สร้างสื่ออ่านสำหรับเด็กพิเศษต้องทำด้วยคนที่มีหัวใจพิเศษ/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน คอลัมน์ พ่อแม่ลูกปลูกรัก
“สื่อเด็กทั่วไปมักพัฒนามาจากระบบ ทุนนิยม แต่สื่อเด็กพิเศษต้องพัฒนามาจากคนที่มีหัวใจพิเศษ ถ้าทำได้จริงมีโอกาสพัฒนาโดดเด่นชัดเจนกว่าสื่อเด็กทั่วไป หนังสือดีๆ เพื่อเด็กพิเศษต้องมีจุดเด่นเรียกความสนใจ มีความแยบคาย มีมิติสัมพันธ์ความคิดเชื่อมโยง มีการนำตัวเลขมาเชื่อมโยงถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว มีการออกแบบโดยเอาตัวเลขมาเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านั้นแล้วเพิ่มความท้าทายลงไปเด็กก็จะเข้าใจได้ในที่สุด”
คำกล่าวของ ครูชีวัน วิสาสะ ในงานเสวนาหัวข้อ “สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็กแอลดี ร่วมสร้างสรรค์สังคมดีได้อย่างไร” ร่วมกับวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านเด็กพิเศษ ได้แก่ รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ “คุณพุ่ม”, คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.และคุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช ตัวแทนคุณแม่จากครอบครัวเด็กแอลดี (Learning Disabilities; LD.) เป็นการตอกย้ำชัดๆ อีกครั้งว่าสื่ออ่านสำหรับเด็กพิเศษมีความสำคัญมาก ในขณะที่สื่ออ่านเฉพาะทางสำหรับเด็กกลุ่มนี้ในท้องตลาดยังมีน้อยอยู่ จึงจำเป็นเหลือเกินที่ต้องส่งเสริมให้คนทำงานทางด้านเด็กพิเศษให้ผลิตหรือสร้างสรรค์งานเพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มเหล่านี้ให้มากขึ้น
คุณสุดใจ พรหมเกิด ซึ่งเป็นโต้โผใหญ่ในการจัดงานประกวด “สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็กแอลดีครั้งที่ 2” โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้บุคลากรครูพัฒนาสื่ออ่านสำหรับเด็กแอลดีได้ อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มเหล่านี้อย่างถูกวิธี กล่าวว่า ปีนี้มีนวัตกรรมที่ได้แรงบันดาลใจ ลุกขึ้นมาสร้างสื่อเพื่อเด็กแอลดีมากขึ้น มีการนำหลักการทำสื่อมาผสมผสานกันเพื่อให้เด็ก แอลดีอยู่ในสังคมกับเด็กปกติได้ โดยพ่อแม่ควรอ่านหนังสือกระตุ้นเด็ก เด็กก็จะอยากอ่าน ซึ่งความอยากจะทะลุกำแพงที่ปิดกั้นความบกพร่องในการเรียนรู้ได้ เด็กแอลดี ไม่มีปัญหาทางสมอง ความคิดสร้างสรรค์ แต่มีปัญหาการอ่าน การคิดคำนวณเท่านั้น เขาเรียนรู้ได้ แต่เรียนรู้ได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนอื่น ต้องทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ เด็กทุกคนมีจุดเด่นจุดด้อยเด็กแอลดีมีศักยภาพดีมากอย่าให้สูญเสียศักยภาพในตัวเอง
ในขณะที่ รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กล่าวว่า พัฒนาการทำสื่อในส่วนของครูยังต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าใจในธรรมชาติของเด็กแอลดี ปีนี้พัฒนาขึ้นมาก มีหลายชิ้นงานที่น่าสนใจมาก แม้ยังไม่ถ่องแท้ลึกซึ้ง แต่หวังว่า มีส่วนอย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาเด็ก เราเปิดพื้นที่นี้ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของเด็กพิเศษ ให้เห็นความมุ่งมั่นของครูหรือผู้เกี่ยวข้อง การค้นหาสิ่งที่เขาชอบ แล้วเราก็ตามไปส่งเสริมเขา โดยมีเครื่องมือดีๆที่จะส่งต่อเพื่อให้เขาเติบโตไปส่งต่อสิ่งดีๆได้
ทางด้านคุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช หรือแม่ป๋วย มีลูกสาว 2 คน คนโตคือ น้องปอปอ ผู้พี่ซึ่งเป็นเด็กแอลดี และน้องปันปัน ผู้น้องเด็กปกติ ได้เล่าถึงประสบการณ์และความทุ่มเทของคนเป็นแม่ ที่พยายามช่วยเหลือลูก ว่าเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เขาจะเรียนรู้ช้าหน่อย แต่ฝึกได้ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจและต้องแสวงหาความรู้ ต้องมีเครื่องมือสื่อเป็นตัวช่วย ทุกวันนี้น้องปอปอก็สามารถใช้ชีวิตกับเด็กปกติได้อย่างมีความสุข เพียงแต่เราก็ต้องเข้าใจและพยายามฝึกให้เขาเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมไม่ใช่ไปเพ่งที่ด้านการเรียน
ก่อนหน้านี้ ดร.ผดุง อารยะวิญญู นายกสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทย เคยสรุปสถานการณ์โดยรวมของกลุ่มเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้จากภาวะทางสมอง ได้แก่ สมาธิสั้น แอลดี เรียนรู้ช้า และออทิสติก มีถึง 12-13% ของประชากรเด็กทั้งหมด แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ประชากรที่เพิ่มขึ้น การค้นพบเด็กได้มากขึ้น รวมถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษและอาหารล้วนมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลหรือไม่ถูกยอมรับก็จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อนหรือเสียโอกาสทางการศึกษา
ปัจจุบันกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทุก 500 คนจะเป็นออทิสติก 1 คน ส่วนแอลดีแท้ 5% ขณะที่แอลดีแฝง หรือกลุ่มที่มีปัญหาด้านการอ่านมีถึง 10% ของเด็กทั้งหมด เด็กกลุ่มนี้ยังมีความสามารถในการเรียนรู้ แต่จะมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป จึงต้องอาศัยคนใกล้ตัวคือผู้ปกครองและครูช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ เหมาะกับศักยภาพและความสามารถของเด็กเหล่านั้น เช่น เด็กไม่สามารถอ่านก็สามารถเรียนรู้จากการฟัง หรือดูวิดีโอได้ หรือเด็กอาจจะเก่งทางด้านกีฬา เป็นต้น หากเราสามารถตรวจเจอได้เร็วและพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ยังเล็กจะสามารถช่วยพัฒนาให้ดีขึ้นได้
วิธีสังเกตอาการว่าเด็กเข้าข่ายบกพร่องการเรียนรู้หรือไม่ ในกลุ่มแอลดี จะทราบเมื่อเข้าเรียนแล้ว ในเด็กอนุบาลจะไม่เข้าใจคำสั่งโดยเฉพาะคำสั่งทิศทาง เป็นคนไม่มีระเบียบ เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการแปลสัญลักษณ์ การรักษาจึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบ ใหม่ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ปัญหาในปัจจุบันคือ เด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงการคัดกรอง เพราะขณะนี้สามารถคัดกรองเด็กได้ 140,000 คน แต่มีเด็กที่มีสัญญาณอีกถึง 900,000 คน
อย่างไรก็ตาม ภายในงานเสวนามีพ่อแม่ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มหนึ่งที่ได้เพียร พยายาม และอดทนที่จะเปิดโลกแห่งการอ่านให้กับลูก จนค้นพบความมหัศจรรย์จากการอ่านจากเด็กน้อยทั้งสองคน คือน้องเชสเตอร์และน้องวุฒิที่ได้มาเล่านิทานให้ฟังได้อย่างน่ารักและประทับ ใจมาก มีประสบการณ์บางส่วนของคุณแม่ทั้งสองที่น่าสนใจค่ะ
คุณวราภรณ์ นาน้ำเชี่ยว คุณแม่ของน้องวุฒิซึ่งมีภาวะสมาธิสั้น แต่คุณแม่หันมาใช้นิทานกับลูก มาจากการที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม ‘นิทานสร้างได้’ “ตอนแรกที่เริ่มอ่านนิทานเขาจะไม่สนใจเลย พอแม่เล่าให้ฟังก็พยายามปิดหนังสือ ไม่ก็เดินหนีไปเลย ไม่อยากฟัง แม่ก็พยายามอ่านให้ฟัง พอจำเรื่องได้ก็เล่าให้เขาฟังไปเรื่อยๆ เหมือนพูดอยู่คนเดียวก็มี ใช้เวลาเกือบเดือน เล่าอยู่เรื่องเดียว จนมีอยู่วันหนึ่ง เขาก็เป็นคนที่ลุกขึ้นมาหยิบหนังสือขึ้นมาเปิดให้แม่อ่านให้ฟังเองเลย ต่อมาพอเป็นเล่มต่อๆ มา ได้หนังสือมาปุ๊บ เขาก็ให้แม่เล่าให้ฟังเอง ไม่ต้องบังคับ พอหลังๆ เขาก็จะเริ่มมาถามว่า แม่เรื่องนี้เขาสอนว่าอะไรบ้าง ต้องทำความดีไหม ต้องช่วยเหลือแม่ไหม ยิ่งพอเขาได้มาเล่านิทานให้ทุกคนฟัง ได้เจอกับกลุ่มเพื่อน ได้แสดงออกให้ทุกคนเห็นว่าเขาทำได้ เขาก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองด้วย”
ทางด้านคุณสกุลศรี บุญโชติอนันท์ คุณแม่กุลของน้อง เชสเตอร์ ซึ่งมีภาวะออทิสติก แต่คุณแม่ไม่ย่อท้อที่จะพัฒนาให้เขาดีขึ้น จากการเริ่มใช้นิทานภาพ หนังสือคำกลอนกับลูกมาตั้งแต่ 1 ขวบกว่าจนปัจจุบันน้องเชสเตอร์วัย 10 ปีกว่า ก็ยังมีหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต “นิทานช่วยพัฒนาภาษา สมาธิ จินตนาการได้ดีมากๆ เพราะเด็กกลุ่มนี้ แทบจะไม่มีในส่วนนี้เลย พ่อแม่ที่มาใช้นิทานกับลูกจะช่วยได้มาก เริ่มจากแค่วันละ 5 นาทีก็ได้ โดยใช้หนังสือภาพก่อน แล้วเป็นนิทานคำกลอนสั้นๆ แล้วค่อยพัฒนาเป็นหนังสือที่มีเนื้อหามากขึ้น แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป” แม้ต้องทุ่มเทเวลา และความพยายามพัฒนาลูกในด้านต่างๆมาก แต่หัวใจสำคัญอันดับแรกคือ “เราต้องยอมรับในตัวลูก สิ่งที่เขาเป็น แล้วเริ่มพัฒนาลูก หาความรู้ เข้าไปยังสถานที่ฝึกหรือโรงพยาบาลที่มีกลุ่มพัฒนาเหล่านี้อยู่ เข้าไปเรียนรู้แล้วนำมาต่อยอดกับลูกที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องทักษะชีวิต ทักษะสังคม สำคัญกับลูกมากๆ ถ้าไม่ฝึก เขาก็จะทำไม่ได้ ใช้หลายๆ อย่างควบคู่กันความรักความอดทนและความสนใจใส่ใจที่เพิ่มมากขึ้น”
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ความพยายามจากทุกฝ่ายในการช่วยเหลือกลุ่มเด็กพิเศษ โดยใช้โลกแห่งการอ่านเป็นประตูไปสู่การช่วยเหลือ และส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กๆ สิ่งที่ครูชีวันกล่าวไว้ในประโยคแรกว่า “สื่อเด็กพิเศษต้องพัฒนามาจากคนที่มีหัวใจพิเศษ” เป็นเช่นนั้นจริงค่ะ
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000144306 (ขนาดไฟล์: 164)
(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ย.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพวาดการ์ตูน แม่สอนลูกน้อยอ่านหนังสือ “สื่อเด็กทั่วไปมักพัฒนามาจากระบบ ทุนนิยม แต่สื่อเด็กพิเศษต้องพัฒนามาจากคนที่มีหัวใจพิเศษ ถ้าทำได้จริงมีโอกาสพัฒนาโดดเด่นชัดเจนกว่าสื่อเด็กทั่วไป หนังสือดีๆ เพื่อเด็กพิเศษต้องมีจุดเด่นเรียกความสนใจ มีความแยบคาย มีมิติสัมพันธ์ความคิดเชื่อมโยง มีการนำตัวเลขมาเชื่อมโยงถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว มีการออกแบบโดยเอาตัวเลขมาเชื่อมโยงกับสิ่งเหล่านั้นแล้วเพิ่มความท้าทายลงไปเด็กก็จะเข้าใจได้ในที่สุด” คำกล่าวของ ครูชีวัน วิสาสะ ในงานเสวนาหัวข้อ “สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็กแอลดี ร่วมสร้างสรรค์สังคมดีได้อย่างไร” ร่วมกับวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านเด็กพิเศษ ได้แก่ รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ “คุณพุ่ม”, คุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.และคุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช ตัวแทนคุณแม่จากครอบครัวเด็กแอลดี (Learning Disabilities; LD.) เป็นการตอกย้ำชัดๆ อีกครั้งว่าสื่ออ่านสำหรับเด็กพิเศษมีความสำคัญมาก ในขณะที่สื่ออ่านเฉพาะทางสำหรับเด็กกลุ่มนี้ในท้องตลาดยังมีน้อยอยู่ จึงจำเป็นเหลือเกินที่ต้องส่งเสริมให้คนทำงานทางด้านเด็กพิเศษให้ผลิตหรือสร้างสรรค์งานเพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มเหล่านี้ให้มากขึ้น คุณสุดใจ พรหมเกิด ซึ่งเป็นโต้โผใหญ่ในการจัดงานประกวด “สื่ออ่านสร้างสุขเพื่อเด็กแอลดีครั้งที่ 2” โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้บุคลากรครูพัฒนาสื่ออ่านสำหรับเด็กแอลดีได้ อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือเด็กกลุ่มเหล่านี้อย่างถูกวิธี กล่าวว่า ปีนี้มีนวัตกรรมที่ได้แรงบันดาลใจ ลุกขึ้นมาสร้างสื่อเพื่อเด็กแอลดีมากขึ้น มีการนำหลักการทำสื่อมาผสมผสานกันเพื่อให้เด็ก แอลดีอยู่ในสังคมกับเด็กปกติได้ โดยพ่อแม่ควรอ่านหนังสือกระตุ้นเด็ก เด็กก็จะอยากอ่าน ซึ่งความอยากจะทะลุกำแพงที่ปิดกั้นความบกพร่องในการเรียนรู้ได้ เด็กแอลดี ไม่มีปัญหาทางสมอง ความคิดสร้างสรรค์ แต่มีปัญหาการอ่าน การคิดคำนวณเท่านั้น เขาเรียนรู้ได้ แต่เรียนรู้ได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนอื่น ต้องทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสามารถ เด็กทุกคนมีจุดเด่นจุดด้อยเด็กแอลดีมีศักยภาพดีมากอย่าให้สูญเสียศักยภาพในตัวเอง ในขณะที่ รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กล่าวว่า พัฒนาการทำสื่อในส่วนของครูยังต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเข้าใจในธรรมชาติของเด็กแอลดี ปีนี้พัฒนาขึ้นมาก มีหลายชิ้นงานที่น่าสนใจมาก แม้ยังไม่ถ่องแท้ลึกซึ้ง แต่หวังว่า มีส่วนอย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาเด็ก เราเปิดพื้นที่นี้ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของเด็กพิเศษ ให้เห็นความมุ่งมั่นของครูหรือผู้เกี่ยวข้อง การค้นหาสิ่งที่เขาชอบ แล้วเราก็ตามไปส่งเสริมเขา โดยมีเครื่องมือดีๆที่จะส่งต่อเพื่อให้เขาเติบโตไปส่งต่อสิ่งดีๆได้ ทางด้านคุณอุไรวรรณ เจริญถาวรพานิช หรือแม่ป๋วย มีลูกสาว 2 คน คนโตคือ น้องปอปอ ผู้พี่ซึ่งเป็นเด็กแอลดี และน้องปันปัน ผู้น้องเด็กปกติ ได้เล่าถึงประสบการณ์และความทุ่มเทของคนเป็นแม่ ที่พยายามช่วยเหลือลูก ว่าเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เขาจะเรียนรู้ช้าหน่อย แต่ฝึกได้ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจและต้องแสวงหาความรู้ ต้องมีเครื่องมือสื่อเป็นตัวช่วย ทุกวันนี้น้องปอปอก็สามารถใช้ชีวิตกับเด็กปกติได้อย่างมีความสุข เพียงแต่เราก็ต้องเข้าใจและพยายามฝึกให้เขาเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมไม่ใช่ไปเพ่งที่ด้านการเรียน ก่อนหน้านี้ ดร.ผดุง อารยะวิญญู นายกสมาคมแอลดีแห่งประเทศไทย เคยสรุปสถานการณ์โดยรวมของกลุ่มเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้จากภาวะทางสมอง ได้แก่ สมาธิสั้น แอลดี เรียนรู้ช้า และออทิสติก มีถึง 12-13% ของประชากรเด็กทั้งหมด แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ประชากรที่เพิ่มขึ้น การค้นพบเด็กได้มากขึ้น รวมถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษและอาหารล้วนมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลหรือไม่ถูกยอมรับก็จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อนหรือเสียโอกาสทางการศึกษา ปัจจุบันกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสมองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทุก 500 คนจะเป็นออทิสติก 1 คน ส่วนแอลดีแท้ 5% ขณะที่แอลดีแฝง หรือกลุ่มที่มีปัญหาด้านการอ่านมีถึง 10% ของเด็กทั้งหมด เด็กกลุ่มนี้ยังมีความสามารถในการเรียนรู้ แต่จะมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป จึงต้องอาศัยคนใกล้ตัวคือผู้ปกครองและครูช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ เหมาะกับศักยภาพและความสามารถของเด็กเหล่านั้น เช่น เด็กไม่สามารถอ่านก็สามารถเรียนรู้จากการฟัง หรือดูวิดีโอได้ หรือเด็กอาจจะเก่งทางด้านกีฬา เป็นต้น หากเราสามารถตรวจเจอได้เร็วและพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ยังเล็กจะสามารถช่วยพัฒนาให้ดีขึ้นได้ วิธีสังเกตอาการว่าเด็กเข้าข่ายบกพร่องการเรียนรู้หรือไม่ ในกลุ่มแอลดี จะทราบเมื่อเข้าเรียนแล้ว ในเด็กอนุบาลจะไม่เข้าใจคำสั่งโดยเฉพาะคำสั่งทิศทาง เป็นคนไม่มีระเบียบ เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการแปลสัญลักษณ์ การรักษาจึงเป็นหน้าที่ของครูและผู้ปกครองในการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบ ใหม่ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ปัญหาในปัจจุบันคือ เด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงการคัดกรอง เพราะขณะนี้สามารถคัดกรองเด็กได้ 140,000 คน แต่มีเด็กที่มีสัญญาณอีกถึง 900,000 คน อย่างไรก็ตาม ภายในงานเสวนามีพ่อแม่ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มหนึ่งที่ได้เพียร พยายาม และอดทนที่จะเปิดโลกแห่งการอ่านให้กับลูก จนค้นพบความมหัศจรรย์จากการอ่านจากเด็กน้อยทั้งสองคน คือน้องเชสเตอร์และน้องวุฒิที่ได้มาเล่านิทานให้ฟังได้อย่างน่ารักและประทับ ใจมาก มีประสบการณ์บางส่วนของคุณแม่ทั้งสองที่น่าสนใจค่ะ คุณวราภรณ์ นาน้ำเชี่ยว คุณแม่ของน้องวุฒิซึ่งมีภาวะสมาธิสั้น แต่คุณแม่หันมาใช้นิทานกับลูก มาจากการที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม ‘นิทานสร้างได้’ “ตอนแรกที่เริ่มอ่านนิทานเขาจะไม่สนใจเลย พอแม่เล่าให้ฟังก็พยายามปิดหนังสือ ไม่ก็เดินหนีไปเลย ไม่อยากฟัง แม่ก็พยายามอ่านให้ฟัง พอจำเรื่องได้ก็เล่าให้เขาฟังไปเรื่อยๆ เหมือนพูดอยู่คนเดียวก็มี ใช้เวลาเกือบเดือน เล่าอยู่เรื่องเดียว จนมีอยู่วันหนึ่ง เขาก็เป็นคนที่ลุกขึ้นมาหยิบหนังสือขึ้นมาเปิดให้แม่อ่านให้ฟังเองเลย ต่อมาพอเป็นเล่มต่อๆ มา ได้หนังสือมาปุ๊บ เขาก็ให้แม่เล่าให้ฟังเอง ไม่ต้องบังคับ พอหลังๆ เขาก็จะเริ่มมาถามว่า แม่เรื่องนี้เขาสอนว่าอะไรบ้าง ต้องทำความดีไหม ต้องช่วยเหลือแม่ไหม ยิ่งพอเขาได้มาเล่านิทานให้ทุกคนฟัง ได้เจอกับกลุ่มเพื่อน ได้แสดงออกให้ทุกคนเห็นว่าเขาทำได้ เขาก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองด้วย” ทางด้านคุณสกุลศรี บุญโชติอนันท์ คุณแม่กุลของน้อง เชสเตอร์ ซึ่งมีภาวะออทิสติก แต่คุณแม่ไม่ย่อท้อที่จะพัฒนาให้เขาดีขึ้น จากการเริ่มใช้นิทานภาพ หนังสือคำกลอนกับลูกมาตั้งแต่ 1 ขวบกว่าจนปัจจุบันน้องเชสเตอร์วัย 10 ปีกว่า ก็ยังมีหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต “นิทานช่วยพัฒนาภาษา สมาธิ จินตนาการได้ดีมากๆ เพราะเด็กกลุ่มนี้ แทบจะไม่มีในส่วนนี้เลย พ่อแม่ที่มาใช้นิทานกับลูกจะช่วยได้มาก เริ่มจากแค่วันละ 5 นาทีก็ได้ โดยใช้หนังสือภาพก่อน แล้วเป็นนิทานคำกลอนสั้นๆ แล้วค่อยพัฒนาเป็นหนังสือที่มีเนื้อหามากขึ้น แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลาค่อยเป็นค่อยไป” แม้ต้องทุ่มเทเวลา และความพยายามพัฒนาลูกในด้านต่างๆมาก แต่หัวใจสำคัญอันดับแรกคือ “เราต้องยอมรับในตัวลูก สิ่งที่เขาเป็น แล้วเริ่มพัฒนาลูก หาความรู้ เข้าไปยังสถานที่ฝึกหรือโรงพยาบาลที่มีกลุ่มพัฒนาเหล่านี้อยู่ เข้าไปเรียนรู้แล้วนำมาต่อยอดกับลูกที่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องทักษะชีวิต ทักษะสังคม สำคัญกับลูกมากๆ ถ้าไม่ฝึก เขาก็จะทำไม่ได้ ใช้หลายๆ อย่างควบคู่กันความรักความอดทนและความสนใจใส่ใจที่เพิ่มมากขึ้น” นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ความพยายามจากทุกฝ่ายในการช่วยเหลือกลุ่มเด็กพิเศษ โดยใช้โลกแห่งการอ่านเป็นประตูไปสู่การช่วยเหลือ และส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กๆ สิ่งที่ครูชีวันกล่าวไว้ในประโยคแรกว่า “สื่อเด็กพิเศษต้องพัฒนามาจากคนที่มีหัวใจพิเศษ” เป็นเช่นนั้นจริงค่ะ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000144306 (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ย.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)