เสียงร้องที่เริ่มแผ่ว...จากนักกีฬาคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์

ผู้จัดการรายวัน 360 – เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ คือเสียงที่เป็นตัวแทนของนักกีฬาคนพิการ เรียกร้องถึงเงินสนับสนุนที่ไม่มากพอ ซึ่งที่ผ่านมาทุกคนได้ดิ้นรนกันอย่างเต็มที่จนแทบจะหมดแรง บ้างก็หาอาชีพเสริมมาประคับประคองเพื่อหาเงินซ้อมและเดินทางแข่งขัน

สำหรับ เรวัตร์ ต๋านะ เพิ่งสร้างผลงานกระหึ่มเวทีโลกไปหมาดๆ ด้วยการคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน ในศึกกีฬาคนพิการชิงแชมป์โลก “ไอพีซี แอธเลติกส์ เวิลด์ แชมเปียนชิป 2015” ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากบรรดาสื่อมวลชนจึงทำให้แทบไม่มีใครทราบว่าสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาตินอกจากนี้จึงไม่ถึงหูของบรรดาเอกชนที่มีกำลังพร้อมสนับสนุน

เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์

การแข่งขันระดับนี้ไม่ใช่ทัวร์นาเมนต์อาชีพ ดังนั้นจึงไม่มีเงินรางวัลเพื่อที่จะนำมาใช้ต่อยอด ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร ทำให้ได้รวมตัวไปร้องเรียนต่อ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีบางคนที่ต้องตัดสินใจเพื่อปากท้องโอนสัญชาติไปเล่นให้ชาติอื่น อาทิญี่ปุ่นที่มีสวัสดิการและค่าตอบแทนมากกว่า

เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ เรซซิ่ง 1,500 และ 5,000 เมตร ที 54 ที่คว้าโควตาไปแข่งขัน พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เรียบร้อยแล้วนั้น เผยถึงความน้อยใจที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในฐานะนักกีฬาที่มีธงชาติไทยอยู่บนอก แต่ด้วยความที่อยากรับใช้แผ่นดินเกิด ทำให้เจ้าตัวยอมควักทุนตนเองเพื่อฝึกซ้อม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน เดินทางไปฝึกซ้อมที่จังหวัดนครราชสีมา และดูแลค่าที่พัก อาหารการกินเองทั้งหมด นอกจากนี้ได้อาศัยประกอบอาชีพขายลอตเตอรีควบคู่ไปด้วยซึ่งก็มีรายได้เพียง9,000บาทเท่านั้น

จนถึงวันนี้ เรวัตร์ ต๋านะ วัย 40 ปี ระบายความในใจว่า "เมื่อปี 2012 นักกีฬาพิการได้รับเงินรางวัลชิงแชมป์โลกเพียง 50,000 บาท ในขณะที่นักกีฬาปกติจะได้รับ 1 ล้านบาท ทั้งที่เป็นนักกีฬา ต้องฝึกซ้อม แข่งขันเหมือนกันแต่เห็นชัดเจนว่าความเท่าเทียมของคนพิการมันมีค่าไม่เท่ากับคนปกติ"

จุตินันท์ (ซ้าย) แบกภาระทั้งหมดไม่ไหว

แม้จะน้อยใจไปบ้างในความไม่เท่าเทียมที่ได้รับ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเลือกเดินทางนี้แล้วสิ่งที่สร้างแรงใจให้นักกีฬาคนพิการก็คือศึก พาราลิมปิก เกมส์ ที่ถือเป็นที่สุด โดย เรวัตร์ ยอดนักกีฬาวีลแชร์เรซซิงหมายเลข 1 ของไทยคนนี้ ก็ประกาศที่จะสู้ต่อใน ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่านักกีฬาผู้พิการก็สามารถสร้างประวัติศาสตร์และเป็นฮีโร่ในหัวใจคนไทยได้เหมือนกัน

ที่ผ่านมาในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีเพียง “บิ๊กนิดหน่อย” จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนนักกีฬาคนพิการอย่างจริงจังต่อยอดจากศึก พาราลิมปิก ครั้งที่ 14 ลอนดอนเกมส์ 2012 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำผลงานยอดเยี่ยมคว้า 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ไม่ว่าจะเป็น พัทธยา เทศทอง (บอคเซีย) รุ่งโรจน์ ไทยนิยม (ปิงปอง) และ สายสุนีย์ จ๊ะนะ (วีลแชร์ฟันดาบ) โดยส่งแข่งทั้งในประเทศที่รับหน้าเสื่อเองรวมถึงส่งไปแข่งต่างประเทศเพื่อล่าตั๋ว พาราลิมปิก และเก็บเกี่ยวประสบการณ์กระนั้นก็ตามคงยากที่จะแบกภาระทั้งหมด

เรื่องนี้คงจะต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพราะตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งดูเหมือนจะมองข้ามเรื่องของนักกีฬาคนพิการเหล่านี้ไป ทว่าเหมือนทุกอย่างล่าช้าต้องเป็นไปตามขั้นตอนคือนำเรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ซึ่งเชื่อว่าจะจัดตั้งภายในเดือนมกราคม ปี 2559 ส่วนการสนับสนุนนั้นจะมากน้อยแค่ไหนคงต้องหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129607 (ขนาดไฟล์: 166)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 พ.ย.58
วันที่โพสต์: 24/11/2558 เวลา 10:20:52 ดูภาพสไลด์โชว์ เสียงร้องที่เริ่มแผ่ว...จากนักกีฬาคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ ผู้จัดการรายวัน 360 – เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ คือเสียงที่เป็นตัวแทนของนักกีฬาคนพิการ เรียกร้องถึงเงินสนับสนุนที่ไม่มากพอ ซึ่งที่ผ่านมาทุกคนได้ดิ้นรนกันอย่างเต็มที่จนแทบจะหมดแรง บ้างก็หาอาชีพเสริมมาประคับประคองเพื่อหาเงินซ้อมและเดินทางแข่งขัน สำหรับ เรวัตร์ ต๋านะ เพิ่งสร้างผลงานกระหึ่มเวทีโลกไปหมาดๆ ด้วยการคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน ในศึกกีฬาคนพิการชิงแชมป์โลก “ไอพีซี แอธเลติกส์ เวิลด์ แชมเปียนชิป 2015” ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากบรรดาสื่อมวลชนจึงทำให้แทบไม่มีใครทราบว่าสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาตินอกจากนี้จึงไม่ถึงหูของบรรดาเอกชนที่มีกำลังพร้อมสนับสนุน เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ การแข่งขันระดับนี้ไม่ใช่ทัวร์นาเมนต์อาชีพ ดังนั้นจึงไม่มีเงินรางวัลเพื่อที่จะนำมาใช้ต่อยอด ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร ทำให้ได้รวมตัวไปร้องเรียนต่อ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีบางคนที่ต้องตัดสินใจเพื่อปากท้องโอนสัญชาติไปเล่นให้ชาติอื่น อาทิญี่ปุ่นที่มีสวัสดิการและค่าตอบแทนมากกว่า เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ เรซซิ่ง 1,500 และ 5,000 เมตร ที 54 ที่คว้าโควตาไปแข่งขัน พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เรียบร้อยแล้วนั้น เผยถึงความน้อยใจที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในฐานะนักกีฬาที่มีธงชาติไทยอยู่บนอก แต่ด้วยความที่อยากรับใช้แผ่นดินเกิด ทำให้เจ้าตัวยอมควักทุนตนเองเพื่อฝึกซ้อม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน เดินทางไปฝึกซ้อมที่จังหวัดนครราชสีมา และดูแลค่าที่พัก อาหารการกินเองทั้งหมด นอกจากนี้ได้อาศัยประกอบอาชีพขายลอตเตอรีควบคู่ไปด้วยซึ่งก็มีรายได้เพียง9,000บาทเท่านั้น จนถึงวันนี้ เรวัตร์ ต๋านะ วัย 40 ปี ระบายความในใจว่า "เมื่อปี 2012 นักกีฬาพิการได้รับเงินรางวัลชิงแชมป์โลกเพียง 50,000 บาท ในขณะที่นักกีฬาปกติจะได้รับ 1 ล้านบาท ทั้งที่เป็นนักกีฬา ต้องฝึกซ้อม แข่งขันเหมือนกันแต่เห็นชัดเจนว่าความเท่าเทียมของคนพิการมันมีค่าไม่เท่ากับคนปกติ" จุตินันท์ (ซ้าย) แบกภาระทั้งหมดไม่ไหว แม้จะน้อยใจไปบ้างในความไม่เท่าเทียมที่ได้รับ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเลือกเดินทางนี้แล้วสิ่งที่สร้างแรงใจให้นักกีฬาคนพิการก็คือศึก พาราลิมปิก เกมส์ ที่ถือเป็นที่สุด โดย เรวัตร์ ยอดนักกีฬาวีลแชร์เรซซิงหมายเลข 1 ของไทยคนนี้ ก็ประกาศที่จะสู้ต่อใน ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่านักกีฬาผู้พิการก็สามารถสร้างประวัติศาสตร์และเป็นฮีโร่ในหัวใจคนไทยได้เหมือนกัน ที่ผ่านมาในประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีเพียง “บิ๊กนิดหน่อย” จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนนักกีฬาคนพิการอย่างจริงจังต่อยอดจากศึก พาราลิมปิก ครั้งที่ 14 ลอนดอนเกมส์ 2012 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำผลงานยอดเยี่ยมคว้า 4 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ไม่ว่าจะเป็น พัทธยา เทศทอง (บอคเซีย) รุ่งโรจน์ ไทยนิยม (ปิงปอง) และ สายสุนีย์ จ๊ะนะ (วีลแชร์ฟันดาบ) โดยส่งแข่งทั้งในประเทศที่รับหน้าเสื่อเองรวมถึงส่งไปแข่งต่างประเทศเพื่อล่าตั๋ว พาราลิมปิก และเก็บเกี่ยวประสบการณ์กระนั้นก็ตามคงยากที่จะแบกภาระทั้งหมด เรื่องนี้คงจะต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพราะตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งดูเหมือนจะมองข้ามเรื่องของนักกีฬาคนพิการเหล่านี้ไป ทว่าเหมือนทุกอย่างล่าช้าต้องเป็นไปตามขั้นตอนคือนำเรื่องดังกล่าวเสนอบอร์ดกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ซึ่งเชื่อว่าจะจัดตั้งภายในเดือนมกราคม ปี 2559 ส่วนการสนับสนุนนั้นจะมากน้อยแค่ไหนคงต้องหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9580000129607

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...