กสทช. ระดมความเห็นจัดบริการล่ามภาษามือทางโทรทัศน์เพื่อคนหูหนวก
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๖ กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ และคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพื้นฐานบางประการ เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของบุคคลดังกล่าว ประกอบกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๕๒ (๒) กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมในการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดย ได้มีประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๑๐ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการให้บริการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป โดยให้จัดบริการล่ามภาษามือสำหรับรายการที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ออกอากาศอย่างน้อยวันละหกสิบนาที ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ได้ดำเนินบริการโทรทัศน์ ที่จัดให้มีล่ามภาษามือมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
- ผู้เข้าร่วมสัมมนา “ความต้องการ แนวคิดและข้อเสนอของคนหูหนวกและล่ามภาษามือสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ
- คณะวิทยากร นำเสนอประสบการณ์การจัดบริการล่ามภาษามือผ่านสื่อโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ
กสทช. จึงสนับสนุนให้สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ร่วมกันจัดทำโครงการ สัมมนา เรื่อง “ความต้องการ แนวคิดและข้อเสนอของคนหูหนวกและล่ามภาษามือสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ” เมื่อวันที่ ๒๕ มี.ค.๕๗ ณ โรงแรมทีเค พาเลส เพื่อศึกษาความต้องการ แนวคิดและจัดข้อเสนอของคนหูหนวกและล่ามภาษามือสำหรับผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๖๕ คน ประกอบด้วยผู้แทนคนหูหนวก ล่ามภาษามือ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
- คุณอนุชา รัตนสิทธุ์ นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย
- คนหูหนวกร่วมระดมความคิดเห็น การจัดบริการล่ามภาษามือผ่านสื่อโทรทัศน์
ทั้งนี้ นางสาวศิริวรรณ ฟุ่มเฟื่อง ผู้อำนวยการกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กสทช. เป็นประธานในพิธีเปิด งผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ในสาระสำคัญ ๘ ประเด็น ได้แก่ ๑)คุณสมบัติของล่ามภาษามือ ๒)การปฏิบัติตนของล่ามภาษามือ ๓)องค์ประกอบในการจัดบริการล่ามภาษามือ ๔)เทคนิคการจัดบริการ ๕)วิธีการเลือกล่ามภาษามือที่มีคุณสมบัติและการประพฤติตนที่เหมาะสมกับการให้บริการทางโทรศัพท์ ๖)การมีส่วนร่วมของคนหูหนวกกับสถานีโทรทัศน์ในการกำหนดรูปแบบและแนวทางจัดบริการล่ามภาษามือ ๗)ประเภทรายการที่ควรมีบริการล่ามภาษามือ และ๘) ข้อเสนอในการจัดบริการล่ามภาษามือทางโทรทัศน์ ทั้งนี้ กสทช.จะสนับสนุนการจัดสัมมนา เพื่อนำข้อเสนอจากการระดมความคิดเห็นในการสัมมนาครั้งนี้ฯ ให้ ผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ พิจารณาปรับตามความเหมาะสมและจัดทำเป็นคู่มือการจัดบริการล่ามภาษามือทางโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ต่อไป
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คุณศิริวรรณ ฟุ่มเฟื่อง ผอ.กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๖ กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ และคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพื้นฐานบางประการ เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของบุคคลดังกล่าว ประกอบกับพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๕๒ (๒) กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมในการส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส โดย ได้มีประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๑๐ กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการให้บริการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป โดยให้จัดบริการล่ามภาษามือสำหรับรายการที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ออกอากาศอย่างน้อยวันละหกสิบนาที ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ได้ดำเนินบริการโทรทัศน์ ที่จัดให้มีล่ามภาษามือมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ( ผู้เข้าร่วมสัมมนา “ความต้องการ แนวคิดและข้อเสนอของคนหูหนวกและล่ามภาษามือสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ) ( คณะวิทยากร นำเสนอประสบการณ์การจัดบริการล่ามภาษามือผ่านสื่อโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ) กสทช. จึงสนับสนุนให้สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ร่วมกันจัดทำโครงการ สัมมนา เรื่อง “ความต้องการ แนวคิดและข้อเสนอของคนหูหนวกและล่ามภาษามือสำหรับผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ” เมื่อวันที่ ๒๕ มี.ค.๕๗ ณ โรงแรมทีเค พาเลส เพื่อศึกษาความต้องการ แนวคิดและจัดข้อเสนอของคนหูหนวกและล่ามภาษามือสำหรับผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ในการจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๖๕ คน ประกอบด้วยผู้แทนคนหูหนวก ล่ามภาษามือ และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ( คุณอนุชา รัตนสิทธุ์ นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย) ( คนหูหนวกร่วมระดมความคิดเห็น การจัดบริการล่ามภาษามือผ่านสื่อโทรทัศน์) ทั้งนี้ นางสาวศิริวรรณ ฟุ่มเฟื่อง ผู้อำนวยการกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กสทช. เป็นประธานในพิธีเปิด งผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ในสาระสำคัญ ๘ ประเด็น ได้แก่ ๑)คุณสมบัติของล่ามภาษามือ ๒)การปฏิบัติตนของล่ามภาษามือ ๓)องค์ประกอบในการจัดบริการล่ามภาษามือ ๔)เทคนิคการจัดบริการ ๕)วิธีการเลือกล่ามภาษามือที่มีคุณสมบัติและการประพฤติตนที่เหมาะสมกับการให้บริการทางโทรศัพท์ ๖)การมีส่วนร่วมของคนหูหนวกกับสถานีโทรทัศน์ในการกำหนดรูปแบบและแนวทางจัดบริการล่ามภาษามือ ๗)ประเภทรายการที่ควรมีบริการล่ามภาษามือ และ๘) ข้อเสนอในการจัดบริการล่ามภาษามือทางโทรทัศน์ ทั้งนี้ กสทช.จะสนับสนุนการจัดสัมมนา เพื่อนำข้อเสนอจากการระดมความคิดเห็นในการสัมมนาครั้งนี้ฯ ให้ ผู้ประกอบการกิจการโทรทัศน์ พิจารณาปรับตามความเหมาะสมและจัดทำเป็นคู่มือการจัดบริการล่ามภาษามือทางโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ต่อไป ( ล่ามภาษามือ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ ร่วมระดมความคิดเห็นการจัดบริการล่ามภาษามือผ่านสื่อโทรทัศน์) ( คนหูหนวกร่วมแสดงความคิดเห็น การจัดบริการล่ามภาษามือผ่านสื่อโทรทัศน์) (มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๖ มี.ค.๕๗)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)