กรมสุขภาพจิต จัดเวทีเพิ่มทักษะความรู้ดูแลเด็กวัยรุ่นยุคดิจิต
กรมสุขภาพจิต จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นยุคดิจิตอล
วันที่ (6 ก.พ.2560) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 21เรื่อง“ประเด็นร้อนในจิตเวชเด็กและวัยรุ่น (Hot Issue in Child and Adolescent Psychiatry)” ณ รร.เชียงใหม่ฮิลล์ จ.เชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6–8 ก.พ.2560 โดยความร่วมมือระหว่างชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลสวนปรุง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี ซึ่งกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง ที่แสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายอย่าง และ จากรายงานของกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กและวัยรุ่นที่มารับบริการในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559 มีความบกพร่องเกี่ยวกับการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือ บกพร่องทางสติปัญญา และออทิสติก ตามลำดับ โดยความผิดปกติของเด็กเหล่านี้มีสาเหตุหลักจากความผิดปกติทางสมอง ซึ่งการบำบัดต้องใช้วิธีการที่หลากหลายร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ปี 2556 เด็กร้อยละ 15 บอกว่า ตนติดเกมส์ออนไลน์ การพูดคุยทาง LINE และ Facebook ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยวัยรุ่นไทยเล่นเกมส์ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน และในกรณีที่รุนแรง จะเล่นต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของ Generation Z ที่เติบโตในยุค Digital Technology และมีชีวิตมากับ Social Media ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่น ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นในยุคปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในระบบ Digital หรือแอพพลิเคชั่น (Application) ที่ช่วยทำให้มีการติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว และทันเหตุการณ์
การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม 250 คน ประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พยาบาล นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด อาจารย์มหาวิทยาลัย ครู ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นตลอดจนได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหิดล , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ , สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ,โรงพยาบาลสวนปรุง , โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ , สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายให้ความรู้ เพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นในยุคดิจิตอลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/259208 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นยุคดิจิตอล วันที่ (6 ก.พ.2560) น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ครั้งที่ 21เรื่อง“ประเด็นร้อนในจิตเวชเด็กและวัยรุ่น (Hot Issue in Child and Adolescent Psychiatry)” ณ รร.เชียงใหม่ฮิลล์ จ.เชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6–8 ก.พ.2560 โดยความร่วมมือระหว่างชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลสวนปรุง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มทักษะในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพดี ซึ่งกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง ที่แสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายอย่าง และ จากรายงานของกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กและวัยรุ่นที่มารับบริการในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559 มีความบกพร่องเกี่ยวกับการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือ บกพร่องทางสติปัญญา และออทิสติก ตามลำดับ โดยความผิดปกติของเด็กเหล่านี้มีสาเหตุหลักจากความผิดปกติทางสมอง ซึ่งการบำบัดต้องใช้วิธีการที่หลากหลายร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ ยังพบว่า ปี 2556 เด็กร้อยละ 15 บอกว่า ตนติดเกมส์ออนไลน์ การพูดคุยทาง LINE และ Facebook ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยวัยรุ่นไทยเล่นเกมส์ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน และในกรณีที่รุนแรง จะเล่นต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของ Generation Z ที่เติบโตในยุค Digital Technology และมีชีวิตมากับ Social Media ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นจึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่น ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กและวัยรุ่นในยุคปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในระบบ Digital หรือแอพพลิเคชั่น (Application) ที่ช่วยทำให้มีการติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว และทันเหตุการณ์ การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม 250 คน ประกอบด้วย แพทย์ จิตแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พยาบาล นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด อาจารย์มหาวิทยาลัย ครู ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กและวัยรุ่นตลอดจนได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหิดล , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ , สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ , สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ,โรงพยาบาลสวนปรุง , โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ , สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาบรรยายให้ความรู้ เพิ่มพูนทักษะและความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นในยุคดิจิตอลให้มากยิ่งขึ้นต่อไป ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/259208
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)