รวมเทคโนโลยีล้ำยุค ครบด้านรักษากระดูก
รายงานพิเศษ โรคเกี่ยวกับกระดูกและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลัง การปวดข้อเข่าข้อสะโพกหรือกระดูกในส่วนอื่นๆของร่างกายมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี
โรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ได้จัดงาน "Bone Discovery" เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงนิทรรศการรวมความรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลกระดูกและข้อ ร่วมเรียนรู้เรื่องกระดูกมนุษย์จากโครงกระดูกจำลองขนาดยักษ์ รู้จริงเรื่องกระดูกจากมัลติมีเดียและเทคโนโลยีต่างๆ
ร.พ.ก่อ ตั้งศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การเปิดตัว "แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด" ซึ่ง ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียม ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอม พิวเตอร์ 3 มิติ ผสานกับความชำนาญของแพทย์ ทำให้การผ่าตัดมีความเที่ยงตรงแม่นยำ อีกทั้งเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อต่างๆ บริเวณที่ผ่าตัดซึ่งยังมีสภาพดีจะไม่ได้รับความบอบช้ำ ผู้ป่วยพักฟื้นไม่เกิน 3 วัน เริ่มเดินได้ในเวลา 24 ช.ม. โดยนำแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเป็นครั้งแรกของทวีปเอเชีย
ส่วนสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ เป็น "ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปของภูมิภาคเอเชีย" เทคนิคที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย นพ.เซบัสเตียน รุทเทิ่น นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในนามบริษัท ริชาร์ด วูล์ฟ ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์คุณภาพสูง ทีมแพทย์ของสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ ได้รับการถ่ายทอดเทคนิคนำกลับมาพัฒนาต่อจนกลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัด กระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปแห่งแรกและแห่งเดียวนอกประเทศเยอรมนี
เทคนิค นี้นำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้ตั้งแต่ส่วนคอ ส่วนอก และส่วนเอว ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของกล้องที่มีเลนส์ติดอยู่ตรงปลาย ช่วยให้แพทย์มองเห็นได้ชัดเจนและผ่าตัดด้วยความแม่นยำ เข้าถึงเส้นประสาทที่ถูกกดทับได้ โดยไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อรอบๆ แผลผ่าตัดจึงเล็ก 8 ม.ม.ลดความเจ็บปวดและร่นเวลาพักฟื้น
ส่วน ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ บริการทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคกระดูกที่ครบทุกด้าน รักษาโดยการส่องกล้องและเวช ศาสตร์การกีฬา และศัลยกรรมเกี่ยวกับมือและเท้า ด้วยห้องตรวจและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย อาทิ เครื่องวินิจฉัยด้วยสนามแม่เหล็กรุ่นใหม่ เครื่องรักษาภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรังโดยคลื่นความถี่ไฟฟ้าโดยไม่ต้องผ่าตัด และการตรวจทางรังสีแบบดิจิตอลโดยไม่ต้องใช้แผ่นฟิล์มเอกซเรย์ เป็นต้น
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คณะแพทย์โรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ได้จัดงาน \"Bone Discovery\" รายงานพิเศษ โรคเกี่ยวกับกระดูกและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกสันหลัง การปวดข้อเข่าข้อสะโพกหรือกระดูกในส่วนอื่นๆของร่างกายมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี โรงพยาบาลบำรุง ราษฎร์ได้จัดงาน "Bone Discovery" เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงนิทรรศการรวมความรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลกระดูกและข้อ ร่วมเรียนรู้เรื่องกระดูกมนุษย์จากโครงกระดูกจำลองขนาดยักษ์ รู้จริงเรื่องกระดูกจากมัลติมีเดียและเทคโนโลยีต่างๆ ร.พ.ก่อ ตั้งศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม การเปิดตัว "แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด" ซึ่ง ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียม ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอม พิวเตอร์ 3 มิติ ผสานกับความชำนาญของแพทย์ ทำให้การผ่าตัดมีความเที่ยงตรงแม่นยำ อีกทั้งเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อต่างๆ บริเวณที่ผ่าตัดซึ่งยังมีสภาพดีจะไม่ได้รับความบอบช้ำ ผู้ป่วยพักฟื้นไม่เกิน 3 วัน เริ่มเดินได้ในเวลา 24 ช.ม. โดยนำแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเป็นครั้งแรกของทวีปเอเชีย ส่วนสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ เป็น "ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปของภูมิภาคเอเชีย" เทคนิคที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย นพ.เซบัสเตียน รุทเทิ่น นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในนามบริษัท ริชาร์ด วูล์ฟ ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์คุณภาพสูง ทีมแพทย์ของสถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ ได้รับการถ่ายทอดเทคนิคนำกลับมาพัฒนาต่อจนกลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัด กระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปแห่งแรกและแห่งเดียวนอกประเทศเยอรมนี ภาพเอ็กซเรย์กระดูกมนุษย์ เทคนิค นี้นำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้ตั้งแต่ส่วนคอ ส่วนอก และส่วนเอว ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของกล้องที่มีเลนส์ติดอยู่ตรงปลาย ช่วยให้แพทย์มองเห็นได้ชัดเจนและผ่าตัดด้วยความแม่นยำ เข้าถึงเส้นประสาทที่ถูกกดทับได้ โดยไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อรอบๆ แผลผ่าตัดจึงเล็ก 8 ม.ม.ลดความเจ็บปวดและร่นเวลาพักฟื้น ส่วน ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ บริการทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคกระดูกที่ครบทุกด้าน รักษาโดยการส่องกล้องและเวช ศาสตร์การกีฬา และศัลยกรรมเกี่ยวกับมือและเท้า ด้วยห้องตรวจและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย อาทิ เครื่องวินิจฉัยด้วยสนามแม่เหล็กรุ่นใหม่ เครื่องรักษาภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรังโดยคลื่นความถี่ไฟฟ้าโดยไม่ต้องผ่าตัด และการตรวจทางรังสีแบบดิจิตอลโดยไม่ต้องใช้แผ่นฟิล์มเอกซเรย์ เป็นต้น ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdNekUyTURrMU5nPT0=§ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE15MHdPUzB4Tmc9PQ== ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)