ท้องไม่พร้อมส่งผลลูกเป็นดาวน์ซินโดรม
พ่อแม่ต้องทำใจ พัฒนา กระตุ้นพัฒนาการ เลี้ยงด้วยความรัก อย่าสงสาร เมื่อดาวน์ซินโดรม ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยครองอันดับ 1 ของเอเชีย เรื่องสถิติมีแม่วัยทีน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน เพราะแม่ที่อายุน้อยถ้าตั้งครรภ์จะคลอดลูกที่มีน้ำหนักน้อยกว่ากำหนด รวมไปถึงความพิการ สมองพิการ ตัวเหลือง รวมไปถึงพัฒนาการล่าช้าได้
เนื่องจากก่อนมีลูกนั้นพ่อแม่ต้องมีการเตรียมตัว มีการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่ท้องแล้วยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด การพิการแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ เนื่องจากสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการได้นั้นมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ สาเหตุแรกที่มีมากกว่าครึ่งเกิดจากพันธุกรรม ส่วนอีกครึ่งมีผลมาจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงยาที่รับประทาน หรือโภชนาการที่ไม่เหมาะสม รวมถึงบุหรี่ เหล้า ยาเสพติด และโรคติดเชื้อที่เกิดจากเพศสัมพันธ์
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความพิการต่อทารกได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเป็นการป้องกัน เพราะคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าไม่สามารถป้องกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วป้องกันได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรให้ความรู้อย่างมากคือการป้องกันก่อนท้อง ต้องมีการวางแผน
หากอยากได้ลูกที่มีคุณภาพดีต้องมีการซักประวัติพ่อแม่ ต้องเช็กพันธุกรรมรวมไปถึงภูมิลำเนา อายุก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพ่อแม่อายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าที่จะทำให้ลูกมีโครโมโซมผิดปกติ หรืออายุน้อยไปก็ไม่ดี เตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อาจจะเป็นเรื่องใหม่ในเมืองไทย โดยเฉพาะวิตามินโฟเลท ที่จะช่วยป้องกันโรคความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมดก็เป็นเรื่องใหม่ด้วย เช่นกัน "หมอก็ยังยืนยันว่าการป้องกันที่จะได้ผลดีที่สุดก็คือ เตรียมความพร้อมก่อนมีลูก เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ถ้ากินโฟเลทตั้งแต่อายุ 14-15 เลยก็ยิ่งดี"
ในปัจจุบันเราสามารถตรวจได้ว่าลูกของเราพิการแต่กำเนิดหรือไม่ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ อัลตราซาวนด์ต่างๆ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าลูกพิการไปแล้วจะทำยังไง ถ้าตั้งครรภ์แล้วทางเลือกก็มีแค่ดูแลลูกต่อไป หรือยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเรื่องกฎหมายและเรื่องมนุษยธรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่พ่อแม่จะทำไม่ค่อยได้ การตรวจสอบถ้าจะพบได้ก็ประมาณ 4 เดือน ดังนั้นเด็กจะเริ่มดิ้นแล้วจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อด้านจิตใจของพ่อแม่อีกด้วย
นางนิตยา อมรเนรมิตกิจ ผู้ปกครองเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม กล่าวว่า นับเป็นความโชคดีที่ได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนและอยู่ในความดูแลของ คุณหมอตลอด เนื่องจากในปัจจุบันสังคมก็ค่อนข้างจะเปิดรับมากกว่าเมื่อก่อน สังคมจึงมีส่วนช่วยด้วย อย่างพัฒนาการจริงน้องที่โดดเด่นกว่าคนอื่นก็คือ คอมพิวเตอร์ เพราะลูกเล่นวิดีโอเกมเก่งมาก
ซึ่งในตอนแรกเราจะต้านไม่ให้เขาเล่น จนกระทั่งพบคุณหมอท่านหนึ่งเขาบอกว่าให้เล่นไปเลย เพราะว่าจะสามารถช่วยให้เขาหัดแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งผลก็ออกมาเป็นแบบนั้นจริงๆ อย่างบางวันคุณแม่ลืมเตรียมอาหารไว้ให้ เขาก็สามารถออกไปหาซื้อที่เซเว่น ที่ร้านข้าวต่างๆ ได้
ด้านนายอนันต์ โสภิณ ผู้ปกครองบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเช่นกันกล่าวว่า จะเลี้ยงดูลูกด้วยความรัก แต่จะไม่สงสาร การที่ครอบครัวทำใจและยอมรับเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เดินหน้าต่อไปได้ แม้การรักษาอาการในปัจจุบันยังไม่มีการยืนยัน แต่กระตุ้นพัฒนาการให้เด็กสามารถเติบโตและช่วยเหลือตัวเองได้
ดังนั้นการยอมรับได้เร็วจะสร้างโอกาสให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ โดยจำเป็นต้องวางแผนในการดูแลทั้งสุขภาพกายและพัฒนาการ เพราะเด็กที่มีอาการดาวน์ อาจจะมีความผิดปกติทางร่างกายหลายอย่าง เช่น หัวใจ ตา หู ที่ต้องดูแลร่วมกัน
อย่างไรก็ตามหลายครอบครัวที่ยอมรับไม่ได้อาจเกิดจากความไม่รู้และไม่เข้าใจ ว่าหากได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องเด็กจะสามารถอยู่ในสังคมได้ ดังนั้นจึงต้องไม่ปิดกั้นเด็ก โดยการเก็บตัวให้อยู่แต่ในบ้าน แต่ต้องพาออกสังคมเพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการอีกทางด้วย
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140217/179059.html#.UwHHT_syPlA (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ครอบครัวผู้ปกครองเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม พ่อแม่ต้องทำใจ พัฒนา กระตุ้นพัฒนาการ เลี้ยงด้วยความรัก อย่าสงสาร เมื่อดาวน์ซินโดรม ศ.เกียรติคุณ พญ.พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยครองอันดับ 1 ของเอเชีย เรื่องสถิติมีแม่วัยทีน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน เพราะแม่ที่อายุน้อยถ้าตั้งครรภ์จะคลอดลูกที่มีน้ำหนักน้อยกว่ากำหนด รวมไปถึงความพิการ สมองพิการ ตัวเหลือง รวมไปถึงพัฒนาการล่าช้าได้ เนื่องจากก่อนมีลูกนั้นพ่อแม่ต้องมีการเตรียมตัว มีการดูแลสุขภาพ ไม่ใช่ท้องแล้วยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด การพิการแต่กำเนิดเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ เนื่องจากสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการได้นั้นมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ สาเหตุแรกที่มีมากกว่าครึ่งเกิดจากพันธุกรรม ส่วนอีกครึ่งมีผลมาจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงยาที่รับประทาน หรือโภชนาการที่ไม่เหมาะสม รวมถึงบุหรี่ เหล้า ยาเสพติด และโรคติดเชื้อที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ ครอบครัวผู้ปกครองเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรมปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความพิการต่อทารกได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อเป็นการป้องกัน เพราะคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าไม่สามารถป้องกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วป้องกันได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรให้ความรู้อย่างมากคือการป้องกันก่อนท้อง ต้องมีการวางแผน หากอยากได้ลูกที่มีคุณภาพดีต้องมีการซักประวัติพ่อแม่ ต้องเช็กพันธุกรรมรวมไปถึงภูมิลำเนา อายุก็เป็นสิ่งสำคัญ หากพ่อแม่อายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าที่จะทำให้ลูกมีโครโมโซมผิดปกติ หรืออายุน้อยไปก็ไม่ดี เตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อาจจะเป็นเรื่องใหม่ในเมืองไทย โดยเฉพาะวิตามินโฟเลท ที่จะช่วยป้องกันโรคความพิการแต่กำเนิดได้เกือบทั้งหมดก็เป็นเรื่องใหม่ด้วย เช่นกัน "หมอก็ยังยืนยันว่าการป้องกันที่จะได้ผลดีที่สุดก็คือ เตรียมความพร้อมก่อนมีลูก เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ถ้ากินโฟเลทตั้งแต่อายุ 14-15 เลยก็ยิ่งดี" ในปัจจุบันเราสามารถตรวจได้ว่าลูกของเราพิการแต่กำเนิดหรือไม่ ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ อัลตราซาวนด์ต่างๆ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าลูกพิการไปแล้วจะทำยังไง ถ้าตั้งครรภ์แล้วทางเลือกก็มีแค่ดูแลลูกต่อไป หรือยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเรื่องกฎหมายและเรื่องมนุษยธรรม ซึ่งโดยส่วนใหญ่พ่อแม่จะทำไม่ค่อยได้ การตรวจสอบถ้าจะพบได้ก็ประมาณ 4 เดือน ดังนั้นเด็กจะเริ่มดิ้นแล้วจึงก่อให้เกิดปัญหาต่อด้านจิตใจของพ่อแม่อีกด้วย นางนิตยา อมรเนรมิตกิจ ผู้ปกครองเด็กที่มีอาการดาวน์ซินโดรม กล่าวว่า นับเป็นความโชคดีที่ได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนและอยู่ในความดูแลของ คุณหมอตลอด เนื่องจากในปัจจุบันสังคมก็ค่อนข้างจะเปิดรับมากกว่าเมื่อก่อน สังคมจึงมีส่วนช่วยด้วย อย่างพัฒนาการจริงน้องที่โดดเด่นกว่าคนอื่นก็คือ คอมพิวเตอร์ เพราะลูกเล่นวิดีโอเกมเก่งมาก ซึ่งในตอนแรกเราจะต้านไม่ให้เขาเล่น จนกระทั่งพบคุณหมอท่านหนึ่งเขาบอกว่าให้เล่นไปเลย เพราะว่าจะสามารถช่วยให้เขาหัดแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งผลก็ออกมาเป็นแบบนั้นจริงๆ อย่างบางวันคุณแม่ลืมเตรียมอาหารไว้ให้ เขาก็สามารถออกไปหาซื้อที่เซเว่น ที่ร้านข้าวต่างๆ ได้ อเสวนาโครงการปฏิบัติการระดับชาติเพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาด้านนายอนันต์ โสภิณ ผู้ปกครองบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเช่นกันกล่าวว่า จะเลี้ยงดูลูกด้วยความรัก แต่จะไม่สงสาร การที่ครอบครัวทำใจและยอมรับเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เดินหน้าต่อไปได้ แม้การรักษาอาการในปัจจุบันยังไม่มีการยืนยัน แต่กระตุ้นพัฒนาการให้เด็กสามารถเติบโตและช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นการยอมรับได้เร็วจะสร้างโอกาสให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่างๆ โดยจำเป็นต้องวางแผนในการดูแลทั้งสุขภาพกายและพัฒนาการ เพราะเด็กที่มีอาการดาวน์ อาจจะมีความผิดปกติทางร่างกายหลายอย่าง เช่น หัวใจ ตา หู ที่ต้องดูแลร่วมกัน อย่างไรก็ตามหลายครอบครัวที่ยอมรับไม่ได้อาจเกิดจากความไม่รู้และไม่เข้าใจ ว่าหากได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้องเด็กจะสามารถอยู่ในสังคมได้ ดังนั้นจึงต้องไม่ปิดกั้นเด็ก โดยการเก็บตัวให้อยู่แต่ในบ้าน แต่ต้องพาออกสังคมเพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการอีกทางด้วย ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140217/179059.html#.UwHHT_syPlA คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)