ม.นเรศวร วิจัยต้นทุนเด็กด้อยโอกาส..เด็กพิการในระบบการศึกษา
เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ซึ่งดำเนินงานวิจัย “โครงการวิจัยเชิงระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปหลักประกันโอกาสทางการศึกษาเพื่อเด็กโอกาสนอกระบบ และกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา” ได้จัดการประชุมให้ความเห็นแก่ผลการศึกษาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนราย กิจกรรม เพื่อการดูแลเด็กด้อยโอกาสนอกระบบและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา ณ โรงแรมพาเลซ โดยมีผู้เข้าร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านเด็กและเด็กพิการทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานพัฒนามนุษย์และสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (พมจ.) มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์เมอร์ซี คลองเตย และมูลนิธิพัฒนาคนพิการ รวมประมาณ ๘๐ คน
ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ได้กล่าวว่า โครงการวิจัยฯ ประกอบด้วยการศึกษาชุดสวัสดิการ การวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายรายหัว การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสนับสนุน และช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสนอกระบบและกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ได้แก่ ๑)เพื่อศึกษาชุดสวัสดิการการพื้นฐานสำหรับเด็กด้อยโอกาสแต่ละกลุ่ม ๒)เพื่อสำรวจข้อมูลค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กด้อยโอกาสตามชุดสวัสดิการในข้อ๑ และ๓)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนต่อผลผลิตของเด็กด้อยโอกาสแต่ละกลุ่มทั้ง ในมุมมองของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ซึ่งขณะนี้กำลังจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ในการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุง รายงานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระดับพื้นที่และในระดับชาติ โดย แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ๑)ส่วนกลุ่มเด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ๒)ส่วนกลุ่มด้อยโอกาสทางสุขภาพ ๓)ส่วนกลุ่มเด็กเสี่ยง และ๔)ส่วนการนำเสนอผลการวิเคราะห์
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา ตามเป้าหมายของนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองภายใต้หลักการ มีประสิทธิภาพ เสมอภาค และยุติธรรม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กนักเรียนด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กพิการ ยากจน ห่างไกล และไร้สัญชาติ ซึ่งได้เลือกพื้นที่ที่มีความโดดเด่นของ ปัญหาและสามารถเข้าถึงข้อมูลเด็กด้อยโอกาสนอกระบบ และเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาได้ โดยมี ๕ จังหวัด ได้แก่ ๑)จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศึกกลุ่มเด็กพิการ เด็กยากจน ห่างไกลและไร้สัญชาติ ๒)จังหวัดพิษณุโลก ศึกษากลุ่มแม่วัยรุ่น เด็กติดยาและเด็กกระทำความผิด ๓)จังหวัดอุดรธานี ศึกษาเด็กเร่ร่อนและเด็กกำพร้า ๔)สมุทรปราการ ศึกษาเด็กลูกแรงงานต่างด้าว เด็กก่อสร้าง เด็กถูกบังคับค้าแรงงานและเด็กถูกค้าประเวณี และ๕)จังหวัดปัตตานี ศึกษาเด็กติดเชื้อเอสไอวี เด็กกำพร้าใน ๓ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ซึ่งเป็นประธานการประชุมฯในภาคบ่าย กล่าวว่า การศึกษาต้นทุน ต้องให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ รวมถึงการสูญเสียโอกาสของครอบครัว การขาดรายได้ การพัฒนารูปแบบ/ระบบการศึกษาต้องมุ่งเน้นให้เด็กทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้จริง โดยต้องมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง การศึกษาบทเรียนการจัดสวัสดิการ/ระบบสวัสดิการจากทางด้านสาธารณสุข หรือจากส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ การพัฒนาระบบต่างๆ ต้องคำนึงถึงคนเป็นหลัก ไม่ใช่มุ่งแต่พัฒนาระบบการเงิน จนไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็ก โดยเฉพาะต้อง ให้สามารถเข้าถึงและใช้บริการได้จริง อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละคนแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์
ที่ประชุมได้มีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอต่อการศึกษาวิจัยฯ ใน ประเด็นต่างๆ เช่น ๑)การศึกษาต้นทุนต่อผลผลิตของเด็กด้อยโอกาสแต่ละกลุ่ม ควรพิจารณาลักษณะของกลุ่มเด็กด้วย เช่น เด็กพิการ ซึ่งมีประเภทและระดับความพิการที่แตกต่างกันหลากหลาย แต่ละระดับหรือแต่ละประเภทความพิการก็มีความต้องการแตกต่างกัน ต้นทุนก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้น การพิจารณาต้นทุนจึงควรให้ครอบคลุมในลักษณะและเงื่อนไขของกลุ่มเด็กด้อย โอกาสแต่ละกลุ่ม เช่น การไม่มีรายได้ของครอบครัว รวมถึงการศึกษาต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาของเด็กอย่างให้ครอบ คลุมทั้งในส่วนของการสำรวจค้นหา คัดกรองความพิการ การเตรียมความพร้อมและการจัดการศึกษา โดยครอบคลุมต้นทุนทางตรง เช่น ค่าตอบแทนบุคลากร ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าสื่อ-อุปกรณ์การเรียนการสอนและค่าครุภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ๒)รูปแบบการศึกษา ให้จัดหลากหลายรูปแบบโดยสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและ ตามสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กแต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการศึกษาได้จริง ๓)ควรเร่งแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กที่มีความยากจน และกลุ่มที่มีความยากจนและเป็นกลุ่มเด็กเสี่ยงต่างๆ เช่น เด็กยากจน เด็กยากจนและเป็นเด็กพิการ เด็กยากจนและติดยาเสพติด และเด็กเร่ร่อน เป็นต้น ๔) การจัดเงินอุดหนุนให้ กับหน่วยงานที่ให้บริการกับกลุ่มเด็กโดยตรง และการจัดเงินอุดหนุนในลักษณะติดตามผู้รับบริการ โดยให้ศึกษาจากระบบสวัสดิการต่างๆ เช่น ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการจัดเงินอุดหนุนที่ต้องครอบคลุมถึงความแตกต่างหลากหลายในสภาพปัญหา และระดับความรุนแรงของกลุ่มเด็กเสี่ยงต่างๆ ด้วย เช่น กรณีเด็กพิการที่มีระดับความรุนแรงของความพิการ การจัดสรรเงินหนุนยอมแตกต่างกัน เพราะมีค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกันตามระดับความพิการด้วย และ๕) การศึกษาวิจัยในอนาคต เพื่อพัฒนาต่อยอดการศึกษาในครั้งนี้ โดยศึกษาในประเด็นต่างๆ เช่น ๑)ต้นทุนมาตรฐานกลาง ซึ่งรวมถึงต้นทุนการเสียโอกาส ๒)การเข้าถึงบริการและโอกาสที่ได้รับการศึกษาของเด็กกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ๓)โครงสร้าง บทบาทและสมรรถนะการจัดการศึกษาของภาคส่วนต่างๆ ๔)ประสิทธิภาพผล การกำกับและติดตามการจัดการศึกษา ๕)การศึกษาต้นทุน รวมถึงขั้นตอนกระบวนการเข้าสู่ระบบการศึกษา ที่ครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจ/ค้นหากลุ่มเป้าหมาย การคัดกรอง การเตรียมความพร้อมสู่ระบบการศึกษาและการเข้าสู่ระบบการศึกษา ๖)การออกกลางคันของนักเรียนพิการ
(มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓ ส.ค.๕๖)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โลโก้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)และ. โลโก้ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ซึ่งดำเนินงานวิจัย “โครงการวิจัยเชิงระบบเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปหลักประกันโอกาสทางการศึกษาเพื่อเด็กโอกาสนอกระบบ และกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา” ได้จัดการประชุมให้ความเห็นแก่ผลการศึกษาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และต้นทุนราย กิจกรรม เพื่อการดูแลเด็กด้อยโอกาสนอกระบบและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา ณ โรงแรมพาเลซ โดยมีผู้เข้าร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านเด็กและเด็กพิการทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานพัฒนามนุษย์และสังคมจังหวัดอุบลราชธานี (พมจ.) มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ศูนย์เมอร์ซี คลองเตย และมูลนิธิพัฒนาคนพิการ รวมประมาณ ๘๐ คน ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย ศ.ดร.นพ.ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ได้กล่าวว่า โครงการวิจัยฯ ประกอบด้วยการศึกษาชุดสวัสดิการ การวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายรายหัว การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสนับสนุน และช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสนอกระบบและกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ได้แก่ ๑)เพื่อศึกษาชุดสวัสดิการการพื้นฐานสำหรับเด็กด้อยโอกาสแต่ละกลุ่ม ๒)เพื่อสำรวจข้อมูลค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กด้อยโอกาสตามชุดสวัสดิการในข้อ๑ และ๓)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนต่อผลผลิตของเด็กด้อยโอกาสแต่ละกลุ่มทั้ง ในมุมมองของผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ซึ่งขณะนี้กำลังจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ในการประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุง รายงานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระดับพื้นที่และในระดับชาติ โดย แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ๑)ส่วนกลุ่มเด็กด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ ๒)ส่วนกลุ่มด้อยโอกาสทางสุขภาพ ๓)ส่วนกลุ่มเด็กเสี่ยง และ๔)ส่วนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา ตามเป้าหมายของนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองภายใต้หลักการ มีประสิทธิภาพ เสมอภาค และยุติธรรม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กนักเรียนด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กพิการ ยากจน ห่างไกล และไร้สัญชาติ ซึ่งได้เลือกพื้นที่ที่มีความโดดเด่นของ ปัญหาและสามารถเข้าถึงข้อมูลเด็กด้อยโอกาสนอกระบบ และเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษาได้ โดยมี ๕ จังหวัด ได้แก่ ๑)จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศึกกลุ่มเด็กพิการ เด็กยากจน ห่างไกลและไร้สัญชาติ ๒)จังหวัดพิษณุโลก ศึกษากลุ่มแม่วัยรุ่น เด็กติดยาและเด็กกระทำความผิด ๓)จังหวัดอุดรธานี ศึกษาเด็กเร่ร่อนและเด็กกำพร้า ๔)สมุทรปราการ ศึกษาเด็กลูกแรงงานต่างด้าว เด็กก่อสร้าง เด็กถูกบังคับค้าแรงงานและเด็กถูกค้าประเวณี และ๕)จังหวัดปัตตานี ศึกษาเด็กติดเชื้อเอสไอวี เด็กกำพร้าใน ๓ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ซึ่งเป็นประธานการประชุมฯในภาคบ่าย กล่าวว่า การศึกษาต้นทุน ต้องให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ รวมถึงการสูญเสียโอกาสของครอบครัว การขาดรายได้ การพัฒนารูปแบบ/ระบบการศึกษาต้องมุ่งเน้นให้เด็กทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้บริการได้จริง โดยต้องมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง การศึกษาบทเรียนการจัดสวัสดิการ/ระบบสวัสดิการจากทางด้านสาธารณสุข หรือจากส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ การพัฒนาระบบต่างๆ ต้องคำนึงถึงคนเป็นหลัก ไม่ใช่มุ่งแต่พัฒนาระบบการเงิน จนไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็ก โดยเฉพาะต้อง ให้สามารถเข้าถึงและใช้บริการได้จริง อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมกับเด็กแต่ละคนแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ ที่ประชุมได้มีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอต่อการศึกษาวิจัยฯ ใน ประเด็นต่างๆ เช่น ๑)การศึกษาต้นทุนต่อผลผลิตของเด็กด้อยโอกาสแต่ละกลุ่ม ควรพิจารณาลักษณะของกลุ่มเด็กด้วย เช่น เด็กพิการ ซึ่งมีประเภทและระดับความพิการที่แตกต่างกันหลากหลาย แต่ละระดับหรือแต่ละประเภทความพิการก็มีความต้องการแตกต่างกัน ต้นทุนก็ย่อมแตกต่างกัน ดังนั้น การพิจารณาต้นทุนจึงควรให้ครอบคลุมในลักษณะและเงื่อนไขของกลุ่มเด็กด้อย โอกาสแต่ละกลุ่ม เช่น การไม่มีรายได้ของครอบครัว รวมถึงการศึกษาต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาของเด็กอย่างให้ครอบ คลุมทั้งในส่วนของการสำรวจค้นหา คัดกรองความพิการ การเตรียมความพร้อมและการจัดการศึกษา โดยครอบคลุมต้นทุนทางตรง เช่น ค่าตอบแทนบุคลากร ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าสื่อ-อุปกรณ์การเรียนการสอนและค่าครุภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น ๒)รูปแบบการศึกษา ให้จัดหลากหลายรูปแบบโดยสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและ ตามสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษาโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กแต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการศึกษาได้จริง ๓)ควรเร่งแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กที่มีความยากจน และกลุ่มที่มีความยากจนและเป็นกลุ่มเด็กเสี่ยงต่างๆ เช่น เด็กยากจน เด็กยากจนและเป็นเด็กพิการ เด็กยากจนและติดยาเสพติด และเด็กเร่ร่อน เป็นต้น ๔) การจัดเงินอุดหนุนให้ กับหน่วยงานที่ให้บริการกับกลุ่มเด็กโดยตรง และการจัดเงินอุดหนุนในลักษณะติดตามผู้รับบริการ โดยให้ศึกษาจากระบบสวัสดิการต่างๆ เช่น ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการจัดเงินอุดหนุนที่ต้องครอบคลุมถึงความแตกต่างหลากหลายในสภาพปัญหา และระดับความรุนแรงของกลุ่มเด็กเสี่ยงต่างๆ ด้วย เช่น กรณีเด็กพิการที่มีระดับความรุนแรงของความพิการ การจัดสรรเงินหนุนยอมแตกต่างกัน เพราะมีค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกันตามระดับความพิการด้วย และ๕) การศึกษาวิจัยในอนาคต เพื่อพัฒนาต่อยอดการศึกษาในครั้งนี้ โดยศึกษาในประเด็นต่างๆ เช่น ๑)ต้นทุนมาตรฐานกลาง ซึ่งรวมถึงต้นทุนการเสียโอกาส ๒)การเข้าถึงบริการและโอกาสที่ได้รับการศึกษาของเด็กกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ๓)โครงสร้าง บทบาทและสมรรถนะการจัดการศึกษาของภาคส่วนต่างๆ ๔)ประสิทธิภาพผล การกำกับและติดตามการจัดการศึกษา ๕)การศึกษาต้นทุน รวมถึงขั้นตอนกระบวนการเข้าสู่ระบบการศึกษา ที่ครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจ/ค้นหากลุ่มเป้าหมาย การคัดกรอง การเตรียมความพร้อมสู่ระบบการศึกษาและการเข้าสู่ระบบการศึกษา ๖)การออกกลางคันของนักเรียนพิการ (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓ ส.ค.๕๖)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)