จุดประกาย ‘โค้ดดิ้ง’ หนุนผู้พิการใช้เทคโนฯ ข้ามขีดจำกัด
ไมโครซอฟท์เปิดตัว YouthSpark สร้างมูลค่างานด้วยโค้ดดิ้ง เสริมอาชีพเยาวชนไทย ให้เหนือข้อจำกัดทางกายภาพ แม้ในไทยจะมีกฎหมายต่างๆ ที่ส่งเสริมความสามารถของบุคคลพิเศษ การยอมรับความแตกต่างและความเท่าเทียม รวมทั้งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 มาตรา 33 ที่กำหนดให้นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะงานในสัดส่วนที่เหมาะสมอัตรา 100 คนต่อผู้พิการ 1 คน แต่ทางปฏิบัติแล้วผู้พิการจำนวนมากยังไม่ได้รับการจ้างงาน
เนื่องจากขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งเปลี่ยนไปตามความต้องการนายจ้างแต่ละยุคสมัย ขณะที่ หนึ่งความต้องการตลาดแรงงานยุคนี้ คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และไอที บาทหลวง ดร.พิชาญ ใจเสรี ประธานมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิการ บอกว่า ผู้พิการสามารถพัฒนาทักษะตัวเองให้ตอบโจทย์ความต้องการ โดยเฉพาะด้านไอทีที่นำความรู้ไปต่อยอดประกอบอาชีพและพึ่งพาตัวเองได้แม้ยุคที่เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนเร็ว "หวังว่านอกจากจะใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมในห้องเรียน เยาวชนจะมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อครอบครัวชุมชนที่ดำเนินชีวิตอยู่และความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ”
รัฐ-เอกชนร่วมปลุกไฟ นางสาวศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัท ไมโครซอฟท์ จำกัด (ประเทศไทย) บอกว่า จากการสำรวจพบว่า ทั่วโลกภายในปี 2563 ความต้องการแรงงานด้านไอทีมีถึง 6 ล้านคน ขณะที่ไทยความต้องการแรงงานด้านไอที โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ยังอยู่ในจุดที่ขาดแคลน
ทั้งนี้ “ไมโครซอฟท์” เข้ามามีบทบาทสนับสนุนสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีผ่านโครงการต่างๆ “ยูธ สปาร์ค” เป็นหนึ่งในหลายโครงการ ที่สร้างความรู้ด้านไอทีและกระตุ้นความสนใจการศึกษาด้านไอทีให้เยาวชน ผ่านรูปแบบการอบรม ผู้สอนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อ ตั้งแต่ความรู้ระดับเริ่มต้น การสร้างอาชีพด้านเทคโนโลยีตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองรวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
ล่าสุดร่วมมือกับ “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” และ “มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ” และ “สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น” จัดอบรมทักษะด้านโค้ดดิ้ง หรือเขียนโปรแกรมให้เยาวชนผู้พิการ เป้าหมายสอนให้เยาวชนเริ่มสนใจเขียนโปรแกรม หรือโค้ดดิ้งเพื่อสร้าง “ผู้ผลิตและสร้างสรรค์” งานด้านไอทีและซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นกลุ่มที่อุตสาหกรรมขาดแคลน
“เราทำตั้งแต่เบื้องต้น ปูพื้นฐานตั้งแต่ระดับที่ง่ายสุด ให้เยาวชนมีทักษะ มีตรรกะ และความสามารถแก้ปัญหา เป็นพื้นฐานสำคัญการโค้ดดิ้ง สำคัญกว่านั้น คือ สร้างความเข้าใจใหม่ให้เยาวชนเหล่านี้มองว่าการเขียนโปรแกรม หรืองานหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ใช่งานเฉพาะของผู้ชาย หรือคนปกติเท่านั้น แต่ใครๆ ก็ทำได้ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการหรือเป็นผู้หญิงผู้ชาย”
โครงการครั้งนี้ คาดว่า จะสามารถปูพื้นความรู้การเขียนโปรแกรมให้เยาวชนทั่วประเทศ 7,000 ราย จำนวนนี้เน้นกลุ่มเยาวชนผู้พิการ 1,000 ราย ภายใต้งบประมาณราว 2 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2558-2559 ของไมโครซอฟท์
ศิษย์เก่าแนะทางเซียนไอที นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ โปรแกรมเมอร์และที่ปรึกษาไอทีในบริษัทต่างๆ บอกว่า ไม่ว่าคนพิการหรือไม่พิการทุกคนล้วนต้องมีความพยายาม หนึ่งในผลงานที่เป็นความภาคภูมิใจ คือ เป็นหนึ่งในทีมพัฒนาระบบไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 97 เวอร์ชั่นภาษาไทย แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพผู้พิการไม่ต่างจากคนทั่วไปหากสิ่งสำคัญคือความพยายามต้องมีมากกว่าปกติ
โอกาสจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้านั่งอยู่เฉยๆ ในโลกนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลย คือ ต้องมีความพยายาม ไม่ต่างกับมุมมองผู้พิการรายอื่นๆ เช่น นายนครินทร์ ลาโยธี ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาแอพพลิเคชั่น ธนาคารเอชเอสบีซี บอกว่า เริ่มหัดเขียนโปรแกรมจากพระมหาไถ่จนปัจจุบันมีโอกาสได้ทำงานกับธนาคารและเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ใช้เท้าเขียนโปรแกรม
“ทุกวันนี้ส่งน้องเรียนจบป.โท เราอยากได้อะไรก็ได้สิ่งที่เราอยากได้ ถ้าเรานำความสามารถที่มีมาใช้ประโยชน์ ทุกอย่างสำหรับผมเริ่มต้นมาจากการเขียนโค้ดดิ้ง ซึ่งผมอาจะเป็นคนแรกๆที่เขียนโปรแกรมได้ด้วยเท้าโดยไม่ได้มีอุปกรณ์พิเศษ หรือคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ”
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/729139 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการ ยูธ สปาร์ค ไมโครซอฟท์เปิดตัว YouthSpark สร้างมูลค่างานด้วยโค้ดดิ้ง เสริมอาชีพเยาวชนไทย ให้เหนือข้อจำกัดทางกายภาพ แม้ในไทยจะมีกฎหมายต่างๆ ที่ส่งเสริมความสามารถของบุคคลพิเศษ การยอมรับความแตกต่างและความเท่าเทียม รวมทั้งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 มาตรา 33 ที่กำหนดให้นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะงานในสัดส่วนที่เหมาะสมอัตรา 100 คนต่อผู้พิการ 1 คน แต่ทางปฏิบัติแล้วผู้พิการจำนวนมากยังไม่ได้รับการจ้างงาน เนื่องจากขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งเปลี่ยนไปตามความต้องการนายจ้างแต่ละยุคสมัย ขณะที่ หนึ่งความต้องการตลาดแรงงานยุคนี้ คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และไอที บาทหลวง ดร.พิชาญ ใจเสรี ประธานมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิการ บอกว่า ผู้พิการสามารถพัฒนาทักษะตัวเองให้ตอบโจทย์ความต้องการ โดยเฉพาะด้านไอทีที่นำความรู้ไปต่อยอดประกอบอาชีพและพึ่งพาตัวเองได้แม้ยุคที่เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนเร็ว "หวังว่านอกจากจะใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมในห้องเรียน เยาวชนจะมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อครอบครัวชุมชนที่ดำเนินชีวิตอยู่และความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ” รัฐ-เอกชนร่วมปลุกไฟ นางสาวศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย บริษัท ไมโครซอฟท์ จำกัด (ประเทศไทย) บอกว่า จากการสำรวจพบว่า ทั่วโลกภายในปี 2563 ความต้องการแรงงานด้านไอทีมีถึง 6 ล้านคน ขณะที่ไทยความต้องการแรงงานด้านไอที โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ยังอยู่ในจุดที่ขาดแคลน ทั้งนี้ “ไมโครซอฟท์” เข้ามามีบทบาทสนับสนุนสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีผ่านโครงการต่างๆ “ยูธ สปาร์ค” เป็นหนึ่งในหลายโครงการ ที่สร้างความรู้ด้านไอทีและกระตุ้นความสนใจการศึกษาด้านไอทีให้เยาวชน ผ่านรูปแบบการอบรม ผู้สอนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อ ตั้งแต่ความรู้ระดับเริ่มต้น การสร้างอาชีพด้านเทคโนโลยีตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองรวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ล่าสุดร่วมมือกับ “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” และ “มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ” และ “สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น” จัดอบรมทักษะด้านโค้ดดิ้ง หรือเขียนโปรแกรมให้เยาวชนผู้พิการ เป้าหมายสอนให้เยาวชนเริ่มสนใจเขียนโปรแกรม หรือโค้ดดิ้งเพื่อสร้าง “ผู้ผลิตและสร้างสรรค์” งานด้านไอทีและซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นกลุ่มที่อุตสาหกรรมขาดแคลน “เราทำตั้งแต่เบื้องต้น ปูพื้นฐานตั้งแต่ระดับที่ง่ายสุด ให้เยาวชนมีทักษะ มีตรรกะ และความสามารถแก้ปัญหา เป็นพื้นฐานสำคัญการโค้ดดิ้ง สำคัญกว่านั้น คือ สร้างความเข้าใจใหม่ให้เยาวชนเหล่านี้มองว่าการเขียนโปรแกรม หรืองานหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ใช่งานเฉพาะของผู้ชาย หรือคนปกติเท่านั้น แต่ใครๆ ก็ทำได้ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการหรือเป็นผู้หญิงผู้ชาย” โครงการครั้งนี้ คาดว่า จะสามารถปูพื้นความรู้การเขียนโปรแกรมให้เยาวชนทั่วประเทศ 7,000 ราย จำนวนนี้เน้นกลุ่มเยาวชนผู้พิการ 1,000 ราย ภายใต้งบประมาณราว 2 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2558-2559 ของไมโครซอฟท์ ศิษย์เก่าแนะทางเซียนไอที นายมานิตย์ อินทร์พิมพ์ โปรแกรมเมอร์และที่ปรึกษาไอทีในบริษัทต่างๆ บอกว่า ไม่ว่าคนพิการหรือไม่พิการทุกคนล้วนต้องมีความพยายาม หนึ่งในผลงานที่เป็นความภาคภูมิใจ คือ เป็นหนึ่งในทีมพัฒนาระบบไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 97 เวอร์ชั่นภาษาไทย แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพผู้พิการไม่ต่างจากคนทั่วไปหากสิ่งสำคัญคือความพยายามต้องมีมากกว่าปกติ โอกาสจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้านั่งอยู่เฉยๆ ในโลกนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลย คือ ต้องมีความพยายาม ไม่ต่างกับมุมมองผู้พิการรายอื่นๆ เช่น นายนครินทร์ ลาโยธี ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาแอพพลิเคชั่น ธนาคารเอชเอสบีซี บอกว่า เริ่มหัดเขียนโปรแกรมจากพระมหาไถ่จนปัจจุบันมีโอกาสได้ทำงานกับธนาคารและเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ใช้เท้าเขียนโปรแกรม “ทุกวันนี้ส่งน้องเรียนจบป.โท เราอยากได้อะไรก็ได้สิ่งที่เราอยากได้ ถ้าเรานำความสามารถที่มีมาใช้ประโยชน์ ทุกอย่างสำหรับผมเริ่มต้นมาจากการเขียนโค้ดดิ้ง ซึ่งผมอาจะเป็นคนแรกๆที่เขียนโปรแกรมได้ด้วยเท้าโดยไม่ได้มีอุปกรณ์พิเศษ หรือคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ” ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/729139
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)