รพ.จิตเวชขอนแก่นรณรงค์ป้องกันคนฆ่าตัวตาย

แสดงความคิดเห็น

นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7

วันที่ 6 ก.ย. 56 ที่ลานกิจกรรมชั้น G ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จัดกิจกรรมรณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” (10 SEPTEMBER : WORLD SUICIDE PREENTION DAY) โดยมีนายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 เป็นประธานรณรงค์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนักศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมงานคับคั่ง

ทั้งนี้ วันที่ 10 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก โดยการณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ในปี 2556 นี้ กรมสุขภาพจิต และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกภายใต้แนวคิด “แค่ยิ้ม สร้างสุขได้ด้วยตัวเรา” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ใช้รูปแบบสนทนาจากวิทยากรผู้มีชื่อเสียง จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และตัวแทนวัยรุ่น ที่มีมุมมองการปรับความคิดที่ช่วยสามารถผ่านวิกฤตชีวิตมาได้ด้วยการมีสติ รู้จักรัก และให้กำลังใจตนเอง

นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2546 นับเป็นปีที่ 10 ของการรณรงค์ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักว่าการฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้ โดยการให้ข้อมูลพัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรม รวมถึงลดอคติต่อปัญหาดังกล่าว ในปีนี้จึงมีแนวคิดหลักคือ “ตราบาป : เป็นอุปสรรคในการป้องกันการฆ่าตัวตาย” ซึ่งสังคมบางส่วนยังมีทัศนคติและความเชื่อไม่ถูกต้อง มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาส่วนบุคคล คนที่ฆ่าตัวตายมักทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ เป็นการเจ็บป่วยของคนอ่อนแอ

กิจกรรม รณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” จัดขึ้นที่ห้างเซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น

องค์การอนามัยโลกประมาณว่า แต่ละปีจะมีคน 1 ล้านคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย และคาดไว้ว่าในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย 1.53 ล้านคน อีกทั้งสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายของอเมริกา ประมาณอัตราส่วนของผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองแต่ไม่สำเร็จมีสูงกว่าผู้ทำ สำเร็จถึง 25 เท่า ทั้งยังส่งผลกระทบถึงครอบครัวและคนรอบข้างอีกประมาณ 5-10 ล้านคนในแต่ละปี

กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายมาตั้งแต่ปี 2544 ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงตามลำดับ จากอัตราการฆ่าตัวตาย 8.59 ในปี 2542 ลดลงถึง 5.7 ในปี 2549 แต่ปี 2555 ที่ผ่านมา อัตราฆ่าตัวตายสูงขึ้นเป็น 6.20 ต่อประชากรแสนคน เนื่องจากปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ซึ่งโดยภาพรวมปี 2555 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากถึง 3,985 คน เฉลี่ยต่อเดือน 332 คน และเฉลี่ยรายวันๆละ 10-12 คนหรือทุกๆ 2 ชั่วโมงมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน

ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวต่อว่า วัยแรงงานเป็นช่วงกลุ่มอายุที่ฆ่าตัวตายมากกว่าช่วงอายุกลุ่มอื่น โดยกลุ่มอายุ 30-34 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมาคืออายุ 35-39 ปี และ 25-29 ปี ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าตัวชี้วัดที่ประเทศกำหนด คืออยู่ระหว่าง 10.11-11.07 ต่อประชากรแสนคน

ที่น่าเป็นห่วง คือ ประชากรในพื้นที่ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่พบอุบัติการณ์ของการฆ่าตัวตาย มากกว่าภาคอื่นๆ โดยจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของประเทศ คือ จังหวัดน่าน รองลงมาคือ เชียงราย (14.48) แม่ฮ่องสอน (14.33) เชียงใหม่ (13.08) อุตรดิตถ์ (12.79) สิงห์บุรี (12.18) ตราด (11.29) ลำพูน (11.62) พะเยา (10.67) และอุทัยธานี (10.65) ขณะที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รายงานถึงผลการบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในเครือข่ายร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ พบว่า จังหวัดที่ประชากรฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มคือจังหวัดขอนแก่น คิดเป็นอัตรา 4.46 ต่อประชากรแสนคน แม้ว่าสถิติดังกล่าวไม่เกินกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดคืออัตรา 6.5 ต่อประชากรแสนคน แต่ถือเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันรณรงค์ป้องกันปัญหาฆ่าตัว ตายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้เกิด ความร่วมใจกันของคนในพื้นที่เพื่อร่วมป้องกันปัญหา ตลอดจนมุ่งหวังให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่กำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต ได้รับความรู้ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ ให้ทุกคนในสังคมมีโอกาสและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้คิดทำร้ายตัวเอง ให้รอดชีวิตได้ทุกเมื่อ

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspxNewsID=9560000112353 (ขนาดไฟล์: 276)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6ก.ย.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6ก.ย.56
วันที่โพสต์: 7/09/2556 เวลา 03:19:03 ดูภาพสไลด์โชว์ รพ.จิตเวชขอนแก่นรณรงค์ป้องกันคนฆ่าตัวตาย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 วันที่ 6 ก.ย. 56 ที่ลานกิจกรรมชั้น G ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จัดกิจกรรมรณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” (10 SEPTEMBER : WORLD SUICIDE PREENTION DAY) โดยมีนายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 เป็นประธานรณรงค์ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนักศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมงานคับคั่ง ทั้งนี้ วันที่ 10 กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก โดยการณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ในปี 2556 นี้ กรมสุขภาพจิต และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกภายใต้แนวคิด “แค่ยิ้ม สร้างสุขได้ด้วยตัวเรา” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ใช้รูปแบบสนทนาจากวิทยากรผู้มีชื่อเสียง จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และตัวแทนวัยรุ่น ที่มีมุมมองการปรับความคิดที่ช่วยสามารถผ่านวิกฤตชีวิตมาได้ด้วยการมีสติ รู้จักรัก และให้กำลังใจตนเอง นายแพทย์อภิชัย มงคล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2546 นับเป็นปีที่ 10 ของการรณรงค์ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักว่าการฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้ โดยการให้ข้อมูลพัฒนาการศึกษาและการฝึกอบรม รวมถึงลดอคติต่อปัญหาดังกล่าว ในปีนี้จึงมีแนวคิดหลักคือ “ตราบาป : เป็นอุปสรรคในการป้องกันการฆ่าตัวตาย” ซึ่งสังคมบางส่วนยังมีทัศนคติและความเชื่อไม่ถูกต้อง มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาส่วนบุคคล คนที่ฆ่าตัวตายมักทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ เป็นการเจ็บป่วยของคนอ่อนแอ กิจกรรม รณรงค์ตามโครงการรณรงค์วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก “แค่ยิ้ม...ความรู้สึกสร้างได้ด้วยตัวเรา” จัดขึ้นที่ห้างเซ็นทรัลพลาซาขอนแก่น องค์การอนามัยโลกประมาณว่า แต่ละปีจะมีคน 1 ล้านคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย และคาดไว้ว่าในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย 1.53 ล้านคน อีกทั้งสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายของอเมริกา ประมาณอัตราส่วนของผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเองแต่ไม่สำเร็จมีสูงกว่าผู้ทำ สำเร็จถึง 25 เท่า ทั้งยังส่งผลกระทบถึงครอบครัวและคนรอบข้างอีกประมาณ 5-10 ล้านคนในแต่ละปี กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายมาตั้งแต่ปี 2544 ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลงตามลำดับ จากอัตราการฆ่าตัวตาย 8.59 ในปี 2542 ลดลงถึง 5.7 ในปี 2549 แต่ปี 2555 ที่ผ่านมา อัตราฆ่าตัวตายสูงขึ้นเป็น 6.20 ต่อประชากรแสนคน เนื่องจากปัญหาสังคม เศรษฐกิจ และความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง ซึ่งโดยภาพรวมปี 2555 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากถึง 3,985 คน เฉลี่ยต่อเดือน 332 คน และเฉลี่ยรายวันๆละ 10-12 คนหรือทุกๆ 2 ชั่วโมงมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 7 กล่าวต่อว่า วัยแรงงานเป็นช่วงกลุ่มอายุที่ฆ่าตัวตายมากกว่าช่วงอายุกลุ่มอื่น โดยกลุ่มอายุ 30-34 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุด รองลงมาคืออายุ 35-39 ปี และ 25-29 ปี ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป กลับเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าตัวชี้วัดที่ประเทศกำหนด คืออยู่ระหว่าง 10.11-11.07 ต่อประชากรแสนคน ที่น่าเป็นห่วง คือ ประชากรในพื้นที่ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่พบอุบัติการณ์ของการฆ่าตัวตาย มากกว่าภาคอื่นๆ โดยจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของประเทศ คือ จังหวัดน่าน รองลงมาคือ เชียงราย (14.48) แม่ฮ่องสอน (14.33) เชียงใหม่ (13.08) อุตรดิตถ์ (12.79) สิงห์บุรี (12.18) ตราด (11.29) ลำพูน (11.62) พะเยา (10.67) และอุทัยธานี (10.65) ขณะที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รายงานถึงผลการบริการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในเครือข่ายร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ พบว่า จังหวัดที่ประชากรฆ่าตัวตายมากที่สุดในกลุ่มคือจังหวัดขอนแก่น คิดเป็นอัตรา 4.46 ต่อประชากรแสนคน แม้ว่าสถิติดังกล่าวไม่เกินกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดคืออัตรา 6.5 ต่อประชากรแสนคน แต่ถือเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันรณรงค์ป้องกันปัญหาฆ่าตัว ตายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้เกิด ความร่วมใจกันของคนในพื้นที่เพื่อร่วมป้องกันปัญหา ตลอดจนมุ่งหวังให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่กำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต ได้รับความรู้ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ ให้ทุกคนในสังคมมีโอกาสและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้คิดทำร้ายตัวเอง ให้รอดชีวิตได้ทุกเมื่อ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspxNewsID=9560000112353 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...