กมธ.สิทธิมนุษยชนอาเซียนดันรับรองสิทธิผู้พิการทั่วภูมิภาคภายในปี 2560
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดอบรมระดับอาเซียนด้านสิทธิผู้พิการ มีผู้แทนจากภาครัฐ ประชาสังคม จาก 10 ประเทศอาเซียนเข้าร่วม เตรียมจัดทำแผนระดับภูมิภาค ดันการรับรองสิทธิผู้พิการในอาเซียนให้แล้วเสร็จในปี 2560 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมระดับอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ AICHR ระหว่างวันที่ 11-14 ต.ค.2559 โดยมีผู้แทนจากจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม เอกชน จาก 10 ประเทศอาเซียน กว่า 80 คนเข้าร่วม
โดยในวันที่ (11 ต.ค.2559) ดร.เสรี นนทสูติ ผู้แทนประเทศไทยของ AICHR กล่าวในงานอบรมว่า ปี 2559 ถือเป็นวาระครบรอบ 10 ปี ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้พิการ ซึ่งประเทศอาเซียนได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาครบทั้ง 10 ประเทศในปีนี้ มีผลทำให้อนุสัญญาดังกล่าวเป็นกฎหมายหลักด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 3 ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเข้าร่วมเป็นภาคี
ทั้งนี้ สิทธิคนพิการ เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง เป็นสิทธิสากล เกี่ยวเนื่องกับสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญคือ การไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้ความพิการไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตในฐานะบุคคลที่เท่าเทียมกับผู้ที่ไม่มีความพิการ
ดร.เสรี กล่าวอีกว่า การเข้าร่วมของบุคคลที่ทำงานด้านผู้พิการจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จะส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการส่งเสริมคุ้มครองผู้พิการ ซึ่งแต่ละประเทศยังมีความแตกต่าง อาทิ การจำกัดความความพิการ การจัดประเภท การรายงานจำนวนผู้พิการ และสิทธิต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันด้วย
"การจัดอบรมระดับอาเซียนครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นพื้นที่ของประชาคมทั้ง 10 ประเทศ ผู้พิการของทุกประเทศเป็นประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการเคลื่อนย้ายเดินทางภายในภูมิภาคเช่นกัน" ดร.เสรี กล่าว
ด้านนายพูคง สีสุลัด ผู้แทนกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจากลาว ซึ่งเป็นประธานประธานในปีนี้กล่าวถึงภารกิจของ AICHR ว่า การเคลื่อนไหวเรื่องคนพิการในอาเซียนนับว่ามีความสำคัญในลำดับต้นๆ นอกจากนี้ยังเปิดเผยถึงการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิผู้พิการในลาวว่า รัฐบาลลาวตระหนักและเอาใจใส่ประเด็นสิทธิผู้พิการ มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งให้สัตยาบันกฎหมายระหว่างประเทศ และผลักดันกฎหมายของลาวให้รองรับสิทธิของคนพิการในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น รวมทั้งการให้มีบริการจากรัฐ เช่น ศูนย์โรงเรียนรวมที่ให้คนพิการเรียนร่วมกับคนทั่วไป ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในส่วนของกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ได้มีการให้คำแนะนำต่อผู้ประกอบการถึงการก่อสร้างที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ เช่น อาคาร ถนน เป็นต้น "รัฐบาลเห็นว่าจะต้องส่งเสริม คุ้มครองสิทธิ ให้บุคคลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และให้ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาด้วย" นายพูคง กล่าว
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีภารกิจหลักในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอาเซียน ในด้านสิทธิของผู้พิการ ไทยอยู่ระหว่างผลักดันให้เกิดการประสานสิทธิของผู้พิการในเสาหลักของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 ด้าน และได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนงานระดับภูมิภาคเพื่อการรับรองสิทธิของผู้พิการในประชาคมอาเซียน คาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในปี 2560
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้เข้าร่วมอบรมระดับอาเซียนด้านสิทธิผู้พิการ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดอบรมระดับอาเซียนด้านสิทธิผู้พิการ มีผู้แทนจากภาครัฐ ประชาสังคม จาก 10 ประเทศอาเซียนเข้าร่วม เตรียมจัดทำแผนระดับภูมิภาค ดันการรับรองสิทธิผู้พิการในอาเซียนให้แล้วเสร็จในปี 2560 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมระดับอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิของผู้พิการ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ AICHR ระหว่างวันที่ 11-14 ต.ค.2559 โดยมีผู้แทนจากจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม เอกชน จาก 10 ประเทศอาเซียน กว่า 80 คนเข้าร่วม โดยในวันที่ (11 ต.ค.2559) ดร.เสรี นนทสูติ ผู้แทนประเทศไทยของ AICHR กล่าวในงานอบรมว่า ปี 2559 ถือเป็นวาระครบรอบ 10 ปี ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้พิการ ซึ่งประเทศอาเซียนได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาครบทั้ง 10 ประเทศในปีนี้ มีผลทำให้อนุสัญญาดังกล่าวเป็นกฎหมายหลักด้านสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 3 ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเข้าร่วมเป็นภาคี กมธ.สิทธิมนุษยชนอาเซียนดันรับรองสิทธิผู้พิการทั่วภูมิภาคภายในปี 2560 ทั้งนี้ สิทธิคนพิการ เป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง เป็นสิทธิสากล เกี่ยวเนื่องกับสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญคือ การไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้ความพิการไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตในฐานะบุคคลที่เท่าเทียมกับผู้ที่ไม่มีความพิการ ดร.เสรี กล่าวอีกว่า การเข้าร่วมของบุคคลที่ทำงานด้านผู้พิการจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จะส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการส่งเสริมคุ้มครองผู้พิการ ซึ่งแต่ละประเทศยังมีความแตกต่าง อาทิ การจำกัดความความพิการ การจัดประเภท การรายงานจำนวนผู้พิการ และสิทธิต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันด้วย "การจัดอบรมระดับอาเซียนครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นพื้นที่ของประชาคมทั้ง 10 ประเทศ ผู้พิการของทุกประเทศเป็นประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการเคลื่อนย้ายเดินทางภายในภูมิภาคเช่นกัน" ดร.เสรี กล่าว ด้านนายพูคง สีสุลัด ผู้แทนกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจากลาว ซึ่งเป็นประธานประธานในปีนี้กล่าวถึงภารกิจของ AICHR ว่า การเคลื่อนไหวเรื่องคนพิการในอาเซียนนับว่ามีความสำคัญในลำดับต้นๆ นอกจากนี้ยังเปิดเผยถึงการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิผู้พิการในลาวว่า รัฐบาลลาวตระหนักและเอาใจใส่ประเด็นสิทธิผู้พิการ มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ รวมทั้งให้สัตยาบันกฎหมายระหว่างประเทศ และผลักดันกฎหมายของลาวให้รองรับสิทธิของคนพิการในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น รวมทั้งการให้มีบริการจากรัฐ เช่น ศูนย์โรงเรียนรวมที่ให้คนพิการเรียนร่วมกับคนทั่วไป ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในส่วนของกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ได้มีการให้คำแนะนำต่อผู้ประกอบการถึงการก่อสร้างที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ เช่น อาคาร ถนน เป็นต้น "รัฐบาลเห็นว่าจะต้องส่งเสริม คุ้มครองสิทธิ ให้บุคคลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และให้ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาด้วย" นายพูคง กล่าว คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีภารกิจหลักในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอาเซียน ในด้านสิทธิของผู้พิการ ไทยอยู่ระหว่างผลักดันให้เกิดการประสานสิทธิของผู้พิการในเสาหลักของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 ด้าน และได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนงานระดับภูมิภาคเพื่อการรับรองสิทธิของผู้พิการในประชาคมอาเซียน คาดว่าจะดำเนินการเสร็จภายในปี 2560 ขอบคุณ... https://news.thaipbs.or.th/content/256555
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)