มจธ.ลุยโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการก่อนเข้าสถานประกอบการ
ผู้พิการถือเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อย โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการหางานทำ อย่างไรก็ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเท่าเทียมให้แก่คนพิการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการ รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการสู่ภาคอุตสาหกรรม
"รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน" อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และในฐานะที่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างความรู้ความสามารถ จึงเห็นความสำคัญของการช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น โดยการจัดโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการฯ จะช่วยสร้างโอกาสให้คนพิการเกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคมและยังเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับสถานประกอบการปฏิบัติตามตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
"ผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาพบว่า หลังจบโครงการในรุ่นที่1 มีผู้พิการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสมัครเข้างานในสถานประกอบการได้คิดเป็นร้อยละ 30 จากจำนวนผู้ที่เข้าอบรมทั้งหมด 33 คน ทางมหาวิทยาลัยมีความภูมิใจอย่างมากกับความสำเร็จดังกล่าว เพราะถือเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมีความหมายต่อมหาวิทยาลัย"
การจัดโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานฯ ในปีนี้มีผู้พิการที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม 25 คนจากจำนวนผู้สมัครเข้ามากว่า 70 คน ซึ่งเป็นไปตามโควต้าของบริษัทที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการ ประกอบด้วย บริษัท ดานิลี่ จำกัด จำนวน 17 คน, บริษัท ศรีไทย มิยากาว่า จำกัด จำนวน 5 คน, บริษัท มาราธอน (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 2 คน และบริษัท เสถียรอุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 1คน
สำหรับเงินสนับสนุนจากผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการฝึกอบรมครั้งนี้เป็นจำนวนกว่า 2.5 ล้านบาท รวมระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ เดือน มิ.ย. – พ.ย. 2558 โดยในปีนี้ยังได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น โดยตนเชื่อว่ากิจกรรมนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้เข้าร่วมอบรม และผู้ประกอบการที่จะรับผู้พิการที่ผ่านการอบรมจากโครงการเข้าไปทำงานต่อไป
"สนั่น อังอุบลกุล" ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริม มจธ. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความตั้งใจที่จะช่วยผู้พิการให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองและเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม รวมถึงการใช้ชีวิตในสถานประกอบการต่างๆ ผู้พิการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการฯ จึงควรใช้โอกาสให้มากที่สุดในการเรียนรู้ และรับความรู้จากหลักสูตรระหว่างเข้ามาฝึกอบรม
"การช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับการศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมให้เขาสามารถทำงานในสถานประกอบการได้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมนั้น ถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ เพราะต้องรับคนพิการเข้าทำงานอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือหลายแห่งยังไม่พร้อมด้านสถานที่ที่จะรองรับคนพิการเข้าทำงาน ประกอบกับคนพิการยังขาดความรู้ความสามารถตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การจัดอบรมในหลักสูตรภายใต้โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานฯ นี้จะสามารถรองรับความต้องการดังกล่าวได้"
อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีคนพิการจำนวนมากและผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อมเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับโครงการในปีนี้ ทางโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานฯ จึงเตรียมเดินหน้าขยายผลโครงการในปีถัดไป เพื่อให้สามารถรับคนพิการเข้ามาฝึกอบรมและฝึกงานในโครงการฯ ได้เพิ่มมากขึ้น
"กาญจนา นามะโส" ผู้พิการร่างกายอ่อนแรงจากจ.หนองบัวลำพู ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ บอกว่า อยากให้มีโครงการแบบนี้มากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการอีกจำนวนมากที่อยู่ตามต่างจังหวัดได้รับโอกาสเช่นเดียวกับตนและเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้รับ เพราะคนพิการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ขณะเดียวกัน อยากให้ผู้ประกอบการเปิดโอกาสให้คนพิการได้พิสูจน์ความสามารถด้วย
"อย่าเพิ่งประเมินค่าความสามารถของคนพิการต่ำ อย่าดูเพียงแค่ภายนอก เพราะคนพิการบางคน แม้ร่างกายจะพิการ แต่สมองดี จึงอยากให้ผู้ประกอบการเปิดกว้างให้โอกาสคนพิการได้ลองทำดูก่อน แต่หากผู้ประกอบการที่ยังไม่มีความพร้อมรับคนพิการเข้าทำงาน ก็อยากให้ช่วยสนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ เพื่อใช้ในการฝึกอบรมให้ความรู้ เพิ่มทักษะแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพแทน เพื่อคนพิการจะได้รับโอกาสในการเข้าทำงานหรือประกอบอาชีพได้โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น"
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437285478#
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการ รุ่นที่ 2 ผู้พิการถือเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสน้อย โดยเฉพาะด้านการศึกษาและการหางานทำ อย่างไรก็ดี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความเท่าเทียมให้แก่คนพิการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ดำเนินโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าทำงานในสถานประกอบการ รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการสู่ภาคอุตสาหกรรม "รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน" อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และในฐานะที่มีบทบาทหน้าที่ในการสร้างความรู้ความสามารถ จึงเห็นความสำคัญของการช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น โดยการจัดโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานคนพิการฯ จะช่วยสร้างโอกาสให้คนพิการเกิดความเท่าเทียมขึ้นในสังคมและยังเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับสถานประกอบการปฏิบัติตามตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 "ผลการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมาพบว่า หลังจบโครงการในรุ่นที่1 มีผู้พิการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปสมัครเข้างานในสถานประกอบการได้คิดเป็นร้อยละ 30 จากจำนวนผู้ที่เข้าอบรมทั้งหมด 33 คน ทางมหาวิทยาลัยมีความภูมิใจอย่างมากกับความสำเร็จดังกล่าว เพราะถือเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมีความหมายต่อมหาวิทยาลัย" การจัดโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานฯ ในปีนี้มีผู้พิการที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม 25 คนจากจำนวนผู้สมัครเข้ามากว่า 70 คน ซึ่งเป็นไปตามโควต้าของบริษัทที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการ ประกอบด้วย บริษัท ดานิลี่ จำกัด จำนวน 17 คน, บริษัท ศรีไทย มิยากาว่า จำกัด จำนวน 5 คน, บริษัท มาราธอน (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 2 คน และบริษัท เสถียรอุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 1คน สำหรับเงินสนับสนุนจากผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการฝึกอบรมครั้งนี้เป็นจำนวนกว่า 2.5 ล้านบาท รวมระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ เดือน มิ.ย. – พ.ย. 2558 โดยในปีนี้ยังได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น โดยตนเชื่อว่ากิจกรรมนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้เข้าร่วมอบรม และผู้ประกอบการที่จะรับผู้พิการที่ผ่านการอบรมจากโครงการเข้าไปทำงานต่อไป "สนั่น อังอุบลกุล" ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริม มจธ. กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความตั้งใจที่จะช่วยผู้พิการให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองและเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคม รวมถึงการใช้ชีวิตในสถานประกอบการต่างๆ ผู้พิการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการฯ จึงควรใช้โอกาสให้มากที่สุดในการเรียนรู้ และรับความรู้จากหลักสูตรระหว่างเข้ามาฝึกอบรม "การช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับการศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมให้เขาสามารถทำงานในสถานประกอบการได้ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมนั้น ถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ เพราะต้องรับคนพิการเข้าทำงานอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือหลายแห่งยังไม่พร้อมด้านสถานที่ที่จะรองรับคนพิการเข้าทำงาน ประกอบกับคนพิการยังขาดความรู้ความสามารถตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การจัดอบรมในหลักสูตรภายใต้โครงการฝึกอบรม-ฝึกงานฯ นี้จะสามารถรองรับความต้องการดังกล่าวได้" อย่างไรก็ดี เนื่องจากยังมีคนพิการจำนวนมากและผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อมเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับโครงการในปีนี้ ทางโครงการฝึกอบรม-ฝึกงานฯ จึงเตรียมเดินหน้าขยายผลโครงการในปีถัดไป เพื่อให้สามารถรับคนพิการเข้ามาฝึกอบรมและฝึกงานในโครงการฯ ได้เพิ่มมากขึ้น "กาญจนา นามะโส" ผู้พิการร่างกายอ่อนแรงจากจ.หนองบัวลำพู ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ บอกว่า อยากให้มีโครงการแบบนี้มากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการอีกจำนวนมากที่อยู่ตามต่างจังหวัดได้รับโอกาสเช่นเดียวกับตนและเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้รับ เพราะคนพิการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ขณะเดียวกัน อยากให้ผู้ประกอบการเปิดโอกาสให้คนพิการได้พิสูจน์ความสามารถด้วย "อย่าเพิ่งประเมินค่าความสามารถของคนพิการต่ำ อย่าดูเพียงแค่ภายนอก เพราะคนพิการบางคน แม้ร่างกายจะพิการ แต่สมองดี จึงอยากให้ผู้ประกอบการเปิดกว้างให้โอกาสคนพิการได้ลองทำดูก่อน แต่หากผู้ประกอบการที่ยังไม่มีความพร้อมรับคนพิการเข้าทำงาน ก็อยากให้ช่วยสนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ เพื่อใช้ในการฝึกอบรมให้ความรู้ เพิ่มทักษะแก่คนพิการได้พัฒนาศักยภาพแทน เพื่อคนพิการจะได้รับโอกาสในการเข้าทำงานหรือประกอบอาชีพได้โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น" ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437285478#
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)