พัฒนาเทคโนโลยีอนาคตเพื่อคนพิการยุคดิจิตอล

แสดงความคิดเห็น

เพราะ "ผู้พิการ" ก็เป็นกำลังหลักที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้เช่นกัน การเปลี่ยนแนวคิดจากคนพิการเป็นภาระ มาเป็นพลังหลักในการสร้างสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และการสร้างสังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อการดำรงชีวิตของคนพิการ ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการดำรงชีวิต การศึกษาก็ตาม

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ทิศทางการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ" ณ ห้องราชา 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อคนพิการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ

นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เผยว่า เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้พิการในยุคดิจิตอล จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา รองรับการดำรงชีวิตผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งมีทั้งเครื่องเปิด-ปิดไฟ, เครื่องช่วยกายภาพ รวมทั้งเครื่องตักข้าว

วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เผยว่า ที่ผ่านมา สวทช.มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาสูงโดยแบ่งเป็นระยะตั้งแต่ก่อนเกิดความพิการ คือป้องกันความพิการตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น การตรวจความผิดปกติของโครโมโซม, ระยะพบความพิการ, ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และระยะพัฒนาศักยภาพคนพิการ ซึ่งในแต่ละขั้นต้องพยายามพัฒนาเทคโนโลยีของไทยขึ้นมาเอง

"เราเชื่อว่าในอนาคต การใช้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน แก็ดเจ็ทจะได้รับความนิยมมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสเพื่อแปลงสิ่งพิมพ์เป็นข้อความให้กับคนพิการเพื่อให้คนตาบอดที่ใช้สมาร์ทโฟนลงโปรแกรมอ่านหนังสือได้ในแต่ละหน้า หรืออาจเป็นภาษามือให้กับคนหูหนวก รวมถึงเร่งพัฒนาระบบทีวีดิจิตอล ที่จะมี Audio description และ close caption ให้กับผู้พิการ ให้สามารถดูโทรทัศน์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น และอยู่ในสังคมได้"

วันทนีย์เผยพรเพชร เพชรนนทรี ผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิด เล่าว่า รู้สึกดีที่มีงานนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกคน ที่สนใจมากคือโปรแกรมจีอาร์โค้ด ที่จะทำให้อ่านหนังสือที่มองไม่เห็นได้ อยากให้พัฒนาระบบให้สมบูรณ์แบบมากกว่านี้ และให้เข้าถึงมือของผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าเดิม ทุกวันนี้สายตาของเรามองเห็นได้รางๆ เท่านั้น เช่น ยาสระผม ก็เห็นแค่ยี่ห้อไม่เห็นส่วนประกอบและวันหมดอายุ ซึ่งมันเสี่ยงมากในการดำรงชีวิต เมื่อคนไทยด้วยกันประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยเราให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ก็ถือว่าดีและน่าส่งเสริม

แหล่งที่มา : พก.จับมือมหาวิทยาลัยพัฒนานวัตกรรมผู้พิการ. ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556.

ขอบคุณ... http://www.nstda.or.th/news/12544-nstda (ขนาดไฟล์: 162)

ที่มา: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 20/06/2556 เวลา 03:32:06 ดูภาพสไลด์โชว์ พัฒนาเทคโนโลยีอนาคตเพื่อคนพิการยุคดิจิตอล

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

(เครื่องตักข้าว) (เครื่องช่วยกายภาพ) (เครื่องเปิด-ปิดไฟ) เพราะ "ผู้พิการ" ก็เป็นกำลังหลักที่จะช่วยพัฒนาประเทศได้เช่นกัน การเปลี่ยนแนวคิดจากคนพิการเป็นภาระ มาเป็นพลังหลักในการสร้างสังคมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และการสร้างสังคมที่ปราศจากอุปสรรคเพื่อการดำรงชีวิตของคนพิการ ก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการดำรงชีวิต การศึกษาก็ตาม สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ทิศทางการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ" ณ ห้องราชา 1 โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อคนพิการ และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ นภา เศรษฐกร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ เผยว่า เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของผู้พิการในยุคดิจิตอล จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา รองรับการดำรงชีวิตผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), และศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งมีทั้งเครื่องเปิด-ปิดไฟ, เครื่องช่วยกายภาพ รวมทั้งเครื่องตักข้าว วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ วันทนีย์ พันธชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เผยว่า ที่ผ่านมา สวทช.มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาสูงโดยแบ่งเป็นระยะตั้งแต่ก่อนเกิดความพิการ คือป้องกันความพิการตั้งแต่แรกเริ่ม เช่น การตรวจความผิดปกติของโครโมโซม, ระยะพบความพิการ, ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ และระยะพัฒนาศักยภาพคนพิการ ซึ่งในแต่ละขั้นต้องพยายามพัฒนาเทคโนโลยีของไทยขึ้นมาเอง "เราเชื่อว่าในอนาคต การใช้อุปกรณ์จำพวกสมาร์ทโฟน แก็ดเจ็ทจะได้รับความนิยมมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสเพื่อแปลงสิ่งพิมพ์เป็นข้อความให้กับคนพิการเพื่อให้คนตาบอดที่ใช้สมาร์ทโฟนลงโปรแกรมอ่านหนังสือได้ในแต่ละหน้า หรืออาจเป็นภาษามือให้กับคนหูหนวก รวมถึงเร่งพัฒนาระบบทีวีดิจิตอล ที่จะมี Audio description และ close caption ให้กับผู้พิการ ให้สามารถดูโทรทัศน์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น และอยู่ในสังคมได้" วันทนีย์เผยพรเพชร เพชรนนทรี ผู้พิการทางสายตาแต่กำเนิด เล่าว่า รู้สึกดีที่มีงานนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นทุกคน ที่สนใจมากคือโปรแกรมจีอาร์โค้ด ที่จะทำให้อ่านหนังสือที่มองไม่เห็นได้ อยากให้พัฒนาระบบให้สมบูรณ์แบบมากกว่านี้ และให้เข้าถึงมือของผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าเดิม ทุกวันนี้สายตาของเรามองเห็นได้รางๆ เท่านั้น เช่น ยาสระผม ก็เห็นแค่ยี่ห้อไม่เห็นส่วนประกอบและวันหมดอายุ ซึ่งมันเสี่ยงมากในการดำรงชีวิต เมื่อคนไทยด้วยกันประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยเราให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ก็ถือว่าดีและน่าส่งเสริม แหล่งที่มา : พก.จับมือมหาวิทยาลัยพัฒนานวัตกรรมผู้พิการ. ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556. ขอบคุณ... http://www.nstda.or.th/news/12544-nstda

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...