รวมพลังคนพิการนนทบุรี อบจ. และอปท...ร่วมสร้างความเข้มแข็งคนพิการ
เมื่อวันที่๑๗ ก.ย.๒๕๕๖ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี (Nonthaburi center for Independent Living :ILนนทบุรี) ร่วมกับกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี(อบจ.นนทบุรี) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์การดำรงชีวิตคนพิการและโครงการขององค์กรของคนพิการ” ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก อบจ.นนทบุรี ภายใต้ “โครงการจัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน จังหวัดนนทบุรี” โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ องค์กรด้านคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หน่วยงานภาครัฐและอาสาสมัครที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รวมประมาณ ๑๐๐ คน
นางจินตนา จันทร์บำรุง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) บรรยายพิเศษเรื่อง “แนวคิดการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ” ว่า ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยบริการคนพิการในระดับชุมชน ทำให้คนพิการส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนยากจน มีความยากลำบากในการเดินทางและต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีศูนย์บริการคนพิการ โดยเน้นการจัดบริการใกล้บ้าน เพื่อคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์บริการได้อย่างสะดวกที่สุด ทั้งนี้ พก.ได้จัดทำ “ร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ” แล้ว ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๖ มาตรา ๒๐/๓ ให้จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะมีหน้าที่หลัก ได้แก่ การสำรวจติดตามสภาพปัญหาคนพิการ การบริการข้อมูลข่าวสาร เรื่อง สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การเรียกร้องสิทธิแทนคนพิการ การช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การช่วยให้ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล การประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การติดตามประเมินผลและรายงานเกี่ยวกับการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ ทั้งนี้ ศูนย์บริการคนพิการ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ๑)ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ซึ่งผู้สามารถขอจัดตั้งบริการได้มี ๒ ส่วน ได้แก่ ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. โดยใช้งบประมาณของตนเอง และหน่วยงานองค์กรด้านคนพิการที่ได้รับมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการจาก พก. แล้ว ทั้งนี้ สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด และ๒) ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด เป็นศูนย์ประสานกลางของแต่ละจังหวัด จัดตั้งโดย พก.
นายกฤตพัส อัจฉริยะประสิทธิ์ รอง อบจ.นนทบุรี กล่าวว่า ศูนย์บริการฯ เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะคนพิการจะได้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกด้าน และได้เสนอให้จัดประชุมเรื่องการจัดศูนย์บริการคนพิการโดยเชิญผู้บริหารจากทุกอบต. เพื่อร่วมกันระดมความเห็นคิด และดำเนินการต่อไป
นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการ ILนนทบุรี กล่าวว่า IL นนทบุรี องค์กรของคนพิการ และอบจ.นนทบุรี มีแผนขยายการให้บริการตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ลงสู่ระดับอำเภอที่มีความพร้อม และพัฒนารูปแบบการจัดบริการ ร่วมกับ อปท. โดยได้เริ่มดำเนินงานในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และจะขยายให้ครบทุกอำเภอใน ๓ ปีข้างหน้า ให้เป็น “หน่วยบริการการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ” ที่จัดบริการที่มีคุณภาพให้แก่คนพิการระดับอำเภอ เพื่อฟื้นคืนความเชื่อมั่นในตนเองให้กับคนพิการ ทำให้คนพิการที่หมดหวังและไร้ซึ่งคุณค่าในตนเอง กลับมาเป็นทรัพยากรบุคลากรที่มีค่าอีกครั้งหนึ่ง และเกิดบริการการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่หลากหลายทางเลือก การจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและระดมความคิดเห็นต่อโครงการฯ แนวทางการจัดบริการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมถึงการสื่อสารและหาแนวร่วมดำเนินงานตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการจากภาคส่วนต่างๆ
ที่ประชุมได้เสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ ขององค์กรของคนพิการต่างๆที่เข้าร่วมโครงการฯในปี๒๕๕๖ นี้ มี ๕หน่วยงาน ได้แก่ ๑)ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี ในปี๒๕๕๖ ตั้งแต่ ๑ต.ค.-ก.ย นี้ ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการ ๕ กิจกรรม ได้แก่ ๑.๑จัดฝึกอบรมผู้ช่วยคนพิการตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระคนพิการ ๑.๒ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่คนพิการในชุมชน เพื่อให้เข้าถึงสื่อ ข้อมูลข่าวสารและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๑.๓จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านสิทธิและสวัสดิการคนพิการจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ก.ค.-ก.ย.๒๕๕๖ มีผู้ใช้บริการ ๓๘ ราย ๑.๔โครงการมิตรภาพบำบัดเป็นการให้คำปรึกษาฉันเพื่อน และ๑.๕การให้บริการผู้ช่วยคนพิการ ซึ่งสามารถจัดอบรมฯ ให้กับคนพิการได้ประมาณ ๑๐๐ คน และมีผู้มาขอรับบริการผู้ช่วยฯ ๒๕ ราย รวมจำนวนชั่วโมงที่ให้บริการทั้งหมด ๑๒,๕๖๔ ชั่วโมง ๒)สมาคมศิษย์เก่าศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ได้จัด ๒ กิจกรรม ได้แก่ ๒.๑จัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสมัยใหม่สำหรับคนตาบอด เป็นผลให้คนตาบอดประมาณ ๔๐ คน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ใช้สื่อไอทีต่างๆได้ และสามารถติดต่อกับคนทั่วไปได้มากขึ้น และ๒.๒พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ภาวะการเป็นผู้นำ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมอบรมรู้จักภาวะผู้นำที่ดี เกิดประสิทธิภาพในการทำงานให้เข้มแข็ง และโปร่งใส ๓)ชมรมคนพิการตำบลบางรักพัฒนา ได้จัด ๒ กิจกรรม ได้แก่ ๓.๑สัมมนาเชิงปฏิบัติเรื่อง “การส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันแก่คนพิการ ครอบครัว และผู้นำชุมชนเรื่องการดำรงชีวิตอิสระคนพิการ” ซึ่งได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนกว่า๘๐ คน เกิดความรู้ ความเข้าใจแนวคิดการทำงาน ILร่วมกัน โดยมีนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมด้วย และ๓.๒จัดทัศนศึกษาเติมพลังกายใจคนพิการให้มีส่วนร่วมในสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากคนพิการ ครอบครัว อาสาสมัครและผู้ช่วยคนพิการรวม ๕๐คน ๔)ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก เนื่องจากบุคคลออทิสติกมีปัญหาในการสื่อสาร การเข้าสังคม ครอบครัวมีภาวะความเครียดสูง และไม่ได้รับการพัฒนา จึงได้จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางจิตใจ และให้กำลังใจกับครอบครัวบุคคลออทิสติก ๔๐ ครอบครัว โดยจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก ดูงานสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งและการส่งเสริมครอบครัวเข้มแข็ง และ๕)ชมรมคนหูหนวกจังหวัดนนทบุรี ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนหูหนวกในด้านต่างๆ ได้แก่ การฝึกทักษะภาษามือ โดยได้ฝึกต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ รวมฝึกแล้ว ๑๒๐ คน อบรมแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระกับคนหูหนวก การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ชีวิตของคนหูหนวกจังหวัดนนทบุรี และการอบรมให้เข้าถึงสุขภาวะของคนหูหนวก ซึ่งพบว่าคนหูหนวกส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะ เนื่องจากข้อจำกัดในการสื่อสารทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่างๆ
ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ว่า คนพิการ สามารถเข้าถึงใน ๔ I ได้แก่ ๑) ILเกิดความรู้ความเข้าใจแนวคิด และมีทักษะการดำรงชีวิตแบบตามแนวคิด IL ๒)IT (Information Technology) มีความรู้ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถนำไปใช้ได้ ๓)ID (Information for Disabilities) เข้าถึงข้อมูลข่าวสารสิทธิและสวัสดิการคนพิการ และ๔) I’m a man คนพิการ คือ คนหนึ่งของสังคม ที่มีสิทธิและศักดิศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตระหว่างองค์กรของคนพิการและอปท. นายวิรัช สุขเจริญ สมาคมสหภาพคนตาบอดและคนพิการเพื่อการสร้างงานสร้างอาชีพ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า อปท.ต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องและรู้จริงต่อคนพิการ ต้องทำด้วยใจ เปิดโอกาสให้คนพิการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ โดยอปท.ร่วมทำ และสนับสนุนคนพิการจนในที่สุดคนพิการเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง แปลงนโยบาย/กฎหมายสู่ การกระทำจริง โดยจัดทำแผนคนพิการในระดับชุมชนและนำสู่การปฏิบัติร่วมกันของทุกภาคส่วน
นางอนัญลักษณ์ โรจน์อำพร นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชำนาญการ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ ระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒๑ หน่วยงาน เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค.๒๕๕๖ เพื่อร่วมกันส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการใน ๘ เรื่อง ได้แก่ การเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของคนพิการ การจัดบริการด้านการแพทย์การศึกษา การสร้างอาชีพ/การมีงานทำ การกีฬา/นันทนาการ การจัดปรับสภาพแวดล้อม/สิ่งอำนวยความสะดวก การเข้าถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ การจัดบริการข้อมูลให้กับคนพิการและการศึกษาวิจัยด้านคนพิการ ทั้งนี้ อปท.ได้รับนโยบายและต้องจัดทำแผนปฏิบัติต่อไป โดยจะต้องรายงานผลการดำเนินงานในทุก ๖ เดือน และได้มีแผนการดำเนินงานเร่งด่วน ได้แก่ การจัดทำแผนจัดปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เพื่อให้คนพิการทุกประเภทสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ
ในท้ายนั้น นางสาวสมลักษณ์ ลิ้ม ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ได้เสนอว่า “ต้องเน้นการพัฒนาคนพิการ เพื่อพัฒนางาน ในหลัก ๓ ค. ได้แก่ ๑)คุณภาพ คนพิการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกด้าน การเข้าถึงและได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๒)คุณธรรม โดยตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง มีจริยธรรมและคุณธรรม และ๓)ความสุข สามารถพึ่งตนเองได้ คิดและตัดสินใจด้วยตนเอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายคนพิการ ซึ่งประกอบด้วย ๑)การมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและร่วมขับเคลื่อน ทั้งคนพิการ ครอบครัวคนพิการ ชุมชน ท้องถิ่น สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒)ตอบโจทย์ สอดคล้องกับความต้องการของคนพิการ ไม่คิดแทน ไม่ทำแทนคนพิการ ๓)บูรณาการทำงาน ร่วมกันระหว่างหน่วยงานในทุกระดับทุกภาคส่วน ๔)ประสานทรัพยากร ทั้งจากภายในท้องถิ่น และภายนอกให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนพิการ ๕)ประกันคุณภาพ โดยคนพิการทุกคนต้องเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากบริการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ๖)สื่อสารสังคม เพื่อให้คนพิการ หน่วยงาน คนในสังคมได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและร่วมมีบทบาทในการขับเคลื่อนเรื่องคนพิการ เพื่อทุกคนอยู่อย่างมีสิทธิและศักดิ์ศรี (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๐ก.ย.๕๖)
1 ต่าย 20/09/2556 12:52:38
ประสบความสำเร็จไปอีกขั้น ยอดเยี่ยม
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นางจินตนา จันทร์บำรุง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ พก เมื่อวันที่๑๗ ก.ย.๒๕๕๖ ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี (Nonthaburi center for Independent Living :ILนนทบุรี) ร่วมกับกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี(อบจ.นนทบุรี) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์การดำรงชีวิตคนพิการและโครงการขององค์กรของคนพิการ” ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก อบจ.นนทบุรี ภายใต้ “โครงการจัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน จังหวัดนนทบุรี” โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ องค์กรด้านคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หน่วยงานภาครัฐและอาสาสมัครที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รวมประมาณ ๑๐๐ คน นายกฤตพัส อัจฉริยะประสิทธิ์ รองอบจ.นนทบุรี และนายธีรยุทธ สุคนธวิท ผอ.ศูนย์ดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี นางจินตนา จันทร์บำรุง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) บรรยายพิเศษเรื่อง “แนวคิดการจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ” ว่า ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยบริการคนพิการในระดับชุมชน ทำให้คนพิการส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนยากจน มีความยากลำบากในการเดินทางและต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีศูนย์บริการคนพิการ โดยเน้นการจัดบริการใกล้บ้าน เพื่อคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์บริการได้อย่างสะดวกที่สุด ทั้งนี้ พก.ได้จัดทำ “ร่างระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับศูนย์บริการคนพิการ” แล้ว ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๖ มาตรา ๒๐/๓ ให้จัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะมีหน้าที่หลัก ได้แก่ การสำรวจติดตามสภาพปัญหาคนพิการ การบริการข้อมูลข่าวสาร เรื่อง สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ การเรียกร้องสิทธิแทนคนพิการ การช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การช่วยให้ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล การประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การติดตามประเมินผลและรายงานเกี่ยวกับการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ ทั้งนี้ ศูนย์บริการคนพิการ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ๑)ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ซึ่งผู้สามารถขอจัดตั้งบริการได้มี ๒ ส่วน ได้แก่ ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. โดยใช้งบประมาณของตนเอง และหน่วยงานองค์กรด้านคนพิการที่ได้รับมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการจาก พก. แล้ว ทั้งนี้ สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด และ๒) ศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด เป็นศูนย์ประสานกลางของแต่ละจังหวัด จัดตั้งโดย พก. ผู้เข้าร่วมการประชุมรายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี นายกฤตพัส อัจฉริยะประสิทธิ์ รอง อบจ.นนทบุรี กล่าวว่า ศูนย์บริการฯ เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะคนพิการจะได้สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกด้าน และได้เสนอให้จัดประชุมเรื่องการจัดศูนย์บริการคนพิการโดยเชิญผู้บริหารจากทุกอบต. เพื่อร่วมกันระดมความเห็นคิด และดำเนินการต่อไป นายธีรยุทธ สุคนธวิท ผู้อำนวยการ ILนนทบุรี กล่าวว่า IL นนทบุรี องค์กรของคนพิการ และอบจ.นนทบุรี มีแผนขยายการให้บริการตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ลงสู่ระดับอำเภอที่มีความพร้อม และพัฒนารูปแบบการจัดบริการ ร่วมกับ อปท. โดยได้เริ่มดำเนินงานในพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และจะขยายให้ครบทุกอำเภอใน ๓ ปีข้างหน้า ให้เป็น “หน่วยบริการการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ” ที่จัดบริการที่มีคุณภาพให้แก่คนพิการระดับอำเภอ เพื่อฟื้นคืนความเชื่อมั่นในตนเองให้กับคนพิการ ทำให้คนพิการที่หมดหวังและไร้ซึ่งคุณค่าในตนเอง กลับมาเป็นทรัพยากรบุคลากรที่มีค่าอีกครั้งหนึ่ง และเกิดบริการการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่หลากหลายทางเลือก การจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานและระดมความคิดเห็นต่อโครงการฯ แนวทางการจัดบริการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมถึงการสื่อสารและหาแนวร่วมดำเนินงานตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการจากภาคส่วนต่างๆ คณะผู้ร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงกรจัดตั้งศูนย์การดำรงชีวิตอิสระฯ ที่ประชุมได้เสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ ขององค์กรของคนพิการต่างๆที่เข้าร่วมโครงการฯในปี๒๕๕๖ นี้ มี ๕หน่วยงาน ได้แก่ ๑)ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี ในปี๒๕๕๖ ตั้งแต่ ๑ต.ค.-ก.ย นี้ ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการ ๕ กิจกรรม ได้แก่ ๑.๑จัดฝึกอบรมผู้ช่วยคนพิการตามแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระคนพิการ ๑.๒ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่คนพิการในชุมชน เพื่อให้เข้าถึงสื่อ ข้อมูลข่าวสารและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๑.๓จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านสิทธิและสวัสดิการคนพิการจังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ก.ค.-ก.ย.๒๕๕๖ มีผู้ใช้บริการ ๓๘ ราย ๑.๔โครงการมิตรภาพบำบัดเป็นการให้คำปรึกษาฉันเพื่อน และ๑.๕การให้บริการผู้ช่วยคนพิการ ซึ่งสามารถจัดอบรมฯ ให้กับคนพิการได้ประมาณ ๑๐๐ คน และมีผู้มาขอรับบริการผู้ช่วยฯ ๒๕ ราย รวมจำนวนชั่วโมงที่ให้บริการทั้งหมด ๑๒,๕๖๔ ชั่วโมง ๒)สมาคมศิษย์เก่าศูนย์ฝึกอาชีพและพัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ได้จัด ๒ กิจกรรม ได้แก่ ๒.๑จัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสมัยใหม่สำหรับคนตาบอด เป็นผลให้คนตาบอดประมาณ ๔๐ คน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ใช้สื่อไอทีต่างๆได้ และสามารถติดต่อกับคนทั่วไปได้มากขึ้น และ๒.๒พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ภาวะการเป็นผู้นำ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมอบรมรู้จักภาวะผู้นำที่ดี เกิดประสิทธิภาพในการทำงานให้เข้มแข็ง และโปร่งใส ๓)ชมรมคนพิการตำบลบางรักพัฒนา ได้จัด ๒ กิจกรรม ได้แก่ ๓.๑สัมมนาเชิงปฏิบัติเรื่อง “การส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันแก่คนพิการ ครอบครัว และผู้นำชุมชนเรื่องการดำรงชีวิตอิสระคนพิการ” ซึ่งได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนกว่า๘๐ คน เกิดความรู้ ความเข้าใจแนวคิดการทำงาน ILร่วมกัน โดยมีนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมด้วย และ๓.๒จัดทัศนศึกษาเติมพลังกายใจคนพิการให้มีส่วนร่วมในสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากคนพิการ ครอบครัว อาสาสมัครและผู้ช่วยคนพิการรวม ๕๐คน ๔)ศูนย์บริการบุคคลออทิสติก เนื่องจากบุคคลออทิสติกมีปัญหาในการสื่อสาร การเข้าสังคม ครอบครัวมีภาวะความเครียดสูง และไม่ได้รับการพัฒนา จึงได้จัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทางจิตใจ และให้กำลังใจกับครอบครัวบุคคลออทิสติก ๔๐ ครอบครัว โดยจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก ดูงานสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งและการส่งเสริมครอบครัวเข้มแข็ง และ๕)ชมรมคนหูหนวกจังหวัดนนทบุรี ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนหูหนวกในด้านต่างๆ ได้แก่ การฝึกทักษะภาษามือ โดยได้ฝึกต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ รวมฝึกแล้ว ๑๒๐ คน อบรมแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระกับคนหูหนวก การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ชีวิตของคนหูหนวกจังหวัดนนทบุรี และการอบรมให้เข้าถึงสุขภาวะของคนหูหนวก ซึ่งพบว่าคนหูหนวกส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะ เนื่องจากข้อจำกัดในการสื่อสารทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่างๆ ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ว่า คนพิการ สามารถเข้าถึงใน ๔ I ได้แก่ ๑) ILเกิดความรู้ความเข้าใจแนวคิด และมีทักษะการดำรงชีวิตแบบตามแนวคิด IL ๒)IT (Information Technology) มีความรู้ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถนำไปใช้ได้ ๓)ID (Information for Disabilities) เข้าถึงข้อมูลข่าวสารสิทธิและสวัสดิการคนพิการ และ๔) I’m a man คนพิการ คือ คนหนึ่งของสังคม ที่มีสิทธิและศักดิศรีแห่งความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน สำหรับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตระหว่างองค์กรของคนพิการและอปท. นายวิรัช สุขเจริญ สมาคมสหภาพคนตาบอดและคนพิการเพื่อการสร้างงานสร้างอาชีพ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า อปท.ต้องมีทัศนคติที่ถูกต้องและรู้จริงต่อคนพิการ ต้องทำด้วยใจ เปิดโอกาสให้คนพิการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ โดยอปท.ร่วมทำ และสนับสนุนคนพิการจนในที่สุดคนพิการเป็นผู้ปฏิบัติโดยตรง แปลงนโยบาย/กฎหมายสู่ การกระทำจริง โดยจัดทำแผนคนพิการในระดับชุมชนและนำสู่การปฏิบัติร่วมกันของทุกภาคส่วน
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)