สธ.ตั้งเป้าสิ้นแผนพัฒนาฯฉบับ 11 เด็กไทย IQ เต็ม 100 EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต และ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวภายหลังเปิดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 2 และการประชุมวิชาการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ครั้งที่ 10 “ดูแลเด็กทุกวัย ดูแลจิตใจหญิงทุกคน” จัดบริการชุดสุขภาพ Health Care Package ให้กับเด็กและสตรีทุกกลุ่มวัย เพื่อ “สุขภาพดี” อย่างเป็นรูปธรรม การันตี ผลงาน “Child First-Work Together (CF-WT)” รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 สหประชาชาติ สาขา การให้บริการประชาชน (United Nations Public Service Awards 2013) เน้น ดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย คัดกรองเร็ว พบเร็ว กระตุ้นพัฒนาการได้เร็ว ตั้งเป้า เด็กไทย IQ เต็ม 100 EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กออทิสติกและสมาธิสั้น เข้าถึงบริการ 25%
นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า จากรายงานสุขภาพจิตแม่และการพัฒนาสุขภาพจิตเด็กขององค์การอนามัยโลก พบว่า สตรีทั่วไปเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ประมาณ 5% ขณะที่ สตรีตั้งครรภ์มีความเจ็บป่วยด้วยโรคเดียวกันนี้ 8-10% และอาจสูงถึง 13% ภายหลังที่คลอดแล้ว นอกจากนี้ พบว่า ในประเทศไทย อัตราการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ/ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ยังมีน้อย เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญามีการเข้าถึงเพียง 33,592 คน หรือประมาณ 5.23% และเป็นเด็กออทิสติก 7,212 คน หรือประมาณ 12.02% ของประชากรเด็ก ดังนั้น สตรีและเด็กจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งการ ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า จากแนวคิด โครงการ “Every Woman Every Child” ของสหประชาชาติ ที่เห็นถึงความจำเป็นในการดูแลเด็กและสตรี โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การมีครรภ์คุณภาพ เพื่อให้สตรีมีความพร้อมที่จะเลี้ยงดูลูกให้เติบโตตามวัยกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการสร้างรูปแบบและระบบการดูแลสุขภาพเด็กและสตรีขึ้น ในรูปแบบ ชุดสุขภาพ (Health Care Package) ซึ่งเป็นการจัดบริการให้แต่ละกลุ่มวัย ทั้งบริการพื้นฐานทั่วไป และบริการส่วนที่มีปัญหา เพื่อกำหนดเป้าหมาย “สุขภาพดี” ให้เป็นรูปธรรม ในกลุ่มอายุ 0-6 ปี ดูแลหญิงตั้งครรภ์ และพัฒนาเด็กให้สมวัย
นายแพทย์ชลน่านกล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดบริการ ประกอบด้วย 1.ชุดสุขภาพพื้นฐาน (Basic Health Package) ดูแลกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในคลินิก และเด็กที่มารับบริการตรวจพัฒนาการ โดยกรมสุขภาพจิตดำเนินงานร่วมกับกรมอนามัย จัดทำแบบประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ขณะที่เด็กที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะประเมินพัฒนาการด้วยแบบประเมินอนามัย 55 กรณีมีพัฒนาการสมวัยจะให้คำแนะนำผู้เลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย กรณีมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจะให้คำแนะนำผู้เลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการในทักษะที่เด็กทำไม่ได้ ด้วยคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง เป็นเวลา 1 เดือน แล้วนัดมาประเมินซ้ำและ 2. ชุดสุขภาพเฉพาะ (Sub package) ให้การดูแลเด็กและสตรีกลุ่มเสี่ยง กรณีเด็กมีปัญหาพัฒนาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะประเมินพัฒนาการเด็กและแก้ไข โดยใช้คู่มือประเมินและแก้ไขพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มแม่วัยรุ่นที่มีปัญหา กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานคลินิกให้การดูแลทางสังคมจิตใจ (Psychosocial Clinic) ในโรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข สามารถให้คำปรึกษากลุ่มแม่วัยรุ่นที่มีปัญหาได้ พร้อมทั้งให้การดูแลเด็กและสตรีกลุ่มที่ป่วย กรณีเด็กมีปัญหาพัฒนาการยุ่งยากซับซ้อน เจ้าหน้าที่ใน โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)จะส่งต่อให้รับบริการที่ โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) หรือ โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โดยกระทรวงสาธารณสุขพัฒนามาตรฐานการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก สำหรับเครือข่ายบริการสุขภาพ 12 เขตบริการ จัดบริการเด็กที่ป่วยด้วย 4 โรคหลัก ประกอบด้วย ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก สมาธิสั้น และเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใน รพศ.ทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2557 จะขยายบริการไปถึงระดับ รพช.ส่วนเด็กกลุ่มโรคจิตเวชจะได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลในโรงพยาบาลจิตเวชต่อ ไป
การดำเนินการดังกล่าวจะมีการขยายผลไปจนสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เพื่อให้เด็กไทย มีระดับสติปัญญา หรือ IQ=100 มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ รวมทั้ง เด็กออทิสติกและสมาธิสั้น สามารถเข้าถึงบริการได้ ร้อยละ 25 นายแพทย์ชลน่าน กล่าว
ด้านนายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า กรมสุขภาพจิต ได้พยายามคิดหาวิธีที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ค้นคว้าหาแนวทางที่จะส่งเสริมคุณภาพและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนาการสมวัยรอบด้าน โดยได้บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจเด็กปฐมวัย ตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ โดยให้หญิงตั้งครรภ์มีการเฝ้าระวังภาวะเครียด ซึมเศร้า และการดื่มสุรา เนื่องจาก ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีปัญหาดังกล่าวแล้วจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทั้งนี้ จะได้รับการประเมินภาวะเครียด ซึมเศร้า และการดื่มสุราทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ตามมาตรฐานการฝากครรภ์คุณภาพ จำนวน 5ครั้ง พร้อมทั้ง ได้จัดทำคู่มือ “ครรภ์คุณภาพ : คู่มือการดูแลจิตใจตนเองสำหรับสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด” ที่ดำเนินการร่วมกับกรมอนามัย ซึ่งได้เพิ่มเรื่องซึมเศร้าและสุราเข้าไปด้วย
นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กจะได้รับการเฝ้าระวังด้านพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ โดยครูศูนย์เด็กเล็กจะประเมินพัฒนาการเด็กภาคเรียนละ 1ครั้ง และประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก ปีละ 1ครั้ง ถ้าเด็กมีปัญหาพัฒนาการจะส่งต่อหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อให้การ ช่วยเหลือตามระบบต่อไป ส่วนครูศูนย์เด็กเล็กจะต้องมีการประเมินความเครียดด้วยตนเองปีละ 1ครั้ง เนื่องจากการดูแลเด็กเล็กเป็นเรื่องสำคัญ ละเอียดอ่อน ครูผู้ดูแลจึงต้องมีสภาพจิตใจที่พร้อมจะปฏิบัติงานเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับ การพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ
นายแพทย์วชิระ กล่าวอีกว่า ในเรื่อง Happy family จะเน้นการดูแลพัฒนาการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่แนวโน้มพัฒนาการไม่สมวัยหรือมีความเสี่ยง ซึ่งล่าสุด กรมสุขภาพจิต โดย สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 United Nations Public Service Awards 2013จากสหประชาชาติ ประเภทรางวัล การพัฒนาการให้บริการประชาชน จากผลงาน “Child First-Work Together (CF-WT)” ที่มีจุดมุ่งหมายให้เด็กได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการสมวัยอย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่องโดยการพัฒนากระบวนการคัดกรอง ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐาน พัฒนาคน พัฒนาการสื่อสาร ความร่วมมือ ระบบ และนโยบาย จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เด็กไทยได้รับการคัดกรอง ซึ่งทุกคนสามารถช่วยกันได้ ทั้ง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพราะการค้นพบที่เร็วจะช่วยทำให้มีการวางแผนและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้ เร็วและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น ช่วยลดภาระครอบครัว สังคม ชุมชน ตลอดจนค่าใช้จ่าย ที่สำคัญ เด็กจะมีพัฒนาการสมวัย สามารถเรียนรู้ พัฒนา ทั้งด้านร่างกาย และสติปัญญา เป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป ทั้งนี้ จะเดินทางไปรับรางวัล โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ ประเทศบาห์เรน ในวันที่ 27มิถุนายน 2556
ด้านการพัฒนาสุขภาพจิตในวัยเรียน-วัยรุ่น กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ และพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ให้มีการจัดบริการสุขภาพจิตและบริการให้คำปรึกษา อีกทั้ง ในครึ่งปีหลังของปี 2556จะเชื่อมโยงเทคโนโลยีแต่ละกรมที่เกี่ยวข้อง พิจารณา Gap โดยเฉพาะปัญหาทางเพศของวัยรุ่น (Sexual Health) เพื่อผลักดันให้เกิดการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนกำหนดนโยบายให้มีความร่วมมือในระดับพื้นที่ ซึ่งการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จะมุ่งไปที่อุปกรณ์การป้องกันการตั้งครรภ์ที่หาง่าย และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาที่ตามมาภายหลังการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากวัยรุ่นตั้งครรภ์แล้ว จะมีแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กที่คลอดออกมามีคุณภาพด้วย รวมทั้ง ร่วมมือและเกาะติดปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนแม่บทที่เป็นวาระแห่งชาติ 4เรื่องหลัก ได้แก่ ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทั้งพร้อมและไม่พร้อม ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาแรงงานเด็ก และปัญหาค้ามนุษย์ นายแพทย์วชิระ กล่าว
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต และ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวภายหลังเปิดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 2 และการประชุมวิชาการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ครั้งที่ 10 “ดูแลเด็กทุกวัย ดูแลจิตใจหญิงทุกคน” จัดบริการชุดสุขภาพ Health Care Package ให้กับเด็กและสตรีทุกกลุ่มวัย เพื่อ “สุขภาพดี” อย่างเป็นรูปธรรม การันตี ผลงาน “Child First-Work Together (CF-WT)” รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 สหประชาชาติ สาขา การให้บริการประชาชน (United Nations Public Service Awards 2013) เน้น ดูแลเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย คัดกรองเร็ว พบเร็ว กระตุ้นพัฒนาการได้เร็ว ตั้งเป้า เด็กไทย IQ เต็ม 100 EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กออทิสติกและสมาธิสั้น เข้าถึงบริการ 25% นายแพทย์ชลน่าน กล่าวว่า จากรายงานสุขภาพจิตแม่และการพัฒนาสุขภาพจิตเด็กขององค์การอนามัยโลก พบว่า สตรีทั่วไปเจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ประมาณ 5% ขณะที่ สตรีตั้งครรภ์มีความเจ็บป่วยด้วยโรคเดียวกันนี้ 8-10% และอาจสูงถึง 13% ภายหลังที่คลอดแล้ว นอกจากนี้ พบว่า ในประเทศไทย อัตราการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ/ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ยังมีน้อย เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญามีการเข้าถึงเพียง 33,592 คน หรือประมาณ 5.23% และเป็นเด็กออทิสติก 7,212 คน หรือประมาณ 12.02% ของประชากรเด็ก ดังนั้น สตรีและเด็กจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งการ ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า จากแนวคิด โครงการ “Every Woman Every Child” ของสหประชาชาติ ที่เห็นถึงความจำเป็นในการดูแลเด็กและสตรี โดยให้ความสำคัญตั้งแต่การมีครรภ์คุณภาพ เพื่อให้สตรีมีความพร้อมที่จะเลี้ยงดูลูกให้เติบโตตามวัยกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการสร้างรูปแบบและระบบการดูแลสุขภาพเด็กและสตรีขึ้น ในรูปแบบ ชุดสุขภาพ (Health Care Package) ซึ่งเป็นการจัดบริการให้แต่ละกลุ่มวัย ทั้งบริการพื้นฐานทั่วไป และบริการส่วนที่มีปัญหา เพื่อกำหนดเป้าหมาย “สุขภาพดี” ให้เป็นรูปธรรม ในกลุ่มอายุ 0-6 ปี ดูแลหญิงตั้งครรภ์ และพัฒนาเด็กให้สมวัย นายแพทย์ชลน่านกล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดบริการ ประกอบด้วย 1.ชุดสุขภาพพื้นฐาน (Basic Health Package) ดูแลกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในคลินิก และเด็กที่มารับบริการตรวจพัฒนาการ โดยกรมสุขภาพจิตดำเนินงานร่วมกับกรมอนามัย จัดทำแบบประเมินความเครียดและภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ขณะที่เด็กที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะประเมินพัฒนาการด้วยแบบประเมินอนามัย 55 กรณีมีพัฒนาการสมวัยจะให้คำแนะนำผู้เลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย กรณีมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจะให้คำแนะนำผู้เลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการในทักษะที่เด็กทำไม่ได้ ด้วยคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง เป็นเวลา 1 เดือน แล้วนัดมาประเมินซ้ำและ 2. ชุดสุขภาพเฉพาะ (Sub package) ให้การดูแลเด็กและสตรีกลุ่มเสี่ยง กรณีเด็กมีปัญหาพัฒนาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะประเมินพัฒนาการเด็กและแก้ไข โดยใช้คู่มือประเมินและแก้ไขพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มแม่วัยรุ่นที่มีปัญหา กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานคลินิกให้การดูแลทางสังคมจิตใจ (Psychosocial Clinic) ในโรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข สามารถให้คำปรึกษากลุ่มแม่วัยรุ่นที่มีปัญหาได้ พร้อมทั้งให้การดูแลเด็กและสตรีกลุ่มที่ป่วย กรณีเด็กมีปัญหาพัฒนาการยุ่งยากซับซ้อน เจ้าหน้าที่ใน โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)จะส่งต่อให้รับบริการที่ โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) หรือ โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) โดยกระทรวงสาธารณสุขพัฒนามาตรฐานการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก สำหรับเครือข่ายบริการสุขภาพ 12 เขตบริการ จัดบริการเด็กที่ป่วยด้วย 4 โรคหลัก ประกอบด้วย ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ออทิสติก สมาธิสั้น และเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใน รพศ.ทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2557 จะขยายบริการไปถึงระดับ รพช.ส่วนเด็กกลุ่มโรคจิตเวชจะได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลในโรงพยาบาลจิตเวชต่อ ไป การดำเนินการดังกล่าวจะมีการขยายผลไปจนสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เพื่อให้เด็กไทย มีระดับสติปัญญา หรือ IQ=100 มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ รวมทั้ง เด็กออทิสติกและสมาธิสั้น สามารถเข้าถึงบริการได้ ร้อยละ 25 นายแพทย์ชลน่าน กล่าว ด้านนายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเสริมว่า กรมสุขภาพจิต ได้พยายามคิดหาวิธีที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมทั้ง ค้นคว้าหาแนวทางที่จะส่งเสริมคุณภาพและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ให้มีพัฒนาการสมวัยรอบด้าน โดยได้บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับกรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการดูแลสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจเด็กปฐมวัย ตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ โดยให้หญิงตั้งครรภ์มีการเฝ้าระวังภาวะเครียด ซึมเศร้า และการดื่มสุรา เนื่องจาก ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีปัญหาดังกล่าวแล้วจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทั้งนี้ จะได้รับการประเมินภาวะเครียด ซึมเศร้า และการดื่มสุราทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ตามมาตรฐานการฝากครรภ์คุณภาพ จำนวน 5ครั้ง พร้อมทั้ง ได้จัดทำคู่มือ “ครรภ์คุณภาพ : คู่มือการดูแลจิตใจตนเองสำหรับสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด” ที่ดำเนินการร่วมกับกรมอนามัย ซึ่งได้เพิ่มเรื่องซึมเศร้าและสุราเข้าไปด้วย นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กจะได้รับการเฝ้าระวังด้านพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ โดยครูศูนย์เด็กเล็กจะประเมินพัฒนาการเด็กภาคเรียนละ 1ครั้ง และประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็ก ปีละ 1ครั้ง ถ้าเด็กมีปัญหาพัฒนาการจะส่งต่อหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านเพื่อให้การ ช่วยเหลือตามระบบต่อไป ส่วนครูศูนย์เด็กเล็กจะต้องมีการประเมินความเครียดด้วยตนเองปีละ 1ครั้ง เนื่องจากการดูแลเด็กเล็กเป็นเรื่องสำคัญ ละเอียดอ่อน ครูผู้ดูแลจึงต้องมีสภาพจิตใจที่พร้อมจะปฏิบัติงานเพื่อให้เด็กทุกคนได้รับ การพัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพ นายแพทย์วชิระ กล่าวอีกว่า ในเรื่อง Happy family จะเน้นการดูแลพัฒนาการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่แนวโน้มพัฒนาการไม่สมวัยหรือมีความเสี่ยง ซึ่งล่าสุด กรมสุขภาพจิต โดย สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 United Nations Public Service Awards 2013จากสหประชาชาติ ประเภทรางวัล การพัฒนาการให้บริการประชาชน จากผลงาน “Child First-Work Together (CF-WT)” ที่มีจุดมุ่งหมายให้เด็กได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการสมวัยอย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่องโดยการพัฒนากระบวนการคัดกรอง ประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐาน พัฒนาคน พัฒนาการสื่อสาร ความร่วมมือ ระบบ และนโยบาย จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เด็กไทยได้รับการคัดกรอง ซึ่งทุกคนสามารถช่วยกันได้ ทั้ง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพราะการค้นพบที่เร็วจะช่วยทำให้มีการวางแผนและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้ เร็วและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น ช่วยลดภาระครอบครัว สังคม ชุมชน ตลอดจนค่าใช้จ่าย ที่สำคัญ เด็กจะมีพัฒนาการสมวัย สามารถเรียนรู้ พัฒนา ทั้งด้านร่างกาย และสติปัญญา เป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป ทั้งนี้ จะเดินทางไปรับรางวัล โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ ประเทศบาห์เรน ในวันที่ 27มิถุนายน 2556 ด้านการพัฒนาสุขภาพจิตในวัยเรียน-วัยรุ่น กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ และพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ให้มีการจัดบริการสุขภาพจิตและบริการให้คำปรึกษา อีกทั้ง ในครึ่งปีหลังของปี 2556จะเชื่อมโยงเทคโนโลยีแต่ละกรมที่เกี่ยวข้อง พิจารณา Gap โดยเฉพาะปัญหาทางเพศของวัยรุ่น (Sexual Health) เพื่อผลักดันให้เกิดการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนกำหนดนโยบายให้มีความร่วมมือในระดับพื้นที่ ซึ่งการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จะมุ่งไปที่อุปกรณ์การป้องกันการตั้งครรภ์ที่หาง่าย และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาที่ตามมาภายหลังการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากวัยรุ่นตั้งครรภ์แล้ว จะมีแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กที่คลอดออกมามีคุณภาพด้วย รวมทั้ง ร่วมมือและเกาะติดปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนแม่บทที่เป็นวาระแห่งชาติ 4เรื่องหลัก
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)