้เริ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ โดยกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเฉพาะมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ และมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ทำให้สังคมไทยเริ่มเรียนรู้งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน และเมื่อมีพรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.๒๕๓๔ ทำให้หน่วยงานต่างๆและสังคมเริ่มรู้จักคนพิการมากขึ้น และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนโดยมีศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ต่อมาปี ๒๕๔๗ พก.ได้จัดทำโครงการนำร่องอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมฯ ช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) ใน ๕ จังหวัด และปัจจุบันได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการ ประเภทความพิการการช่วยเหลือเบื้องต้น และการประสานส่งต่อหน่วยงาน เป็นต้น เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและใช้ประโยชน์บริการด้านต่างๆ ได้ โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นหน่วยหลักในการประสานงาน อพมก.ในแต่ละจังหวัด ผลจากการดำเนินงาน ทำให้เกิดกลไกอาสาสมัคร “อพมก.” เพื่อช่วยเหลือคนพิการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวและชุมชนจะยอมรับคนพิการมากขึ้น เกิด “ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ และให้บริการเรื่องต่างๆตามความต้องการของคนพิการ นอกจากนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บรรจุงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นข้อบัญญัติ เช่น อบต.ดอนแก้ว จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่ เป็นต้น

พญ.ดารณี สุวะพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่าศูนย์สิรินธรฯ ได้ดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนด้านการแพทย์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ และสหประชาชาติ เช่น การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ การฝึกอบรมทักษะการดูแลคนพิการ การจัดทำสื่ออุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ รวมถึงการจัดทำคู่มือแนวทางการดูแลสุขภาพโดยชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนด้านสุขภาพโดยชุมชนได้ช่วยกันทำตามสภาพปัญหา และความต้องการของคนพิการ ทั้งนี้ การทำงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนนั้น เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อลดความยากจน มุ่งความเท่าเทียมกัน และไม่แบ่งแยก สิ่งท้าท้ายคือ จะทำอย่างไรให้แนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน สู่การปฏิบัติที่เป็นจริงได้ในสังคมไทย โดยหน่วยงานบริการสาธารณสุขต้องยอมรับและมีความเชื่อมั่นว่า “เราทำได้” และสนับสนุนการทำงานของบุคลากร และมีจิตอาสาดูแลคนพิการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดทำโครงสร้างให้มีความชัดเจน มีทีมงานที่พร้อมพัฒนาศักยภาพและจัดการความรู้ให้กับชุมชนโดยการบูรณาการงาน และทำงานเป็นทีม

นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติ ได้กล่าวว่า “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ” ไม่ได้พูดถึงเรื่อง “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน” แต่เป็นเพียงมาตรฐานการสร้างหลักประกันเท่านั้น ไม่ได้กำหนดหรือครอบคลุมการเข้าถึงสิทธิ อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการได้พูดถึง “Inclusion” คือ การบูรณาการคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมสร้าง “สังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ( Inclusive Society ) เพราะความพิการเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพ แวดล้อมภายนอก และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนเป็นบริบทที่ครอบคลุมถึงคนพิการ โดยคนพิการจะต้องมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง และมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มีสิทธิ มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตัดสินใจในทุกระดับ กล่าวคือ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนจะสำเร็จได้ต้องไม่ปฏิเสธคนพิการ และการเชื่อมโยงคนพิการกับ “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ” และ “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน” คนพิการต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

นายราม จินตมาศ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนา สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและมีส่วนร่วม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้กล่าวว่า อบต. ถูกคาดหวังสูงจากทุกภาคส่วน ทั้งที่มีหลากหลายบทบาท ในขณะที่ได้รับงบประมาณอย่างจำกัด ถ้าจะผลักดันให้ อบต. ดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน จะต้องส่งเสริมให้อบต.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการก่อน และควรให้อบต.ได้มีส่วนร่วมคิด และร่วมตัดสินใจดำเนินงานตามสภาพและปัญหาของชุมชนนั้นๆ

นางสาวศุษีรา ชนเห็นชอบ นักวิจัยสถานการณ์ทุ่นระเบิดในประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังมืพื้นที่ที่มีทุ่นระเบิดอีก ๒๑ จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็น “พื้นที่ยากลำบาก” คือพื้นที่ที่ไม่มีสาธารณูปโภค ติดชายแดน มีความไม่ปลอดภัย และเดินทางยากลำบาก เป็นต้น การทำงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนเป็นแนวทางที่สำคัญมาก โดยทหารเป็นผู้ที่มีบทบาททำงานร่วมกับคนพิการ และชุมชนอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านสุขภาพ การหนุนเสริมด้านอาชีพ การส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเยี่ยมบ้านและการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการในพื้นที่ยากลำบาก เป็นต้น ผลจากการดำเนินงานทำให้คนพิการเกิดการรวมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สามารถเข้าถึงสิทธิและบริการด้านต่างๆ พร้อมทั้งสะท้อนความต้องการจำเป็นของคนพิการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ และจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนคนพิการให้สามารถพึ่งตนเอง (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๔ มิ.ย.๕๖)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๔ มิ.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 5/06/2556 เวลา 04:32:52 ดูภาพสไลด์โชว์ พก.เปิดตัว CBR Guidelines...การฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

(Ms Karen Heinicke-Motsch ผอ.แผนพัฒนาโครงการระหว่างประเทศซีบีเอ็ม USA) (นางมยุรี ผิวสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.)) (พญ.ดารณี สุวะพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ) (คู่มือ CBR Guideline : การฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่) (นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติ) (หน่วยงานต่างๆ ร่วมเปิดตัว คู่มือ CBR Guideline) เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.)ได้จัดงานแนะนำ “CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลกฉบับภาษาไทย” ณ โรงแรมเดอะสุโกศล เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานด้านคนพิการที่เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการและองค์กรเครือข่ายการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (Community-Based Rehabilitation : CBR) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาสาสมัครช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) เป็นต้น รวมประมาณ ๑๐๐ คน Ms Karen Heinicke-Motsch ผู้อำนวยการแผนพัฒนาโครงการระหว่างประเทศซีบีเอ็ม สหรัฐอเมริกา (Christoffel Blindenmission : CBM) ได้กล่าวว่า เมื่อปี ๒๕๔๖ ได้มีการทบทวนการทำงานตามแนวคิด ในระดับประเทศทั่วโลกจาก ๘๔ ประเทศ และในปี๒๕๔๗ ได้จัดทำข้อตกลงตามแนวงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำแนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่ (CBR Guidelines) และได้เริ่มตีพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ขณะนี้ได้มีการแปลเป็นภาษาประเทศต่างๆ ประมาณ ๘ ภาษา รวมทั้งฉบับภาษาไทย ทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในมิติใหม่ ประกอบด้วย ๕ มิติ ได้แก่ ๑)ด้านสุขภาพ ได้แก่ การสนับสนุน ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลทางการแพทย์ ฟื้นฟู และอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ ๒)ด้านการศึกษา ได้แก่ การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๓)ด้านความเป็นอยู่ ได้แก่ การพัฒนาทักษะ การประกอบกิจการของตนเอง การจ้างงาน การจัดการเงินและการป้องกันทางสังคม ๔)สังคม ได้แก่ การช่วยเหลือตนเองในระดับบุคคล ความสัมพันธ์ในครอบครัว วัฒนธรรมและศิลปะ การสันทนาการ การพักผ่อน กีฬา และความยุติธรรม และ๕)ด้านการเสริมพลัง ได้แก่ การรณรงค์และการสื่อสาร การปรับเปลี่ยนสถานภาพของชุมชน การมีส่วนร่วมทางการเมือง การขับเคลื่อนกลุ่มพึ่งตนเองและองค์กรด้านคนพิการ Ms Karen ได้กล่าวอีกว่า เมื่อปี ๒๕๒๑ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ริเริ่มแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนหลังจากการประชุมนานาชาติ International Conference on Primary Health Care และการประกาศปฏิญญาอัลมาอตา เนื่องจากประชากรโลกอย่างน้อยร้อยละ๑๐ เป็นคนพิการ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพน้อยที่สุด มีความเสี่ยงสูงสุด และมักถูกกีดกัน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ การศึกษาและโอกาสในด้านอื่นๆ ดังนั้น งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ในช่วงเริ่มต้นจึงเป็นยุทธศาสตร์ที่ช่วยให้คนพิการเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในด้านต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น ต่อมาในปี ๒๕๔๖ ที่กรุงเฮลซิงกิ ได้มีข้อเสนอจากการประชุม International consultation to review CBR ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการประกาศจุดยืนการทำงานCBRร่วมกัน ระหว่างองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และ WHO โดยในปี ๒๕๔๗ ได้สนับสนุนให้ใช้แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน กับเรื่องต่างๆเพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นจริงได้อย่างมีศักยภาพ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities หรือ CRPD) และการออกกฎหมายระดับชาติที่ตระหนักถึงคนพิการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแบบครบวงจรโดยมีชุมชนเป็นฐาน นางมยุรี ผิวสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พก. กล่าวว่า ประเทศไทยได้เริ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ โดยกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรพัฒนาเอกชน โดยเฉพาะมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ และมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ทำให้สังคมไทยเริ่มเรียนรู้งานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน และเมื่อมีพรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.๒๕๓๔ ทำให้หน่วยงานต่างๆและสังคมเริ่มรู้จักคนพิการมากขึ้น และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนโดยมีศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางแพทย์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ต่อมาปี ๒๕๔๗ พก.ได้จัดทำโครงการนำร่องอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมฯ ช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) ใน ๕ จังหวัด และปัจจุบันได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิคนพิการ ประเภทความพิการการช่วยเหลือเบื้องต้น และการประสานส่งต่อหน่วยงาน เป็นต้น เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิและใช้ประโยชน์บริการด้านต่างๆ ได้ โดยมีพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นหน่วยหลักในการประสานงาน อพมก.ในแต่ละจังหวัด ผลจากการดำเนินงาน ทำให้เกิดกลไกอาสาสมัคร “อพมก.” เพื่อช่วยเหลือคนพิการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวและชุมชนจะยอมรับคนพิการมากขึ้น เกิด “ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ และให้บริการเรื่องต่างๆตามความต้องการของคนพิการ นอกจากนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บรรจุงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นข้อบัญญัติ เช่น อบต.ดอนแก้ว จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในพื้นที่ เป็นต้น พญ.ดารณี สุวะพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กล่าวว่าศูนย์สิรินธรฯ ได้ดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนด้านการแพทย์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ และสหประชาชาติ เช่น การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ การฝึกอบรมทักษะการดูแลคนพิการ การจัดทำสื่ออุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ รวมถึงการจัดทำคู่มือแนวทางการดูแลสุขภาพโดยชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนด้านสุขภาพโดยชุมชนได้ช่วยกันทำตามสภาพปัญหา และความต้องการของคนพิการ ทั้งนี้ การทำงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนนั้น เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อลดความยากจน มุ่งความเท่าเทียมกัน และไม่แบ่งแยก สิ่งท้าท้ายคือ จะทำอย่างไรให้แนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน สู่การปฏิบัติที่เป็นจริงได้ในสังคมไทย โดยหน่วยงานบริการสาธารณสุขต้องยอมรับและมีความเชื่อมั่นว่า “เราทำได้” และสนับสนุนการทำงานของบุคลากร และมีจิตอาสาดูแลคนพิการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดทำโครงสร้างให้มีความชัดเจน มีทีมงานที่พร้อมพัฒนาศักยภาพและจัดการความรู้ให้กับชุมชนโดยการบูรณาการงาน และทำงานเป็นทีม นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการของสหประชาชาติ ได้กล่าวว่า “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ” ไม่ได้พูดถึงเรื่อง “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน” แต่เป็นเพียงมาตรฐานการสร้างหลักประกันเท่านั้น ไม่ได้กำหนดหรือครอบคลุมการเข้าถึงสิทธิ อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการได้พูดถึง “Inclusion” คือ การบูรณาการคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมสร้าง “สังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ( Inclusive Society ) เพราะความพิการเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพ แวดล้อมภายนอก และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนเป็นบริบทที่ครอบคลุมถึงคนพิการ โดยคนพิการจะต้องมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง และมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง มีสิทธิ มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตัดสินใจในทุกระดับ กล่าวคือ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนจะสำเร็จได้ต้องไม่ปฏิเสธคนพิการ และการเชื่อมโยงคนพิการกับ “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ” และ “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน” คนพิการต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ นายราม จินตมาศ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนา สำนักส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและมีส่วนร่วม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้กล่าวว่า อบต. ถูกคาดหวังสูงจากทุกภาคส่วน ทั้งที่มีหลากหลายบทบาท ในขณะที่ได้รับงบประมาณอย่างจำกัด ถ้าจะผลักดันให้ อบต. ดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน จะต้องส่งเสริมให้อบต.มีความรู้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...