กสธ.จัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและป้องกันความพิการ กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ และการป้องกันความพิการ โดยมีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ และโครงการหรือระบบงาน รวมทั้ง การกำกับ ติดตามประเมินผลระบบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ ตลอดจนการประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนและการดำเนินงานในหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้แทนจากทุกประเภทความพิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย รวมประมาณ ๓๐ คน
พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ได้กล่าวว่า เนื่องจากการดูแลสุขภาพด้านคนพิการนั้น ยังไม่มีการจัดทำเป็นแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นองค์รวม ดังนั้น จึงต้องทำแผนดูแลสุขภาพคนพิการระดับชาติ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิตรับผิดชอบหลักด้านการดูแลสุขภาพจิตของคนพิการ กรมการแพทย์โดยศูนย์สิรินธรฯดูแลรับผิดชอบหลักด้านความพิการทางการเคลื่อน ไหวหรือทางร่างกาย รวมถึงการบริการดูแลสุขภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท เช่น การจัดบริการฝึกอบรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนตาบอด และการสอนภาษามือให้คนหูหนวก เป็นต้น ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบให้โรงพยาบาลราชวิถี จัดตั้งคณะอนุกรรมการดูแลสุขภาพคนพิการทางการได้ยิน
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑)สถานการณ์ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพของคนพิการทุกประเภท และ๒)การพิจารณาประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พิจารณาต่อไป
นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาและสิ่งควรพิจารณาเพื่อจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนตาบอด มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการให้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ ๒๖ รายการ ตามสิทธิคนพิการด้านการฟืนฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ตามที่ระบุในพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเฉพาะ สิทธิใดที่ยังไม่ได้ให้บริการ หรือจัดบริการแล้วแต่คนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ หรือจัดบริการแล้วแต่ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง เป็นต้น ๒) การบริหารจัดการที่เป็นระบบและยั่งยืน พัฒนาโครงสร้างการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นระบบ ยั่งยืน และจัดให้มีนักวิชาชีพอย่างเพียงพอ และ๓)การมีส่วนร่วมของคนพิการ โดยทุกกระบวนการดำเนินงานของแผนฯ ควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมโดยตรง เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสุขภาพได้จริง
ส่วน พญ.ดารณี กล่าวว่า การป้องกันสายตาเลือนรางยังไม่ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด เนื่องจากพบว่ามีนักเรียนในโรงเรียนทั่วไปประมาณร้อยละ ๕ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จึงต้องมีการคัดกรองเด็กและวางแผนการรักษาต่อไป เพื่อป้องกันความพิการ
ผู้แทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้นำเสนอความเห็นว่า ปัญหาหลักของคนหูหนวกคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลด้านสุขภาพ และการมีล่ามภาษามือไม่เพียงพอ นอกจากนั้น การสื่อสารที่เหมาะสำหรับคนทั่วไปมักใช้คำที่ยากสำหรับคนหูหนวก ทำให้คนหูหนวกไม่เข้าใจ จึงขาดความรู้ด้านสุขภาพ สิทธิด้านสุขภาพของคนหูหนวก รวมถึงไม่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นอะไร ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ทำให้ไม่กล้าที่จะไปรับบริการ เป็นต้น ฉะนั้น ควรจัดทำข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ สำรวจสาเหตุและการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับคนหูหนวกแก่ครอบครัวและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อให้มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนหูหนวก
ผู้แทนสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมประชุม ระบุว่า ปัญหาหลักและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว รวม ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ได้จริง และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการซ้อน ๒)การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิคนพิการ โดยสามารถเชื่อมโยง/บูรณาการสิทธิต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะกรณีที่คนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการ และไม่สามารถใช้สิทธิคนพิการเพราะต้องใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งไม่ครอบคลุมเท่ากับสิทธิคนพิการ และ๓)สนับสนุนระบบดูแลสุขภาพคนพิการรุนแรง โดยเฉพาะการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการต่างๆ บริการดูแลสุขภาวะ และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการมากขึ้น หรือความพิการซ้อน
ผู้แทนสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต กล่าวว่า คนพิการทางจิตไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยทางจิต และการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับคนพิการ โดยขอให้มีการดำเนินการ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดยาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนทั่วไป ๒)การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทางจิต ไม่ให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมกีดกั้นหรือรังเกียจคนพิการทางจิต ๓)การส่งเสริมสุขภาวะทางกายและจิตของคนพิการและครอบครัว เพื่อลดภาวะความเครียด และ๔)การมีส่วนร่วมของคนพิการและครอบครัว เพื่อให้คนพิการทางจิตได้เข้าถึงและประโยชน์จากแผนฯ ได้จริง
ผู้แทนสมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้ห็ข้อเสนอต่อการทำแผนฯ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาคนพิการทางสติปัญญา รวมถึงการฝึกดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับคนพิการทางสติปัญญา ๒)การคัดกรองคนพิการ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและพัฒนาได้อย่างได้เหมาะสม ๓)การจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆทันทีที่พบความพิการ และ๔)การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริการส่วนใหญ่จะมีเฉพาะช่วงวัยเด็ก แต่ไม่มีบริการเมื่อเป็นเด็กโต ทำให้คนพิการทางสติปัญญาเป็นภาระต่อครอบครัวและขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับคนพิการทางการเรียนรู้ และผู้เข้าร่วมประชุม มีข้อเสนอต่อแผนฯ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้สามารถคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีความคุมเครือ ไม่ชัดเจน และยากต่อการคัดกรอง เช่น บางคนอาจจะไม่อยากเรียน หรือเป็นเพียงพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นคนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆ โดยควรจัดทำแบบคัดกรองที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งทางด้านการศึกษาและการแพทย์ ๒)การให้ความรู้กับครอบครัว บุคลากร และสังคม เพื่แให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ ๓)การหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) ได้กล่าวว่า มีนโยบายแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบาย เช่น บุคคลออทิสติกมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา แต่พบว่ามักถูกปฏิเสธจากสถานศึกษา หรือให้เรียนได้เพียง ๑ วัน/สัปดาห์ และถูกให้ออกจากสถานศึกษาเมื่อเด็กโต จึงขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริการที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ รวมถึงการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับบุคคลออทิสติก ทั้งที่มีกำหนดอยู่ในบัญชียาหลัก แต่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่จัดยาให้ตามบัญชีหลัก ข้อเสนอต่อแผนฯ มี ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการที่จำเป็นอย่างครบวงจรและทั่วถึง โดยจัดให้มีสถานที่บริการบุคคลออทิสติกอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่ง ๒)การจัดบริการให้ความรู้แก่ครอบครัว บุคลากรและชุมชน เพื่อให้มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อบุคคลออทิสติก โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ควรสามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เหมาะสมแก่คนพิการและครอบครัว ๓)แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเป็นบุคคลออทิสติก และ ๔)การจัดทำชุดสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมพัฒนาการแก่ครอบครัว ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดบริการให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องแล้ว ๔๐ หน่วยงาน โดยต้องผ่านการอบรมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น จึงควรจัดให้ครอบครัวเพื่อให้สามารถนำไปใช้ฝึกกับบุคคลออทิสติกได้โดยตรง (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๘ ส.ค.๕๖)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โลโก้กระทรวงสาธารณสุขคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและป้องกันความพิการ กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการ และการป้องกันความพิการ โดยมีหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ และโครงการหรือระบบงาน รวมทั้ง การกำกับ ติดตามประเมินผลระบบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ ตลอดจนการประสานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนและการดำเนินงานในหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการและการป้องกันความพิการ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการที่เป็นผู้แทนจากทุกประเภทความพิการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย รวมประมาณ ๓๐ คน พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิรินธรฯ ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ได้กล่าวว่า เนื่องจากการดูแลสุขภาพด้านคนพิการนั้น ยังไม่มีการจัดทำเป็นแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นองค์รวม ดังนั้น จึงต้องทำแผนดูแลสุขภาพคนพิการระดับชาติ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิตรับผิดชอบหลักด้านการดูแลสุขภาพจิตของคนพิการ กรมการแพทย์โดยศูนย์สิรินธรฯดูแลรับผิดชอบหลักด้านความพิการทางการเคลื่อน ไหวหรือทางร่างกาย รวมถึงการบริการดูแลสุขภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละประเภท เช่น การจัดบริการฝึกอบรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวสำหรับคนตาบอด และการสอนภาษามือให้คนหูหนวก เป็นต้น ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้มอบให้โรงพยาบาลราชวิถี จัดตั้งคณะอนุกรรมการดูแลสุขภาพคนพิการทางการได้ยิน สำหรับการประชุมในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑)สถานการณ์ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพของคนพิการทุกประเภท และ๒)การพิจารณาประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อจัดทำร่างแผนพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ ซึ่งจะต้องนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการฯ พิจารณาต่อไป นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นายกิตติพงษ์ สุทธิ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาและสิ่งควรพิจารณาเพื่อจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนตาบอด มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการให้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ ๒๖ รายการ ตามสิทธิคนพิการด้านการฟืนฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ตามที่ระบุในพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัคิส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเฉพาะ สิทธิใดที่ยังไม่ได้ให้บริการ หรือจัดบริการแล้วแต่คนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการ หรือจัดบริการแล้วแต่ไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง เป็นต้น ๒) การบริหารจัดการที่เป็นระบบและยั่งยืน พัฒนาโครงสร้างการดูแลสุขภาพคนพิการที่เป็นระบบ ยั่งยืน และจัดให้มีนักวิชาชีพอย่างเพียงพอ และ๓)การมีส่วนร่วมของคนพิการ โดยทุกกระบวนการดำเนินงานของแผนฯ ควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมโดยตรง เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสุขภาพได้จริง ส่วน พญ.ดารณี กล่าวว่า การป้องกันสายตาเลือนรางยังไม่ครอบคลุมทั้ง ๗๗ จังหวัด เนื่องจากพบว่ามีนักเรียนในโรงเรียนทั่วไปประมาณร้อยละ ๕ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จึงต้องมีการคัดกรองเด็กและวางแผนการรักษาต่อไป เพื่อป้องกันความพิการ ผู้แทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้นำเสนอความเห็นว่า ปัญหาหลักของคนหูหนวกคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลด้านสุขภาพ และการมีล่ามภาษามือไม่เพียงพอ นอกจากนั้น การสื่อสารที่เหมาะสำหรับคนทั่วไปมักใช้คำที่ยากสำหรับคนหูหนวก ทำให้คนหูหนวกไม่เข้าใจ จึงขาดความรู้ด้านสุขภาพ สิทธิด้านสุขภาพของคนหูหนวก รวมถึงไม่รู้ว่าตนเองป่วยเป็นอะไร ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ทำให้ไม่กล้าที่จะไปรับบริการ เป็นต้น ฉะนั้น ควรจัดทำข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่คนพิการทางการได้ยินสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ สำรวจสาเหตุและการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับคนหูหนวกแก่ครอบครัวและบุคลากรทางแพทย์ เพื่อให้มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนหูหนวก ผู้แทนสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมประชุม ระบุว่า ปัญหาหลักและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำแผนดูแลสุขภาพของคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว รวม ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดบริการและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ได้จริง และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการซ้อน ๒)การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิคนพิการ โดยสามารถเชื่อมโยง/บูรณาการสิทธิต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง โดยเฉพาะกรณีที่คนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการ และไม่สามารถใช้สิทธิคนพิการเพราะต้องใช้สิทธิประกันสังคม ซึ่งไม่ครอบคลุมเท่ากับสิทธิคนพิการ และ๓)สนับสนุนระบบดูแลสุขภาพคนพิการรุนแรง โดยเฉพาะการให้บริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการต่างๆ บริการดูแลสุขภาวะ และป้องกันไม่ให้เกิดความพิการมากขึ้น หรือความพิการซ้อน ผู้แทนสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต กล่าวว่า คนพิการทางจิตไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ป่วยทางจิต และการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับคนพิการ โดยขอให้มีการดำเนินการ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)การจัดยาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนทั่วไป ๒)การให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทางจิต ไม่ให้ครอบครัว ชุมชน และสังคมกีดกั้นหรือรังเกียจคนพิการทางจิต ๓)การส่งเสริมสุขภาวะทางกายและจิตของคนพิการและครอบครัว เพื่อลดภาวะความเครียด และ๔)การมีส่วนร่วมของคนพิการและครอบครัว เพื่อให้คนพิการทางจิตได้เข้าถึงและประโยชน์จากแผนฯ ได้จริง ผู้แทนสมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยและผู้เข้าร่วมประชุม ได้ห็ข้อเสนอต่อการทำแผนฯ ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑)ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาคนพิการทางสติปัญญา รวมถึงการฝึกดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้กับคนพิการทางสติปัญญา ๒)การคัดกรองคนพิการ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและพัฒนาได้อย่างได้เหมาะสม ๓)การจัดบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆทันทีที่พบความพิการ และ๔)การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพคนพิการทางสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริการส่วนใหญ่จะมีเฉพาะช่วงวัยเด็ก แต่ไม่มีบริการเมื่อเป็นเด็กโต ทำให้คนพิการทางสติปัญญาเป็นภาระต่อครอบครัวและขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับคนพิการทางการเรียนรู้ และผู้เข้าร่วมประชุม มีข้อเสนอต่อแผนฯ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑)การคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้สามารถคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มีความคุมเครือ ไม่ชัดเจน และยากต่อการคัดกรอง เช่น บางคนอาจจะไม่อยากเรียน หรือเป็นเพียงพัฒนาการล่าช้า หรือเป็นคนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆ โดยควรจัดทำแบบคัดกรองที่ใช้ร่วมกันได้ทั้งทางด้านการศึกษาและการแพทย์ ๒)การให้ความรู้กับครอบครัว บุคลากร และสังคม เพื่แให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ ๓)การหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) ได้กล่าวว่า มีนโยบายแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบาย เช่น บุคคลออทิสติกมีสิทธิเข้าถึงการศึกษา แต่พบว่ามักถูกปฏิเสธจากสถานศึกษา หรือให้เรียนได้เพียง ๑ วัน/สัปดาห์ และถูกให้ออกจากสถานศึกษาเมื่อเด็กโต จึงขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริการที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ รวมถึงการเข้าไม่ถึงยาที่เหมาะสมกับบุคคลออทิสติก ทั้งที่มีกำหนดอยู่ในบัญชียาหลัก แต่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลไม่จัดยาให้ตามบัญชีหลัก ข้อเสนอต่อแผนฯ มี ๔ เรื่อง
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)