เด็กมีปัญหาจากแม่ดื่มสุรา – คุณหมอขอบอก
เมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผอ.สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปร่วมประชุม “การป้องกันการเกิดเด็กที่มีปัญหาจากแม่ดื่มสุรา” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศแคนาดา ผู้เขียนเลยถือโอกาสสัมภาษณ์คุณหมอมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกัน
พญ.พันธุ์นภา บอกว่า เด็กมีปัญหาจากแม่ดื่มสุราเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในบ้านเราเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาหลักเพราะผู้หญิงไทยไม่ได้ดื่มสุรา กันมาก หรือคนที่ตั้งครรภ์มักจะไม่ดื่มสุราอยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริง ณ วันนี้ผู้หญิงดื่มเยอะขึ้น จากการสำรวจตามชุมชนในชนบท การดื่มสุรา ยาดองยังเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอยู่ สิ่งสำคัญ คือ เรายังไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการวินิจฉัยเด็กที่มีภาวะผิดปกติจากแม่ดื่มสุรา หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Fetal Alcohol Spectrum Disorder (ฟีทัล แอลกอฮอล์ สเปกตรัม ดิสออร์เดอร์ หรือ เอฟเอเอสดี) ซึ่งเด็กจะมีความผิดปกติค่อนข้างชัดเจน หรืออีกกลุ่มอาการไม่ปรากฏชัดเจน ต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงทราบ
สำหรับเด็กที่มีปัญหาจากแม่ดื่มสุราเมื่อเกิดมาจะมีปัญหาทางสมอง สมาธิไม่ค่อยดี การเรียนรู้ต่ำกว่าปกติ คิดช้า ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมไม่ค่อยดี แต่เนื่องจากไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน เขาก็จะเหมือนเด็กธรรมดาทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาในห้องเรียน เรียนไม่ดี มีพฤติกรรมเกเร เพื่อนไม่ชอบ ครูก็ไม่รัก สุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหายาเสพติดและปัญหาสังคมในอนาคตได้
เด็กกลุ่มนี้สามารถป้องกันได้ 100% วิธีการป้องกันอันดับแรก คือ ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ จะต้องได้รับความรู้เรื่องโทษของการดื่มสุรา และไม่ดื่มสุรา คนอาจจะคิดว่าผู้หญิงดื่มสุราไม่เยอะ เราเคยสำรวจเล็ก ๆ ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย พบว่า ผู้หญิงที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก พอถามว่า ในช่วงก่อนตั้งครรภ์มีการดื่มสุราหรือไม่ ปรากฏว่า 30% ดื่มสุรา การดื่มในปริมาณมาก ๆ มีผลต่อทารกในครรภ์แน่นอน แต่ข้อมูลที่การถกเถียงกัน คือ การดื่มนิดหน่อยอาจจะไม่เป็นอะไร อย่างไรก็ตามยังไม่มีปริมาณที่ปลอดภัยว่าดื่มขนาดไหนลูกจึงปลอดภัย และก็ยังไม่มีข้อมูลหรือผลวิจัยรองรับว่าการดื่มเพียงน้อยนิดจะไม่เกิดผล อะไร
ข้อแนะนำ คือ ถ้าเป็นไปได้ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มสุรา โดยปกติในช่วงตั้งครรภ์ผู้หญิงจะหยุดดื่มอยู่แล้ว แต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ บางคนกว่าจะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็อาจมีการดื่มสุรามาบ้าง ซึ่งมีข้อมูลว่า การดื่มแค่ครั้งคราว หรือเมาแค่ครั้งสองครั้ง แต่ได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปเยอะ ๆ อาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามไม่ถึงกับเป็นข้อกำหนดว่า ถ้าดื่มหนัก 2-3 ครั้งก่อนการตั้งครรภ์ จะต้องถึงขั้นไปทำแท้ง เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันขนาดนั้น แต่พูดง่าย ๆ คือ เราก็ไม่ยืนยันความปลอดภัย ถ้าเป็นไปได้ไม่ดื่มน่าจะดีที่สุด
สำหรับกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุรา ยกตัวอย่างผู้หญิงที่ติดเหล้า กลุ่มนี้ต้องให้การดูแลอย่างชัดเจน ว่าจะต้องเตรียมตัวในการตั้งครรภ์อย่างไร สุดท้ายลูกเกิดออกมาแล้ว ก็ต้องมีการประเมิน คัดกรองเด็กตั้งแต่ต้น เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น เด็กสมองไม่ดี เรียนไม่ได้ ตรงนี้ถ้าเรารู้เบื้องต้นเราก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม เด็กก็ดีขึ้นได้ ….สรุปคือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ห้ามดื่มสุราอย่างเด็ดขาดเพื่อสุขภาพของตัวคุณเองและลูกน้อย!?!.....นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/237763 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พญ.พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผอ.สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเร็ว ๆ นี้ พญ.พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผอ.สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปร่วมประชุม “การป้องกันการเกิดเด็กที่มีปัญหาจากแม่ดื่มสุรา” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศแคนาดา ผู้เขียนเลยถือโอกาสสัมภาษณ์คุณหมอมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกัน พญ.พันธุ์นภา บอกว่า เด็กมีปัญหาจากแม่ดื่มสุราเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในบ้านเราเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาหลักเพราะผู้หญิงไทยไม่ได้ดื่มสุรา กันมาก หรือคนที่ตั้งครรภ์มักจะไม่ดื่มสุราอยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริง ณ วันนี้ผู้หญิงดื่มเยอะขึ้น จากการสำรวจตามชุมชนในชนบท การดื่มสุรา ยาดองยังเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอยู่ สิ่งสำคัญ คือ เรายังไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการวินิจฉัยเด็กที่มีภาวะผิดปกติจากแม่ดื่มสุรา หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Fetal Alcohol Spectrum Disorder (ฟีทัล แอลกอฮอล์ สเปกตรัม ดิสออร์เดอร์ หรือ เอฟเอเอสดี) ซึ่งเด็กจะมีความผิดปกติค่อนข้างชัดเจน หรืออีกกลุ่มอาการไม่ปรากฏชัดเจน ต้องตรวจร่างกายอย่างละเอียดจึงทราบ สำหรับเด็กที่มีปัญหาจากแม่ดื่มสุราเมื่อเกิดมาจะมีปัญหาทางสมอง สมาธิไม่ค่อยดี การเรียนรู้ต่ำกว่าปกติ คิดช้า ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมไม่ค่อยดี แต่เนื่องจากไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน เขาก็จะเหมือนเด็กธรรมดาทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาในห้องเรียน เรียนไม่ดี มีพฤติกรรมเกเร เพื่อนไม่ชอบ ครูก็ไม่รัก สุดท้ายอาจนำไปสู่ปัญหายาเสพติดและปัญหาสังคมในอนาคตได้ เด็กกลุ่มนี้สามารถป้องกันได้ 100% วิธีการป้องกันอันดับแรก คือ ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ จะต้องได้รับความรู้เรื่องโทษของการดื่มสุรา และไม่ดื่มสุรา คนอาจจะคิดว่าผู้หญิงดื่มสุราไม่เยอะ เราเคยสำรวจเล็ก ๆ ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย พบว่า ผู้หญิงที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก พอถามว่า ในช่วงก่อนตั้งครรภ์มีการดื่มสุราหรือไม่ ปรากฏว่า 30% ดื่มสุรา การดื่มในปริมาณมาก ๆ มีผลต่อทารกในครรภ์แน่นอน แต่ข้อมูลที่การถกเถียงกัน คือ การดื่มนิดหน่อยอาจจะไม่เป็นอะไร อย่างไรก็ตามยังไม่มีปริมาณที่ปลอดภัยว่าดื่มขนาดไหนลูกจึงปลอดภัย และก็ยังไม่มีข้อมูลหรือผลวิจัยรองรับว่าการดื่มเพียงน้อยนิดจะไม่เกิดผล อะไร ข้อแนะนำ คือ ถ้าเป็นไปได้ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มสุรา โดยปกติในช่วงตั้งครรภ์ผู้หญิงจะหยุดดื่มอยู่แล้ว แต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ บางคนกว่าจะรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็อาจมีการดื่มสุรามาบ้าง ซึ่งมีข้อมูลว่า การดื่มแค่ครั้งคราว หรือเมาแค่ครั้งสองครั้ง แต่ได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปเยอะ ๆ อาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามไม่ถึงกับเป็นข้อกำหนดว่า ถ้าดื่มหนัก 2-3 ครั้งก่อนการตั้งครรภ์ จะต้องถึงขั้นไปทำแท้ง เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันขนาดนั้น แต่พูดง่าย ๆ คือ เราก็ไม่ยืนยันความปลอดภัย ถ้าเป็นไปได้ไม่ดื่มน่าจะดีที่สุด สำหรับกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุรา ยกตัวอย่างผู้หญิงที่ติดเหล้า กลุ่มนี้ต้องให้การดูแลอย่างชัดเจน ว่าจะต้องเตรียมตัวในการตั้งครรภ์อย่างไร สุดท้ายลูกเกิดออกมาแล้ว ก็ต้องมีการประเมิน คัดกรองเด็กตั้งแต่ต้น เพื่อให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม เช่น เด็กสมองไม่ดี เรียนไม่ได้ ตรงนี้ถ้าเรารู้เบื้องต้นเราก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม เด็กก็ดีขึ้นได้ ….สรุปคือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ห้ามดื่มสุราอย่างเด็ดขาดเพื่อสุขภาพของตัวคุณเองและลูกน้อย!?!.....นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/237763 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)