ปั้น"ลูกอัจฉริยะ" เด็กแอสเพอร์เกอร์

แสดงความคิดเห็น

ภาพประกอบข่าวเด้กหญิงเอามือปิดหู ภาพเด็กชายกำลังคิดเลขวิธีคูณบนกระดานดำ และภาพจัดบรรยายหัวข้อ "เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์"

"แอสเพอร์เกอร์" หนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่มของ "ออทิสติก" ที่พ่อแม่หลายคน เมื่อได้ยินคำนี้มักกังวลใจเนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบ เกี่ยวกับโรคออทิสติก ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่ป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์สามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่วไปเพียงแต่พ่อและแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจและดูแลช่วยเหลือถูกวิธีเชื่อหรือไม่ว่าอัจฉริยะระดับโลกหลายคนมีประวัติเข้าข่ายการเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ อาทิ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลก "ไอน์สไตน์" นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง "เซอร์ไอแซ็ก นิวตัน" รวมถึงผู้กำกับฯ มือทองพ่อมดฮอลลีวู้ด"สตีเว่นสปีลเบิร์ก"

เมื่อไม่นานนี้โรงพยาบาลมนารมย์จัดบรรยายหัวข้อ "เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์" โดย พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์ พญ.กมลชนกกล่าวว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าแอสเพอร์เกอร์เกิด จากสาเหตุใด แต่ที่แน่ๆ คือไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู มีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยในกลุ่มภาวะความผิดปกติประเภทออทิสติก (Autistic Spectrum) เฉลี่ยประมาณร้อยละ1และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง

ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่ มีความสามารถทางสติปัญญาในเกณฑ์ปกติ บางรายอยู่ในขั้นดีเลิศ โดยพฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ ปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อแม่ ครูและผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด

"เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่สามารถเข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อย อาศัยและมักดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำๆไม่เปลี่ยนแปลง

หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะเกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด โกรธ อาละวาด เมื่อพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าวควรให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการและสภาพจิตเพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ"พญ.กมลชนกกล่าว

นอกจากภาวะด้านการสื่อสารและด้านสังคมที่พบได้แล้ว เด็กที่ป่วยด้วยโรคแอสเพอร์เกอร์อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ พฤติกรรมก้าวราว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยอาจต้องใช้ยาร่วมกับพฤติกรรมบำบัดในการรักษา

"การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในด้านพัฒนาการทางสังคม จะต้องสอนทักษะการปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา การช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงสอนให้ประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย

นอกจากนี้เด็กแอสเพอร์เกอร์ควรได้รับความร่วมมือจากครูและสถานศึกษาด้วย รวมทั้งการช่วยเหลือและทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชั้นของเด็ก ครูผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารที่สั้น ชัดเจน ตรงประเด็น และต้องตรวจสอบความเข้าใจของเด็กทุกครั้ง รวมถึงการสอนให้เด็กมีทักษะโต้ตอบทางสังคมในเรื่องกฎกติกา มารยาท สิทธิส่วนบุคคล การปฏิบัติตนกับคนแปลกหน้า และการแสดงออกต่างๆ กับบุคคลอื่น" พญ.กมลชนกกล่าว

ภาพประกอบข่าว แม่กำลังปลอบโยนลูกชาย คุณหมอกมลชนกกล่าวด้วยว่า ภาวะแอสเพอร์เกอร์ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความยากลำบากในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำให้โลกของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมร่วมกับมีพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น จึงส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียน การงาน และการเข้าสังคม เพราะเด็กไม่เข้าใจและไม่รู้จักวิธีการมองโลกในมุมมองของคนอื่น ไม่รู้ว่าคนอื่นมีความเชื่อ ความรู้สึก และความต้องการแตกต่างกับตัวเอง หรือที่เรียกว่า "การเอาใจเขามาใส่ใจเรา" การใช้คำพูดและการ กระทำอาจทำให้คนรอบข้างไม่พอใจ ประกอบกับการไม่สามารถเข้าใจในมุขตลกหรือคำประชดประชัน รวมทั้งลักษณะการเล่นสนุกตามวัย จึงมักถูกเพื่อนรังแกบ่อยๆ ซึ่งแท้จริงแล้วเด็กแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการ เข้าสังคม อยากหัวเราะไปกับเรื่องตลกร่วมกับคนอื่นๆเหมือนกัน

"เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่มีศักยภาพและความน่ารักอยู่ในตัว เพราะเขาจะให้อภัยคนง่าย ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่ลักขโมย ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคมและการเรียน ทั้งพ่อแม่ ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดต้องช่วยหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนและสังคมยอมรับ จะช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยยังคงรักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของเขาอยู่"พญ.กมลชนกเผย

ผู้ปกครองซึ่งเข้าร่วมรับฟังการบรรยายคนหนึ่งได้แลกเปลี่ยนมุมมองการดูแลลูกที่ มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ว่า พ่อแม่ทุกคนย่อมกังวลว่าลูกจะไม่สามารถเอาตัวรอดได้ จึงพยายามปกป้องลูกจากสถานการณ์ปัญหาต่างๆแต่วิธีการที่ดีกว่าคือสอนให้เขาแยกแยะและสอนวิธีการรับมือที่เขาพอจะทำได้ด้วยตนเอง

"พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างละเอียด เลิกคิดว่าลูกผิดปกติ แต่ควรมองหาว่าลูกมีจุดเด่นอะไร แล้วช่วยเขาพัฒนาให้ดีขึ้น พยายามเดินเคียงข้างไปกับเขา แสดงให้เห็นว่าเราภูมิใจในวิธีแก้ปัญหาที่เขาใช้จนสามารถเอาตัวรอดมาได้ พ่อแม่ควรคิดในแง่ดี ยอมรับความแตกต่าง แล้วให้โอกาสเขาได้พัฒนาตัวเองเพราะเราไม่สามารถดูแลปกป้องเขาได้ตลอดชีวิต"ผู้ปกครองคนเดิมกล่าว

พญ.กมล ชนกกล่าวในตอนท้ายว่า มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและสามารถ ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพ่อและแม่ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ลูกผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ พ่อและแม่ต้องมีทัศนคติที่ตรงกันว่าลูกคือของขวัญที่ดีที่สุดของพ่อแม่ ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไรขอให้คิดเสมอว่าเป็นความโชคดีอย่างมากแล้วที่ทุกคนได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน

"พ่อแม่ต้องประคองสุขภาพจิตของตนเองให้ดี แล้วร่วมเดินไปบนเส้นทางเดียวกันด้วยหัวใจที่มั่นคง พร้อมทั้งความเสียสละ อดทน ไม่ว่าจะเจอปัญหาหนักเพียงใดก็จะสามารถแก้ไขและก้าวผ่านไปได้อย่างแน่นอน"

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVEl3TURZMU5nPT0= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 20/06/2556 เวลา 03:27:38 ดูภาพสไลด์โชว์ ปั้น"ลูกอัจฉริยะ" เด็กแอสเพอร์เกอร์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพประกอบข่าวเด้กหญิงเอามือปิดหู ภาพเด็กชายกำลังคิดเลขวิธีคูณบนกระดานดำ และภาพจัดบรรยายหัวข้อ \"เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์\" "แอสเพอร์เกอร์" หนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่มของ "ออทิสติก" ที่พ่อแม่หลายคน เมื่อได้ยินคำนี้มักกังวลใจเนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบ เกี่ยวกับโรคออทิสติก ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่ป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์สามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่วไปเพียงแต่พ่อและแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจและดูแลช่วยเหลือถูกวิธีเชื่อหรือไม่ว่าอัจฉริยะระดับโลกหลายคนมีประวัติเข้าข่ายการเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ อาทิ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลก "ไอน์สไตน์" นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง "เซอร์ไอแซ็ก นิวตัน" รวมถึงผู้กำกับฯ มือทองพ่อมดฮอลลีวู้ด"สตีเว่นสปีลเบิร์ก" เมื่อไม่นานนี้โรงพยาบาลมนารมย์จัดบรรยายหัวข้อ "เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์" โดย พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์ พญ.กมลชนกกล่าวว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าแอสเพอร์เกอร์เกิด จากสาเหตุใด แต่ที่แน่ๆ คือไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู มีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยในกลุ่มภาวะความผิดปกติประเภทออทิสติก (Autistic Spectrum) เฉลี่ยประมาณร้อยละ1และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่ มีความสามารถทางสติปัญญาในเกณฑ์ปกติ บางรายอยู่ในขั้นดีเลิศ โดยพฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ ปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อแม่ ครูและผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด "เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่สามารถเข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อย อาศัยและมักดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำๆไม่เปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะเกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด โกรธ อาละวาด เมื่อพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าวควรให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการและสภาพจิตเพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ"พญ.กมลชนกกล่าว นอกจากภาวะด้านการสื่อสารและด้านสังคมที่พบได้แล้ว เด็กที่ป่วยด้วยโรคแอสเพอร์เกอร์อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ พฤติกรรมก้าวราว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยอาจต้องใช้ยาร่วมกับพฤติกรรมบำบัดในการรักษา "การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในด้านพัฒนาการทางสังคม จะต้องสอนทักษะการปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา การช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงสอนให้ประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย นอกจากนี้เด็กแอสเพอร์เกอร์ควรได้รับความร่วมมือจากครูและสถานศึกษาด้วย รวมทั้งการช่วยเหลือและทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชั้นของเด็ก ครูผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารที่สั้น ชัดเจน ตรงประเด็น และต้องตรวจสอบความเข้าใจของเด็กทุกครั้ง รวมถึงการสอนให้เด็กมีทักษะโต้ตอบทางสังคมในเรื่องกฎกติกา มารยาท สิทธิส่วนบุคคล การปฏิบัติตนกับคนแปลกหน้า และการแสดงออกต่างๆ กับบุคคลอื่น" พญ.กมลชนกกล่าว ภาพประกอบข่าว แม่กำลังปลอบโยนลูกชายคุณหมอกมลชนกกล่าวด้วยว่า ภาวะแอสเพอร์เกอร์ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความยากลำบากในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำให้โลกของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมร่วมกับมีพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น จึงส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียน การงาน และการเข้าสังคม เพราะเด็กไม่เข้าใจและไม่รู้จักวิธีการมองโลกในมุมมองของคนอื่น ไม่รู้ว่าคนอื่นมีความเชื่อ ความรู้สึก และความต้องการแตกต่างกับตัวเอง หรือที่เรียกว่า "การเอาใจเขามาใส่ใจเรา" การใช้คำพูดและการ กระทำอาจทำให้คนรอบข้างไม่พอใจ ประกอบกับการไม่สามารถเข้าใจในมุขตลกหรือคำประชดประชัน รวมทั้งลักษณะการเล่นสนุกตามวัย จึงมักถูกเพื่อนรังแกบ่อยๆ ซึ่งแท้จริงแล้วเด็กแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการ เข้าสังคม อยากหัวเราะไปกับเรื่องตลกร่วมกับคนอื่นๆเหมือนกัน "เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่มีศักยภาพและความน่ารักอยู่ในตัว เพราะเขาจะให้อภัยคนง่าย ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่ลักขโมย ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคมและการเรียน ทั้งพ่อแม่ ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดต้องช่วยหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนและสังคมยอมรับ จะช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยยังคงรักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของเขาอยู่"พญ.กมลชนกเผย ผู้ปกครองซึ่งเข้าร่วมรับฟังการบรรยายคนหนึ่งได้แลกเปลี่ยนมุมมองการดูแลลูกที่ มีภาวะแอสเพอร์เกอร์ว่า พ่อแม่ทุกคนย่อมกังวลว่าลูกจะไม่สามารถเอาตัวรอดได้ จึงพยายามปกป้องลูกจากสถานการณ์ปัญหาต่างๆแต่วิธีการที่ดีกว่าคือสอนให้เขาแยกแยะและสอนวิธีการรับมือที่เขาพอจะทำได้ด้วยตนเอง "พ่อแม่ควรเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างละเอียด เลิกคิดว่าลูกผิดปกติ แต่ควรมองหาว่าลูกมีจุดเด่นอะไร แล้วช่วยเขาพัฒนาให้ดีขึ้น พยายามเดินเคียงข้างไปกับเขา แสดงให้เห็นว่าเราภูมิใจในวิธีแก้ปัญหาที่เขาใช้จนสามารถเอาตัวรอดมาได้ พ่อแม่ควรคิดในแง่ดี ยอมรับความแตกต่าง แล้วให้โอกาสเขาได้พัฒนาตัวเองเพราะเราไม่สามารถดูแลปกป้องเขาได้ตลอดชีวิต"ผู้ปกครองคนเดิมกล่าว พญ.กมล ชนกกล่าวในตอนท้ายว่า มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและสามารถ ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพ่อและแม่ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ลูกผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ พ่อและแม่ต้องมีทัศนคติที่ตรงกันว่าลูกคือของขวัญที่ดีที่สุดของพ่อแม่ ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไรขอให้คิดเสมอว่าเป็นความโชคดีอย่างมากแล้วที่ทุกคนได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน "พ่อแม่ต้องประคองสุขภาพจิตของตนเองให้ดี แล้วร่วมเดินไปบนเส้นทางเดียวกันด้วยหัวใจที่มั่นคง พร้อมทั้งความเสียสละ อดทน ไม่ว่าจะเจอปัญหาหนักเพียงใดก็จะสามารถแก้ไขและก้าวผ่านไปได้อย่างแน่นอน" ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROc1lXUXdNVEl3TURZMU5nPT0=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...