พัฒนาคนพัฒนาชาติ:แข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ
ธีรพล ขุนเมือง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จัดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ทุกๆ 2 ปี โดยจัดไปแล้ว 7 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ซึ่งจะ จัดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2560 ณ อาคาร 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
มีสาขาที่ทำการแข่งขันจำนวน 20 สาขา ประกอบด้วย 1.สาขาถักนิตติ้ง 2.สาขาประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ 3.สาขาเย็บปักถักร้อย 4.สาขาออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ 5.สาขาถักโครเชต์ 6.สาขาวาดภาพระบายสีน้ำ 7.สาขาออกแบบเว็บเพจ 8.สาขาออกแบบโปสเตอร์ 9.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีระดับพื้นฐาน 10.สาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับพื้นฐาน 11.สาขาสานตะกร้า 12.สาขาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 13.สาขาพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด 14.สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 15.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ 16.สาขาประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา 17.สาขาระบายสีบนผ้าไหม 18.สาขาออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 19.สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ และ 20. สาขาออกแบบคาแร็กเตอร์
การจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการเป็นการสร้างโอกาส ส่งเสริมให้คนพิการได้พัฒนาทักษะในวิชาชีพของตนเองให้เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างการยอมรับที่แสดงถึงศักยภาพคนพิการรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คน ส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำเพราะเป็นกำลังแรงงานสำคัญ เป็นไปตามวาระปฏิรูปเร่งด่วน 1 ใน 8 ข้อของกระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ กพร.ได้เพิ่มสาขาที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อให้มีความพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAD) ซึ่งเป็นสาขาที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ผู้แข่งขันต้องมีความรู้ในด้านการอ่านแบบ เขียนแบบ พร้อมแสดงผล สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ เป็นสาขาที่ผู้เข้าแข่งขันต้องมีความรู้ด้านการถ่ายภาพ การตกแต่งภาพ และการจัดเตรียมสตูดิโอพร้อมออกแบบการถ่ายภาพ ซึ่งสาขานี้สามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถใช้ภาพถ่ายที่ออกแบบและตกแต่งแล้วไปเป็นส่วนประกอบในการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการทำแพ็กเกจจิ้งได้อีกด้วย สำหรับสาขาออกแบบคาแร็กเตอร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวการ์ตูน ตัวหนังสือ ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหวใช้ประกอบกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอหรือการโฆษณา เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการแข่งขันจะทำการแข่งขันฝีมือคนพิการตั้งแต่ระดับภาคเพื่อคัดเลือกเข้าแข่งขันในระดับชาติต่อไป
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน มีสัญชาติไทย เป็นคนพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ ความพิการฉบับที่ 2 สำหรับผู้ที่สนใจต้องการร่วมประลองฝีมือในครั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามและ สมัครได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2245-4035
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ธีรพล ขุนเมือง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จัดงานแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ทุกๆ 2 ปี โดยจัดไปแล้ว 7 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ซึ่งจะ จัดให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2560 ณ อาคาร 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี มีสาขาที่ทำการแข่งขันจำนวน 20 สาขา ประกอบด้วย 1.สาขาถักนิตติ้ง 2.สาขาประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ 3.สาขาเย็บปักถักร้อย 4.สาขาออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์ 5.สาขาถักโครเชต์ 6.สาขาวาดภาพระบายสีน้ำ 7.สาขาออกแบบเว็บเพจ 8.สาขาออกแบบโปสเตอร์ 9.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีระดับพื้นฐาน 10.สาขาประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับพื้นฐาน 11.สาขาสานตะกร้า 12.สาขาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ 13.สาขาพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด 14.สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 15.สาขาตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ 16.สาขาประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา 17.สาขาระบายสีบนผ้าไหม 18.สาขาออกแบบเพื่ออุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 19.สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ และ 20. สาขาออกแบบคาแร็กเตอร์ การจัดการแข่งขันฝีมือคนพิการเป็นการสร้างโอกาส ส่งเสริมให้คนพิการได้พัฒนาทักษะในวิชาชีพของตนเองให้เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างการยอมรับที่แสดงถึงศักยภาพคนพิการรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คน ส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำเพราะเป็นกำลังแรงงานสำคัญ เป็นไปตามวาระปฏิรูปเร่งด่วน 1 ใน 8 ข้อของกระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ กพร.ได้เพิ่มสาขาที่มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เพื่อให้มีความพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAD) ซึ่งเป็นสาขาที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ผู้แข่งขันต้องมีความรู้ในด้านการอ่านแบบ เขียนแบบ พร้อมแสดงผล สาขาถ่ายภาพในสตูดิโอ เป็นสาขาที่ผู้เข้าแข่งขันต้องมีความรู้ด้านการถ่ายภาพ การตกแต่งภาพ และการจัดเตรียมสตูดิโอพร้อมออกแบบการถ่ายภาพ ซึ่งสาขานี้สามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจ SMEs ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถใช้ภาพถ่ายที่ออกแบบและตกแต่งแล้วไปเป็นส่วนประกอบในการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการทำแพ็กเกจจิ้งได้อีกด้วย สำหรับสาขาออกแบบคาแร็กเตอร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวการ์ตูน ตัวหนังสือ ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหวใช้ประกอบกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอหรือการโฆษณา เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการแข่งขันจะทำการแข่งขันฝีมือคนพิการตั้งแต่ระดับภาคเพื่อคัดเลือกเข้าแข่งขันในระดับชาติต่อไป คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน มีสัญชาติไทย เป็นคนพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ ความพิการฉบับที่ 2 สำหรับผู้ที่สนใจต้องการร่วมประลองฝีมือในครั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามและ สมัครได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ตั้งแต่ 16 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2245-4035 ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/bmnd/2553043
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)