สร้างพลังสังคมอีกมิติ ‘ฟื้นฟูถึงจิตใจ’ หยุดคดีเด็กหน้าเดิมๆ
การกระทำความผิดในเด็กและเยาวชน ถือเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ การที่เด็กและเยาวชนกระทำผิดตั้งแต่อายุยังน้อย หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นปัญหา และเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในอนาคต ...นี่เป็นการระบุของ นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลมนารมย์ และนี่ก็นำสู่การ ’เสริมสร้างพลังใจเพื่อสังคม“โครงการที่ฝ่ายแพทย์ร่วมมือกับฝ่ายกฎหมาย
ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตที่เปิดดำเนินการมา 7 ปี โรงพยาบาลมนารมย์ ได้ร่วมกับ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กระทรวงยุติธรรม จัดทำโครงการ ดำเนินกิจกรรม “เสริมสร้างพลังใจเพื่อสังคม” ซึ่งหลักใหญ่ใจความเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ และจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางใจของเด็ก เยาวชน และครอบครัว การแก้ปัญหาวัยรุ่น แก้ภาวะสมองติดยา และการจัดกิจกรรมทักษะเชิงจิตวิทยา ให้แก่ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กที่เข้ารับการพิจารณา คดีในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาและจิตเวชศาสตร์ในการดูแลบำบัดช่วยเหลือเด็ก และเยาวชนที่กระทำความผิดไม่ให้กระทำความผิดซ้ำให้สามารถกลับมาเป็นคนดีของสังคมได้
“การจัดการอบรม และการจัดสัมมนา จะมุ่งเน้น ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ และการเจ็บป่วยทางสมองต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการกระทำผิดในเด็กและเยาวชน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจปัจจัยด้านจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำผิด เช่น ใช้ยาเสพติด ซึ่ง ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดแนวทาง บำบัด รักษา เยียวยา เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ และสามารถช่วยให้กลับมาเป็นคนดีของสังคมได้” ...นพ.ไกรสิทธิ์ระบุ
ขณะที่ พญ.วรลักษณา ธีราโมกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายคลินิก โรงพยาบาลมนารมย์ บอกว่า... โครงการนี้เป็นการให้ความเข้าใจในอีกมิติหนึ่งของมนุษย์ โดยบางครั้งการกระทำผิดเกิดจากจิตใจ หรือสมอง ซึ่งหากท่านผู้พิพากษาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนทำผิดเพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ขาดโอกาสทางสังคม หรือมีความบกพร่องในบางประการ กฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วก็ให้โอกาสบำบัดเยียวยา เพื่อจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้นของสังคม
ทั้งนี้ กล่าวสำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้น หลัก ๆ คือพระราชบัญญัติศาลเยาวชน และครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งได้มีการปรับปรุงวิธีการพิจารณาคดีโดยมุ่งเน้นการหาปัจจัยที่ทำให้เด็ก หรือเยาวชนกระทำความผิด และดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ตัวเด็ก โดยเน้นการบำบัดฟื้นฟูเด็กให้ประพฤติตนในทางที่ถูกต้องมากกว่าวิธีการลงโทษ ซึ่งมีระบบให้คำปรึกษาเป็นกลไกสำคัญ
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ระบุว่า... กระบวนการยุติธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางนั้น เมื่อเด็กกระทำผิด ด้วยความที่เขาเป็นเด็ก หากตัดสินเขาเป็นอาชญากรก็จะเป็นปัญหาสังคม ต้องพยายามแก้ไขฟื้นฟูให้เขากลับตัวเป็นคนดี เป็นพลังช่วยเหลือสังคมต่อไป จะไม่เน้นการลงโทษ หากไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงมากก็จะมีระบบให้คำปรึกษาแนะนำ พยายามค้นหาสาเหตุของการกระทำความผิด ค้นหาว่าควรจะแก้ไขไปในทางใด ค้นหาสิ่งดี ๆ ในตัวเด็ก แล้วสนับสนุนความดีงามให้เกิดขึ้นในจิตใจเขา โดยเมื่อให้คำปรึกษาแล้วเสร็จก็จะส่งเข้าสู่กิจกรรมบำบัดพฤติกรรมต่างๆ
ในส่วนของกิจกรรมบำบัดนั้นก็มีหลายรูปแบบที่ทำอยู่ เช่น กิจกรรมทางศาสนา บรรพชาเป็นสามเณร ส่งไปปฏิบัติธรรม หรืออบรมในค่ายคุณธรรมจริยธรรม หากดื้อหน่อย เกเร ไม่ค่อยเชื่อฟัง ก็ส่งให้ค่ายทหารช่วยอบรม หากอยากเรียน อยากฝึกอาชีพ ก็ส่งไปเรียนกับ กศน. หรือฝึกอาชีพ ซึ่งมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนฯ ระบุอีกว่า... เด็กที่กระทำความผิดส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากด้านจิตใจ ดังนั้นการที่ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีองค์ความรู้ที่ถูกต้องในเชิงจิตเวช จึงมีความสำคัญ แม้จะไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาเองทั้งหมด แต่ก็เป็นผู้คัดกรองเบื้องต้นเพื่อส่งเข้าบำบัดดูแลต่อไป
“ศาลเยาวชนฯ และโรงพยาบาลมนารมย์จะร่วมมือกันด้านองค์ความรู้ สนับสนุนระบบให้คำปรึกษาที่มีอยู่ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งปัจจุบันเรามีนักจิตวิทยาประจำศาลทั่วประเทศเพียง 50 คนเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรับมือคดีเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นได้ การร่วมกันทำงานครั้งนี้จะช่วยให้ คัดกรองเด็กได้ดีขึ้น ระบุสาเหตุการทำความผิดได้ถูกต้องมากขึ้น อันจะนำสู่การแก้ไขอย่างถูกวิธีที่ต้นเหตุอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราการกระทำผิดซ้ำลดลง และเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่าลงโทษ” ...ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ ระบุ
นี่ก็นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องดีที่น่าสนใจน่าติดตามกับความพยายาม ’ฟื้นฟูถึงจิตใจเด็กที่ก่อคดี“เพื่อช่วยเด็ก-หยุดคดีที่เกิดจากเด็กหน้าเดิม!!!.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/217470 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
งานสัมมนาโครงการ ดำเนินกิจกรรม “เสริมสร้างพลังใจเพื่อสังคม” ซึ่งหลักใหญ่ใจความเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ และจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การกระทำความผิดในเด็กและเยาวชน ถือเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ การที่เด็กและเยาวชนกระทำผิดตั้งแต่อายุยังน้อย หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นปัญหา และเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในอนาคต ...นี่เป็นการระบุของ นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย กรรมการผู้จัดการโรงพยาบาลมนารมย์ และนี่ก็นำสู่การ ’เสริมสร้างพลังใจเพื่อสังคม“โครงการที่ฝ่ายแพทย์ร่วมมือกับฝ่ายกฎหมาย ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตที่เปิดดำเนินการมา 7 ปี โรงพยาบาลมนารมย์ ได้ร่วมกับ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กระทรวงยุติธรรม จัดทำโครงการ ดำเนินกิจกรรม “เสริมสร้างพลังใจเพื่อสังคม” ซึ่งหลักใหญ่ใจความเป็นการจัดอบรมให้ความรู้ และจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางใจของเด็ก เยาวชน และครอบครัว การแก้ปัญหาวัยรุ่น แก้ภาวะสมองติดยา และการจัดกิจกรรมทักษะเชิงจิตวิทยา ให้แก่ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเด็กที่เข้ารับการพิจารณา คดีในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาและจิตเวชศาสตร์ในการดูแลบำบัดช่วยเหลือเด็ก และเยาวชนที่กระทำความผิดไม่ให้กระทำความผิดซ้ำให้สามารถกลับมาเป็นคนดีของสังคมได้ “การจัดการอบรม และการจัดสัมมนา จะมุ่งเน้น ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาความเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ และการเจ็บป่วยทางสมองต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการกระทำผิดในเด็กและเยาวชน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจปัจจัยด้านจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำผิด เช่น ใช้ยาเสพติด ซึ่ง ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดแนวทาง บำบัด รักษา เยียวยา เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ และสามารถช่วยให้กลับมาเป็นคนดีของสังคมได้” ...นพ.ไกรสิทธิ์ระบุ ขณะที่ พญ.วรลักษณา ธีราโมกข์ ผู้อำนวยการฝ่ายคลินิก โรงพยาบาลมนารมย์ บอกว่า... โครงการนี้เป็นการให้ความเข้าใจในอีกมิติหนึ่งของมนุษย์ โดยบางครั้งการกระทำผิดเกิดจากจิตใจ หรือสมอง ซึ่งหากท่านผู้พิพากษาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนทำผิดเพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ขาดโอกาสทางสังคม หรือมีความบกพร่องในบางประการ กฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วก็ให้โอกาสบำบัดเยียวยา เพื่อจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้นของสังคม ทั้งนี้ กล่าวสำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้น หลัก ๆ คือพระราชบัญญัติศาลเยาวชน และครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งได้มีการปรับปรุงวิธีการพิจารณาคดีโดยมุ่งเน้นการหาปัจจัยที่ทำให้เด็ก หรือเยาวชนกระทำความผิด และดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ตัวเด็ก โดยเน้นการบำบัดฟื้นฟูเด็กให้ประพฤติตนในทางที่ถูกต้องมากกว่าวิธีการลงโทษ ซึ่งมีระบบให้คำปรึกษาเป็นกลไกสำคัญ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ระบุว่า... กระบวนการยุติธรรมของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางนั้น เมื่อเด็กกระทำผิด ด้วยความที่เขาเป็นเด็ก หากตัดสินเขาเป็นอาชญากรก็จะเป็นปัญหาสังคม ต้องพยายามแก้ไขฟื้นฟูให้เขากลับตัวเป็นคนดี เป็นพลังช่วยเหลือสังคมต่อไป จะไม่เน้นการลงโทษ หากไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงมากก็จะมีระบบให้คำปรึกษาแนะนำ พยายามค้นหาสาเหตุของการกระทำความผิด ค้นหาว่าควรจะแก้ไขไปในทางใด ค้นหาสิ่งดี ๆ ในตัวเด็ก แล้วสนับสนุนความดีงามให้เกิดขึ้นในจิตใจเขา โดยเมื่อให้คำปรึกษาแล้วเสร็จก็จะส่งเข้าสู่กิจกรรมบำบัดพฤติกรรมต่างๆ ในส่วนของกิจกรรมบำบัดนั้นก็มีหลายรูปแบบที่ทำอยู่ เช่น กิจกรรมทางศาสนา บรรพชาเป็นสามเณร ส่งไปปฏิบัติธรรม หรืออบรมในค่ายคุณธรรมจริยธรรม หากดื้อหน่อย เกเร ไม่ค่อยเชื่อฟัง ก็ส่งให้ค่ายทหารช่วยอบรม หากอยากเรียน อยากฝึกอาชีพ ก็ส่งไปเรียนกับ กศน. หรือฝึกอาชีพ ซึ่งมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนฯ ระบุอีกว่า... เด็กที่กระทำความผิดส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากด้านจิตใจ ดังนั้นการที่ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีองค์ความรู้ที่ถูกต้องในเชิงจิตเวช จึงมีความสำคัญ แม้จะไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาเองทั้งหมด แต่ก็เป็นผู้คัดกรองเบื้องต้นเพื่อส่งเข้าบำบัดดูแลต่อไป “ศาลเยาวชนฯ และโรงพยาบาลมนารมย์จะร่วมมือกันด้านองค์ความรู้ สนับสนุนระบบให้คำปรึกษาที่มีอยู่ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งปัจจุบันเรามีนักจิตวิทยาประจำศาลทั่วประเทศเพียง 50 คนเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรับมือคดีเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นได้ การร่วมกันทำงานครั้งนี้จะช่วยให้ คัดกรองเด็กได้ดีขึ้น ระบุสาเหตุการทำความผิดได้ถูกต้องมากขึ้น อันจะนำสู่การแก้ไขอย่างถูกวิธีที่ต้นเหตุอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราการกระทำผิดซ้ำลดลง และเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่าลงโทษ” ...ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ ระบุ นี่ก็นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องดีที่น่าสนใจน่าติดตามกับความพยายาม ’ฟื้นฟูถึงจิตใจเด็กที่ก่อคดี“เพื่อช่วยเด็ก-หยุดคดีที่เกิดจากเด็กหน้าเดิม!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/217470
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)