มจธ.ร่วม ABAC เพิ่มอาชีพใหม่ให้ผู้พิการทางสายตา
นักวิจัย มจธ. ร่วมกับ ม.อัสสัมชัญ และสมาคมคนสายตาเลือนราง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดึงทักษะพิเศษด้านประสาทสัมผัสของผู้พิการทางสายตา พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มทางเลือกอาชีพ พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชั่นและชุดอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมให้ผู้พิการทางสายตาทำงานดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ไม่ต่างจากคนปกติ
ในปัจจุบันประเทศไทยเองมีทั้งผู้พิการและผู้บกพร่องทางสายตาจำนวนไม่น้อยทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิด และผู้ที่เพิ่งสูญเสียการมองเห็นด้วยปัจจัยต่างๆ สิ่งที่ตามมาคือข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในเรื่องการประกอบอาชีพ
ล่าสุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนาเบื้องต้น ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพของผู้พิการทางสายตาในการเป็นผู้ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับการอุดหนุนทุนจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. โดย ผศ.ดร.ธิติมา วงษ์ชีรี จากศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจธ. กล่าวในฐานะหัวหน้าโครงการว่า โครงการนี้ได้รับการจุดประกายจาก คุณศริญญา วังมะนาวพิทักษ์ ซึ่งทำงานสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการมจธ.
"จากการศึกษาเบื้องต้นในโครงการวิจัย การจัดชั้นคุณภาพวานิลลาไทย ร่วมกับ ม. ABAC เราพบว่าผู้พิการทางสายตามีศักยภาพในการใช้ประสาทสัมผัสสามารถแยกกลิ่นต่างๆ ได้ค่อนข้างดีและไวกว่าคนปกติ เราจึงคิดว่าน่าจะพัฒนาเป็นอาชีพได้ จึงพัฒนาหลักสูตรเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกฝนการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนาขึ้น เพื่อดึงศักยภาพและเพิ่มช่องทางในการประกอบอาชีพผู้ประเมินทางด้านประสาทสัมผัสให้แก่ผู้บกพร่องทางสายตาได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น"
สำหรับความร่วมมือในโครงการนี้นั้นทีมวิจัยของ มจธ. ได้ร่วมงานกับทีมของ ดร.อุศมา สุนทรนฤรังสี จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในการออกแบบหลักสูตร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการประเมินคุณภาพเชิงพรรณนา แต่เนื่องจากการประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสนั้น เมื่อทำการทดสอบแล้วจะต้องให้คะแนนเป็นตัวเลข แต่ผู้พิการไม่สามารถอ่านคำสั่งและให้คะแนนได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางสายตา คุณภูมินทร์ สิงห์ลา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น และชุดอุปกรณ์การให้คะแนนที่จะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาทำหน้าที่ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่ต่างจากคนปกติ เพียงแค่ใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ในระบบคอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดที่ออกแบบให้มีเฉพาะตัวเลขและปุ่มที่สำคัญเท่านั้น
"สำหรับผู้ทำหน้าที่ประเมินผลิตภัณฑ์ที่เป็นคนปกติสามารถกรอกผลประเมินลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เลย แต่ผู้บกพร่องทางสายตาทำไม่ได้ เราจึงพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นเพื่อทำให้เขาสามารถทำหน้าที่ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์เบื้องต้นได้อย่างสมบูรณ์ โดยทำงานร่วมกับการฟังคำสั่งเสียงผ่านหูฟัง เริ่มต้นด้วยการกดรหัสของผู้ทำการประเมิน กดรหัสของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการประเมิน และกดคะแนนที่ให้ในการประเมินผ่านคีย์บอร์ดในชุดอุปกรณ์ ทั้งนี้ผู้บกพร่องทางสายตาที่ผ่านการอบรมจะสามารถจดจำตำแหน่งตัวเลขบนคีย์บอร์ดได้อย่างแม่นยำ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อบันทึกผลการประเมินลงในโปรแกรม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินผลในขั้นต่อไป ทั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของไทยที่มีจัดอบรมดังกล่าวให้กับผู้บกพร่องทางสายตา และยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นและชุดอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้น โดยขณะนี้ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างกระบวนการยื่นจดอนุสิทธิบัตร"
นอกจากนั้น ในโครงการอบรมดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) ที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มคนพิการทางสายตาที่มีความสนใจมาเข้าร่วมอบรม แต่เนื่องจากหลักสูตรการอบรมดังกล่าวมีเนื้อหาการอบรมที่ค่อนข้างยากและจำเพาะ ต้องมีทักษะในเรื่องการจำแนกกลิ่นและรสชาติที่แม่นยำ จึงมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมเพียง 14 คน โดยทั้ง 14 คนนี้จะได้ใบรับรองจากทั้ง มจธ. และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าเป็นผู้ที่ผ่านหลักสูตรการประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสเชิงพรรณนาเบื้องต้นเป็นเวลา 150 ชั่วโมง มีความรู้พื้นฐานเรื่องการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ฝึกฝนการตัวอย่างอ้างอิงในการทดสอบผลิตภัณฑ์ จำแนกรสชาติ เปรี้ยว ขม เค็ม หวาน และประเมินผลได้ ฝึกการทดสอบน้ำส้ม น้ำผึ้ง ความกรอบของขนมขบเคี้ยว และทดสอบกลิ่นข้าวสุกเพื่อแยกจำพวกจากผลการทดสอบผู้บกพร่องทางสายตามีศักยภาพที่จะประกอบอาชีพผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ได้เทียบเท่ากับคนปกติโดยการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชั่นและชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น
ทางด้าน คุณปิยรัตน์ เอี่ยมทรัพย์ ตัวแทนผู้บกพร่องทางสายตาที่เข้าอบรมกล่าวว่า "การอบรมนี้เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้พิการทางสายตา เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนพิการทางสายตาสามารถประกอบอาชีพแบบนี้ได้ อาชีพที่เห็นคนพิการทางสายตาส่วนมากทำกันก็คงเป็นขายสลากกินแบ่งหรือนวด บ้านเราไม่มีพื้นที่รองรับการประกอบอาชีพของคนตาบอด หลักสูตรนี้เป็นเรื่องที่ยากมากแต่พวกเราทุกคนตั้งใจอยากมาเรียนเพราะเชื่อว่าเมื่อจบการอบรมแล้วเรามีศักยภาพพอที่จะทำได้เพียงแค่ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานต่างๆเปิดใจ"
ดร.ธิติมา กล่าวทิ้งท้ายว่า จากความร่วมมือดังกล่าวหวังว่าจะเป็นสื่อกลางที่จะทำหน้าที่ให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในการประเมินคุณภาพเชิงพรรณนา เปิดโอกาสให้กับผู้บกพร่องทางสายตาที่มีศักยภาพเหล่านี้ ได้ใช้ความสามารถของตนเองในการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น
ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/17522 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพหมู่ ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการดึงทักษะพิเศษด้านประสาทสัมผัสของผู้พิการทางสายตา พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มทางเลือกอาชีพ นักวิจัย มจธ. ร่วมกับ ม.อัสสัมชัญ และสมาคมคนสายตาเลือนราง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการดึงทักษะพิเศษด้านประสาทสัมผัสของผู้พิการทางสายตา พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มทางเลือกอาชีพ พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชั่นและชุดอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมให้ผู้พิการทางสายตาทำงานดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ไม่ต่างจากคนปกติ ในปัจจุบันประเทศไทยเองมีทั้งผู้พิการและผู้บกพร่องทางสายตาจำนวนไม่น้อยทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิด และผู้ที่เพิ่งสูญเสียการมองเห็นด้วยปัจจัยต่างๆ สิ่งที่ตามมาคือข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในเรื่องการประกอบอาชีพ ล่าสุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนาเบื้องต้น ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพของผู้พิการทางสายตาในการเป็นผู้ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับการอุดหนุนทุนจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. โดย ผศ.ดร.ธิติมา วงษ์ชีรี จากศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจธ. กล่าวในฐานะหัวหน้าโครงการว่า โครงการนี้ได้รับการจุดประกายจาก คุณศริญญา วังมะนาวพิทักษ์ ซึ่งทำงานสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้พิการมจธ. ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการดึงทักษะพิเศษด้านประสาทสัมผัสของผู้พิการทางสายตา พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มทางเลือกอาชีพ "จากการศึกษาเบื้องต้นในโครงการวิจัย การจัดชั้นคุณภาพวานิลลาไทย ร่วมกับ ม. ABAC เราพบว่าผู้พิการทางสายตามีศักยภาพในการใช้ประสาทสัมผัสสามารถแยกกลิ่นต่างๆ ได้ค่อนข้างดีและไวกว่าคนปกติ เราจึงคิดว่าน่าจะพัฒนาเป็นอาชีพได้ จึงพัฒนาหลักสูตรเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกฝนการประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางประสาทสัมผัสเชิงพรรณนาขึ้น เพื่อดึงศักยภาพและเพิ่มช่องทางในการประกอบอาชีพผู้ประเมินทางด้านประสาทสัมผัสให้แก่ผู้บกพร่องทางสายตาได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น" สำหรับความร่วมมือในโครงการนี้นั้นทีมวิจัยของ มจธ. ได้ร่วมงานกับทีมของ ดร.อุศมา สุนทรนฤรังสี จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในการออกแบบหลักสูตร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการประเมินคุณภาพเชิงพรรณนา แต่เนื่องจากการประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสนั้น เมื่อทำการทดสอบแล้วจะต้องให้คะแนนเป็นตัวเลข แต่ผู้พิการไม่สามารถอ่านคำสั่งและให้คะแนนได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางสายตา คุณภูมินทร์ สิงห์ลา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น และชุดอุปกรณ์การให้คะแนนที่จะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาทำหน้าที่ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบไม่ต่างจากคนปกติ เพียงแค่ใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ในระบบคอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดที่ออกแบบให้มีเฉพาะตัวเลขและปุ่มที่สำคัญเท่านั้น "สำหรับผู้ทำหน้าที่ประเมินผลิตภัณฑ์ที่เป็นคนปกติสามารถกรอกผลประเมินลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เลย แต่ผู้บกพร่องทางสายตาทำไม่ได้ เราจึงพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นเพื่อทำให้เขาสามารถทำหน้าที่ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์เบื้องต้นได้อย่างสมบูรณ์ โดยทำงานร่วมกับการฟังคำสั่งเสียงผ่านหูฟัง เริ่มต้นด้วยการกดรหัสของผู้ทำการประเมิน กดรหัสของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการประเมิน และกดคะแนนที่ให้ในการประเมินผ่านคีย์บอร์ดในชุดอุปกรณ์ ทั้งนี้ผู้บกพร่องทางสายตาที่ผ่านการอบรมจะสามารถจดจำตำแหน่งตัวเลขบนคีย์บอร์ดได้อย่างแม่นยำ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อบันทึกผลการประเมินลงในโปรแกรม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินผลในขั้นต่อไป ทั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของไทยที่มีจัดอบรมดังกล่าวให้กับผู้บกพร่องทางสายตา และยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นและชุดอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้น โดยขณะนี้ชุดอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างกระบวนการยื่นจดอนุสิทธิบัตร" การอบรมเชิงปฏิบัติการดึงทักษะพิเศษด้านประสาทสัมผัสของผู้พิการทางสายตา พัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มทางเลือกอาชีพ นอกจากนั้น ในโครงการอบรมดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) ที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มคนพิการทางสายตาที่มีความสนใจมาเข้าร่วมอบรม แต่เนื่องจากหลักสูตรการอบรมดังกล่าวมีเนื้อหาการอบรมที่ค่อนข้างยากและจำเพาะ ต้องมีทักษะในเรื่องการจำแนกกลิ่นและรสชาติที่แม่นยำ จึงมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมเพียง 14 คน โดยทั้ง 14 คนนี้จะได้ใบรับรองจากทั้ง มจธ. และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ว่าเป็นผู้ที่ผ่านหลักสูตรการประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสเชิงพรรณนาเบื้องต้นเป็นเวลา 150 ชั่วโมง มีความรู้พื้นฐานเรื่องการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส ฝึกฝนการตัวอย่างอ้างอิงในการทดสอบผลิตภัณฑ์ จำแนกรสชาติ เปรี้ยว ขม เค็ม หวาน และประเมินผลได้ ฝึกการทดสอบน้ำส้ม น้ำผึ้ง ความกรอบของขนมขบเคี้ยว และทดสอบกลิ่นข้าวสุกเพื่อแยกจำพวกจากผลการทดสอบผู้บกพร่องทางสายตามีศักยภาพที่จะประกอบอาชีพผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ได้เทียบเท่ากับคนปกติโดยการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชั่นและชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น ทางด้าน คุณปิยรัตน์ เอี่ยมทรัพย์ ตัวแทนผู้บกพร่องทางสายตาที่เข้าอบรมกล่าวว่า "การอบรมนี้เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับผู้พิการทางสายตา เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนพิการทางสายตาสามารถประกอบอาชีพแบบนี้ได้ อาชีพที่เห็นคนพิการทางสายตาส่วนมากทำกันก็คงเป็นขายสลากกินแบ่งหรือนวด บ้านเราไม่มีพื้นที่รองรับการประกอบอาชีพของคนตาบอด หลักสูตรนี้เป็นเรื่องที่ยากมากแต่พวกเราทุกคนตั้งใจอยากมาเรียนเพราะเชื่อว่าเมื่อจบการอบรมแล้วเรามีศักยภาพพอที่จะทำได้เพียงแค่ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานต่างๆเปิดใจ" ดร.ธิติมา กล่าวทิ้งท้ายว่า จากความร่วมมือดังกล่าวหวังว่าจะเป็นสื่อกลางที่จะทำหน้าที่ให้ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในการประเมินคุณภาพเชิงพรรณนา เปิดโอกาสให้กับผู้บกพร่องทางสายตาที่มีศักยภาพเหล่านี้ ได้ใช้ความสามารถของตนเองในการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/17522
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)