คนพิการทางสติปัญญาวอนให้โอกาสออทิสติกใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้ง
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 ที่โรงแรมเอทัส ลุมพินี ได้มีเสวนาหัวข้อ “บทบาทของสื่อในการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งของคนพิการ” จัดโดย สำนักสื่อเพื่อคนพิการ Thisable.me, มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (FCEM), มูลนิธิอัลเฟรด และ AGENDA นายรักศักดิ์ ชัยรัญจวนสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ กล่าวว่า ไม่รู้ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งเมื่อใด แต่การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องที่ดี ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2560 ที่เพิ่งประกาศใช้นั้นมีการระบุถึงสิทธิคนพิการไว้ว่า คนพิการมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ แต่ยังไม่ชัดเจน
ทั้งที่การเมืองนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคนที่ไม่ยึดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การเป็นพลเมืองเท่ากับมีความเท่าเทียม และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทีนี้หากว่ากลางปีหน้า (ปี 2561) มีการเลือกตั้งจริง ๆ สื่อมวลชนมีส่วนในการสนับสนุนเรื่องดังกล่าวได้โดยการผลักดันให้ผู้พิการตระหนักถึงสิทธิของตนเองให้มากว่า การเลือกตั้งเป็นสิทธิหนึ่ง “จะเห็นว่าสื่อของรัฐบาลนั้นนำเสนอข้อมูลเลือกตั้งส่วนมากเป็นการทำแผ่นพับและเผยแพร่ข้อความผ่านออนไลน์ แต่คนตาบอดมองไม่เห็น เข้าคอมพิวเตอร์ไป หากไม่มีโปรมแกรมอ่านก็ยากอีก อยากให้สื่อมวลชนไปกระตุ้นรัฐ กระตุ้นสังคมให้มีสื่อข้อมูล หรือทางเลือกการเสนอข้อมูลเพื่อคนพิการมากขึ้น” นายรักศักดิ์ กล่าว
นางพรสวรรค์ เมตตาประเสริฐ์ ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองทางสติปัญญา กล่าวว่า หลายครั้งที่คนพิการทางสติปัญญาถูกมองข้ามเรื่องสิทธิทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ เช่น กรณีเด็กที่เป็นออทิสติก หรือ ความบกพร่องในการเรียนรู้ Learning Disabilities (LD) อายุถึงเกณฑ์ใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ปกครองบางคนจะเลือกชี้นำให้เด็กเลือกตามที่ตนต้องการ แทนการชี้แนะเด็กให้คิดและเลือกตั้งตามใจตนเอง หรือบางคนเลือกตัดปัญหาโดยไม่พาบุคคลออทิสติกไปสู่คูหาเลือกตั้งเลยก็มี หรือบางคนพาเด็กไป แต่ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งนั้นปฏิเสธการให้ข้อมูลเพราะมองว่าผู้บกพร่องทางสติปัญญาไร้ความสามารถ
นางพรสวรรค์กล่าวว่า จากการสังเกตการณ์ที่ผ่านมา คือ ประเทศไทยนั้นไม่มีการอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้งให้ผู้พิการทางสติปัญญา หลักการง่าย ๆ ของเรื่องนี้คือ คนออทิสติกบางคนไม่ได้ขาดวิจารณญาณ แต่อาจจะบกพร่องการวางตัว หรือบางคนเป็นดาวน์ซินโดรม เขาเป็นผู้พิการแต่เขามีสิทธิเรียนรู้ และใช้สิทธินั้นออกไปได้ โดยหากสังคมและรัฐเปิดกว้างก็อาจจะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งสำหรับเผยแพร่แก่คนกลุ่มนี้ โดยมีผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเป็นผู้ช่วย เช่น กรณีที่การจัดสถานที่จำลองหน่วยเลือกตั้งให้ลูกเรียนรู้ โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือใครก็แล้วแต่ แล้วใช้สีมากำหนดแทนการกากบาท ใช้สีแทนตัวแทนพรรคการเมือง นักการเมืองให้คนออทิสติกเลือกคนที่เขาชื่นชอบ “การอัพเดทข้อมูลข่าวสารคนพิการ ข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นต้องอัพเดทกว่านี้ และอย่ามองว่าเขาคือคนส่วนน้อย ให้มองว่าเขาคือคนส่วนหนึ่งที่จะเป็นเสียงในการปกครอง” นางพรสวรรค์กล่าว
นางพรสวรรค์ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของตนอย่างเร่งด่วน คือ อยากให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงมหาดไทย มีการสำรวจประชากรที่พิการทุกประเภท แล้วนำเสนอข้อมูลออกมาให้ตรงกันทุกปี เพื่อจะได้นำจำนวนทั้งหมดไปประกอบข้อมูลในการเสนอหรือเรียกร้องสิทธิคนพิการเพิ่มเติม นางนุชจารี สว่างวรรณ นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต กล่าวว่า คนพิการทางจิต หรือคนบกพร่องทางจิตนั้นยังมีสิทธิทางการเมืองและนโยบายสาธารณะชัดเจน เว้นแต่ศาลสั่งว่าทำไม่ได้ และมีใบรับรองแพทย์ว่า เลือกตั้งหรือเสนอความเห็นไม่ได้เท่านั้น เสียงและสิทธิของผู้พิการจึงไม่มีผลหรือเมื่อลงคะแนนแล้วเป็นโมฆะ แต่หากไม่มีคำสั่งเมื่อพูดถึงคนพิการจิต หมายความว่าสิทธิเสรีภาพเท่ากัน แต่อาจจะต้องอำนวยความสะดวกในบางเรื่อง “อาการป่วยทางจิต กินยา รักษาต่อเนื่องหายได้ หรือไม่หายแต่บรรเทาปรับปรุงได้ก็มี คนป่วยจิตเวช จิตเภท บางทีเขาไม่นิ่ง ไปยืนอยู่เดินเข้าเดินออก ก็เป็นธรรมดา แต่อยากขอร้องให้สื่อนำเสนอด้านนี้ด้วย นำเสนอว่าเขามีความสำคัญต่อการลงเสียงเลือกตั้ง แต่คนทั่วไปต้องอดทนต่อการรอ ให้เขาคิดเขาปฏิบัติ ซึ่งหากมีการเลือกตั้งต้องหาสื่อที่เหมาะสมมาเผยแพร่และพอถึงช่วงเลือกตั้งต้องมีการให้โอกาสเขาคิดและเลือก” นางนุชจารี กล่าว
ขณะที่นางสาวปรียานุช ศศิธรวัฒนสกุล ผู้แทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตนเป็นคนหูหนวก คือ ไม่ได้ยินอะไรเลย เป็นปีกว่าจะรู้ว่าเลือกตั้งใคร คนในรูปคือใคร พอ 4-5 ปี เรียนจบก็มาทำงานที่สมาคม ใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 5 ครั้ง และยังอยากใช้สิทธินั้นอยู่ เพราะเป็นพลเมืองไทยคนหนึ่งที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง “ตอนไปเลือกตั้งแรก ๆ นะ บางครั้งไปถึงหน่วยเลือกตั้ง แล้วเจ้าหน้าที่เขาก็สั่งให้ไปนั่นนี่ ไม่อยากให้พร้อมบอกว่า ใบ้ไปที่นั่นสิ รู้สึกไม่ดีเลย บางคนไม่อยากเสียเวลาสื่อสารด้วย
ทั้งที่เราเองก็อ่านหนังสือออกจะเขียน จะถามกันดี ๆ ก็ไม่ได้ จึงอยากให้การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ ถ้ามีขึ้นอยากให้ก่อนการเลือกตั้ง ทำข้อมูลที่สนับสนุนคนพิการบ้าง ตอนนี้ข้อมูลคนหูหนวกอย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยมีราว 3 แสนคนนะ ไม่ใช่น้อย ดังนั้นทีวี หนังสือ เว็บไซต์ สื่อที่มีภาษามือควรมีให้คนกลุ่มนี้ได้ศึกษา หรือมีตัววิ่งในเว็บไซต์ก็ยังดี นำเสนอข้อมูลเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมา” นางสาวปรียานุช กล่าว ด้านนายสว่าง ศรีสุข ผู้แทนภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มีการเขียนหลักการอย่างกว้างมากโดยอ้างอิงตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการนั้น กรณีคนพิการทางการเคลื่อนไหว ในกฎหมายนั้นบอกว่าให้คนพิการมีบุคคลที่ช่วยเหลือสนับสนุนได้ แต่ไม่ได้บอกไว้ชัดว่าให้คนช่วยเหลือเข้ามาช่วยเลือก หรือเข้ามาดูด้วยหรือเปล่าว่าเราเลือกใคร เลือกพรรคใด คือ ถ้าเข้ามารู้ขนาดนั้น สิทธิที่พึงมีก็เหมือนไม่มี
ดังนั้นกฎหมายลูก กฎหมายย่อยสำหรับคนพิการในทางการใช้สิทธิการเมืองต้องชัดเจน “สหประชาชาติ หรือ UN เสนอว่าให้มีผู้ช่วยเข้ามาตัดสินใจบางกรณี แต่เรื่องนี้ผมว่าอาจจะต้องไปปราศรัยทีละประเด็น เช่น ระบุไปว่าให้คนช่วยเหลือคนพิการโดยอำนวยความสะดวกแค่ การเดินทางออกจากบ้านไปคูหาเลือกตั้ง แต่ต้องไม่ยุ่งช่วงที่ลงคะแนน และคนที่ดูวิธีการ กระบวนการ สนามการเลือกตั้ง ต้องหาวิธี หรือขั้นตอนมารองรับสำหรับคนที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว จะแขน จะขา ก็ต้องหามาด้วย ผมคิดว่าจำเป็น ไม่เช่นนั้นคนพิการต้องถูกตัดสิทธิ์ไปตลอดทั้งที่กฎหมายให้เรามีสิทธิ” นายสว่างกล่าว
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
งานเสวนาหัวข้อ “บทบาทของสื่อในการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งของคนพิการ” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 ที่โรงแรมเอทัส ลุมพินี ได้มีเสวนาหัวข้อ “บทบาทของสื่อในการส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งของคนพิการ” จัดโดย สำนักสื่อเพื่อคนพิการ Thisable.me, มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (FCEM), มูลนิธิอัลเฟรด และ AGENDA นายรักศักดิ์ ชัยรัญจวนสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ กล่าวว่า ไม่รู้ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งเมื่อใด แต่การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องที่ดี ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2560 ที่เพิ่งประกาศใช้นั้นมีการระบุถึงสิทธิคนพิการไว้ว่า คนพิการมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ แต่ยังไม่ชัดเจน ทั้งที่การเมืองนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคนที่ไม่ยึดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การเป็นพลเมืองเท่ากับมีความเท่าเทียม และต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทีนี้หากว่ากลางปีหน้า (ปี 2561) มีการเลือกตั้งจริง ๆ สื่อมวลชนมีส่วนในการสนับสนุนเรื่องดังกล่าวได้โดยการผลักดันให้ผู้พิการตระหนักถึงสิทธิของตนเองให้มากว่า การเลือกตั้งเป็นสิทธิหนึ่ง “จะเห็นว่าสื่อของรัฐบาลนั้นนำเสนอข้อมูลเลือกตั้งส่วนมากเป็นการทำแผ่นพับและเผยแพร่ข้อความผ่านออนไลน์ แต่คนตาบอดมองไม่เห็น เข้าคอมพิวเตอร์ไป หากไม่มีโปรมแกรมอ่านก็ยากอีก อยากให้สื่อมวลชนไปกระตุ้นรัฐ กระตุ้นสังคมให้มีสื่อข้อมูล หรือทางเลือกการเสนอข้อมูลเพื่อคนพิการมากขึ้น” นายรักศักดิ์ กล่าว นางพรสวรรค์ เมตตาประเสริฐ์ ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองทางสติปัญญา กล่าวว่า หลายครั้งที่คนพิการทางสติปัญญาถูกมองข้ามเรื่องสิทธิทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ เช่น กรณีเด็กที่เป็นออทิสติก หรือ ความบกพร่องในการเรียนรู้ Learning Disabilities (LD) อายุถึงเกณฑ์ใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ปกครองบางคนจะเลือกชี้นำให้เด็กเลือกตามที่ตนต้องการ แทนการชี้แนะเด็กให้คิดและเลือกตั้งตามใจตนเอง หรือบางคนเลือกตัดปัญหาโดยไม่พาบุคคลออทิสติกไปสู่คูหาเลือกตั้งเลยก็มี หรือบางคนพาเด็กไป แต่ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งนั้นปฏิเสธการให้ข้อมูลเพราะมองว่าผู้บกพร่องทางสติปัญญาไร้ความสามารถ นางพรสวรรค์กล่าวว่า จากการสังเกตการณ์ที่ผ่านมา คือ ประเทศไทยนั้นไม่มีการอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้งให้ผู้พิการทางสติปัญญา หลักการง่าย ๆ ของเรื่องนี้คือ คนออทิสติกบางคนไม่ได้ขาดวิจารณญาณ แต่อาจจะบกพร่องการวางตัว หรือบางคนเป็นดาวน์ซินโดรม เขาเป็นผู้พิการแต่เขามีสิทธิเรียนรู้ และใช้สิทธินั้นออกไปได้ โดยหากสังคมและรัฐเปิดกว้างก็อาจจะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งสำหรับเผยแพร่แก่คนกลุ่มนี้ โดยมีผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิดเป็นผู้ช่วย เช่น กรณีที่การจัดสถานที่จำลองหน่วยเลือกตั้งให้ลูกเรียนรู้ โดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือใครก็แล้วแต่ แล้วใช้สีมากำหนดแทนการกากบาท ใช้สีแทนตัวแทนพรรคการเมือง นักการเมืองให้คนออทิสติกเลือกคนที่เขาชื่นชอบ “การอัพเดทข้อมูลข่าวสารคนพิการ ข้อมูลต่าง ๆ จำเป็นต้องอัพเดทกว่านี้ และอย่ามองว่าเขาคือคนส่วนน้อย ให้มองว่าเขาคือคนส่วนหนึ่งที่จะเป็นเสียงในการปกครอง” นางพรสวรรค์กล่าว นางพรสวรรค์ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของตนอย่างเร่งด่วน คือ อยากให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงมหาดไทย มีการสำรวจประชากรที่พิการทุกประเภท แล้วนำเสนอข้อมูลออกมาให้ตรงกันทุกปี เพื่อจะได้นำจำนวนทั้งหมดไปประกอบข้อมูลในการเสนอหรือเรียกร้องสิทธิคนพิการเพิ่มเติม นางนุชจารี สว่างวรรณ นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต กล่าวว่า คนพิการทางจิต หรือคนบกพร่องทางจิตนั้นยังมีสิทธิทางการเมืองและนโยบายสาธารณะชัดเจน เว้นแต่ศาลสั่งว่าทำไม่ได้ และมีใบรับรองแพทย์ว่า เลือกตั้งหรือเสนอความเห็นไม่ได้เท่านั้น เสียงและสิทธิของผู้พิการจึงไม่มีผลหรือเมื่อลงคะแนนแล้วเป็นโมฆะ แต่หากไม่มีคำสั่งเมื่อพูดถึงคนพิการจิต หมายความว่าสิทธิเสรีภาพเท่ากัน แต่อาจจะต้องอำนวยความสะดวกในบางเรื่อง “อาการป่วยทางจิต กินยา รักษาต่อเนื่องหายได้ หรือไม่หายแต่บรรเทาปรับปรุงได้ก็มี คนป่วยจิตเวช จิตเภท บางทีเขาไม่นิ่ง ไปยืนอยู่เดินเข้าเดินออก ก็เป็นธรรมดา แต่อยากขอร้องให้สื่อนำเสนอด้านนี้ด้วย นำเสนอว่าเขามีความสำคัญต่อการลงเสียงเลือกตั้ง แต่คนทั่วไปต้องอดทนต่อการรอ ให้เขาคิดเขาปฏิบัติ ซึ่งหากมีการเลือกตั้งต้องหาสื่อที่เหมาะสมมาเผยแพร่และพอถึงช่วงเลือกตั้งต้องมีการให้โอกาสเขาคิดและเลือก” นางนุชจารี กล่าว ขณะที่นางสาวปรียานุช ศศิธรวัฒนสกุล ผู้แทนสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตนเป็นคนหูหนวก คือ ไม่ได้ยินอะไรเลย เป็นปีกว่าจะรู้ว่าเลือกตั้งใคร คนในรูปคือใคร พอ 4-5 ปี เรียนจบก็มาทำงานที่สมาคม ใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 5 ครั้ง และยังอยากใช้สิทธินั้นอยู่ เพราะเป็นพลเมืองไทยคนหนึ่งที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง “ตอนไปเลือกตั้งแรก ๆ นะ บางครั้งไปถึงหน่วยเลือกตั้ง แล้วเจ้าหน้าที่เขาก็สั่งให้ไปนั่นนี่ ไม่อยากให้พร้อมบอกว่า ใบ้ไปที่นั่นสิ รู้สึกไม่ดีเลย บางคนไม่อยากเสียเวลาสื่อสารด้วย ทั้งที่เราเองก็อ่านหนังสือออกจะเขียน จะถามกันดี ๆ ก็ไม่ได้ จึงอยากให้การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ ถ้ามีขึ้นอยากให้ก่อนการเลือกตั้ง ทำข้อมูลที่สนับสนุนคนพิการบ้าง ตอนนี้ข้อมูลคนหูหนวกอย่างไม่เป็นทางการในประเทศไทยมีราว 3 แสนคนนะ ไม่ใช่น้อย ดังนั้นทีวี หนังสือ เว็บไซต์ สื่อที่มีภาษามือควรมีให้คนกลุ่มนี้ได้ศึกษา หรือมีตัววิ่งในเว็บไซต์ก็ยังดี นำเสนอข้อมูลเลือกตั้งอย่างตรงไปตรงมา” นางสาวปรียานุช กล่าว ด้านนายสว่าง ศรีสุข ผู้แทนภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้มีการเขียนหลักการอย่างกว้างมากโดยอ้างอิงตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการนั้น กรณีคนพิการทางการเคลื่อนไหว ในกฎหมายนั้นบอกว่าให้คนพิการมีบุคคลที่ช่วยเหลือสนับสนุนได้ แต่ไม่ได้บอกไว้ชัดว่าให้คนช่วยเหลือเข้ามาช่วยเลือก หรือเข้ามาดูด้วยหรือเปล่าว่าเราเลือกใคร เลือกพรรคใด คือ ถ้าเข้ามารู้ขนาดนั้น สิทธิที่พึงมีก็เหมือนไม่มี ดังนั้นกฎหมายลูก กฎหมายย่อยสำหรับคนพิการในทางการใช้สิทธิการเมืองต้องชัดเจน “สหประชาชาติ หรือ UN เสนอว่าให้มีผู้ช่วยเข้ามาตัดสินใจบางกรณี แต่เรื่องนี้ผมว่าอาจจะต้องไปปราศรัยทีละประเด็น เช่น ระบุไปว่าให้คนช่วยเหลือคนพิการโดยอำนวยความสะดวกแค่ การเดินทางออกจากบ้านไปคูหาเลือกตั้ง แต่ต้องไม่ยุ่งช่วงที่ลงคะแนน และคนที่ดูวิธีการ กระบวนการ สนามการเลือกตั้ง ต้องหาวิธี หรือขั้นตอนมารองรับสำหรับคนที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว จะแขน จะขา ก็ต้องหามาด้วย ผมคิดว่าจำเป็น ไม่เช่นนั้นคนพิการต้องถูกตัดสิทธิ์ไปตลอดทั้งที่กฎหมายให้เรามีสิทธิ” นายสว่างกล่าว ขอบคุณ... http://transbordernews.in.th/home/?p=16574
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)