"ประเวศ วะสี" ปาฐกถา 12 ปี สสส. ปลุกพลัง "สังคมเข้มแข็ง"

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศในงานครบรอบ 12 สสส. "ทําไมเราพัฒนาการเมืองมาตั้งเกือบ 100 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนไม่ดีขึ้นจนทำท่าจะเกิดสงครามกลางเมือง ?" เป็นประโยคเปิดมุมมองทรรศนะที่แฝงไปด้วยคำถามชวนให้ขบคิด ของ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสและนักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาชาวไทย หัวข้อ "นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ"ก่อน จะต่อด้วยอีกหลายคำถาม อาทิ ทำไมเราพัฒนาเศรษฐกิจกันมา 50 ปี ผู้ใช้แรงงาน 38 ล้านคนยังมีชีวิตที่ย่ำแย่และ"ไทย"ยังคงเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในเอเชีย?

ทำไมเราเป็น เมืองพุทธ และพุทธศาสนาก็เป็นของดี เรามีวัด 30,000 วัด มีพระ 250,000 รูป มีสามเณรอีกแสนกว่ารูปแต่ความเสื่อมเสียทางศีลธรรมจึงเต็มบ้านเต็มเมือง? ก่อนจะสรุปคำตอบไขความกระจ่างให้กับทุกคนว่า "คำตอบคือเราขาดความเข้าใจมิติทางสังคม ไปเข้าใจว่าการเมืองนำบ้าง คำสั่งสอนทางศาสนานำบ้างเศรษฐกิจนำบ้างแต่ในความเป็นจริงสังคมเข้มแข็งจะเป็นตัวนำให้ทุกปัจจัยดีขึ้นเอง"

นพ.ประเวศ วะสี สังคมเข้มแข็งคือปัจจัยชี้ขาดต่ออนาคตการพัฒนาประเทศปาฐกถา สำคัญครั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นในโครงการที่มีชื่อว่า "สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่"ครบรอบ12ปีสสส.

บรรยากาศภายในงานคึกคัก โดยมีผู้ร่วมงานจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนกว่า 3,000 คน ตบเท้าร่วมแสดงพลัง รับทศวรรษที่ 2 บนเวทีมีการแสดงของเหล่าภาคีเครือข่ายรักษ์สุขภาพกับโครงการสุขภาพล่าสุด "คนไทยไร้พุง" เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของตัวเอง ก่อนต่อด้วยปาฐกถาพิเศษโดย "หมอประเวศ" ราษฎรอาวุโส ได้ชวนพิจารณาถึงโครงสร้างในสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ

แบบที่ 1 ในโครงสร้างที่เป็น แท่งอำนาจแนวดิ่ง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ ธุรกิจ หรืออำนาจของสถาบันวิชาการเป็นโครงสร้างที่ประชาชนเข้าร่วมได้ยาก สังคมจะอ่อนแอ มีการเรียนรู้น้อยเพราะคนมีอำนาจไม่ยอมเรียนรู้ ปล่อยให้คนอยู่ใต้อำนาจเรียนรู้ ไม่ยอมรับความคิดเห็นต่างๆ ท้ายที่สุดจึงเกิดความสำเร็จน้อย สังคมไทยเป็นสังคมเชิงดิ่งมาแต่โบราณจึงเกิดสิ่งไม่งามต่างๆขึ้นทั้งๆที่เป็นเมืองพุทธ

"สังคมแนวดิ่ง เช่นนี้จึงเป็นสังคมที่อ่อนแอ มีสมรรถนะต่ำ เป็นเหตุให้การเมืองไม่ดี ศีลธรรมไม่ดี เศรษฐกิจไม่ดี ดังนั้น เราควรเปลี่ยนโลกทรรศน์และวิธีคิดแบบ 180 องศา จากความคุ้นเคยที่ "มองขึ้นบน" ไปที่เจ้าใหญ่นายโต หรือผู้มีอำนาจ ไปเป็น ?มองลงข้างล่าง? ไปที่ประชาชนคนธรรมดาที่มีความ ?เท่าเทียม? แห่งคุณค่าความเป็นมนุษย์ทุกคนเท่ากัน ส่งเสริมภราดรภาพ และการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ เกิดสังคมเข้มแข็ง สภาพสังคมเข้มแข็งจะนำความสุขและสมรรถนะมาให้ประชาชนเอง"

แบบที่ 2 สังคมเดี่ยว แบบตัวใครตัวมัน มีความเป็นปัจเจกชนนิยมมากเกิน สังคมจึงอ่อนแอ

แบบ ที่ 3 สังคมดี หรือสังคมเข้มแข็ง มีการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในเรื่องต่างๆ เพื่อส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การเมือง ผู้คนมีความรู้สึกว่าตนเองมีศักยภาพที่จะลงมือทำอะไร ได้ด้วยตนเอง การได้รวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ทำให้มีความอบอุ่นและมีความสุข คือคิดถึงและรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ดังนั้น "อำนาจทางการเมือง" ถ้าอยู่ท่ามกลางสังคมที่เข้มแข็ง มีความเป็นพลเมืองสูง อำนาจถูกตรวจสอบ ทำตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องอยู่กับร่องกับรอย สังคมเข้มแข็งจึงเป็นปัจจัยให้การเมืองดี ศีลธรรมดี และเศรษฐกิจดี

บรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมปาฐกถา 12 ปี สสส. ปลุกพลัง "สังคมเข้มแข็ง" นพ.ประเวศกล่าวว่า ในทางตรงกันข้ามถ้าสังคมอ่อนแอ ผู้คนขาดสติและจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง ตัวใครตัวมัน อำนาจต่างๆ ในสังคมก็จะไม่ถูกตรวจสอบ ทำตามอำเภอใจมาก ทุกอย่างก็จะไม่ดี แม้แต่ประเทศที่มีประชาธิปไตยมาช้านาน เคยมีสังคมเข้มแข็ง เช่น สหรัฐอเมริกา แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สังคมจึงอ่อนแอลง เพราะการเกิดขึ้นของสถาบันหรือองค์กรแบบธุรกิจ (corporate) ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลหรือแม้กระทั่งสถาบันที่ใช้เทคโนโลยีสูง แน่นอนประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมยาก หรือถูกกีดกันออกจากกิจการเหล่านั้น ท้ายที่สุดกิจการเหล่านั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะขาดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้สหรัฐอเมริกามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงสุด รองลงมาคือประเทศอังกฤษ

"ความพยายามที่จะพัฒนาการเมืองโดยนักการเมือง ไม่น่าจะพาเราไปได้ไกล ปัจจัยชี้ขาดอนาคตการพัฒนาประเทศอยู่ที่สังคมเข้มแข็ง นวัตกรรมทางสังคมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง"โครงสร้างอำนาจและการรวม ศูนย์อำนาจการปกครองในประเทศไทยทำให้สังคมอ่อนแอ ทำให้การเมืองไม่ดี ศีลธรรมไม่ดี เศรษฐกิจไม่ดี" ราษฎรอาวุโสกล่าว และได้แสดงความคิด เห็นว่า สังคมไทยนั้นยังขาดการคิดเชิงโครงสร้าง มักคิดทำนอง ดีชั่วเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล หรือเป็นเรื่องเวรกรรมแต่ชาติปางก่อน ทำให้ไม่สามารถออกจาก "วิกฤตการณ์เรื้อรัง" หรือ "ความรุนแรงเงียบ"อันได้แก่ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคม โครงสร้างอำนาจและศูนย์รวมอำนาจการปกครองในประเทศไทยทำให้"สังคมอ่อนแอ"

"รัฐ คืออำนาจ ในสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนและเรื่องยากๆ การใช้อำนาจจึงไม่ได้ผล ทำให้เกิดสภาพรัฐล้มเหลวในการแก้ปัญหา เช่น แก้ปัญหาความยากจน และความอยุติธรรมในสังคม ไม่สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรและจัดการใช้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนได้ ถึงเวลาที่รัฐควรปรับบทบาท จากการทำเองเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งทางภาคธุรกิจมีการปรับปรุงแล้วคือให้เอกชนนำรัฐพร้อมกันนี้ ได้ยกปรากฏการณ์ทางสังคมที่คนไทยต่างพากันชื่นชมทีมทนายความคดีปราสาทพระวิหารในการแถลงคดีปราสาทพระวิหาร

นพ.ประเวศ บอกว่า เมื่อลองสังเกตดีๆ จะเห็นปรากฏการณ์ "ความรู้นำการเมือง" ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ถึงแม้จะมีทีมการเมืองเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วย 2 คน แต่ไม่ได้แสดงบทบาทนำ กลับกลายเป็นทีมกฎหมายนำ โดยทูตวีรชัย พลาศรัย หัวหน้าทีมนักกฎหมายแสดงบทบาทนำ การต่อสู้ต้องใช้ความรู้จริง ทำให้เรื่องออกมาดูดี นักการเมืองที่ฉลาดจะหนุนให้ความรู้นำตนเองก็จะได้ผลงานและได้เครดิตด้วย

"สังคมควรจะเข้มแข็งจนสามารถนำรัฐได้ และรัฐเองควรสนับสนุนสังคมให้เข้มแข็งด้วย ถ้าสังคมนำรัฐตาม จะทำงานง่ายและถูกต้องมากขึ้นทีเดียว" ทรรศนะของหมอประเวศสะท้อนบทบาทของสังคมที่ควรจะเป็น แต่ต้องประสาน 3 องค์ประกอบเข้าด้วยกัน คือความรู้ สังคม และอำนาจรัฐ แบบไม่แย่งชิงอำนาจกัน เพราะปัจจุบันเรากำลัง "ติดกับ" ความคิดเชิงอำนาจ ถ้าสังคมเข้มแข็งจนสังคมนำรัฐได้ นี่เป็นนวัตกรรมทางสังคมอย่างยิ่ง

"เรามีทุนหรือทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอยู่ในพื้นที่มากมาย ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ ทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางศาสนธรรม ทางปัญญา ทุนภาครัฐ ภาคธุรกิจ แต่ตามประสาสังคมแนวดิ่งและรวมศูนย์อำนาจ ทุนเหล่านี้ถูกแยกออกจากกัน จึงไม่มีพลังเมื่อเจอปัญหายากๆ แต่เมื่อไหร่ทุนเหล่านั้นเข้ามาถักทอเชื่อมโยงกัน จะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้แน่นอน"หมอประเวศกล่าวถือเป็นบทสรุปที่สวยงามสำหรับงานครบรอบ 12 ปี การก่อตั้งองค์กร สสส.อีกทั้งยังเป็นปาฐกถาที่เชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมมือกันสำหรับการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1370578234&grpid=&catid=19&subcatid=1904 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 8/06/2556 เวลา 04:11:47 ดูภาพสไลด์โชว์ "ประเวศ วะสี" ปาฐกถา 12 ปี สสส. ปลุกพลัง "สังคมเข้มแข็ง"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศในงานครบรอบ 12 สสส. "ทําไมเราพัฒนาการเมืองมาตั้งเกือบ 100 ปีแล้ว แต่ดูเหมือนไม่ดีขึ้นจนทำท่าจะเกิดสงครามกลางเมือง ?" เป็นประโยคเปิดมุมมองทรรศนะที่แฝงไปด้วยคำถามชวนให้ขบคิด ของ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสและนักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษาชาวไทย หัวข้อ "นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ"ก่อน จะต่อด้วยอีกหลายคำถาม อาทิ ทำไมเราพัฒนาเศรษฐกิจกันมา 50 ปี ผู้ใช้แรงงาน 38 ล้านคนยังมีชีวิตที่ย่ำแย่และ"ไทย"ยังคงเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในเอเชีย? ทำไมเราเป็น เมืองพุทธ และพุทธศาสนาก็เป็นของดี เรามีวัด 30,000 วัด มีพระ 250,000 รูป มีสามเณรอีกแสนกว่ารูปแต่ความเสื่อมเสียทางศีลธรรมจึงเต็มบ้านเต็มเมือง? ก่อนจะสรุปคำตอบไขความกระจ่างให้กับทุกคนว่า "คำตอบคือเราขาดความเข้าใจมิติทางสังคม ไปเข้าใจว่าการเมืองนำบ้าง คำสั่งสอนทางศาสนานำบ้างเศรษฐกิจนำบ้างแต่ในความเป็นจริงสังคมเข้มแข็งจะเป็นตัวนำให้ทุกปัจจัยดีขึ้นเอง" นพ.ประเวศ วะสี สังคมเข้มแข็งคือปัจจัยชี้ขาดต่ออนาคตการพัฒนาประเทศปาฐกถา สำคัญครั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดขึ้นในโครงการที่มีชื่อว่า "สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่"ครบรอบ12ปีสสส. บรรยากาศภายในงานคึกคัก โดยมีผู้ร่วมงานจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนกว่า 3,000 คน ตบเท้าร่วมแสดงพลัง รับทศวรรษที่ 2 บนเวทีมีการแสดงของเหล่าภาคีเครือข่ายรักษ์สุขภาพกับโครงการสุขภาพล่าสุด "คนไทยไร้พุง" เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของตัวเอง ก่อนต่อด้วยปาฐกถาพิเศษโดย "หมอประเวศ" ราษฎรอาวุโส ได้ชวนพิจารณาถึงโครงสร้างในสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ แบบที่ 1 ในโครงสร้างที่เป็น แท่งอำนาจแนวดิ่ง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐ ธุรกิจ หรืออำนาจของสถาบันวิชาการเป็นโครงสร้างที่ประชาชนเข้าร่วมได้ยาก สังคมจะอ่อนแอ มีการเรียนรู้น้อยเพราะคนมีอำนาจไม่ยอมเรียนรู้ ปล่อยให้คนอยู่ใต้อำนาจเรียนรู้ ไม่ยอมรับความคิดเห็นต่างๆ ท้ายที่สุดจึงเกิดความสำเร็จน้อย สังคมไทยเป็นสังคมเชิงดิ่งมาแต่โบราณจึงเกิดสิ่งไม่งามต่างๆขึ้นทั้งๆที่เป็นเมืองพุทธ "สังคมแนวดิ่ง เช่นนี้จึงเป็นสังคมที่อ่อนแอ มีสมรรถนะต่ำ เป็นเหตุให้การเมืองไม่ดี ศีลธรรมไม่ดี เศรษฐกิจไม่ดี ดังนั้น เราควรเปลี่ยนโลกทรรศน์และวิธีคิดแบบ 180 องศา จากความคุ้นเคยที่ "มองขึ้นบน" ไปที่เจ้าใหญ่นายโต หรือผู้มีอำนาจ ไปเป็น ?มองลงข้างล่าง? ไปที่ประชาชนคนธรรมดาที่มีความ ?เท่าเทียม? แห่งคุณค่าความเป็นมนุษย์ทุกคนเท่ากัน ส่งเสริมภราดรภาพ และการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ เกิดสังคมเข้มแข็ง สภาพสังคมเข้มแข็งจะนำความสุขและสมรรถนะมาให้ประชาชนเอง" แบบที่ 2 สังคมเดี่ยว แบบตัวใครตัวมัน มีความเป็นปัจเจกชนนิยมมากเกิน สังคมจึงอ่อนแอ แบบ ที่ 3 สังคมดี หรือสังคมเข้มแข็ง มีการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในเรื่องต่างๆ เพื่อส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การเมือง ผู้คนมีความรู้สึกว่าตนเองมีศักยภาพที่จะลงมือทำอะไร ได้ด้วยตนเอง การได้รวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ทำให้มีความอบอุ่นและมีความสุข คือคิดถึงและรับผิดชอบต่อส่วนรวม ดังนั้น "อำนาจทางการเมือง" ถ้าอยู่ท่ามกลางสังคมที่เข้มแข็ง มีความเป็นพลเมืองสูง อำนาจถูกตรวจสอบ ทำตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องอยู่กับร่องกับรอย สังคมเข้มแข็งจึงเป็นปัจจัยให้การเมืองดี ศีลธรรมดี และเศรษฐกิจดี บรรยากาศผู้เข้าร่วมประชุมปาฐกถา 12 ปี สสส. ปลุกพลัง \"สังคมเข้มแข็ง\"นพ.ประเวศกล่าวว่า ในทางตรงกันข้ามถ้าสังคมอ่อนแอ ผู้คนขาดสติและจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมือง ตัวใครตัวมัน อำนาจต่างๆ ในสังคมก็จะไม่ถูกตรวจสอบ ทำตามอำเภอใจมาก ทุกอย่างก็จะไม่ดี แม้แต่ประเทศที่มีประชาธิปไตยมาช้านาน เคยมีสังคมเข้มแข็ง เช่น สหรัฐอเมริกา แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สังคมจึงอ่อนแอลง เพราะการเกิดขึ้นของสถาบันหรือองค์กรแบบธุรกิจ (corporate) ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลหรือแม้กระทั่งสถาบันที่ใช้เทคโนโลยีสูง แน่นอนประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมยาก หรือถูกกีดกันออกจากกิจการเหล่านั้น ท้ายที่สุดกิจการเหล่านั้นก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะขาดความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้สหรัฐอเมริกามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงสุด รองลงมาคือประเทศอังกฤษ "ความพยายามที่จะพัฒนาการเมืองโดยนักการเมือง ไม่น่าจะพาเราไปได้ไกล ปัจจัยชี้ขาดอนาคตการพัฒนาประเทศอยู่ที่สังคมเข้มแข็ง นวัตกรรมทางสังคมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง"โครงสร้างอำนาจและการรวม ศูนย์อำนาจการปกครองในประเทศไทยทำให้สังคมอ่อนแอ ทำให้การเมืองไม่ดี ศีลธรรมไม่ดี เศรษฐกิจไม่ดี" ราษฎรอาวุโสกล่าว และได้แสดงความคิด เห็นว่า สังคมไทยนั้นยังขาดการคิดเชิงโครงสร้าง มักคิดทำนอง ดีชั่วเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล หรือเป็นเรื่องเวรกรรมแต่ชาติปางก่อน ทำให้ไม่สามารถออกจาก "วิกฤตการณ์เรื้อรัง" หรือ "ความรุนแรงเงียบ"อันได้แก่ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคม โครงสร้างอำนาจและศูนย์รวมอำนาจการปกครองในประเทศไทยทำให้"สังคมอ่อนแอ" "รัฐ คืออำนาจ ในสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนและเรื่องยากๆ การใช้อำนาจจึงไม่ได้ผล ทำให้เกิดสภาพรัฐล้มเหลวในการแก้ปัญหา เช่น แก้ปัญหาความยากจน และความอยุติธรรมในสังคม ไม่สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรและจัดการใช้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนได้ ถึงเวลาที่รัฐควรปรับบทบาท จากการทำเองเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งทางภาคธุรกิจมีการปรับปรุงแล้วคือให้เอกชนนำรัฐพร้อมกันนี้ ได้ยกปรากฏการณ์ทางสังคมที่คนไทยต่างพากันชื่นชมทีมทนายความคดีปราสาทพระวิหารในการแถลงคดีปราสาทพระวิหาร นพ.ประเวศ บอกว่า เมื่อลองสังเกตดีๆ จะเห็นปรากฏการณ์ "ความรู้นำการเมือง" ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ถึงแม้จะมีทีมการเมืองเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วย 2 คน แต่ไม่ได้แสดงบทบาทนำ กลับกลายเป็นทีมกฎหมายนำ โดยทูตวีรชัย พลาศรัย หัวหน้าทีมนักกฎหมายแสดงบทบาทนำ การต่อสู้ต้องใช้ความรู้จริง ทำให้เรื่องออกมาดูดี นักการเมืองที่ฉลาดจะหนุนให้ความรู้นำตนเองก็จะได้ผลงานและได้เครดิตด้วย "สังคมควรจะเข้มแข็งจนสามารถนำรัฐได้ และรัฐเองควรสนับสนุนสังคมให้เข้มแข็งด้วย ถ้าสังคมนำรัฐตาม จะทำงานง่ายและถูกต้องมากขึ้นทีเดียว" ทรรศนะของหมอประเวศสะท้อนบทบาทของสังคมที่ควรจะเป็น แต่ต้องประสาน 3 องค์ประกอบเข้าด้วยกัน คือความรู้ สังคม และอำนาจรัฐ แบบไม่แย่งชิงอำนาจกัน เพราะปัจจุบันเรากำลัง "ติดกับ" ความคิดเชิงอำนาจ ถ้าสังคมเข้มแข็งจนสังคมนำรัฐได้ นี่เป็นนวัตกรรมทางสังคมอย่างยิ่ง "เรามีทุนหรือทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอยู่ในพื้นที่มากมาย ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ ทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางศาสนธรรม ทางปัญญา ทุนภาครัฐ ภาคธุรกิจ แต่ตามประสาสังคมแนวดิ่งและรวมศูนย์อำนาจ ทุนเหล่านี้ถูกแยกออกจากกัน จึงไม่มีพลังเมื่อเจอปัญหายากๆ แต่เมื่อไหร่ทุนเหล่านั้นเข้ามาถักทอเชื่อมโยงกัน จะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้แน่นอน"หมอประเวศกล่าวถือเป็นบทสรุปที่สวยงามสำหรับงานครบรอบ 12 ปี การก่อตั้งองค์กร สสส.อีกทั้งยังเป็นปาฐกถาที่เชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคม ร่วมมือกันสำหรับการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1370578234&grpid=&catid=19&subcatid=1904

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...