มรภ.สงขลา ปั้นล่ามภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร ช่วยคนหูหนวกเข้าถึงบริการรัฐ-เติมเต็มโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต
มรภ.สงขลา จัดอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร ติวบุคลากรภาครัฐ อาสาสมัครทั่วไป หวังเพิ่มจำนวนล่ามภาษามือหลังขาดแคลนหนัก เชื่อช่วยคนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร บริการสาธารณะเติมเต็มโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต
ดร.โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสารสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ว่า จัดขึ้นในวันที่ 18-22 ก.ย.59 ณ โรงแรมบุรี ศรีภู บูติค หาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครดูแลคนพิการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ สถานีตำรวจ ศาล โรงพยาบาล สถานีอนามัย กศน. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานจัดหางาน ฯลฯ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเป็นอาสาสมัครล่ามภาษามือใน จ.สงขลา มีความรู้ความสามารถทางภาษามือ เพื่อช่วยให้คนหูหนวกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง เนื่องจากคนหูหนวกเป็นกลุ่มคนพิการที่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ขาดโอกาสในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้านการศึกษา สังคม การแพทย์และอาชีพ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วค่อนข้างจำกัดและมีน้อยกว่าคนพิการประเภทอื่น ทั้งนี้อาจเกิดจากคนหูหนวกไม่สามารถสื่อสารด้วยการได้ยินและพูดภาษาไทย ซึ่งเป็นวิธีสื่อสารที่ใช้กันในสังคมคนทั่วไป แต่จำเป็นต้องสื่อสารด้วยภาษามือไทย ที่มีลักษณะและคุณสมบัติของความเป็นภาษาๆหนึ่ง มีโครงสร้างและไวยากรณ์เป็นของตนเอง แตกต่างจากภาษาไทย โดยมีคำศัพท์ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางภาษาตลอดเวลาเฉกเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ
รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า นอกจากนั้น คนส่วนใหญ่ในสังคมทั่วไปยังเข้าใจผิดว่าภาษามือเป็นภาษาสากลที่คนหูหนวกทุกชาติทั่วโลกสามารถใช้สื่อสารกันได้ แต่ในความเป็นจริงคนหูหนวกแต่ละชาติมีภาษามือและวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ โดยเฉพาะแตกต่างกัน เช่น ภาษามือไทย ภาษามือญี่ปุ่น และภาษามืออเมริกัน เป็นต้น คนหูหนวกต้องสื่อสารด้วยภาษามือซึ่งเป็นภาษาแรกหรือภาษาแม่ คนหูหนวกใช้ภาษามือไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การเรียนรู้ การรับรู้ และแสดงความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น ภาษามือไทยจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ด้วยข้อจำกัดบางประการทำให้คนหูหนวกจำนวนไม่น้อย ไม่สามารถเรียนในสถานศึกษาของคนทั่วไปที่สื่อสารด้วยภาษาไทยที่ใช้ทั้งการฟังและพูดได้ จึงต้องเรียนในโรงเรียนเฉพาะซึ่งใช้วิธีการสื่อสารด้วยภาษามือ
"เมื่อคนหูหนวกไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาน้อย เป็นเหตุให้ไม่สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ ส่งผลให้ดำรงชีวิตด้วยความยากลำบาก ที่สำคัญ เมื่อจำเป็นต้องใช้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานที่ราชการ โรงพัก เป็นต้น คนหูหนวกที่ได้รับการศึกษาอาจสื่อสารโดยการอ่านและเขียน ในขณะที่คนหูหนวกอีกกลุ่มจำเป็นต้องมีล่ามภาษามือ แต่ปัจจุบันล่ามภาษามือมีไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง ด้วยความสำคัญดังกล่าว สถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษมรภ.สงขลา จึงร่วมกับกลุ่มสมาชิกคนหูหนวกภาคใต้ จัดอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสารสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ เพื่อช่วยให้คนหูหนวกสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์และบริการต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกในภาพรวมให้ดียิ่งขึ้น"ดร.โสภณกล่าวและว่า
ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/education/723904
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
มรภ.สงขลา จัดอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร ติวบุคลากรภาครัฐ อาสาสมัครทั่วไป มรภ.สงขลา จัดอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร ติวบุคลากรภาครัฐ อาสาสมัครทั่วไป หวังเพิ่มจำนวนล่ามภาษามือหลังขาดแคลนหนัก เชื่อช่วยคนหูหนวกเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร บริการสาธารณะเติมเต็มโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต ดร.โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสารสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ว่า จัดขึ้นในวันที่ 18-22 ก.ย.59 ณ โรงแรมบุรี ศรีภู บูติค หาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 60 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครดูแลคนพิการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ สถานีตำรวจ ศาล โรงพยาบาล สถานีอนามัย กศน. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พมจ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานจัดหางาน ฯลฯ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเป็นอาสาสมัครล่ามภาษามือใน จ.สงขลา มีความรู้ความสามารถทางภาษามือ เพื่อช่วยให้คนหูหนวกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสาธารณะต่างๆ ของภาครัฐได้อย่างกว้างขวาง ทั่วถึง เนื่องจากคนหูหนวกเป็นกลุ่มคนพิการที่มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ขาดโอกาสในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้านการศึกษา สังคม การแพทย์และอาชีพ ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้วค่อนข้างจำกัดและมีน้อยกว่าคนพิการประเภทอื่น ทั้งนี้อาจเกิดจากคนหูหนวกไม่สามารถสื่อสารด้วยการได้ยินและพูดภาษาไทย ซึ่งเป็นวิธีสื่อสารที่ใช้กันในสังคมคนทั่วไป แต่จำเป็นต้องสื่อสารด้วยภาษามือไทย ที่มีลักษณะและคุณสมบัติของความเป็นภาษาๆหนึ่ง มีโครงสร้างและไวยากรณ์เป็นของตนเอง แตกต่างจากภาษาไทย โดยมีคำศัพท์ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางภาษาตลอดเวลาเฉกเช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ มรภ.สงขลา จัดอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร ติวบุคลากรภาครัฐ อาสาสมัครทั่วไป รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า นอกจากนั้น คนส่วนใหญ่ในสังคมทั่วไปยังเข้าใจผิดว่าภาษามือเป็นภาษาสากลที่คนหูหนวกทุกชาติทั่วโลกสามารถใช้สื่อสารกันได้ แต่ในความเป็นจริงคนหูหนวกแต่ละชาติมีภาษามือและวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ โดยเฉพาะแตกต่างกัน เช่น ภาษามือไทย ภาษามือญี่ปุ่น และภาษามืออเมริกัน เป็นต้น คนหูหนวกต้องสื่อสารด้วยภาษามือซึ่งเป็นภาษาแรกหรือภาษาแม่ คนหูหนวกใช้ภาษามือไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การเรียนรู้ การรับรู้ และแสดงความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น ภาษามือไทยจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ด้วยข้อจำกัดบางประการทำให้คนหูหนวกจำนวนไม่น้อย ไม่สามารถเรียนในสถานศึกษาของคนทั่วไปที่สื่อสารด้วยภาษาไทยที่ใช้ทั้งการฟังและพูดได้ จึงต้องเรียนในโรงเรียนเฉพาะซึ่งใช้วิธีการสื่อสารด้วยภาษามือ "เมื่อคนหูหนวกไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาน้อย เป็นเหตุให้ไม่สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ ส่งผลให้ดำรงชีวิตด้วยความยากลำบาก ที่สำคัญ เมื่อจำเป็นต้องใช้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานที่ราชการ โรงพัก เป็นต้น คนหูหนวกที่ได้รับการศึกษาอาจสื่อสารโดยการอ่านและเขียน ในขณะที่คนหูหนวกอีกกลุ่มจำเป็นต้องมีล่ามภาษามือ แต่ปัจจุบันล่ามภาษามือมีไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง ด้วยความสำคัญดังกล่าว สถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษมรภ.สงขลา จึงร่วมกับกลุ่มสมาชิกคนหูหนวกภาคใต้ จัดอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐานเพื่อการสื่อสารสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ เพื่อช่วยให้คนหูหนวกสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์และบริการต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกในภาพรวมให้ดียิ่งขึ้น"ดร.โสภณกล่าวและว่า ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/education/723904
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)