ไร้สนามฝึกซ้อม-แข่งขัน อุปสรรคแบดฯพิการไทย

แสดงความคิดเห็น

สนามแบดมินตัน ปัจจุบันนักกีฬาคนพิการได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแฟนกีฬาชาวไทยที่ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนไม่แตกต่างจากนักกีฬาปกติ ทำให้อนาคตมีแนวโน้มในการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม แบดมินตันคนพิการที่ถือเป็นส่วนหนึ่งในอีเวนต์กีฬาของสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ยังมีอุปสรรคอีกหลายอย่างซึ่งเป็นปัจจัยในการพัฒนาต่อยอดให้ก้าวสู่กีฬาที่พร้อมจะสร้างมาตรฐานในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ

อุปสรรคที่กล่าวมานี้คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ของกีฬาแบดมินตันคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นรถวีลแชร์สำหรับกีฬาแบดมินตัน สนามฝึกซ้อม และสนามแข่งขัน รวมไปถึงการคัดตัวนักกีฬา โดยแบดมินตันคนพิการแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ แอล ๑, แอล ๒ และ แอล ๓ ซึ่งแอล ๑ จะใช้สนามแข่งขันเช่นเดียวกับคนปกติ แต่สำหรับแอล ๒ และแอล ๓ ความยาวของสนามเท่ากับคนปกติ แต่ความกว้างจะลดเหลือเพียงครึ่งเดียว ทั้งนี้การแยกประเภทดังกล่าวได้แบ่งออกตามประเภทของความพิการ ขณะที่ความสูงของตาข่ายปัจจุบันได้ปรับให้เท่ากับคนปกติ

นอกจากนักกีฬาที่มีจำนวนไม่มากพอแล้ว เรื่องสนามฝึกซ้อม และแข่งขันยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการพัฒนาแบดมินตันคนพิการ เนื่องจากสนามเอกชนเกือบทุกแห่ง ไม่อนุญาตให้นักกีฬาคนพิการที่นั่งวีลแชร์เข้าไปใช้สนาม เกรงว่าจะสร้างความเสียหายให้กับพื้นยางสังเคราะห์ จะมีเพียงบางแห่งที่เป็นสนามพื้นไม้ปาเกต์ หรือสนามปูนเท่านั้นที่อนุญาตให้ฝึกซ้อม เช่นเดียวกับสนามแข่งขัน ซึ่งจะมีเพียงสนามซ้อมที่การกีฬาแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะเป็นสนามฝึกซ้อมได้

ขณะเดียวกันการคัดเลือกนักกีฬา นับว่าเป็นความยากของแบดมินตันคนพิการ บางคนไม่มีรายได้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการฝึกซ้อม หรือเดินทางลำบาก สนามอยู่ไกล ค่าเช่าสนามค่อนข้างแพง ดังนั้นนักกีฬาที่จะเล่นกีฬาแบดมินตันคนพิการจึงมีจำนวนไม่มากพอ

อ.สุเมธ มุกดาพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาแบดมินตันคนพิการ กล่าวว่า ทั้งค่าใช้จ่าย สนามฝึกซ้อม สนามแข่งขัน รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เป็นอุปสรรคของการพัฒนา อย่างไรก็ตาม เรายังมุ่งมั่นที่จะวางโครงสร้างกีฬาแบดมินตันคนพิการ โดยนอกจากคัดเลือกนักกีฬาแต่ละภาค เพื่อหานักกีฬาฝีมือดีเข้าสู่ทีมชาติแล้ว ในอนาคตจะมีการจัดแข่งขันระดับประเทศ เทียบเท่ากับชิงแชมป์ประเทศไทย และนานาชาติเทียบเท่ากับไทยแลนด์โอเพ่น ด้วยการเชิญนักกีฬาต่างประเทศมาร่วมการแข่งขันด้วย

แนวทางในการแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว แน่นอนวงการกีฬาคนพิการกำลังอยู่ในคราวเหล็กร้อนที่ต้องรีบตี ถึงเวลาที่รัฐบาลหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะเข้ามาดูแล และให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับแนวคิดที่จะมีการสร้างศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการแห่งชาติ ทว่าระยะเวลาอีกหลายปีที่จะผุดศูนย์กีฬาขึ้น อย่างน้อยสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและมองเห็นในอนาคตต้องมาก่อน นักกีฬาไทยมีฝีมืออยู่แล้ว ด้านทักษะและความสามารถพัฒนาได้ หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยหากมีเวทีในการฝึกซ้อมและการแข่งขันในประเทศ ในอนาคตอันใกล้หากแบดมินตันกีฬาคนพิการได้รับการบรรจุให้แข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ นักกีฬาไทยอาจจะเป็นหนึ่งที่คว้าเหรียญทองให้แฟนกีฬาชาวไทยได้ชื่นชมก็เป็นได้ (สยามกีฬาออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐ ก.ย.๕๕)

ที่มา: สยามกีฬาออนไลน์
วันที่โพสต์: 27/07/2556 เวลา 13:42:19 ดูภาพสไลด์โชว์ ไร้สนามฝึกซ้อม-แข่งขัน อุปสรรคแบดฯพิการไทย

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

1 ภาสิริ โยธาวงษ์ 27/07/2556 13:42:19

หนูอยากเป็นนักกีฬาทีมชาติแบดมินตันพิการค่ะ หนูหูตึงแต่เล่นแบดคนปกติมาแต่เด็กค่ะ เป็นนักกีฬาระดับมหาลัยค่ะ ปัจจุบันเพิ่งมาทำงานที่ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเซียและแปซิฟิกค่ะปกติทำงานกะคนปกติมาตลอดค่ะ ไม่ทราบว่าสามารถรับคนหูตึงเข้าเป็นนักกีฬาได้ป่ะค่ะ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สนามแบดมินตันปัจจุบันนักกีฬาคนพิการได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแฟนกีฬาชาวไทยที่ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนไม่แตกต่างจากนักกีฬาปกติ ทำให้อนาคตมีแนวโน้มในการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม แบดมินตันคนพิการที่ถือเป็นส่วนหนึ่งในอีเวนต์กีฬาของสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ยังมีอุปสรรคอีกหลายอย่างซึ่งเป็นปัจจัยในการพัฒนาต่อยอดให้ก้าวสู่กีฬาที่พร้อมจะสร้างมาตรฐานในการแข่งขันระดับประเทศและระดับนานาชาติ อุปสรรคที่กล่าวมานี้คิดเป็นร้อยละ ๕๐ ของกีฬาแบดมินตันคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นรถวีลแชร์สำหรับกีฬาแบดมินตัน สนามฝึกซ้อม และสนามแข่งขัน รวมไปถึงการคัดตัวนักกีฬา โดยแบดมินตันคนพิการแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ แอล ๑, แอล ๒ และ แอล ๓ ซึ่งแอล ๑ จะใช้สนามแข่งขันเช่นเดียวกับคนปกติ แต่สำหรับแอล ๒ และแอล ๓ ความยาวของสนามเท่ากับคนปกติ แต่ความกว้างจะลดเหลือเพียงครึ่งเดียว ทั้งนี้การแยกประเภทดังกล่าวได้แบ่งออกตามประเภทของความพิการ ขณะที่ความสูงของตาข่ายปัจจุบันได้ปรับให้เท่ากับคนปกติ นอกจากนักกีฬาที่มีจำนวนไม่มากพอแล้ว เรื่องสนามฝึกซ้อม และแข่งขันยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการพัฒนาแบดมินตันคนพิการ เนื่องจากสนามเอกชนเกือบทุกแห่ง ไม่อนุญาตให้นักกีฬาคนพิการที่นั่งวีลแชร์เข้าไปใช้สนาม เกรงว่าจะสร้างความเสียหายให้กับพื้นยางสังเคราะห์ จะมีเพียงบางแห่งที่เป็นสนามพื้นไม้ปาเกต์ หรือสนามปูนเท่านั้นที่อนุญาตให้ฝึกซ้อม เช่นเดียวกับสนามแข่งขัน ซึ่งจะมีเพียงสนามซ้อมที่การกีฬาแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะเป็นสนามฝึกซ้อมได้ ขณะเดียวกันการคัดเลือกนักกีฬา นับว่าเป็นความยากของแบดมินตันคนพิการ บางคนไม่มีรายได้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการฝึกซ้อม หรือเดินทางลำบาก สนามอยู่ไกล ค่าเช่าสนามค่อนข้างแพง ดังนั้นนักกีฬาที่จะเล่นกีฬาแบดมินตันคนพิการจึงมีจำนวนไม่มากพอ อ.สุเมธ มุกดาพิทักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาแบดมินตันคนพิการ กล่าวว่า ทั้งค่าใช้จ่าย สนามฝึกซ้อม สนามแข่งขัน รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เป็นอุปสรรคของการพัฒนา อย่างไรก็ตาม เรายังมุ่งมั่นที่จะวางโครงสร้างกีฬาแบดมินตันคนพิการ โดยนอกจากคัดเลือกนักกีฬาแต่ละภาค เพื่อหานักกีฬาฝีมือดีเข้าสู่ทีมชาติแล้ว ในอนาคตจะมีการจัดแข่งขันระดับประเทศ เทียบเท่ากับชิงแชมป์ประเทศไทย และนานาชาติเทียบเท่ากับไทยแลนด์โอเพ่น ด้วยการเชิญนักกีฬาต่างประเทศมาร่วมการแข่งขันด้วย แนวทางในการแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว แน่นอนวงการกีฬาคนพิการกำลังอยู่ในคราวเหล็กร้อนที่ต้องรีบตี ถึงเวลาที่รัฐบาลหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะเข้ามาดูแล และให้การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับแนวคิดที่จะมีการสร้างศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการแห่งชาติ ทว่าระยะเวลาอีกหลายปีที่จะผุดศูนย์กีฬาขึ้น อย่างน้อยสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและมองเห็นในอนาคตต้องมาก่อน นักกีฬาไทยมีฝีมืออยู่แล้ว ด้านทักษะและความสามารถพัฒนาได้ หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อยหากมีเวทีในการฝึกซ้อมและการแข่งขันในประเทศ ในอนาคตอันใกล้หากแบดมินตันกีฬาคนพิการได้รับการบรรจุให้แข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ นักกีฬาไทยอาจจะเป็นหนึ่งที่คว้าเหรียญทองให้แฟนกีฬาชาวไทยได้ชื่นชมก็เป็นได้ (สยามกีฬาออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๓๐

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...