เอสแคป ยกย่ององค์กรเอื้อเฟื้อคนพิการ
เพื่อส่งเสริมสิทธิ และโอกาสของผู้พิการในสังคม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ร่วมกับ มูลนิธินิปปอน และ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก จัดให้มีการมอบรางวัล “ESCAP-Sasakawa” ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ และเป็นการขานรับทศวรรษแห่งผู้พิการในทวีปเอเชียแปซิฟิก ระหว่างปี 2556-2565 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นายมีชัย วีระไวทยะ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเร็วๆนี้
ดร.โน ลีน เฮเซอร์ เลขาธิการยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า การที่เราให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้พิการนั้นเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาและจะเป็นการช่วยพาเขาออกจากความยากจน และให้เขาได้รับรู้ถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมด้วย ด้าน นันดา ไกรฤกษ์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาสังคม ยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า กลุ่มผู้ทุพพลภาพ ถือเป็นกลุ่มคนที่อาจจะไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร และคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ว่า คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีศักยภาพและอยู่ในสัดส่วนจำนวนมาก ถึงร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมดทั่วโลก และในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคิดเป็นจำนวน 650 ล้านคน ยูเอ็นเอสแคปเห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีศักยภาพที่องค์กรและธุรกิจต่างๆ ควรหันมาให้ความสนใจ ไม่เพียงมอบโอกาสและโครงสร้างพื้นฐาน มอบสิทธิความเท่าเทียมให้กับพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและผลกำไรทางธุรกิจให้แก่บริษัทต่างๆด้วย นี่คือประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับและอยากกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต่างๆ หันมาใส่ใจผู้ทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น โดยรางวัลนี้จะจัดต่อเนื่องไปเป็นเวลา 10 ปี ตลอดทศวรรษแห่งผู้พิการ
การมอบรางวัลครั้งนี้ คัดจากบริษัทที่สมัครเข้ามาทั้งสิ้นประมาณ 70 บริษัท จาก 58 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติ ได้แก่ บริษัท ไวโปร จำกัด ซึ่ง ให้คำปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์สด้านไอทีระดับโลก จากประเทศอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนทั้งพนักงานที่พิการอยู่แล้วและเกิดความพิการระหว่างการทำ งาน ซึ่ง มร.ไอแซค จอร์จ ผู้บริหาร กล่าวว่า บริษัทเราเน้นการจ้างงานผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2552 และได้พัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อโอกาสต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันเรามีพนักงานผู้พิการทั้งสิ้น 450 คน
ส่วนผู้ชนะรางวัล ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ ซึ่ง มร.จักดีพ ธาคราล ผู้จัดการทั่วไปกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวนถึง 13% โดยทำงานในแผนกต่างๆ ทั้งส่วนงานต้อนรับ แผนกครัว ทำความสะอาดห้องพัก ฯลฯ และเราตั้งใจที่จะเพิ่มจำนวนให้เป็น 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า สุดท้ายเป็นรางวัลประเภทผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ บริษัท Trash to Cash จำกัด บริษัทที่นำขยะมาทำให้เกิดประโยชน์จากประเทศอินเดีย ซึ่ง มาดูมิตา ปูริ ผู้บริหารกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวน 65% ส่วนพนักงานอื่นๆ ก็เป็นคนยากจน ได้รับการศึกษาน้อย โดยเรามองว่าเราไม่ได้เป็นธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาล แต่เรามีแนวคิดที่จะทำธุรกิจที่ยั่งยืน.
ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/388666
(ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
มีชัย วีระไวทยะ,อานันท์ ปันยารชุน, ดร.โนลีน เฮเซอร์ และ ดร.เตช บุนนาค ร่วมงานมอบรางวัล “ESCAP–Sasakawa” ยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ.เพื่อส่งเสริมสิทธิ และโอกาสของผู้พิการในสังคม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) ร่วมกับ มูลนิธินิปปอน และ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก จัดให้มีการมอบรางวัล “ESCAP-Sasakawa” ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อยกย่ององค์กรต่างๆ ที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ และเป็นการขานรับทศวรรษแห่งผู้พิการในทวีปเอเชียแปซิฟิก ระหว่างปี 2556-2565 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นายมีชัย วีระไวทยะ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมื่อเร็วๆนี้ ดร.โน ลีน เฮเซอร์ เลขาธิการยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า การที่เราให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้พิการนั้นเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาและจะเป็นการช่วยพาเขาออกจากความยากจน และให้เขาได้รับรู้ถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อันเท่าเทียมด้วย ด้าน นันดา ไกรฤกษ์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาสังคม ยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า กลุ่มผู้ทุพพลภาพ ถือเป็นกลุ่มคนที่อาจจะไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร และคนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ว่า คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีศักยภาพและอยู่ในสัดส่วนจำนวนมาก ถึงร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมดทั่วโลก และในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคิดเป็นจำนวน 650 ล้านคน ยูเอ็นเอสแคปเห็นว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีศักยภาพที่องค์กรและธุรกิจต่างๆ ควรหันมาให้ความสนใจ ไม่เพียงมอบโอกาสและโครงสร้างพื้นฐาน มอบสิทธิความเท่าเทียมให้กับพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและผลกำไรทางธุรกิจให้แก่บริษัทต่างๆด้วย นี่คือประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับและอยากกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต่างๆ หันมาใส่ใจผู้ทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น โดยรางวัลนี้จะจัดต่อเนื่องไปเป็นเวลา 10 ปี ตลอดทศวรรษแห่งผู้พิการ นัน ดา ไกรฤกษ์ จากยูเอ็นเอสแคป (ที่ 2 จากซ้าย) พร้อมด้วยตัวแทนองค์กรที่ได้รับรางวัล ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ มร.ไอแซค จอร์จ,มาดูมิตา ปูริ และ มร.จักดีพ ธาคราล. การมอบรางวัลครั้งนี้ คัดจากบริษัทที่สมัครเข้ามาทั้งสิ้นประมาณ 70 บริษัท จาก 58 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติ ได้แก่ บริษัท ไวโปร จำกัด ซึ่ง ให้คำปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์สด้านไอทีระดับโลก จากประเทศอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนทั้งพนักงานที่พิการอยู่แล้วและเกิดความพิการระหว่างการทำ งาน ซึ่ง มร.ไอแซค จอร์จ ผู้บริหาร กล่าวว่า บริษัทเราเน้นการจ้างงานผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2552 และได้พัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อโอกาสต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันเรามีพนักงานผู้พิการทั้งสิ้น 450 คน ส่วนผู้ชนะรางวัล ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ ซึ่ง มร.จักดีพ ธาคราล ผู้จัดการทั่วไปกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวนถึง 13% โดยทำงานในแผนกต่างๆ ทั้งส่วนงานต้อนรับ แผนกครัว ทำความสะอาดห้องพัก ฯลฯ และเราตั้งใจที่จะเพิ่มจำนวนให้เป็น 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า สุดท้ายเป็นรางวัลประเภทผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ บริษัท Trash to Cash จำกัด บริษัทที่นำขยะมาทำให้เกิดประโยชน์จากประเทศอินเดีย ซึ่ง มาดูมิตา ปูริ ผู้บริหารกล่าวว่า พนักงานของเราที่เป็นผู้พิการมีจำนวน 65% ส่วนพนักงานอื่นๆ ก็เป็นคนยากจน ได้รับการศึกษาน้อย โดยเรามองว่าเราไม่ได้เป็นธุรกิจที่ทำกำไรมหาศาล แต่เรามีแนวคิดที่จะทำธุรกิจที่ยั่งยืน. ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/388666 (ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)