มจธ.เล็งช่วยผู้พิการมีงานทำ ดึงเอกชนรู้กฎหมายก่อนเริ่มจริง

แสดงความคิดเห็น

นายสุรพล บริสุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.)

ผู้พิการ1.9 ล้านยิ้มรับอนาคตสดใส ผู้ประกอบการเล็งรับเข้าทำงานในสถานประกอบการตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ ด้าน ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เตรียมฝึกอบรมผู้พิการให้มีขีดความสามารถตรงกับภาคอุตสาหกรรม แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพเหมาะสม

“สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ “คนพิการ” จึงไม่มีความมั่นใจในการรับคนพิการเข้าทำงาน ประกอบกับคนพิการไม่มีความพร้อมในการทำงานในระบบสถานประกอบการทำให้ผู้ ประกอบการไม่สามารถจัดหาคนพิการเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการได้ครบตามที่ กฎหมายกำหนด” เป็นประเด็นพูดคุยในวงเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ” ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างออกรสระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐและ สถานศึกษาซึ่งจะต้องพัฒนาฝีมือของผู้พิการให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน

วิทยากรเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ” ในขณะที่ฝ่ายกฎหมายเองก็ขีดเส้นตายมาก่อนหน้านี้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ว่าสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป ให้รับคนพิการที่สามารถทำงานได้เข้าทำงานในอัตราส่วน 100:1 เช่น หากบริษัทมีลูกจ้างไม่พิการทั้งหมด 100 -150 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 1 คน แต่หากมี 151-250 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 2 คน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามกฎหมายมี ทางเลือก ให้ 2 ทางคือ 1. ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปีโดยคำนวณ จากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงานทั้งหมดในประเทศซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการอยู่ทั้งสิ้น 1.9 ล้านคน หรือทางเลือกที่ 2 ให้สถานประกอบการแจ้งความจำนงต่อปลัดกระทรวงแรงงาน หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจัดสัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนได้ ทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนพิการมีสิทธิโอกาสในการเข้าทำงานสร้างหลักประกันความ มั่นคงในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ

บรรยากาศผู้เข้าร่วมมจธ.เล็งช่วยผู้พิการมีงานทำ ดึงเอกชนรู้กฎหมายก่อนเริ่มจริง แม้กฎหมายจะบังคับ แต่ที่ผ่านมาก็ยังสถานประกอบการส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถดำเนินการตาม เจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายได้ โดยส่วนใหญ่เลือกที่จะจ่ายเงินเข้ากองทุนแทนที่จะรับคนพิการทำให้ยังมีคน พิการอีกมากที่ยังไม่ได้รับโอกาสให้มีงานทำ การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เพราะการที่สถานประกอบให้โอกาสผู้พิการได้มีงานทำไม่เพียงจะเป็นการให้สิทธิ และโอกาสแก่ผู้พิการเท่านั้น กฎหมายยังมอบผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับสถานประกอบการด้วย

วิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อในมจธ.เล็งช่วยผู้พิการมีงานทำ ดึงเอกชนรู้กฎหมายก่อนเริ่มจริง นายสุรพล บริสุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) เปิดเผยว่า ส่วนใหญ่คนยังเข้าใจว่ากฎหมายคนพิการเป็นการช่วยเหลือ เพราะสงสาร มากกว่าจะเข้าใจว่าเป็นสิทธิของคนพิการ ดังนั้นการที่จะเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์นั้นคนในสังคมจะต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้พิการปัจจุบันเขามีความรู้ความสามารถในบางประการเท่าเทียมหรือมากกว่าคน ปกติด้วยซ้ำหากเพียงแต่เขามีร่างกายไม่ปกติครบ การตีความคำว่าพิการเปลี่ยนไปจากผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูช่วยเหลือเป็น ความหลากหลายอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ไปแล้ว ทั้งนี้ในส่วนของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการก็ระบุไว้ชัดเจนหากสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐหรือเอกชนไม่ให้โอกาสและสิทธิกับผู้พิการตามกฎหมายกำหนด มาตรา 33 กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 24(5) หากไม่ได้ส่งหรือส่งล่าช้าไม่ครบถ้วนให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของเงินจำนวนที่ยังไม่ได้ส่งเข้ากองทุน แต่หากสถานประกอบซึ่งรับคนพิการเข้าทำงานก็ได้รับยกเว้นภาษีร้อยละจำนวนค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ และมาตรา 38 ยังระบุด้วยว่าหากนายจ้างหรือสถานประกอบการที่จ้างคนพิการเข้าทำงานมากกว่า ร้อยละ 60 ของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่า 180 วัน ในปีภาษีใดก็มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้นอีกด้วย

ใน มาตรา 38 นี้เองเป็นแรงจูงใจให้สถานประกอบการหลายแห่งเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการ ให้สิทธิคนพิการได้เข้ามาทำงานตามความสามารถที่เหมาะสมมากขึ้น แต่ก็กลับกลายเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อย เนื่องจากบางบริษัทอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการ ประกอบกับไม่รู้จะเริ่มต้นให้ผู้พิการเข้ามาทำงานในตำแหน่งใด ที่สำคัญผู้พิการเองก็ยังอาจจะไม่มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการ กับสถานประกอบการบางประเภท ทำให้หน่วยงานภาคการศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เข้ามาร่วมสนับสนุนนโยบายภาครัฐ โดยจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยหวังว่าจะช่วยให้ผู้พิการมีงานทำไปพร้อมๆ กับการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมได้แรงงานที่มีศักยภาพเหมาะ สมสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทัดเทียมกับคนปกติ

วาวเดือน ล่ำซำ แอดวานซ์ ดินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมบรรยาย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีกล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นอีกหนึ่งบทบาทของการทำงานเพื่อรับใช้สังคมที่ มจธ.ทำอยู่แล้วในหลายๆ รูปแบบ โดยการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการสู่ภาคอุตสาหกรรมเป็น อีกหนึ่งโครงการที่ มจธ.จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจในพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และเพื่อให้คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพในด้านการประกอบอาชีพที่ตรงตามความ ต้องการของสถานประกอบการ ทั้งนี้ มจธ.ได้เตรียมแผนการฝึกอบรมสำหรับผู้พิการไว้ 11 หลักสูตรด้วยกัน นอกจากนี้ยังเตรียมการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการต่อคนพิการ รวมถึงการฝึกอบรมด้านวิชาการให้อาจารย์โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ และเครือข่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักศึกษาในโรงเรียนอีกด้วย

ด้านตัวแทนภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ในการเปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรมายาวนาน อย่าง บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือแม้แต่บริษัทสื่อสารอย่าง แอดวานซ์ ดินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ที่เรารู้จักในนามของเอไอเอส ก็ออกมาเปิดเผยว่าการรับผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพียงแต่ในระยะเริ่มแรกจะต้องทำความเข้าใจกับคนในองค์กรให้เข้าใจร่วมกัน อย่างแท้จริงถึงนโยบายของบริษัท รวมถึงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อความพิการ ซึ่งหากมีสิ่งเหล่านี้แล้วผู้พิการก็สามารถทำงานได้เต็มความสามารถเช่นเดียว กับคนปกติ

วาวเดือน ล่ำซำ แอดวานซ์ ดินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงาน call center ที่มีความพิการทางสายตาทั้งหมด 45 คน จากพนักงานทั้งหมด 2,458 คน ซึ่งในอนาคต เอไอเอสมีเป้าหมายในการพัฒนาพนักงานซึ่งเป็นผู้พิการเหล่านี้อย่างเท่าเทียมคนปกติ โดยไม่ปิดกั้นการเรียนรู้และการเลื่อนตำแหน่ง เพื่อให้ผู้พิการมีสิทธิในการมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานทัดเทียมกับคนปกติ โดยไม่พิจารณาที่สภาพร่างกายแต่จะพิจารณาความรู้ความสามารถจากคนที่มีใจรัก ในหน้าที่การงานมากกว่า

ผู้เข้าร่วมเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ” แสดงความคิดเห็น ด้าน มงคล เชื้อทอง จากบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สถานประกอบการที่ยังไม่มีผู้พิการและต้องการรับผู้พิการเข้าทำงานจะต้อง เริ่มจากการสำรวจสถานประกอบการของตนเองก่อนว่าหากมีผู้พิการเข้ามาทำงาน แล้วจะต้องมีการปรับปรุงสถานที่อย่างไรบ้างให้สอดคล้องกับความพิการที่ต้อง การรับเข้ามาทำงาน ไม่ควรคิดว่าเป็นค่าใช้จ่ายศูนย์เปล่าเพราะเมื่อคำนวณค่าลดหย่อนภาษีที่ บริษัทจะได้รับคืนจากการสร้างอาชีพให้กับผู้พิการถือว่าคุ้มค่ามากกว่า ที่สำคัญเมื่อมีผู้พิการเข้ามาทำงานแล้วจะต้องให้โอกาสกับคนกลุ่มนี้ได้ เรียนรู้งาน ต้องสอนงานไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ ก็ไล่ออกอย่างนี้ไม่เป็นการช่วยเหลืออย่างจริงใจ ฝ่ายบุคคลที่ส่งผู้พิการไปทำงานแต่ถูกหัวหน้างานไล่ออกถ้าไม่ช่วยเหลือก็จบ ดังนั้นจะต้องให้ความสำคัญในการสอนงานเรียนรู้งานแก่คนกลุ่มนี้

ด้านตัวแทนจากบริษัทศรีไทย ซุปเปอร์แวย์ กล่าวว่า หลังจากที่มีกฎหมายเริ่มออกมาบังคับให้สถานประกอบการที่เข้าเกณฑ์รับผู้ พิการเข้าทำงาน ความยากอยู่ที่การสรรหาผู้พิการที่มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการของ ภาคเอกชน มีความยากมากขึ้น หรือแทบจะไม่มี ดังนั้นด้านวิชาการคือสิ่งสำคัญที่จะต้องอาศัยสถาบันการศึกษาที่จะเป็นศูนย์ กลางในการฝึกสอนผู้พิการให้ตรงกับความต้องการของแต่ละสถานประกอบ เป็นแหล่งเสริมสร้างศักยภาพคนพิการอย่างมจธ. ที่กำลังจะดำเนินการก็จะทำให้ผู้ประกอบการลดปัญหาการสรรหาผู้พิการลงได้

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี ให้สัมภาษณ์ ขณะที่ กุฎาธาร นาควิโรจน์ บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (มหาชน) เปิดเผยว่าใช้หลัก เข้าใจ เข้าถึง และเข้าสู่สังคมอีกทั้งมีการเรียนรู้ผู้พิการให้สามารถทำงานได้ตามความถนัด ความสนใจ ภายใต้ข้อจำกัด ของผู้พิการอีกทั้งเรียนรู้ถึงสิ่งที่ผู้พิการต้องการได้รับการสนับสนุน เพิ่มเติม ที่ผ่านมามีบริษัทหลายแห่งพยายามมาติดต่อขอให้พนักงานซึ่งเป็นผู้พิการของบิ๊กซี ไปร่วมงานด้วยในลักษณะซื้อตัวคือ เสนอค่าจ้างที่สูงกว่า แต่พนักงานส่วนใหญ่ของบิ๊กซีไม่ไป เนื่องจากบริษัทมองว่าการให้โอกาสเข้าทำงานไม่เพียงพอ บิ๊กซีจึงสร้างสังคมที่ดีที่ให้การยอมรับคนพิการเหล่านี้ด้วย เช่นการทำข้อตกลงไว้ตั้งแต่แรกกับพนักงานทุกคนว่า จะต้องเรียกชื่อจริงหรือชื่อเล่นของเพื่อนเท่านั้นจะไม่มีการเอาความพิการมาเรียกแทนชื่อ รวมทั้งสร้างสังคมของเพื่อนร่วมงานที่ดีให้เกิดความรักความเข้าใจระหว่างคนปกติกับผู้พิการ สิ่งเหล่านี้ผู้บริหารจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน นอกจากนี้ยังพบว่าการที่มีผู้พิการเข้ามาทำงานร่วมกับคนปกติ ยังทำให้คนปกติบางคนที่ท้อแท้ทางจิตใจ เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานมากขึ้น อีกด้วยโดยบิ๊กซีตั้งเป้าหมายในอนาคตว่า ภายในปี 2557 บริษัทจะมีผู้พิการเข้ามาทำงานได้ได้ 50 : 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานทั้งหมด

นอกจากนี้สิ่งที่หลายๆ บริษัทส่วนใหญ่ลงความเห็นตรงกันก็คือ ผู้พิการส่วนใหญ่ทำงานได้เท่าเทียมปกติในงานเดียวกัน และยิ่งไปกว่านั้นคือการทำงานได้มากกว่าเพราะความมุ่งมั่นตั้งใจที่ผู้พิการ มีต่อหน้าที่การงาน ทำให้ผู้บริหารเริ่มเห็นศักยภาพและความคุ้มค่าของการรับผู้พิการเข้าทำงาน มากขึ้น สำหรับผู้พิการที่เข้าเกณฑ์และต้องการรับผู้พิการเข้าร่วมงาน หรือมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัมนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ขอบคุณ ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371788652

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 22/06/2556 เวลา 02:53:23 ดูภาพสไลด์โชว์ มจธ.เล็งช่วยผู้พิการมีงานทำ ดึงเอกชนรู้กฎหมายก่อนเริ่มจริง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสุรพล บริสุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ผู้พิการ1.9 ล้านยิ้มรับอนาคตสดใส ผู้ประกอบการเล็งรับเข้าทำงานในสถานประกอบการตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ ด้าน ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เตรียมฝึกอบรมผู้พิการให้มีขีดความสามารถตรงกับภาคอุตสาหกรรม แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพเหมาะสม “สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ “คนพิการ” จึงไม่มีความมั่นใจในการรับคนพิการเข้าทำงาน ประกอบกับคนพิการไม่มีความพร้อมในการทำงานในระบบสถานประกอบการทำให้ผู้ ประกอบการไม่สามารถจัดหาคนพิการเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการได้ครบตามที่ กฎหมายกำหนด” เป็นประเด็นพูดคุยในวงเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ” ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างออกรสระหว่างผู้ประกอบการ ภาครัฐและ สถานศึกษาซึ่งจะต้องพัฒนาฝีมือของผู้พิการให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน วิทยากรเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ”ในขณะที่ฝ่ายกฎหมายเองก็ขีดเส้นตายมาก่อนหน้านี้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ว่าสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ขึ้นไป ให้รับคนพิการที่สามารถทำงานได้เข้าทำงานในอัตราส่วน 100:1 เช่น หากบริษัทมีลูกจ้างไม่พิการทั้งหมด 100 -150 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 1 คน แต่หากมี 151-250 คน ต้องรับลูกจ้างที่เป็นคนพิการ 2 คน นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามกฎหมายมี ทางเลือก ให้ 2 ทางคือ 1. ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปีโดยคำนวณ จากอัตราต่ำสุดของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน คูณด้วย 365 และคูณด้วยจำนวนคนพิการที่ไม่ได้รับเข้าทำงานทั้งหมดในประเทศซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการอยู่ทั้งสิ้น 1.9 ล้านคน หรือทางเลือกที่ 2 ให้สถานประกอบการแจ้งความจำนงต่อปลัดกระทรวงแรงงาน หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจัดสัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนได้ ทั้งหมดนี้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนพิการมีสิทธิโอกาสในการเข้าทำงานสร้างหลักประกันความ มั่นคงในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ บรรยากาศผู้เข้าร่วมมจธ.เล็งช่วยผู้พิการมีงานทำ ดึงเอกชนรู้กฎหมายก่อนเริ่มจริง แม้กฎหมายจะบังคับ แต่ที่ผ่านมาก็ยังสถานประกอบการส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถดำเนินการตาม เจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายได้ โดยส่วนใหญ่เลือกที่จะจ่ายเงินเข้ากองทุนแทนที่จะรับคนพิการทำให้ยังมีคน พิการอีกมากที่ยังไม่ได้รับโอกาสให้มีงานทำ การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน เพราะการที่สถานประกอบให้โอกาสผู้พิการได้มีงานทำไม่เพียงจะเป็นการให้สิทธิ และโอกาสแก่ผู้พิการเท่านั้น กฎหมายยังมอบผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับสถานประกอบการด้วย วิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อในมจธ.เล็งช่วยผู้พิการมีงานทำ ดึงเอกชนรู้กฎหมายก่อนเริ่มจริง นายสุรพล บริสุทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) เปิดเผยว่า ส่วนใหญ่คนยังเข้าใจว่ากฎหมายคนพิการเป็นการช่วยเหลือ เพราะสงสาร มากกว่าจะเข้าใจว่าเป็นสิทธิของคนพิการ ดังนั้นการที่จะเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์นั้นคนในสังคมจะต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้พิการปัจจุบันเขามีความรู้ความสามารถในบางประการเท่าเทียมหรือมากกว่าคน ปกติด้วยซ้ำหากเพียงแต่เขามีร่างกายไม่ปกติครบ การตีความคำว่าพิการเปลี่ยนไปจากผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูช่วยเหลือเป็น ความหลากหลายอย่างหนึ่งของร่างกายมนุษย์ไปแล้ว ทั้งนี้ในส่วนของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการก็ระบุไว้ชัดเจนหากสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐหรือเอกชนไม่ให้โอกาสและสิทธิกับผู้พิการตามกฎหมายกำหนด มาตรา 33 กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 24(5) หากไม่ได้ส่งหรือส่งล่าช้าไม่ครบถ้วนให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของเงินจำนวนที่ยังไม่ได้ส่งเข้ากองทุน แต่หากสถานประกอบซึ่งรับคนพิการเข้าทำงานก็ได้รับยกเว้นภาษีร้อยละจำนวนค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ และมาตรา 38 ยังระบุด้วยว่าหากนายจ้างหรือสถานประกอบการที่จ้างคนพิการเข้าทำงานมากกว่า ร้อยละ 60 ของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่า 180 วัน ในปีภาษีใดก็มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้นอีกด้วย ใน มาตรา 38 นี้เองเป็นแรงจูงใจให้สถานประกอบการหลายแห่งเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการ ให้สิทธิคนพิการได้เข้ามาทำงานตามความสามารถที่เหมาะสมมากขึ้น แต่ก็กลับกลายเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อย เนื่องจากบางบริษัทอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความพิการ ประกอบกับไม่รู้จะเริ่มต้นให้ผู้พิการเข้ามาทำงานในตำแหน่งใด ที่สำคัญผู้พิการเองก็ยังอาจจะไม่มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการ กับสถานประกอบการบางประเภท ทำให้หน่วยงานภาคการศึกษาอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เข้ามาร่วมสนับสนุนนโยบายภาครัฐ โดยจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยหวังว่าจะช่วยให้ผู้พิการมีงานทำไปพร้อมๆ กับการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมได้แรงงานที่มีศักยภาพเหมาะ สมสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทัดเทียมกับคนปกติ วาวเดือน ล่ำซำ แอดวานซ์ ดินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมบรรยายรศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีกล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นอีกหนึ่งบทบาทของการทำงานเพื่อรับใช้สังคมที่ มจธ.ทำอยู่แล้วในหลายๆ รูปแบบ โดยการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการสู่ภาคอุตสาหกรรมเป็น อีกหนึ่งโครงการที่ มจธ.จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจในพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และเพื่อให้คนพิการสามารถพัฒนาศักยภาพในด้านการประกอบอาชีพที่ตรงตามความ ต้องการของสถานประกอบการ ทั้งนี้ มจธ.ได้เตรียมแผนการฝึกอบรมสำหรับผู้พิการไว้ 11 หลักสูตรด้วยกัน นอกจากนี้ยังเตรียมการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการต่อคนพิการ รวมถึงการฝึกอบรมด้านวิชาการให้อาจารย์โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ และเครือข่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับนักศึกษาในโรงเรียนอีกด้วย ด้านตัวแทนภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ในการเปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรมายาวนาน อย่าง บริษัทบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือแม้แต่บริษัทสื่อสารอย่าง แอดวานซ์ ดินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ที่เรารู้จักในนามของเอไอเอส ก็ออกมาเปิดเผยว่าการรับผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวล เพียงแต่ในระยะเริ่มแรกจะต้องทำความเข้าใจกับคนในองค์กรให้เข้าใจร่วมกัน อย่างแท้จริงถึงนโยบายของบริษัท รวมถึงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อความพิการ ซึ่งหากมีสิ่งเหล่านี้แล้วผู้พิการก็สามารถทำงานได้เต็มความสามารถเช่นเดียว กับคนปกติ วาวเดือน ล่ำซำ แอดวานซ์ ดินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงาน call center ที่มีความพิการทางสายตาทั้งหมด 45 คน จากพนักงานทั้งหมด 2,458 คน ซึ่งในอนาคต เอไอเอสมีเป้าหมายในการพัฒนาพนักงานซึ่งเป็นผู้พิการเหล่านี้อย่างเท่าเทียมคนปกติ โดยไม่ปิดกั้นการเรียนรู้และการเลื่อนตำแหน่ง เพื่อให้ผู้พิการมีสิทธิในการมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานทัดเทียมกับคนปกติ โดยไม่พิจารณาที่สภาพร่างกายแต่จะพิจารณาความรู้ความสามารถจากคนที่มีใจรัก ในหน้าที่การงานมากกว่า ผู้เข้าร่วมเสวนาเรื่อง “การเตรียมความพร้อมเพื่อรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ” แสดงความคิดเห็นด้าน มงคล เชื้อทอง จากบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สถานประกอบการที่ยังไม่มีผู้พิการและต้องการรับผู้พิการเข้าทำงานจะต้อง เริ่มจากการสำรวจสถานประกอบการของตนเองก่อนว่าหากมีผู้พิการเข้ามาทำงาน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...