"นุจรีย์"มิสวีลแชร์ 2013 อนาคตยังมีด้วย 1 สมอง 2 มือ
"เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ที่เราต้องมาประสบอุบัติเหตุ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราก็ต้องมั่นใจในตัวเอง เห็นค่าในตัวเองและคิดว่าเราเองก็มี 1 สมอง และ 2 มือ ในการจะก้าวเดินต่อไปอย่างประสบความสำเร็จ อย่าคิดว่าชีวิตไม่มีอนาคตแล้วเราก็จะกลับมาเป็นคนเดิมที่ทำอะไรเพื่อสังคมได้เอง" เสียงจาก จอย-นางสาวนุจรีย์ จันทร์ทอง มิสวีลแชร์ ไทยแลนด์ คนล่าสุด สาว กทม.คนนี้ หากมองเผินๆ แล้วคงจะไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคมาปฏิเสธว่าสาวตาคม ผมยาว ผิวแทน รูปร่างดีคนนี้ แตกต่างจากผู้หญิงคนอื่นจนกระทั่งได้รู้ว่าเธอคือมิสวีลแชร์ที่ไม่สามารถเดินได้ตลอดชีวิต
เธอคนนี้ คือสาวผู้ไม่ยอมแพ้ที่เอาชนะใจกรรมการและกองเชียร์ด้วยความสดใส มั่นใจ และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังความคิดบวก ทำให้เฉือนชนะ ธันย์-นางสาวณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ สาวน้อยวัยมัธยมชั้นปีที่ 4 จากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย สาวคิดบวกที่ชีวิตพลิกผันเพราะประสบอุบัติเหตุรถไฟฟ้าชนที่ประเทศสิงคโปร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 และ ปุ๊-นางสาวสุจิรัตน์ ปุกคำ นักกีฬาพาราลิมปิกแบดมินตันทีมชาติไทย รองชนะเลิศอันดับ 2 คว้าตำแหน่งผู้หญิงที่สวยทั้งภายนอกและภายในไปได้ ณ ห้างสรรพสินค้า พาราไดซ์ พาร์ค
ชีวิตของจอย เริ่มต้นไม่ต่างจากคนอื่น หลังจากจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาอังกฤษธุรกิจ ม.เทคโนโลยีราชมงคลแล้ว เธอก็สานต่ออาชีพด้วยการเป็นพนักงานต้อนรับในโรงแรมเลอบัว แอท สเตท ทาวเวอร์ ทำให้ได้ติดต่อประสานงานกับผู้คนมากมาย และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ไม่ยาก ก่อนที่เมื่อ 3 ปีที่แล้วชีวิตของเธอจะต้องพลิกผันที่เกาะพะงัน
"3 ปีที่แล้ว จอยอยากพาน้องสาวที่เพิ่งเรียนจบไปฉลองกัน เลยไปเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขี่ แต่ช่วงที่กำลังขี่รถลงเขาด้วยความเร็ว เบรกของมอเตอร์ไซค์กลับใช้ไม่ได้ เราทั้งคู่เสียหลักพุ่งเข้าข้างทาง กระดูกสันหลังหัก ทับเส้นประสาทเส้นไขสันหลัง ทำให้จอยรู้ตัวว่าจะเดินไม่ได้ตลอดชีวิต ชีวิตเปลี่ยนไปทันที" เมื่อรู้ตัวว่าขาทั้งสองเป็นอัมพาต หลายคนคงจะมีอาการช็อก และเสียใจ แต่ไม่ใช่กับจอยเพราะเธอเลือกใช้ประสบการณ์และทัศนคติดีๆที่ได้รับจากคนอื่นมาปรับใช้กับตัวเอง
"จอยโชคดีที่ทำงานโรงแรม และเคยต้อนรับแขกนั่งวีลแชร์คนหนึ่ง ที่พูดกับจอยว่าเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ ไม่เป็นภาระของใคร และมีความสุข ซึ่งจอยก็เคยช่วยเหลือเขา เมื่อประสบอุบัติเหตุวูบแรก ก็คิดถึงเขา ไม่ทันได้เสียใจ ก็บอกกับเพื่อนๆ ว่าเดินไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะยังมี 1 สมอง 2 มือ ฉันจะทำให้ได้" หลังจากนั้น จอยก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นจริงๆ ว่าเธอทำได้ สาววัย 32 ปี เผยว่า เธอแค่เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ อย่างงดดำน้ำ ว่ายน้ำ ท่องเที่ยว กิจกรรมโปรดเท่านั้น แต่นอกนั้นเธอก็พยายามใช้ชีวิตเหมือนเดิม รวมทั้งที่ทำงานก็ยังให้โอกาสเธอทำงานต่อโดยเปลี่ยนมาทำในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงาน
ที่สำคัญคือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าเธอเองมีครอบครัวที่รักเธอมากที่สุด รวมถึงดีใจที่ได้กลับมาใกล้ชิดครอบครัวมากขึ้น และที่ก้าวออกมายืนหยัดบนเวทีนี้ ก็เพื่อให้สังคมเข้าใจคนพิการมากขึ้น "ตอนแรกอาย ไม่กล้าเข้ามาประกวด แต่เจ้านายแนะว่า เป็นคนมีประสบการณ์ มีดี และสามารถนำศักยภาพคนพิการไปบอกโลกได้เลยตัดสินใจว่าจะชนะหรือไม่ไม่สำคัญขอแค่โอกาสให้ได้พูดสื่อสารออกไปได้เท่านั้นก็พอ"
เมื่อเธอก้าวขึ้นมาอยู่ในจุดๆ นี้แล้ว สิ่งที่เธออยากจะเรียกร้องเพื่อเพื่อนคนพิการ ก็คือ โอกาส "สิ่งหนึ่งที่อยากจะเรียกร้องคือโอกาส ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นการสมัครงานคนพิการที่จอยเคยเห็นเปิดโอกาสน้อยมาก บริษัททั้งหลายคิดว่าถ้ารับคนนั่งวีลแชร์มา อาจต้องสร้างห้องน้ำใหม่ สร้างทางเดินใหม่ มันไม่ค่อยเท่าเทียม อยากให้องค์กรต่างๆ เปิดโอกาสมากขึ้นสักนิด เพราะจอยเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นคนพิการประเภทใด ทุกคนมีความสามารถในแต่ละแบบของตัวเอง และเชื่อว่าความพิการเหล่านั้นไม่ได้มาเป็นอุปสรรคในชีวิตเขาที่จะให้เขา ดำเนินต่อไปได้ เพียงแต่ขอให้สังคมเปิดโอกาสเท่านั้นเอง" เธอ...ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต และวันนี้ เธอ...ทำให้ทุกคนรู้ว่า ชัยชนะเกิดจาก 1 สมอง 2 มืออย่างแท้จริง
มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
3 สาวผู้ชนะการประกวดมิสวีลแชร์ 2013 "เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ที่เราต้องมาประสบอุบัติเหตุ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราก็ต้องมั่นใจในตัวเอง เห็นค่าในตัวเองและคิดว่าเราเองก็มี 1 สมอง และ 2 มือ ในการจะก้าวเดินต่อไปอย่างประสบความสำเร็จ อย่าคิดว่าชีวิตไม่มีอนาคตแล้วเราก็จะกลับมาเป็นคนเดิมที่ทำอะไรเพื่อสังคมได้เอง" เสียงจาก จอย-นางสาวนุจรีย์ จันทร์ทอง มิสวีลแชร์ ไทยแลนด์ คนล่าสุด สาว กทม.คนนี้ หากมองเผินๆ แล้วคงจะไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคมาปฏิเสธว่าสาวตาคม ผมยาว ผิวแทน รูปร่างดีคนนี้ แตกต่างจากผู้หญิงคนอื่นจนกระทั่งได้รู้ว่าเธอคือมิสวีลแชร์ที่ไม่สามารถเดินได้ตลอดชีวิต เธอคนนี้ คือสาวผู้ไม่ยอมแพ้ที่เอาชนะใจกรรมการและกองเชียร์ด้วยความสดใส มั่นใจ และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังความคิดบวก ทำให้เฉือนชนะ ธันย์-นางสาวณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ สาวน้อยวัยมัธยมชั้นปีที่ 4 จากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย สาวคิดบวกที่ชีวิตพลิกผันเพราะประสบอุบัติเหตุรถไฟฟ้าชนที่ประเทศสิงคโปร์ รองชนะเลิศอันดับ 1 และ ปุ๊-นางสาวสุจิรัตน์ ปุกคำ นักกีฬาพาราลิมปิกแบดมินตันทีมชาติไทย รองชนะเลิศอันดับ 2 คว้าตำแหน่งผู้หญิงที่สวยทั้งภายนอกและภายในไปได้ ณ ห้างสรรพสินค้า พาราไดซ์ พาร์ค ชีวิตของจอย เริ่มต้นไม่ต่างจากคนอื่น หลังจากจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาอังกฤษธุรกิจ ม.เทคโนโลยีราชมงคลแล้ว เธอก็สานต่ออาชีพด้วยการเป็นพนักงานต้อนรับในโรงแรมเลอบัว แอท สเตท ทาวเวอร์ ทำให้ได้ติดต่อประสานงานกับผู้คนมากมาย และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ไม่ยาก ก่อนที่เมื่อ 3 ปีที่แล้วชีวิตของเธอจะต้องพลิกผันที่เกาะพะงัน "3 ปีที่แล้ว จอยอยากพาน้องสาวที่เพิ่งเรียนจบไปฉลองกัน เลยไปเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขี่ แต่ช่วงที่กำลังขี่รถลงเขาด้วยความเร็ว เบรกของมอเตอร์ไซค์กลับใช้ไม่ได้ เราทั้งคู่เสียหลักพุ่งเข้าข้างทาง กระดูกสันหลังหัก ทับเส้นประสาทเส้นไขสันหลัง ทำให้จอยรู้ตัวว่าจะเดินไม่ได้ตลอดชีวิต ชีวิตเปลี่ยนไปทันที" เมื่อรู้ตัวว่าขาทั้งสองเป็นอัมพาต หลายคนคงจะมีอาการช็อก และเสียใจ แต่ไม่ใช่กับจอยเพราะเธอเลือกใช้ประสบการณ์และทัศนคติดีๆที่ได้รับจากคนอื่นมาปรับใช้กับตัวเอง "จอยโชคดีที่ทำงานโรงแรม และเคยต้อนรับแขกนั่งวีลแชร์คนหนึ่ง ที่พูดกับจอยว่าเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ ไม่เป็นภาระของใคร และมีความสุข ซึ่งจอยก็เคยช่วยเหลือเขา เมื่อประสบอุบัติเหตุวูบแรก ก็คิดถึงเขา ไม่ทันได้เสียใจ ก็บอกกับเพื่อนๆ ว่าเดินไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะยังมี 1 สมอง 2 มือ ฉันจะทำให้ได้" หลังจากนั้น จอยก็พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นจริงๆ ว่าเธอทำได้ สาววัย 32 ปี เผยว่า เธอแค่เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ อย่างงดดำน้ำ ว่ายน้ำ ท่องเที่ยว กิจกรรมโปรดเท่านั้น แต่นอกนั้นเธอก็พยายามใช้ชีวิตเหมือนเดิม รวมทั้งที่ทำงานก็ยังให้โอกาสเธอทำงานต่อโดยเปลี่ยนมาทำในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงาน ที่สำคัญคือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่าเธอเองมีครอบครัวที่รักเธอมากที่สุด รวมถึงดีใจที่ได้กลับมาใกล้ชิดครอบครัวมากขึ้น และที่ก้าวออกมายืนหยัดบนเวทีนี้ ก็เพื่อให้สังคมเข้าใจคนพิการมากขึ้น "ตอนแรกอาย ไม่กล้าเข้ามาประกวด แต่เจ้านายแนะว่า เป็นคนมีประสบการณ์ มีดี และสามารถนำศักยภาพคนพิการไปบอกโลกได้เลยตัดสินใจว่าจะชนะหรือไม่ไม่สำคัญขอแค่โอกาสให้ได้พูดสื่อสารออกไปได้เท่านั้นก็พอ" เมื่อเธอก้าวขึ้นมาอยู่ในจุดๆ นี้แล้ว สิ่งที่เธออยากจะเรียกร้องเพื่อเพื่อนคนพิการ ก็คือ โอกาส "สิ่งหนึ่งที่อยากจะเรียกร้องคือโอกาส ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นการสมัครงานคนพิการที่จอยเคยเห็นเปิดโอกาสน้อยมาก บริษัททั้งหลายคิดว่าถ้ารับคนนั่งวีลแชร์มา อาจต้องสร้างห้องน้ำใหม่ สร้างทางเดินใหม่ มันไม่ค่อยเท่าเทียม อยากให้องค์กรต่างๆ เปิดโอกาสมากขึ้นสักนิด เพราะจอยเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นคนพิการประเภทใด ทุกคนมีความสามารถในแต่ละแบบของตัวเอง และเชื่อว่าความพิการเหล่านั้นไม่ได้มาเป็นอุปสรรคในชีวิตเขาที่จะให้เขา ดำเนินต่อไปได้ เพียงแต่ขอให้สังคมเปิดโอกาสเท่านั้นเอง" เธอ...ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต และวันนี้ เธอ...ทำให้ทุกคนรู้ว่า ชัยชนะเกิดจาก 1 สมอง 2 มืออย่างแท้จริง ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374640883&grpid=03&catid=&subcatid= มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)