กสทช.ประชุมร่างมาตรฐานบริการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการด้านกิจการโทรทัศน์
สำนักงาน กสทช. กำหนดจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานการให้บริการมาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559 ณ สำนักงาน กสทช. กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ โดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา หน้า 6 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งข้อ 8 กำหนดเป็นหลักการให้ กสทช. กำหนดมาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559 ได้พิจารณา (ร่าง) มาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ และมีมติให้นำร่างดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ประกอบกิจการ แล้วนำเสนอที่ประชุม กสท. ต่อไป
สำนักงาน กสทช. จึงได้เชิญผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หรือ ดิจิตอลทีวี องค์กรแต่ละประเภทความพิการที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ฯลฯ สถาบันวิชาการซึ่งทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ในการจัดทำคู่มือเพื่อยกร่างมาตรฐานทั้ง 3 บริการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ รวมทั้ง หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเสนอต่อ กสท. พิจารณาต่อไป
อนึ่ง ดิจิตอลทีวีต้องจัดให้มีบริการ โดยมีเวลาตามบทเฉพาะกาล 2 ปี และในปี พ.ศ. 2561 โดยประมาณ อย่างน้อยต้องมีสัดส่วนบริการในรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามประเภทการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต ดังนี้ (1) บริการล่ามภาษามือ (Sign Language) หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีการบรรยายด้วยภาษามือในช่วงเวลาเดียวกับที่รายการมีเสียงพูด หรือเสียงประกอบเกิดขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 แต่ไม่น้อยกว่า 60 นาที (2) บริการคำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption) หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีคำบรรยาย เป็นอักษรวิ่ง หรือตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพ หรือทางเลือกอื่นที่แสดงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รายการ มีเสียงพูด หรือเสียงประกอบ เกิดขึ้น และผู้รับชมสามารถเปิดหรือปิดบริการดังกล่าวด้วยตนเองได้ อย่างน้อยร้อยละ 40 แต่ไม่น้อยกว่า 180 นาที และ (3) บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีคำบรรยายภาพด้วยเสียง หรือจัดให้มีบริการเสียงบรรยายภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษในบางช่วงเวลาของรายการที่ไม่มีเสียงบรรยายตามปกติ อย่างน้อยร้อยละ 5 แต่ไม่น้อยกว่า 60 นาที
ขอบคุณ... http://www.thansettakij.com/2016/09/29/102025http://www.ryt9.com/s/prg/2520128 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สำนักงาน กสทช. สำนักงาน กสทช. กำหนดจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานการให้บริการมาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559 ณ สำนักงาน กสทช. กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ โดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา หน้า 6 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งข้อ 8 กำหนดเป็นหลักการให้ กสทช. กำหนดมาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ ทั้งนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ปฏิบัติหน้าที่แทน กสทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2559 ได้พิจารณา (ร่าง) มาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ และมีมติให้นำร่างดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ประกอบกิจการ แล้วนำเสนอที่ประชุม กสท. ต่อไป สำนักงาน กสทช. จึงได้เชิญผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล หรือ ดิจิตอลทีวี องค์กรแต่ละประเภทความพิการที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ฯลฯ สถาบันวิชาการซึ่งทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวร่วมกับ สำนักงาน กสทช. ในการจัดทำคู่มือเพื่อยกร่างมาตรฐานทั้ง 3 บริการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ รวมทั้ง หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ความคิดเห็นต่อ (ร่าง) มาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิค และความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเสนอต่อ กสท. พิจารณาต่อไป อนึ่ง ดิจิตอลทีวีต้องจัดให้มีบริการ โดยมีเวลาตามบทเฉพาะกาล 2 ปี และในปี พ.ศ. 2561 โดยประมาณ อย่างน้อยต้องมีสัดส่วนบริการในรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามประเภทการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาต ดังนี้ (1) บริการล่ามภาษามือ (Sign Language) หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีการบรรยายด้วยภาษามือในช่วงเวลาเดียวกับที่รายการมีเสียงพูด หรือเสียงประกอบเกิดขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 5 แต่ไม่น้อยกว่า 60 นาที (2) บริการคำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption) หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีคำบรรยาย เป็นอักษรวิ่ง หรือตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพ หรือทางเลือกอื่นที่แสดงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รายการ มีเสียงพูด หรือเสียงประกอบ เกิดขึ้น และผู้รับชมสามารถเปิดหรือปิดบริการดังกล่าวด้วยตนเองได้ อย่างน้อยร้อยละ 40 แต่ไม่น้อยกว่า 180 นาที และ (3) บริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) หรือบริการโทรทัศน์ที่จัดให้มีคำบรรยายภาพด้วยเสียง หรือจัดให้มีบริการเสียงบรรยายภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษในบางช่วงเวลาของรายการที่ไม่มีเสียงบรรยายตามปกติ อย่างน้อยร้อยละ 5 แต่ไม่น้อยกว่า 60 นาที ขอบคุณ... http://www.thansettakij.com/2016/09/29/102025http://www.ryt9.com/s/prg/2520128
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)